ในยุคที่คอนโดมิเนียมบูมมาก ๆ มักจะได้ยินคำพูดประโยคที่ว่า “ซื้อดีกว่าเช่า” หรือไม่ก็ “ผ่อนแบงก์เท่ากับเช่า” เพื่อปลุกกระแสให้คนเห็นว่า การเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยในปัจจุบันไม่ยาก
และอัตราการผ่อนก็ใกล้เคียงกับค่าเช่าหอพักหรืออพาร์ทเมนท์เลย โดยเฉพาะคอนโดฯ ต่ำกว่าล้านใกล้ ๆ แหล่งงาน และสถานศึกษา ซึ่งผ่อนแบงก์ก็ใกล้เคียงกับค่าเช่าเลยทีเดียว ในขณะเดียวกันเมื่อราคาคอนโดมิเนียมเริ่มแพงขึ้นมากและจับต้องได้ยากขึ้น ประโยคซื้อดีกว่าเช่า ก็ดูเหมือนจะมีพลังน้อยลง
สำหรับใครที่อยู่ระหว่างตัดสินใจหาที่อยู่อาศัย ระหว่างซื้อ หรือเช่า ดีกว่ากันนั้น สิ่งสำคัญอยู่ที่ความ “พร้อมทางการเงิน” เป็นหลัก เพราะแม้ว่าอัตราการผ่อนแบงก์จะใกล้เคียงกับค่าเช่า แล้วยังได้กรรมสิทธิ์ แต่การเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ก็มีค่าใช้จ่ายมากกว่า เรียกว่ามีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันไป จึงขอสรุปไว้เป็นทางเลือก ดังนี้
เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย ระหว่างการซื้อและการเช่า
1. การเตรียมเงินก้อนล่วงหน้า
– ต้องมีเงินผ่อนดาวน์ ถ้ากรณีที่ที่อยู่เดิมต้องเช่า อาจจะต้องผ่อน 2 ทาง
– กรณีที่กู้ แล้วได้วงเงินไม่ตามเป้าหมาย ต้องมีเงินสำรองในการจ่ายส่วนต่าง
– ควรมีเงินสำหรับค่าใช้จ่ายในการรับโอนกรรมสิทธิ์ต่าง ๆ ประมาณ 2-3% ของราคาที่อยู่อาศัย เช่น ค่าโอน 1% ค่าจำนอง 1% ค่าใช้จ่ายจิปาถะ
– เงินจ่ายค่าเช่าล่วงหน้า 1-2 เดือน หรือบางแห่งให้จ่าย 3 เดือนล่วงหน้า
– เงินประกันทรัพย์สิน
2. ค่าใช้จ่ายในการตกแต่ง ซื้อเฟอร์นิเจอร์
– โครงการส่วนใหญ่ไม่ได้ตกแต่งพร้อมอยู่ ควรเตรียมเงินอย่างน้อย 10% ของราคาห้องชุดในการตกแต่ง
– บางโครงการพร้อมอยู่ ก็ไม่ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายส่วนนี้
– ที่พักให้เช่าส่วนใหญ่มีเฟอร์นิเจอร์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าพื้นฐานให้ครบ อาจจะยกเว้น ทีวี ตู้เย็น ที่บางแห่งมี บางแห่งไม่มี อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้เช่าจะซื้อ หรือไม่ซื้อมาใช้งาน
3. อัตราการผ่อนแบงก์ ในทำเลเดียวกัน
– ค่าผ่อนอาจจะสูงกว่าราว ๆ 20-30% แต่คุณภาพชีวิต ความสะดวกสบาย ความปลอดภัย สิ่งอำนวยความสะดวก ดีกว่า
– ค่าเช่าอาจจะถูกกว่าเล็กน้อย แต่ที่พักให้เช่าส่วนใหญ่ไม่ได้มีสิ่งอำนวยความสะดวกมาก ความปลอดภัยอาจจะมีน้อยกว่า ขึ้นอยู่กับการบริหารงานของเจ้าของที่พัก
4. ค่าส่วนกลาง
– คิดค่าส่วนกลางตามพื้นที่ใช้สอย ส่วนใหญ่จ่ายล่วงหน้าปีละ 1-2 ครั้ง คือ ทุก 6 เดือน หรือทุก 12 เดือน ขึ้นอยู่กับการบริหารงานของแต่ละนิติบุคคล
– ส่วนใหญ่แล้วจะคิดรวมกับค่าเช่าที่พัก แต่บางโครงการอาจจะคิดเพิ่มอีกเล็กน้อย
5. ค่ากองทุนส่วนกลางในอนาคต
