โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor (EEC) คือ โครงการภายใต้พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกที่ประกาศเริ่มใช้ในปี 2561 ส่งผลหลายประการต่อเศรษฐกิจและตลาดอสังหาริมทรัพย์ในภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยเฉพาะใน 3 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง
ราคาที่ดินปรับขึ้นสูงสุด 43%
จากศักยภาพของทำเลทำให้ราคาที่ดินของจังหวัดใน EEC ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังเริ่มมีความชัดเจนการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) และโครงการต่าง ๆ ใน EEC โดยราคาประเมินที่ดินของกรมธนารักษ์ พบว่า ราคาปรับเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 42.83%
จังหวัดชลบุรี
ราคาที่ดินปรับขึ้น 42.83% สูงสุดคือถนนเลียบหาดพัทยา อำเภอบางละมุง อยู่ที่ 220,000 บาทต่อตารางวา รองลงมาเป็นถนนเส้นสำคัญ ๆ ได้แก่
– ถนนพัทยาใต้ 90,000-150,000 บาทต่อตารางวา
– ถนนเลียบหาดจอมเทียน 65,000-100,000 บาทต่อตารางวา
– ถนนสุขุมวิท 10,000-100,000 บาทต่อตารางวา
– ถนนชลบุรี-บ้านบึง 1,500-60,000 บาทต่อตารางวา
– ถนนลงหาดบางแสนผ่านมหาวิทยาลัยบูรพา 45,000 บาทต่อตารางวา
– ถนนเลียบหาดบางแสน 30,000 บาทต่อตารางวา
– ถนนบางละมุง-ระยอง 4,000-12,000 บาทต่อตารางวา
– มอเตอร์เวย์สาย 7 3,000-12,000 บาทต่อตารางวา
– ถนนฉะเชิงเทรา-สัตหีบ (331) 2,000-8,000 บาทต่อตารางวา
จากข้อมูลในเว็บไซต์ DDproperty พบว่า ราคาอสังหาริมทรัพย์ในชลบุรีเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในช่วงไตรมาส 3 ปี 2563 เพิ่มขึ้น 6% จากไตรมาสก่อนหน้า ราคาส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 1-3 ล้านบาท แยกเป็นอำเภอได้ดังนี้
– อำเภอบ้านบึง ราคาเพิ่มขึ้น 58%
– อำเภอเมืองชลบุรี ราคาทรงตัว
– อำเภอพนัสนิคม ราคาทรงตัว
– อำเภอสัตหีบ ราคาเพิ่มขึ้น 3%
จังหวัดระยอง
ราคาที่ดินปรับขึ้น 7.49% สูงสุดคือถนนสุขุมวิท อำเภอเมืองระยอง อยู่ที่ 100,000 บาทต่อตารางวา รองลงมาเป็นถนนเส้นสำคัญ ๆ ได้แก่
– ถนนสุขุมวิท 3,000-100,000 บาทต่อตารางวา
– ถนน 3574 ระยอง-บ้านค่าย 2,500-60,000 บาทต่อตารางวา
– ถนนตากสินมหาราช 50,000-60,000 บาทต่อตารางวา
– ถนนบางนา-ตราด 5,000-40,000 บาทต่อตารางวา
– ถนน 3145 บ้านเพ-แกลง-กร่ำ 6,300-18,000 บาทต่อตารางวา
– ถนน 3376 บ้านฉาง-ชากหมาก-ยายร้า 800-13,000 บาทต่อตารางวา
– ถนน 344 บ้านบึง-แกลง 1,800-8,500 บาทต่อตารางวา
– ถนนปลวกแดง-ห้วยปราบสะพานสี่ 5,000-8,000 บาทต่อตารางวา
– ถนน 3191 ปลวกแดง-ระยอง 1,000-7,000 บาทต่อตารางวา
– ถนน 3377 เขาดิน-แยกพัฒนา 500-4,000 บาทต่อตารางวา
จากข้อมูลในเว็บไซต์ DDproperty พบว่า ราคาอสังหาริมทรัพย์ในระยองเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงไตรมาส 3 ปี 2563 ราคาเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าถึง 290% ราคาส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 1-5 ล้านบาท แยกเป็นอำเภอได้ดังนี้
– อำเภอบ้านฉาง ราคาเพิ่มขึ้น 5%
– อำเภอเมืองระยอง ราคาทรงตัว
– อำเภอแกลง ราคาเพิ่มขึ้น 4%
– อำเภอปลวกแดง ราคาเพิ่มขึ้นถึง 300%
– อำเภอนิคมพัฒนา ราคาทรงตัว
จังหวัดฉะเชิงเทรา
ราคาที่ดินปรับขึ้น 1.53% สูงสุดคือถนนมหาจักรพรรดิ์ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา อยู่ที่ 50,000 บาทต่อตารางวา รองลงมาเป็นถนนเส้นสำคัญ ๆ ได้แก่
– ถนน 304 (สุวินทวงศ์) 3,500-50,000 บาทต่อตารางวา
– ถนน 314 ฉะเชิงเทรา-บางปะกง 10,500-35,000 บาทต่อตารางวา
– ถนน 34 เทพรัตน 22,500 บาทต่อตารางวา
– ถนน 3121 บางคล้า-แปลงยาว 4,500-17,500 บาทต่อตารางวา
– ถนน 3378 บางคล้า-พนมสารคาม 3,000-8,000 บาทต่อตารางวา
– ถนน 3124 บางน้ำเปรี้ยว-บางขนาก 1,550-9,000 บาทต่อตารางวา
จากข้อมูลในเว็บไซต์ DDproperty พบว่า ราคาอสังหาริมทรัพย์ในฉะเชิงเทราปรับตัวลดลงเล็กน้อยในช่วงไตรมาส 3 ปี 2563 โดยลดลงประมาณ 1% จากไตรมาสก่อนหน้า ราคาส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 1-3 ล้านบาท แยกเป็นอำเภอได้ดังนี้
– อำเภอบ้านโพธิ์ ราคาเพิ่มขึ้น 34%
– อำเภอพนมสารคาม ราคาเพิ่มขึ้น 62%
– อำเภอสนามไชยเขต ราคาทรงตัว
จะเห็นได้ว่าราคาที่ดินในแต่ละปีมีการปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลจากการก่อสร้างรถไฟฟ้าหลายสายในช่วงที่ผ่านมาและโครงการในอนาคต ตลอดจนการขยายตัวของเมือง โดยเฉพาะพื้นที่ EEC ที่มีการเพิ่มขึ้นของประชากร และความต้องการที่ดินเพื่อพัฒนาโครงการทั้งของรัฐและเอกชนที่เพิ่มมากขึ้น ดันราคาที่ดินในหลายพื้นที่ปรับตัวสูงขึ้นหลายเท่าตัว
สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า