ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจซื้อ

DDproperty Editorial Team
ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจซื้อ

ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจซื้อบ้าน คอนโดมิเนียม

ปัจจัยพื้นฐานที่ควรพิจารณาก่อนซื้อบ้านหรือคอนโด มีดังนี้
  • งบ
  • การเดินทาง
  • ประเภทอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องการ
  • สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ
สิ่งที่คุณควรคำนึงถึงที่สุดคือ คุณมีงบในการซื้อที่พักอาศัยอยู่เท่าไร เพราะมันจะช่วยให้คุณตัดสินใจเลือกประเภทที่พักที่เหมาะสมกับคุณได้
แต่หากคุณไม่มีข้อจำกัดเรื่องงบเป็นพิเศษ ข้อถัดมาที่ควรพิจารณาคือ ที่อยู่อาศัยประเภทใดที่เหมาะกับคุณและครอบครัวมากที่สุด โดยพิจารณาจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น การเดินทาง สิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ เช่น มีโรงเรียน ห้างสรรพสินค้า และสปอร์ต คอมเพล็กซ์อยู่ใกล้ ๆ
Protect what matters - PropertyGuru Singapore

การหาเงินซื้อบ้าน

คุณควรหาเงินซื้อที่อยู่อาศัยโดยการขอสินเชื่อจากธนาคาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณมีงบประมาณที่จำกัด ประการแรกที่คุณควรทำคือ ตัดสินใจเลือกประเภทที่พักที่ต้องการและอยู่ในงบที่คุณตั้งไว้ ในกรณีที่คุณใช้บริการนายหน้าอสังหาริมทรัพย์หรือตัวแทนทางกฎหมายเข้ามาจัดการธุรกรรมให้ คุณควรเช็คเรื่องค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ให้ดีเพื่อจะได้ทราบถึงจำนวนเงินที่แน่นอนที่คุณต้องจ่าย
ธนาคารจะคิดค่าดำเนินการขอสินเชื่อที่อยู่อาศัย รวมไปถึงค่าตีราคาสินทรัพย์ เมื่อติดต่อขอสินเชื่อแล้ว จำนวนเงินที่คุณจะสามารถขอกู้ได้จริงจะขึ้นอยู่กับสถานภาพทางการเงินของคุณและการประเมินราคาสินทรัพย์จากทางธนาคาร หรือมูลค่าการซื้อขายจริง ซึ่งส่วนใหญ่ธนาคารจะให้กู้เพียง 80% เช่น ราคาบ้านจริง 1 ล้านบาท ธนาคารจะให้กู้ 800,000 บาท เป็นต้น นอกจากนี้ ธนาคารอาจพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้รายเดือน ตลอดจนประวัติการเงินของคุณด้วย
สำหรับที่พักที่โครงการนำมาขายใหม่นั้น ผู้ซื้อที่มีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์จะได้รับสินเชื่อที่ 90% ของราคาขายใหม่ หรือของมูลค่าในตลาด โดยพิจารณาจากตัวเลขที่ต่ำกว่า

สิ่งที่คุณควรทำ:

  • มีเงินออมที่พร้อมนำมาใช้ได้ สำหรับเป็นกรณีเงินดาวน์
  • สินเชื่อที่อยู่อาศัย (หากจำเป็น)
หากอสังหาริมทรัพย์ที่คุณจะซื้อมีช่วงเวลาเช่าซื้อที่จำกัด อาจส่งผลให้การขอสินเชื่อเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์นั้นๆ ยากขึ้นไปด้วย โดยทั่วไปแล้ว ยิ่งระยะเวลาเช่าซื้อสั้นมากเท่าไร อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ก็จะเพิ่มสูงขึ้นมากเท่านั้น
เมื่อเข้าชมห้องพักตัวอย่าง คุณต้องไม่ลืมว่าห้องพักตัวอย่างจะต่างจากห้องพักจริง ดังนั้น คุณควรตวจสอบรายละเอียดของห้องพักที่คุณซื้อในสัญญาการซื้อขายให้ละเอียด

