กู้เงินสร้างบ้านน็อคดาวน์ทำได้ไหม 4 เรื่องต้องรู้ ก่อนยื่นกู้ธนาคาร

DDproperty Editorial Team
กู้เงินสร้างบ้านน็อคดาวน์ทำได้ไหม 4 เรื่องต้องรู้ ก่อนยื่นกู้ธนาคาร
ปัจจุบันมีนวัตกรรมบ้านสำเร็จรูปหรือที่เรียกกันว่าบ้านน็อคดาวน์ ออกมาตอบโจทย์ทั้งในเรื่องของความรวดเร็วและราคาที่ย่อมเยากว่าการปลูกสร้างบ้านในวิธีปกติ
แต่การเป็นเจ้าของบ้านน็อคดาวน์ก็ยังต้องใช้เงินก้อนใหญ่ และเนื่องจากไม่ได้มีขั้นตอนการก่อสร้างเหมือนบ้านทั่วไป จึงมักมีคำถามเกิดขึ้นว่าจะสามารถกู้เงินสร้างบ้านน็อคดาวน์จากธนาคารได้หรือไม่ คำตอบก็คือได้ แต่ก่อนที่จะถึงขั้นตอนการขอกู้เงินสร้างบ้านน็อคดาวน์ ก็มีเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับบ้านน็อคดาวน์ก่อน
บ้านน็อคดาวน์คืออะไร

บ้านน็อคดาวน์คืออะไร

กู้เงินสร้างบ้านน็อคดาวน์ ต้องรู้จักบ้านน็อคดาวน์ก่อน

บ้านน็อคดาวน์เป็นบ้านสำเร็จรูปที่มีขนาดกระทัดรัด สร้างจากวัสดุมวลเบา หลังคานิยมใช้เมทัลชีทหรือกระเบื้องน้ำหนักเบา ส่วนผนังบ้านนิยมใช้ไม้ ซีเมนต์บอร์ด หรือผนังสำเร็จรูป การสร้างบ้านใช้วิธีนำชิ้นส่วนมาประกอบกันเป็นตัวบ้าน ไม่มีส่วนของคานและเสารองรับน้ำหนัก แต่ใช้ผนังเป็นตัวรับน้ำหนักแทน ใช้ระยะเวลาสร้างโดยเฉลี่ย 2 สัปดาห์-1 เดือน
ราคามีตั้งแต่หลักหมื่นถึงหลักล้านบาท ขึ้นอยู่กับการเลือกแบบและฟังก์ชันของบ้าน ในอดีตบ้านน็อคดาวน์จะมีอายุการใช้งานประมาณ 10-15 ปี แต่ปัจจุบันผู้ผลิตบางรายมีการนำเทคนิคการสร้างใหม่ ๆ เข้ามาใช้ เช่น ต่อเติมคานเหล็กภายใน จึงทำให้บ้านน็อคดาวน์มีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากขึ้น

บ้านน็อคดาวน์นำมาใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง

เนื่องจากบ้านน็อคดาวน์เป็นที่อยู่อาศัยที่มีอายุการใช้งานจำกัด การใช้ประโยชน์จากบ้านน็อคดาวน์จึงถูกจำกัดตามไปด้วย โดยบ้านน็อคดาวน์เหมาะสำหรับ
1. ใช้เป็นที่อยู่อาศัยชั่วคราว เนื่องจากอายุการใช้งานที่ไม่ยาวนานและขนาดที่ไม่ใหญ่ จึงเหมาะสำหรับการอยู่อาศัยแค่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง และไม่เหมาะที่จะกู้เงินสร้างบ้านน็อคดาวน์เพื่อทำเป็นที่อยู่อาศัยถาวร รวมทั้งไม่เหมาะกับการใช้เป็นที่อยู่อาศัยสำหรับครอบครัวขนาดใหญ่ด้วย
2. ใช้เป็นสำนักงาน ด้วยโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อน ดูแลง่าย บ้านน็อคดาวน์จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการสำนักงานขนาดเล็กหรือสำนักงานชั่วคราวที่ไม่ต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก
3. ใช้ทำเป็นร้านค้า เนื่องจากสร้างเสร็จเร็วใช้งบไม่เยอะ บ้านน็อคดาวน์จึงเหมาะที่จะนำมาทำเป็นร้านค้า ร้านอาหาร หรือคาเฟ่ ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาและต้นทุนการก่อสร้างลงไปได้ค่อนข้างเยอะ
บ้านสวย ๆ ครบทุกสไตล์

