สัญญาเช่าอาคาร 3 ส่วนสำคัญ ที่ผู้เช่าและผู้ให้เช่าต้องทำความเข้าใจ

DDproperty Editorial Team
สัญญาเช่าอาคาร 3 ส่วนสำคัญ ที่ผู้เช่าและผู้ให้เช่าต้องทำความเข้าใจ
สำหรับใครที่สนใจธุรกิจปล่อยเช่าอสังหาริมทรัพย์แต่ไม่มีความรู้เรื่องสัญญาเช่าอาคาร DDproperty นำความรู้เรื่องสัญญาเช่าที่ดิน สัญญาเช่าบ้าน สัญญาเช่าคอนโด รวมถึงสัญญาเช่าอาคารณิชย์ และรูปแบบอื่น ๆ มาฝากกัน พร้อมตัวอย่างสัญญาเช่าในแบบที่เข้าใจง่ายและครบถ้วน
ในการทำสัญญาเช่าที่ดิน หรือสัญญาเช่าอาคารนั้น สิ่งที่ผู้เช่าและผู้ให้เช่าต้องมีความรู้ความเข้าใจประกอบด้วย 3 ส่วนคือ สัญญา ผู้เช่า ผู้ให้เช่า ซึ่งเรามาทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันทีละส่วน

สัญญา

สัญญาเช่าที่ดิน หรือสัญญาเช่าบ้าน มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทน หมายถึงคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายคือผู้เช่าและผู้ให้เช่ามีความสัมพันธ์ในลักษณะที่ต่างฝ่ายก็ต่างมีหน้าที่จะต้องกระทำต่อกัน ที่เห็นได้ชัดคือผู้เช่าจะต้องจ่ายค่าเช่า ส่วนผู้ให้เช่าก็ต้องให้สิทธิในการครอบครองที่ระบุในสัญญาเช่าที่ดิน หรือสัญญาเช่าบ้าน
เนื้อหาในสัญญาเช่าต้องระบุว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์ประเภทใด ได้แก่ สัญญาเช่าบ้าน สัญญาเช่าทาวน์เฮ้าส์ สัญญาเช่าคอนโด สัญญาเช่าอาคารพาณิชย์ หรือสัญญาเช่าที่ดิน และระบุถึงตำแหน่งที่ตั้งที่ชัดเจนของอสังหาริมทรัพย์นั้น บอกว่าผู้เช่าเป็นใคร ผู้ให้เช่าคือใคร ช่วงเวลาของการเช่านานแค่ไหน ช่วงเวลาเช่าเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อใดและสิ้นสุดลงเมื่อไร กำหนดค่าเช่า
โดยระบุจำนวนเงินและงวดเวลาที่จะต้องจ่ายค่าเช่า หรือจะเรียกเป็นค่าตอบแทนอย่างอื่นที่ไม่ใช่ตัวเงินก็ได้ และเงื่อนไขอื่น ๆ ระหว่างผู้เช่าและผู้ให้เช่า เช่น การต่อสัญญาเช่าบ้าน การยกเลิกสัญญาเช่าบ้าน การปรับราคาเช่า รวมถึงการดำเนินการกรณีผู้เช่าไม่จ่ายค่าเช่า เป็นต้น
หนังสือสัญญาเช่าที่ดิน เรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ

รูปแบบของสัญญาเช่าที่ดิน หรือสัญญาเช่าบ้าน

รูปแบบของสัญญาเช่าที่ดิน หรือสัญญาเช่าบ้านนั้นกฎหมายกำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือมิฉะนั้นแล้วจะไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ แบ่งเป็น
– สัญญาเช่าที่มีระยะเวลาการเช่าไม่เกิน 3 ปีนั้น กฎหมายกำหนดให้ผู้เช่าและผู้ให้เช่าทำสัญญาเช่าระหว่างกันเอง
– สัญญาเช่าที่มีระยะเวลาการเช่าเกิน 3 ปีขึ้นไป ผู้เช่าและผู้ให้เช่าจะต้องจดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานที่ดิน ณ สำนักงานที่ดินซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ ถ้าทำสัญญาเช่ากันเองโดยไม่จดทะเบียนต่อพนักงานที่ดินสัญญาเช่านั้นจะมีผลบังคับทางกฎหมายแค่เพียง 3 ปีแรกเท่านั้น
นอกจากนี้ การเช่าสามารถทำสัญญาเช่าได้นานที่สุด 30 ปี แต่ก็สามารถกำหนดระยะเวลาการเช่าเท่ากับอายุของผู้เช่าได้เนื่องจากเป็นระยะเวลาที่จำกัดเช่นกัน
รูปแบบของสัญญาเช่าที่ดิน หรือสัญญาเช่าบ้าน มี 2 แบบ