การมีสิทธิเลือกซื้อ

หากคุณต้องการซื้ออสังหาริมทรัพย์ คุณต้องขอการมีสิทธิเลือกซื้อจากผู้ขาย การมีสิทธิเลือกซื้อถือเป็นสิทธิที่คุณมีต่ออสังหาริมทรัพย์นั้น ๆ และถือเป็นการจองอสังหาริมทรัพย์นั้น ๆ ด้วย ซึ่งเจตจำนงต้องการซื้ออสังหาริมทรัพย์นั้น ๆ คุณจะต้องเสียค่าใช้จ่ายที่เรียกว่า ค่าจอง เพื่อเป็นการแสดงเจตนาว่าต้องการซื้อ
ค่าจองที่คุณต้องจ่ายให้กับทางโครงการบ้าน เป็นการวางมัดจำว่าคุณสนใจในโครงการดังกล่าว ซึ่งถ้าคุณได้วางเงินจองไว้แล้ว แต่ไม่ได้มาทำสัญญาการซื้อขายบ้าน เงินจองดังกล่าวคุณจะไม่ได้คืน แต่ส่วนใหญ่ถ้าหากผู้จอง ยื่นกู้ขอสินเชื่อกับทางสถาบันการเงินแล้วไม่ผ่าน ทางเจ้าของโครงการบ้านจะทำการคืนเงินให้กับทางผู้วางเงินจอง
สิทธิการเลือกซื้อไม่สามารถเปลี่ยนโอนได้ ดังนั้น บุคคลที่ต้องการซื้ออสังหาริมทรัพย์ร่วมกันจะต้องระบุชื่อไว้ในสิทธิการเลือกซื้อว่าเป็นผู้ต้องการซื้อ เฉพาะผู้ที่ถูกระบุชื่อว่าเป็นผู้ต้องการซื้อไว้ในสัญญาเท่านั้นที่มีสิทธิใช้สิทธิการเลือกซื้อ หลังได้รับสิทธิการเลือกซื้อแล้ว หากมีการเปลี่ยนรายชื่อใด ๆ
home loan concept photo buy

สัญญาซื้อขาย ซึ่งในรายละเอียดของสัญญาจะประกอบไปด้วยใจความหลัก ๆ ดังต่อไปนี้

ประการที่ 1

ข้อความที่ระบุว่า เป็น สัญญาซื้อขาย ทั้งนี้เพราะเป็นการลงนามเพื่อการซื้อและการขายมิใช่เพื่อการอื่นใด

ประการที่ 2

ข้อความบ่งชัดว่า ใครเป็นผู้ซื้อ ที่อยู่หรือภูมิลำเนาของผู้ซื้อที่สามารถติดต่อได้

ประการที่ 3

ใครเป็นผู้ขาย นั่นคือเจ้าของที่ดินและบ้านที่ทำสัญญาซื้อขายนั่นเอง หากนิติบุคคลเป็นผู้ขาย จะมีข้อความระบุถึงกรรมการผู้จัดการหรือกรรมการผู้จัดการที่มีอำนาจทำสัญญาแทนนิติบุคคลนั้น รวมทั้งระบุหมายเลขจดทะเบียนของนิติบุคคลไว้ด้วย ในกรณีซื้อจากโครงการต้องตรงตามที่โฆษณาไว้ ในกรณีเป็นนิติบุคคลควรตรวจสอบความน่าเชื่อถือ ดูการกู้เงินจากสถาบันการเงินต่าง ๆ รวมถึงข่าวสารตามหน้าหนังสือพิมพ์ และที่อยู่ซึ่งสามารถติดต่อได้

ประการที่ 4

ข้อความที่ระบุชัดเจนถึงทรัพย์สินที่ขายว่าคืออะไรอย่างชัดเจนอ้างอิงได้ โดยต้องระบุว่าเป็นโฉนดเลขที่เท่าใด ตั้งอยู่ในท้องที่ใด มีเนื้อที่เท่าไร กี่ไร่ กี่งาน และกี่ตารางวา หากเป็นการซื้อขายพร้อมบ้านต้องระบุรูปทรงของบ้านด้วย หรือมีแบบอาคารเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจะดีมาก

ประการที่ 5

ต้องระบุชัดเจนถึงราคาของที่ดินและบ้านที่จะซื้อจะขายนั้น ทั้งนี้ราคาที่ระบุในสัญญาจะเป็นราคาคงที่ในวันที่เซ็นสัญญา ไม่ว่าราคาตลาดจะเปลี่ยนแปลงขึ้นลงอย่างไรก็ตาม

