เงินฝากออมทรัพย์ และฝากประจำ อีกหนึ่งช่องทางการออมเงินที่จะพาคุณก้าวไปสู่เส้นทางการเป็นเศรษฐีได้โดยที่ไม่ต้องเสี่ยงมากเกินไปเหมือนการลงทุนในหุ้น หรือการลงทุนรูปแบบอื่น ลองมาทำความรู้จักเงินฝากแต่ละประเภท พร้อมเช็กอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์และฝากประจำ เดือนมีนาคม 2566 ของแต่ละธนาคาร ได้ที่นี่
อ่านหัวข้อที่คุณสนใจ
- เงินฝากออมทรัพย์คืออะไร
- บัญชีเงินฝากประจำคืออะไร
- เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียของเงินฝากออมทรัพย์ VS. ฝากประจำทั่วไป
- เช็กอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์และฝากประจำของแต่ละธนาคาร
เงินฝากออมทรัพย์ (Saving Deposit Account) คืออะไร
เงินฝากออมทรัพย์ เหมาะกับนักออมรายย่อยหรือมนุษย์เงินเดือนมือใหม่ที่อาจจะเริ่มต้นด้วยเงินจำนวนไม่มากนัก เพราะเงินน้อยก็สามารถฝากได้ แถมยังการันตีว่าจะได้รับผลตอบแทนแน่นอน ไม่มีการกำหนดระยะเวลาในการฝาก สามารถฝากถอนได้ทุกเมื่อจึงทำให้มีสภาพคล่องสูง ไม่ลำบากเวลาเกิดเหตุฉุกเฉิน และนำสมุดเงินฝากค้ำประกันเงินกู้หรือเบิกเงินเกินบัญชีได้
ส่วนผลตอบแทนหรือดอกเบี้ยของบัญชีเงินฝากออมทรัพย์จะคิดดอกเบี้ยเป็นรายวัน แต่มักจะให้คืนในบัญชีทุก 6 เดือนหรือปีละ 2 ครั้ง โดยจ่ายให้สิ้นเดือนมิถุนายนและสิ้นเดือนธันวาคมของทุกปี อัตราดอกเบี้ยของเงินฝากออมทรัพย์ถือว่าต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับการฝากเงินในบัญชีประเภทอื่น เช่น บัญชีเงินฝากประจำ
บัญชีเงินฝากประจำ (Fixed Deposit Account) คืออะไร
เงินฝากประจำ เหมาะกับผู้ที่มีเงินเย็นอยู่บ้าง รวมถึงคนที่ตั้งใจเก็บเงินเพื่อซื้อของหรือบริการ ซึ่งการฝากประเภทนี้จะควบคุมการเก็บเงินได้ง่ายกว่า แต่อาจขาดความยืดหยุ่นและไร้สภาพคล่อง หากใครไม่สามารถวางแผนค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนได้และคาดว่าอาจต้องมีการจ่ายเงินฉุกเฉิน รวมถึงผู้ที่มีรายได้ประจำไม่แน่นอนคงต้องหลีก
บัญชีดังกล่าวจะมีการกำหนดระยะเวลาในการฝากที่แน่ชัด เช่น 3 เดือน 6 เดือน 12 เดือน (ไม่จำเป็นต้องฝากทุกเดือน) และจ่ายดอกเบี้ยครั้งเดียวเมื่อครบกำหนดและดอกเบี้ยที่ได้รับจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% (ดอกเบี้ยที่ได้รับจริงจะต่ำกว่าประกาศของธนาคาร) ไม่สามารถถอนก่อนกำหนดได้ ถ้าจะถอนก็ต้องถอนปิดบัญชีและหากถอนแล้วจะไม่ได้รับดอกเบี้ย หรือกรณีที่ถอนก่อนกำหนดแต่ฝากไว้นานถึงเวลาที่กำหนดแล้ว อาจจะได้รับดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์
แต่ข้อดีที่เห็นได้ชัด ก็คือ อัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าเงินฝากออมทรัพย์ปกติและเงินฝากกระแสรายวัน รวมถึงยังมีความเสี่ยงต่ำกว่าการลงทุนในหุ้นหรือกองทุน และสามารถใช้เป็นหลักค้ำประกันในการกู้ได้ อีกทั้งหากฝากเงินในจำนวนที่มากอาจได้รับสิทธิประโยชน์ที่ธนาคารมอบให้ ซึ่งสิทธิประโยชน์ที่ได้ในแต่ละธนาคารจะแตกต่างกัน
อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะกังวลเรื่องการถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างที่บอกไป ซึ่งถ้าหากคุณกำลังกังวลเรื่องนั้นอยู่ นอกจากบัญชีเงินฝากประจำแบบทั่วไป อาจจะลองใช้บัญชีเงินฝากประจำแบบปลอดภาษีดูก็ได้ เพราะนอกจากจะไม่ต้องโดนหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% แล้วยังมีอัตราดอกเบี้ยพิเศษที่ได้มากกว่าปกติ อันเนื่องมาจากนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการส่งเสริมให้ประชาชนมีการออมเงินเพิ่มมากขึ้น

เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียของเงินฝากออมทรัพย์ VS. ฝากประจำทั่วไป
1. เงินฝากออมทรัพย์
ข้อดี | ข้อเสีย |
– เงินน้อยก็สามารถฝากได้ | – อัตราดอกเบี้ยถือว่าต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับการฝากเงินในบัญชีประเภทอื่น |
– ไม่มีขั้นต่ำในการฝาก | – เบิก/ถอนง่าย ทำให้ควบคุมเงินได้ยาก |
– ไม่มีกำหนดระยะเวลาในการฝากเงิน | |
– การันตีผลตอบแทนแน่นอน | |
– สภาพคล่องตัวสูง เพราะเบิก/ถอนได้ตลอดเวลา ทำให้ไม่เดือดร้อนหากต้องการเงินฉุกเฉิน | |
– สมุดเงินฝากนำมาค้ำประกันเงินกู้หรือเบิกเงินเกินบัญชีได้ |
2. เงินฝากประจำ
ข้อดี | ข้อเสีย |
– ได้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าเงินฝากออมทรัพย์ปกติและเงินฝากกระแสรายวัน | – ขาดความยืดหยุ่นและไร้สภาพคล่อง เพราะไม่สามารถถอนก่อนกำหนดได้ |
– มีวินัยและเก็บเงินได้มากกว่าฝากออมทรัยพ์ เพราะถอนไม่ได้ทันที | – มีขั้นต่ำในการฝาก บัญชีเงินฝากประจำบางรูปแบบมีขั้นต่ำที่สูงมาก |
– มีความเสี่ยงต่ำกว่าการลงทุนในหุ้นหรือกองทุน | – ถอนเงินก่อนระยะเวลาอาจไม่ได้รับดอกเบี้ยหรือได้ดอกเบี้ยน้อยกว่าที่กำหนด |
– หากฝากเงินในจำนวนมากอาจได้รับสิทธิ์ประโยชน์ที่ธนาคารมอบให้ | – เงินฝากประจำทั่วไป ดอกเบี้ยที่ได้รับจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% |
– สามารถใช้เป็นหลักค้ำประกันเงินกู้ได้ |
เช็กอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์และฝากประจำของแต่ละธนาคาร
แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์
0.25%
0.90%
1.00%
1.15%
1.20%
กรุงไทย
0.25%
0.77%
0.85%
1.15%
1.65%
กรุงศรีอยุธยา
0.25%
0.60%
0.70%
1.20%
1.55%
ยูโอบี
0.10-0.35%
0.45-0.60%
0.20-0.70%
0.20-1.00%
0.20-1.25%
ซีไอเอ็มบี ไทย
0.25%
0.75%
0.75%
1.15%
1.50%
ไทยพาณิชย์
0.25%
0.77%
0.85%
1.15%
1.55%
กสิกรไทย
0.25%
0.67-0.72%
0.75-0.80%
1.10-1.15%
1.35-1.45%
กรุงเทพ
0.50%
0.75%
0.85%
1.15%
1.50%
ทหารไทยธนชาต
0.125%
0.60%
0.70%
1.10%
1.40%
เกียรตินาคินภัทร
0.25%
0.95-1.10%
1.10-1.25%
1.35-1.50%
1.50-1.65%
ไอซีบีซี (ไทย)
0.35-1.00%
0.90%
1.00%
1.10%
1.25%
ทิสโก้
0.25-2.00%
1.10-1.25%
1.20-1.40%
1.45-1.60%
1.60-1.75%
ซิตี้แบงก์
0.10%
0.45%
0.20%
0.20%
0.20%
*ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ณ วันที่ 2 มีนาคม 2566
สุดท้ายนี้ไม่ว่าจะเลือกฝากเงินประเภทไหน การเก็บออมเงินก็เป็นเรื่องที่ดี ค่อยเป็นค่อยไปและศึกษาข้อมูลให้ละเอียด อย่าเลือกเพียงแค่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ให้มากกว่า ควรพิจารณาเงื่อนไข ความสะดวก และความมั่นคงของธนาคารด้วย
สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า