บ้านสวย ๆ ครบทุกสไตล์

ข้อดี-ข้อด้อยของบ้านน็อคดาวน์

5 ข้อดีของบ้านน็อคดาวน์

1. สร้างเสร็จเร็ว ประมาณ 1 เดือน ก็สามารถเข้าอยู่อาศัยได้
2. ราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับการก่อสร้างบ้านแบบปกติ
3. คุมงบได้ง่าย เนื่องจากราคาขายกำหนดเอาไว้แล้ว
4. มีการจัดทำระบบไฟฟ้าและประปามาเรียบร้อยพร้อมตัวบ้าน ไม่ต้องเสียเงินติดตั้งเอง
5. สร้างเสร็จมาจากโรงงาน หมดปัญหาการใช้พื้นที่ในการก่อสร้าง รวมไปถึงขยะ และฝุ่นละอองระหว่างก่อสร้าง

5 ข้อด้อยของบ้านน็อคดาวน์

1. มีขนาดกระทัดรัด ไม่เหมาะสำหรับครอบครัวที่มีสมาชิกหลายคน
2. ใช้วัสดุมวลเบา ทำให้อายุการใช้งานไม่ยาวนานเท่าบ้านทั่วไป
3. ปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ได้ยากเพราะออกแบบมาให้เป็นบ้านสำเร็จรูป
4. ไม่เหมาะกับการรีโนเวทหรือตอกตะปูภายในตัวบ้าน
5. หากโครงสร้างบ้านรับน้ำหนักมากเกินไป อาจทำให้บ้านทรุดได้
สรุปข้อดี-ข้อด้อยของบ้านน็อคดาวน์
ข้อดีข้อเสีย
1. ใช้เวลาสร้างเร็ว1. บ้านมีขนาดกระทัดรัด ไม่เหมาะกับการอยู่อาศัยหลายคน
2. ราคาไม่แพง 2. อายุการใช้งานไม่ยาวนานเท่าบ้านทั่วไป
3. คุมงบได้ง่าย3. ปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ได้ยาก
4. มีระบบไฟฟ้าและประปามาพร้อมตัวบ้าน ไม่ต้องเสียเงินติดตั้งเอง4. ไม่เหมาะกับการรีโนเวท
5. สร้างเสร็จมาจากโรงงาน หมดปัญหาขยะและฝุ่นละออง5. หากโครงสร้างรับน้ำหนักมากเกินไปอาจทำให้บ้าน

กู้เงินสร้างบ้านน็อคดาวน์จากธนาคารได้ไหม

แม้ราคาของบ้านน็อคดาวน์จะไม่สูงเท่าการก่อสร้างบ้านแบบปกติ แต่การเป็นเจ้าของบ้านน็อคดาวน์ก็ยังต้องใช้เงินก้อนใหญ่ ซึ่งหากต้องจ่ายเป็นเงินสดอาจไม่สะดวกสำหรับบางคน ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่อยากได้บ้านน็อคดาวน์แต่ไม่สะดวกจ่ายเงินสดสามารถทำเรื่องยื่นกู้เงินสร้างบ้านน็อคดาวน์จากธนาคารได้เหมือนการปลูกสร้างบ้านด้วยวิธีปกติ โดยมีขั้นตอนในการยื่นกู้ดังนี้
1. เลือกแบบบ้านน็อคดาวน์เพื่อทราบค่าใช้จ่ายเบื้องต้น
2. ปรับพื้นที่ ลงเสาเข็ม เตรียมพื้นที่รองรับการติดตั้ง เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นบ้านที่มีรากฐาน เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่โยกย้ายไม่ได้
3. นำ BOQ (Bill of Quantities) หรือใบแสดงรายการวัสดุและค่าใช้จ่ายที่ได้จากบริษัทผู้รับสร้างบ้านน็อคดาวน์ไปยื่นที่สำนักงานเขตหรือองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่ดูแลรับผิดชอบพื้นที่ที่จะทำบ้านน็อคดาวน์ เพื่อขอใบ อ.1 หรือใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร
4. นำ BOQ และใบ อ.1 ไปยื่นขอสินเชื่อจากทางธนาคาร ซึ่งแต่ละธนาคารจะมีเงื่อนไขของสินเชื่อที่แตกต่างกัน บางธนาคารจะอนุมัติสินเชื่อแบบเดียวกับการปลูกสร้างบ้านวิธีปกติ โดยจะแบ่งเป็นสินเชื่อเพื่อซื้อที่ดิน และสินเชื่อเพื่อการปลูกสร้างบ้าน ซึ่งจะมีการแบ่งจ่ายเงินเป็นงวด ๆ และบางธนาคารก็จะไม่ปล่อยกู้เต็ม 100% ของราคาค่าก่อสร้าง
BOQ คืออะไร

