ดอกเบี้ย FED ปรับขึ้น ส่งผลอะไรกับมนุษย์เงินเดือนที่อยากมีบ้าน?

DDproperty Editorial Team
ดอกเบี้ย FED ปรับขึ้น ส่งผลอะไรกับมนุษย์เงินเดือนที่อยากมีบ้าน?
fed-infographic-09122015.original
หลายคนคงเคยได้ยินบ่อยๆ เกี่ยวกับข่าวการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย FED (Federal Reserve System) หลายคนมองว่ามันเป็นเรื่องที่ไกลตัว และไม่ชัวร์ว่าจะเกี่ยวอะไรกับชีวิตของเราหรือไม่ แต่หากคุณได้อ่านสิ่งที่เรากำลังจะเล่าให้ฟังต่อไปนี้ คุณอาจจะต้องประหลาดใจว่าสิ่งที่คิดว่าไกล๊ ไกลตัวเราเนี่ยแหละ กลับมีผลกระทบกับมนุษย์เงินเดือนอย่างเราจนน่าประหลาดใจ วันนี้ DDproperty ได้สรุปสาระเรื่องนี้มาย่อยให้คุณเข้าใจแบบง่ายๆ
บทความคู่มือซื้อขายต่างๆที่น่าสนใจ

ทำไมดอกเบี้ย FED ต้องขึ้น?

หลังจากเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจในช่วงปี 2008 โดยต้นตอที่ทำให้ทั่วโลกต้องเจ็บหนักคือ Lehman Brother (บริษัทการเงินยักษ์ใหญ่จากอเมริกา) หากใครยังจำได้ที่ประกาศสภาวะล้มละลายในช่วงนั้น สร้างบาดแผลทางเศรษฐกิจไปทั่วโลก หลังวิกฤติครั้งนั้นสหรัฐจึงต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพื่อกลับมากระตุ้นเศรษฐกิจโลกให้อยู่ในระดับเข้าใกล้เลขศูนย์มากที่สุด (near-zero-interest rate) นับเป็นเวลา 7 ปีแล้วที่ยังคงรักษาอัตราดอกเบี้ยให้คงอยู่ในระดับนี้ คล้ายๆกับกรณี QE (Quality Easing) จากทางยุโรปที่ปล่อยเม็ดเงินมาสู่ประเทศต่างๆผ่านการซื้อพันธบัตรจากสถาบันการเงินต่างๆเพื่อให้ธนาคารมีเม็ดเงินปล่อยกู้ให้กับภาคเอกชน ก่อให้เกิดการลงทุนในประเทศ โดยสามารถถอดออกมาเป็นวัฏจักรได้ดังนี้
Liftoff
เมื่อตัวเลขทางเศรษฐกิจของสหรัฐกลับมาดี – ปัจจัยหลักที่มีผลหลักต่อการปรับขึ้นดอกเบี้ยก็คือตัวเลข nonfarm payroll (ภาวะการมีงานทำของประชากรสหรัฐไม่นับรวมข้าราชการและชาวไร่ ชาวนา) — ถ้าตัวเลขนี้ปรับตัวดีขึ้นเรื่อยๆตลอดหลายเดือนติดต่อกันก็มีแนวโน้มว่า FED จะปรับขึ้นดอกเบี้ยในเร็ววัน โดยอัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) ล่าสุดที่สหรัฐประกาศออกมาอยู่ที่ประมาณ 5% ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างดี FED ดอกเบี้ยกลาง ทำไมต้องมีขึ้นมีลง?

แล้วเกี่ยวอะไรกับภาคอสังหาฯ?