ผู้เช่า

นอกจากหน้าที่ของผู้เช่าที่จะต้องจ่ายค่าเช่าให้ให้การตอบแทนแก่ผู้ให้เช่า ตามจำนวนและเวลาที่กำหนดในสัญญาเช่าที่ดิน หรือสัญญาเช่าบ้านแล้ว ผู้เช่ายังมีหน้าที่ต้องดูแลรักษาบ้านที่ตนเช่าในระดับเดียวกับที่ตนเองปฏิบัติกับบ้านของตัวเองอีกด้วย
ผู้เช่าจะต้องคืนการครอบครองให้ผู้ให้เช่าเมื่อครบกำหนดเวลาเช่า รวมไปถึงการปฏิบัติตามเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ตกลงกันเพิ่มเติมในสัญญาเช่าที่ดิน หรือสัญญาเช่าบ้าน
ผู้ให้เช่าสามารถเจาะจงในสัญญาได้ว่าจะให้เช่าเฉพาะผู้เช่าคนนี้เท่านั้น ซึ่งทำให้สิทธิในการเช่าไม่สามารถโอนยังบุคคลอื่นได้ แต่ขณะเดียวกันก็สามารถระบุในสัญญาเช่าที่ดิน หรือสัญญาเช่าบ้านให้สิทธิในการเช่าตกทอดไปสู่ทายาทของผู้ให้เช่าได้เช่นกัน

ผู้ให้เช่า

ผู้เช่ามีหน้าที่มอบสิทธิในการครอบครองใช้ประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้เช่าตลอดระยะเวลาของการเช่า ผู้ให้เช่าสามารถกำหนดในสัญญาว่าสิทธิการให้เช่านั้นเฉพาะอยู่ที่ผู้ให้เช่าเท่านั้น ทำให้เมื่อผู้ให้เช่าเสียชีวิตระหว่างที่สัญญาเช่ายังไม่หมด จะทำให้สัญญาเช่าระงับลงไม่ตกทอดไปสู่ทายาท
ในทางกลับกันผู้ให้เช่าสามารถระบุให้สิทธิ์การให้เช่าตกทอดไปสู่ทายาทได้เช่นกัน ผู้ให้เช่าไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์แต่เป็นใครก็ได้ที่ได้รับมอบอำนาจหรือความยินยอมจากเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ให้นำทรัพย์นั้นออกให้เช่า
DDproperty มีตัวอย่างสัญญาเช่าบ้านที่คุณสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการออกสัญญาเช่าบ้านของคุณได้กดดาวน์โหลดสัญญาเช่าฯ ที่นี่

ตัวอย่างหนังสือสัญญาเช่าอาคาร บ้าน คอนโด และอสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ

ตัวอย่างหนังสือสัญญาเช่าบ้าน
เรื่องข้างต้นนี้เขียนโดย เชษฐพล มานิตย์ นักเขียนออนไลน์ประจำ DDproperty.com หากมีคำถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ kittikom@ddproperty.com
สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า

คำนวณยอดผ่อนต่อเดือนตามระยะเวลากู้

เพียงใส่ยอดเงินกู้ที่คุณต้องการ เราจะคำนวณให้คุณเห็นถึงยอดผ่อนชำระต่อเดือนตามระยะเวลาผ่อนและอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกัน

คำนวณยอดผ่อนต่อเดือน

คำนวณยอดผ่อนชำระต่อเดือนตามอัตราดอกเบี้ยของคุณด้วยเครื่องมือคำนวณสินเชื่อนี้

คำนวณวงเงินกู้สูงสุด

คำนวณสินเชื่อบ้าน ยอดวงเงินกู้บ้านใหม่ที่คาดว่าจะได้รับจากแบงก์และยอดผ่อนชำระในแต่ละเดือน