3 กรณีกฎหมายมรดกที่ดิน และค่าใช้จ่ายการโอนจากกรมที่ดิน

DDproperty Editorial Team
3 กรณีกฎหมายมรดกที่ดิน และค่าใช้จ่ายการโอนจากกรมที่ดิน
การโอนที่ดินมีรายละเอียดหลายข้อที่ต้องนำมาพิจารณา โดยเฉพาะค่าโอนที่ดิน ซึ่งภายหลังจากมีการกำหนดพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 40) พ.ศ. 2558 ส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายภาษีหรือค่าโอนที่ดินเกิดขึ้น สำหรับผู้รับมรดก 100 ล้านขึ้นไป แต่ก็ใช่ว่าคนกลุ่มอื่นที่มีที่ดินมูลค่าไม่ถึง จะไม่ต้องเสียค่าโอนที่ดิน
ด้วยเหตุนี้เอง DDproperty จึงสรุปรวบยอดค่าโอนที่ดินมรดกจากข้อมูลของกรมที่ดิน ทั้งที่ได้รับในขณะบุพการีมีชีวิตอยู่ และเสียชีวิตไปแล้ว มาให้ศึกษา และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการโอนที่ดินกันแบบกระจ่างแจ้ง

กรณีที่ 1 บุพการี พ่อ แม่ มีการโอนที่ดินให้ผู้สืบสันดาน หรือ ทายาทโดยธรรมอันถูกต้องตามกฎหมาย ในขณะมีชีวิตอยู่

ประเภทค่าใช้จ่ายในการโอนเสียเท่าไหร่
ค่าจดทะเบียนโอนที่ดินคิดเป็นร้อยละ 50 สตางค์ ของราคาประเมิน
ค่าอากรแสตมป์คิดเป็นร้อยละ 50 สตางค์ ของราคาประเมิน
ค่าพยานจำนวน 20 บาท
ค่าคำขอจำนวน 5 บาท
ค่าอากรคู่ฉบับจำนวน 5 บาท

กรณีที่ 2 บุพการี พ่อแม่ รวมทั้ง ปู่ ย่า ตา ยาย ยกมรดกที่ดินให้ ผู้สืบสันดาน หรือ ทายาทโดยธรรมอันถูกต้องตามกฎหมาย ในขณะเสียชีวิตไปแล้ว

ประเภทค่าใช้จ่ายในการโอนเสียเท่าไหร่
ค่าจดทะเบียนโอนมรดกคิดเป็นร้อยละ 50 สตางค์ ของราคาประเมิน
ค่าพยานจำนวน 20 บาท
ค่าคำขอจำนวน 5 บาท

กรณีที่ 3 พี่ น้อง สายเลือดเดียวกัน มีการโอนที่ดินให้

ประเภทค่าใช้จ่ายในการโอนเสียเท่าไหร่
ค่าธรรมเนียมคิดเป็นร้อยละ 2 ของราคาประเมิน
ค่าอากรแสตมป์คิดเป็นร้อยละ 50 สตางค์ ของราคาประเมิน
ค่าใช้จ่ายการโอนที่ดินมรดกให้ลูก

ค่าใช้จ่ายจากการครอบครองที่ดิน

การครอบครองที่ดิน อันได้มาจากการโอนที่ดิน หรือมรดกตกทอด จากบุพการี หรือญาติพี่น้อง จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายตามที่ระบุไว้ข้างต้น ทั้งนี้ บางกรณีอาจมีเรื่องภาษีเข้ามาเพิ่มเติมอย่างกรณีที่ 3 โดยกำหนดให้มีภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีบุคคลธรรมดาเป็นผู้โอน โดยคำนวนตามราคาประเมินทุนทรัพย์
ส่วนผู้รับมรดกมูลค่าที่ดินเกิน 100 ล้านบาท หากเป็นผู้สืบสันดาน เสียภาษีรับมรดก 5% และถ้าหากเป็นบุคคลภายนอกเสีย 10% โดยกรมสรรพากรให้ผ่อนได้ 5 ปี และหากเกิน 2 ปี จะต้องเสียดอกเบี้ย 0.5% ต่อปี
จะเห็นได้ว่าการรับมรดกตกทอดจากบุพการี ปู่ ย่า ตา ยาย หรือแม้แต่พี่น้อง นอกจากทำเรื่องการโอนที่ดินแล้ว ผู้ที่ได้รับมรดกจำเป็นต้องเตรียมตัวในเรื่องค่าโอนที่ดินด้วย เพื่อไม่ให้เกิดเป็นภาระในภายหลัง
แหล่งข้อมูลอ้างอิง : กรมที่ดิน
เรื่องข้างต้นเขียนโดย อารยา ศิริพยัคฆ์ Content Writer ประจำเว็บไซต์ DDproperty.com หากมีคำถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ kittikom@ddproperty.com
สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า

คำนวณยอดผ่อนต่อเดือน

คำนวณยอดผ่อนชำระต่อเดือนตามอัตราดอกเบี้ยของคุณด้วยเครื่องมือคำนวณสินเชื่อนี้

คำนวณวงเงินกู้สูงสุด

คำนวณสินเชื่อบ้าน ยอดวงเงินกู้บ้านใหม่ที่คาดว่าจะได้รับจากแบงก์และยอดผ่อนชำระในแต่ละเดือน

คำนวณสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน

เช็กยอดผ่อนชำระต่อเดือนอัตราใหม่และจำนวนเงินที่คุณสามารถประหยัดได้หลังจากการทำรีไฟแนนซ์