คิดจะซื้อ-ขายอะไรที่เกี่ยวข้องกับที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ พึงรู้ไว้ต้องเสียภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายด้วย ทั้งนี้ควรรู้บุคคลที่เข้าข่ายต้องควักเสียภาษีดังกล่าว โดยพิจารณาจากรายได้ในการขาย โอนกรรมสิทธิ์ หรือเงินทดแทน จากการถูกเวนคืนอสังหาฯ และที่ดิน ซึ่งได้รับสิทธิครอบครองอสังหาฯ นั้นจากมรดกตกทอด หรือได้มาโดยเสน่หา ทั้งนี้มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
กรณีที่เข้าข่ายต้องเสียภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
1. รายได้จากการขายอสังหาฯ ไม่เกิน 200,000 บาท อันได้มาจากมรดกตกทอดหรือได้รับมาโดยเสน่หา โดยที่อสังหาฯ นั้นตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร เขตเทศบาล สุขาภิบาล
2. รายได้จากการโอนกรรมสิทธิ์การครอบครองอสัหาฯ ให้แก่บุตร โดยชอบทำตามกฎหมาย โดยไม่มีค่าตอบแทน (ไม่รวมบุตรบุญธรรม)
3. เงินค่าทดแทนตามกฎหมาย อันได้มาจากที่ดินหรืออสังหาฯ ที่ตนเองมีสิทธิครอบครองถูกเวนคืน
การคิดคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
1. กรณีที่มีการขายหรือโอนอสังหาฯ ที่ได้มาจากมรดกหรือโดยเสน่หา ให้หักค่าใช้จ่ายร้อยละ 50 ของเงินได้ จากนั้นให้หารด้วยจำนวนปีที่ถือครอง แล้วนำผลลัพธ์มาคำนวณอัตราภาษีเงินได้ ได้เท่าไรให้คูณด้วยจำนวนปีที่ถือครอง จะปรากฎจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
2. กรณีที่มีการขายหรือโอนอสังหาฯ ที่ไม่ได้มาจากมรดกหรือโดยเสน่หา มีการออกข้อกำหนดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายร้อยละของเงินได้ดังนี้ (โดยใช้วิธีการคำนวณตามข้อ 1)
จำนวนปีที่ถือครอง |
ร้อยละของเงินได้
|
1 ปี |
92 |
2 ปี |
94 |
3 ปี |
77
|
4 ปี |
71 |
5 ปี |
65 |
6 ปี |
60 |
7 ปี
|
55 |
8 ปีขึ้นไป
|
50 |
ทั้งนี้เมื่อคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแล่ว จะทำให้รู้ว่าผู่ขายหรือผู้โอนอสังหาริมทรัพย์ดังที่กล่าวไปข้างต้น จำเป็นต้องโดนหักภาษีเท่าไร ดังนั้นหากที่คิดกำลังจะทำการซื้้อขายที่ดิน หรืออสังหาฯ ต่างๆ ควรทำการศึกษากฎระเบียบข้อบังคับให้ดี เพื่อจะได้ไม่ตกใจกับจำนวนเงินที่ถูกหักไปภายหลัง
ขอบคุณข้อมูล nam.dol.go.th
เรื่องข้างต้นเขียนโดย อารยา ศิริพยัคฆ์ Content Writer ประจำเว็บไซต์ DDproperty.com หากมีคำถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ araya@ddproperty.com
สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า