BOQ คืออะไร

5. หลังธนาคารอนุมัติสินเชื่อ ก็สามารถดำเนินการสร้างบ้านน็อคดาวน์ได้เลย โดยสามารถแบ่งเฟสการก่อสร้างได้เช่นเดียวกับการการปลูกสร้างบ้านวิธีปกติ เพื่อให้สอดคล้องกับวิธีการจ่ายเงินกู้ของทางธนาคารที่แบ่งจ่ายเป็นงวด ๆ
ทั้งนี้ เนื่องจากมีส่วนที่ต้องดำเนินการก่อนขอกู้เงินสร้างบ้านน็อคดาวน์ มีส่วนต่างของราคาบ้านที่ขอสินเชื่อได้ไม่เต็ม 100% รวมทั้งแต่ละงวดงานที่ทางธนาคารออกมาประเมิน จะมีค่าใช้จ่ายในการประเมินด้วย ผู้ขอกู้เงินสร้างบ้านน็อคดาวน์ จึงควรเตียมงบสำรองเอาไว้สำหรับค่าใช่จ่ายเหล่านี้ด้วย
นอกจากขอกู้เงินสร้างบ้านน็อคดาวน์จากธนาคาร ยังมีอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่ไม่สะดวกจ่ายเงินก้อน นั่นคือการใช้บัตรเครดิตผ่อนชำระค่าบ้านน็อคดาวน์ ซึ่งทางเลือกนี้เหมาะสำหรับบ้านน็อคดาวน์ที่ราคาไม่สูงมาก และบริษัทผู้รับสร้างบ้านน็อคดาวน์มีทางเลือกให้ผ่อนชำระผ่านบัตรเครดิตได้ ที่สำคัญเจ้าของบัตรเครดิตต้องมีวงเงินที่เพียงพอกับราคาบ้านน็อคดาวน์ด้วย
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลทั่วไปเท่านั้น DDproperty by PropertyGuru ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท ออลพร็อพเพอร์ตี้ มีเดีย จำกัด ไม่สามารถรับรองหรือรับประกันเกี่ยวกับข้อมูล รวมทั้งไม่สามารถรับรองหรือรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับความเหมาะสม สำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะใด ๆ ของข้อมูล ตามขอบเขตสูงสุดที่กฎหมายอนุญาต แม้ว่าเราได้พยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ถูกต้อง เชื่อถือได้ และครบถ้วน ณ เวลาที่เขียน แต่ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ไม่ควรนำไปใช้ในการตัดสินใจทางการเงิน, การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือทางกฎหมายทันที ผู้อ่านไม่ควรใช้ข้อมูลในบทความ แทนคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมซึ่งสามารถพิจารณาข้อเท็จจริงและสถานการณ์ส่วนตัวของคุณได้ ทั้งนี้ เราไม่สามารถรับผิดชอบใด ๆ หากคุณเลือกที่จะนำข้อมูลไปใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ

คำถามยอดนิยม

บ้านน็อคดาวน์ คือ บ้านสำเร็จรูปที่สร้างโดยไม่มีเสาและคาน แต่จะใช้ผนังเป็นตัวรับน้ำหนักแทน โดยนำชิ้นส่วนมาประกอบกันเป็นตัวบ้าน สามารถถอดและเคลื่อนย้ายได้

บ้านน็อคดาวน์ มีอายุการใช้งานประมาณ 30-50 ปี ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ หากต้องการบ้านที่สามารถส่งต่อเป็นมรดกให้ลุกหลานได้ บ้านน็อคดาวน์อาจไม่เหมาะนัก