ประการที่ 6

ข้อความระบุถึงการโอนกรรมสิทธิ์ แม้ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อนั้นย่อมโอนให้ผู้ซื้อตั้งแต่ "ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกัน" แต่จะมีผลตามกฎหมายนั้นก็ต่อเมื่อมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ต่อเจ้าพนักงานที่ดินก่อน ในการโอนกรรมสิทธิ์จะระบุผู้รับผิดชอบค่าโอนด้วยซึ่งมักจะเป็นผู้ซื้อที่จ่ายค่าธรรมเนียมการโอนและปรับปรุงเป็นออกค่าใช้จ่ายฝ่ายละครึ่งหนึ่ง สัญญาซื้อขายที่ดีจะต้องมีความชัดเจนในเรื่องนี้
ข้อนี้สำคัญมาก เพราะกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ทั้งหลายเปลี่ยนเจ้าของด้วยการโอนกรรมสิทธิ์ที่สำนักงานที่ดิน ดำเนินการโดยเจ้าพนักงานที่ดินเท่านั้น และที่ดินพร้อมสิ่งปลูกบ้าน หรือบรรดาบ้านจัดสรรทั้งหลาย หากจะรับโอนกันได้ บ้านต้องสร้างเสร็จตามสัญญา ตรงนี้เป็นข้อได้เปรียบของสินค้าประเภทบ้านสร้างเสร็จก่อนขาย บ้านพร้อมอยู่ กระทั่งบ้านมือสอง และบ้านประมูล เพราะบ้านสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้ซื้อมีความเสี่ยงที่จะตกอยู่ในภาวะซื้อบ้านไม่ได้บ้านน้อยมาก
buy house

ประการที่ 7

ข้อบังคับจากกฎหมายแพ่งว่าด้วยการซื้อขาย ซึ่งอนุญาตให้คู่สัญญาทำสัญญากันว่าจะไม่ต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องหรือเพื่อการรอนสิทธิ์ก็ได้ด้วย ทั้งนี้ความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องหรือเพื่อการรอนสิทธิ์นั้นเป็นเรื่องของผู้ขาย กรณีอย่างนี้จะเกิดกับการซื้อบ้านมือสอง หรือบางทีซื้อบ้านทิ้งดาวน์ แต่การซื้อบ้านใหม่สร้างเสร็จ หรือบ้านผ่อนดาวน์ จะไม่มีเรื่องแบบนี้ หากเป็นลักษณะการทำสัญญาค้ำประกันดูแลตัวบ้านโดยกำหนดระยะเวลาประมาณ 1-3 ปีไว้
ในกรณีบ้านพร้อมอยู่ บ้านทิ้งดาวน์ บ้านมือสองต่าง ๆ ความรับผิดชอบเพื่อความชำรุดบกพร่องเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจ ทั้งนี้หมายความถึงทรัพย์สินที่ซื้อขายกันนั้นชำรุดบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันผู้ซื้อมุ่งจะใช้เป็นปกติ หรือประโยชน์ที่เป็นความมุ่งหมายแห่งสัญญานั้นเอง กฎหมายแพ่งระบุชัดเจนว่า ให้ใช้บังคับถึงแม้ว่าผู้ขายรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าความชำรุดบกพร่องนั้นมีอยู่ในตอนทำสัญญาซื้อขายกัน การให้ใช้บังคับก็คือผู้ซื้อไม่สามารถท้วงติงสภาพของบ้านได้ ในเงื่อนไขต่อไปนี้
ผู้ซื้อได้รู้อยู่แล้วในเวลาซื้อขายว่า มีความชำรุดบกพร่อง หรือควรจะได้รู้เช่นนั้นหากได้ใช้ความระมัดระวังอันจะพึงคาดหมายได้แต่วิญญูชน หมายความว่า หากประมาทไม่ตรวจสอบให้ดี ผู้ซื้อก็ต้องรับผิดชอบเอง ความชำรุดบกพร่องนั้นเห็นประจักษ์ ในเวลาส่งมอบ และผู้ซื้อรับเอาทรัพย์สินนั้นไว้โดยมิได้อิดเอื้อนหรือท้วงติง
การซื้อขายนั้นเป็นการซื้อทรัพย์สินที่ขายทอดตลาด (ตรงนี้ต้องเข้าใจว่าการซื้อบ้านจากการประมูลขายทอดตลาดนั้น ควรจะไปตรวจดูสภาพบ้านก่อนตัดสินใจซื้อ เพราะผู้ขายไม่ต้องรับผิดชอบหากบ้านชำรุด) สำหรับกรณีความรับผิดเพื่อการรอนสิทธินั้น การซื้อบ้านสร้างเสร็จเป็นการเลี่ยงเรื่องนี้โดยตรง เป็นการป้องกันซื้อบ้านแล้วไม่ได้โอน เพราะบ้านติดจำนอง หรือยังไม่ได้ถ่ายถอน
แต่กระนั้นก็ควรตรวจสอบให้ละเอียดว่าโฉนดปลอดจำนองหรือไม่ ในกรณีมีโฉนดตัวจริงดูได้จากหลังโฉนดจะมีการเขียนเอาไว้ อย่าลืมว่าการรอนสิทธินั้นหากผู้ซื้อรู้อยู่แล้วว่าบ้านหรือที่ดินที่จะซื้อนั้นมีการรอนสิทธิหรือมีผู้รบกวนสิทธิอยู่แล้ว ผู้ซื้อต้องรับผิดชอบเอง การซื้อบ้านที่มีภาระติดจำนองจะต้องเจรจารายละเอียดกันให้ดี ว่าจะปลอดภาระจำนอง จะโอนและจะจำนองกู้เงินใหม่อย่างไร