– อาจจะมีการจัดเก็บกองทุนส่วนกลางใหม่อีกครั้งในทุก 5 ปี หรือ 10 ปี เพื่อใช้เป็นค่าบำรุงรักษาลิฟต์ และทาสีอาคาร
– ไม่มี เจ้าของอาคารเป็นผู้รับผิดชอบ แต่อาจจะใช้วิธีขึ้นค่าเช่า
6. โอกาสลงทุนปล่อยเช่าต่อ
– มี เพราะเป็นเจ้าของเอง ถ้าไม่อยู่ ก็ปล่อยเช่า
– ไม่มี
7. โอกาสทำกำไรจากการขายต่อ
– มี เพราะเป็นเจ้าของเอง ถ้าไม่อยู่แล้วก็ขายต่อ คล่องตัวกว่าขายบ้าน
– ไม่มี
8. ความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนที่อยู่อาศัย
– อาจจะน้อยกว่าการเช่า เพราะกว่าจะประกาศขาย กว่าจะขายได้ อาจต้องใช้เวลา ยกเว้นอยู่ในทำเลที่มีความต้องการสูงมาก ๆ และปล่อยขายในราคาไม่สูง
– ยืดหยุ่นสูง หากต้องเปลี่ยนงาน หรือจำเป็นต้องโยกย้าย ก็แจ้งยกเลิกเช่าล่วงหน้า 1 เดือน แล้วย้ายได้เลย
9. การแปลงสินทรัพย์เป็นทุน
– กรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินก้อนใหญ่ สามารถใช้วิธีรี-ไฟแนนซ์ แล้วกู้เกินตามเท่าที่สามารถทำได้ เพื่อนำวงเงินส่วนต่างมาใช้จ่าย จะคล้ายกับนำเงินที่ผ่อนแบงก์ไปแล้ว กลับมาใช้ประโยชน์อีกรอบ
– ไม่มี ค่าเช่าจ่ายแล้ว จ่ายเลย
10. ภาระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทรัพย์สินในอนาคต
– ค่ากองทุนส่วนกลาง (อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ ขึ้นอยู่กับการบริหารงานของแต่ละโครงการ
– ค่าซ่อมบำรุงอุปกรณ์ข้าวของภายในห้องของตัวเองให้ยังอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน เช่น สุขภัณฑ์ รอยยาแนวหลุด กระเบื้องเริ่มแตก ประตู หน้าต่าง เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ
– ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ถ้ามีการประกาศใช้จริง กรณีที่คุณมีทั้งบ้านชานเมือง และคอนโดมิเนียมไว้อยู่ระหว่างทำงาน จะต้องเสียภาษีให้กับที่อยู่อาศัยหลังที่ 2
– ไม่มี
จากตารางข้างบนนี้จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะ “ซื้อ” หรือ “เช่า” ก็มีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันไป หากให้สรุปสั้น ๆ ได้ใจความก็ คือ คนที่ประเมินแล้วว่าเราจะมีความมั่นคงในสถานที่ทำงาน ทำงานย่านนี้ อยู่อาศัยย่านนี้ไปยาว ๆ และมีความพร้อมทางการเงิน ก็ตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยได้เลย น่าจะคุ้มกว่า
ในขณะที่ใครที่ยังไม่แน่ไม่นอน ยังไม่รู้ว่าจะทำงานที่นี่นานหรือไม่ อาจจะเปลี่ยนงานเร็ว ๆ นี้ หรือลักษณะงานไม่อยู่กับที่ จะอยู่เหนือ หรือล่องใต้ก็ยังไม่รู้ หรือไม่ก็คอนโดฯ ในทำเลที่อยากได้ก็แพงเกินกำลัง “เช่า” ก็ดูจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
ส่วนคนที่อยากจะซื้อที่อยู่อาศัย แต่ก็รู้สึกว่าอาจจะต้องเดินทางบ่อย ๆ ไม่ได้อยู่กับที่ แต่ก็ยังอยู่ในกรุงเทพฯ ให้เลือกทำเลกลาง ๆ ใกล้รถไฟฟ้า เผื่อต้องเปลี่ยนงานตามแนวรถไฟฟ้าก็ยัง ก็ยังเดินทางสะดวก
สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า