ประการที่ 8

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพื้นที่ดิน โดยปกติการซื้อขายบ้านพร้อมอยู่มักจะไม่ค่อยมีปัญหานี้ โดยเฉพาะบ้านในโครงการบ้านจัดสรร แต่ถ้าหากผู้ซื้อรอบคอบมีการตรวจสอบรังวัดซ้ำกับหมุดหลักเขต และมีที่ดินขาดหรือเกินเกิดขึ้น กฎหมายให้สิทธิ์ไว้ว่า ในกรณีที่ดินเกินผู้ขายไม่สามารถเพิ่มราคาได้ แต่ในกรณีที่ดินขาดผู้ซื้อสามารถขอให้ผู้ขายลดราคาได้ ดังนี้
  • กรณีที่ 1 ถ้าหากขาดหรือเกินจำนวนพื้นที่ในสัญญาเกินกว่าร้อยละ 5 ของที่ดินทั้งหมด ผู้ซื้อจะไม่ซื้อหรือขอให้ลดราคาลงตามส่วนได้ ถ้าบอกปัดไม่ซื้อผู้ขายจะต้องคืนเงินให้ หากจดทะเบียนโอนแล้วก็โอนคืน หากผู้ซื้อจะซื้อยังมีสิทธิขอให้ลดราคาตามส่วนได้
  • กรณีที่ 2 ที่ดินที่ขาดหรือเกินนั้น หากผู้ซื้อทราบก่อน จะมิได้ทำสัญญาซื้อขาย ซึ่งมิได้จำกัดว่าจะเกินกว่าร้อยละ 5 หรือไม่ โดยถือเจตนาการใช้ประโยชน์ของผู้ซื้อเป็นสำคัญว่าถ้ารู้ก่อนจะไม่ซื้อ อายุความในกรณีที่ดินขาดหรือเกินนี้ 1 ปี นับแต่วันส่งมอบ
หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการซื้อบ้าน อ่าน คู่มือซื้อขาย ที่สามารถเป็นตัวช่วยตอบได้ทุกคำถาม พร้อมบอกรายละเอียดการคำนวณสินเชื่อบ้าน ที่เหมาะสมกับคุณโดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือน เพื่อให้ตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลทั่วไปเท่านั้น DDproperty by PropertyGuru ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท ออลพร็อพเพอร์ตี้ มีเดีย จำกัด ไม่สามารถรับรองหรือรับประกันเกี่ยวกับข้อมูล รวมทั้งไม่สามารถรับรองหรือรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับความเหมาะสม สำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะใด ๆ ของข้อมูล ตามขอบเขตสูงสุดที่กฎหมายอนุญาต แม้ว่าเราได้พยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ถูกต้อง เชื่อถือได้ และครบถ้วน ณ เวลาที่เขียน แต่ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ไม่ควรนำไปใช้ในการตัดสินใจทางการเงิน, การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือทางกฎหมายทันที ผู้อ่านไม่ควรใช้ข้อมูลในบทความ แทนคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมซึ่งสามารถพิจารณาข้อเท็จจริงและสถานการณ์ส่วนตัวของคุณได้ ทั้งนี้ เราไม่สามารถรับผิดชอบใด ๆ หากคุณเลือกที่จะนำข้อมูลไปใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