แน่นอนว่าในการซื้อบ้านหรือคอนโดฯ ส่วนใหญ่จะถูกดำเนินในรูปแบบของการจำนอง (mortgage) นั่นคือทางผู้ซื้อกู้เงินมาจากธนาคารแล้วผ่อนชำระในจำนวนดอกเบี้ยและระยะเวลาที่กำหนดโดยมีทรัพย์สินค้ำประกันก็คือตัวอสังหาฯ (บ้าน-คอนโดฯ) ที่ผ่อนอยู่ หากขาดการชำระเกินระยะเวลาที่กำหนดทางเจ้าหนี้หรือธนาคารมีสิทธิที่จะทำการยึดอสังหาฯ ตัวนั้นได้ แน่นอนว่าเมื่อดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้นจะส่งผลต่อภาระเงินผ่อนที่เพิ่มขึ้น (การปรับขึ้นดอกเบี้ยไม่ได้ปรับอัตราเงินเฟ้อหรือ inflation ให้ไปในทิศทางเดียวกันด้วย) นั่นคือรายรับเท่าเดิมแต่ผ่อนชำระมากขึ้นกว่าเดิมนั่นเอง เมื่อคนคิดว่าอย่างนี้ฉันก็จะต้องชำระต่องวดในตัวเลขที่มากขึ้น ดีมานด์ในการอยากมีบ้านและคอนโดฯ ก็จะลดลง

ใครได้ประโยชน์?

ผู้ที่ฝากเงินไว้กับธนาคาร เพราะเมื่อดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้น = จำนวนดอกเบี้ยเงินฝากที่เพิ่มขึ้น

ใครเจ็บ(หนัก)?

ผู้ที่รับบทเจ็บหนักเห็นทีจะไม่พ้นบรรดาลูกหนี้ทั้งหลายที่ยืมเงินมาจากสถาบันการเงินของสหรัฐ (dollar-denominated debt) โดยเฉพาะประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ทางฝั่งอเมริกาใต้อย่างบราซิล, อาร์เจนตินา และประเทศต่างๆ ทางฝั่งแอฟริกาใต้ รวมไปถึงฝั่งตะวันออกกลางอย่างตุรกี ซึ่ง ณ ตอนนั้นยืมมาในอัตราดอกเบี้ยต่ำ แต่เมื่อถึงเวลาคืนกลับต้องจ่ายในราคาดอกเบี้ยที่สูงขึ้น

เกี่ยวอะไรกับไทย?

ประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่เด่นเรื่องการส่งออก (exports) ดังนั้นเมื่อดอกเบี้ยจาก FED ถูกปรับขึ้นส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์แข็ง ทำให้สามารถซื้อสินค้าจากประเทศที่มีค่าเงินอ่อนอย่างบ้านเราได้มากขึ้น ปริมาณการส่งออกจึงเพิ่มขึ้น หนุนให้ GDP (มูลค่าการส่งออกรวมของประเทศ) เพิ่มสูงขึ้นตาม

ญี่ปุ่นยิ้มปริ

ญี่ปุ่นถือว่าเป็นหนึ่งในเจ้าหนี้ใหญ่ของสหรัฐเนื่องจากหุ้นกู้, พันธบัตร หรือสินทรัพย์อ้างอิงต่างๆ ที่ญี่ปุ่นซื้อมาจากสหรัฐมีสกุลเงินอ้างอิงคือดอลลาร์ส่งผลให้ญี่ปุ่นมีมูลค่าทรัพย์สินสูงขึ้น

ราคาทอง

ราคาทองอาจจะมีการปรับตัวลดลงเนื่องจากเมื่อเงินดอลลาร์แข็งตัวขึ้นนักลงทุนจะเข้าไปซื้อเงินดอลในฐานะทรัพย์สินปลอดภัย (safe haven) แทนทองคำเมื่อเงินโยกจากทองคำไปดอลลาร์ ราคาทองจึงร่วงลง
แต่สำหรับอัตราดอกเบี้ยของบ้านเราล่าสุดทางธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT) ยังคงคงอัตราดอกเบี้ยไว้คงเดิมนั่นคือ 1.5% สาเหตุที่ยังไม่ปรับขึ้นนั่นเพราะต้องการดูสถานการณ์ก่อนว่านโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆโดยรัฐบาลส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจไปในทิศทางใด แข็งแรงพอที่จะปรับดอกเบี้ยขึ้นได้หรือไม่ หากใครคิดจะซื้อหรือผ่อนบ้าน, คอนโด อาจจะยังต้องรอดูสถานการณ์ หากเศรษฐกิจยังออกมาไม่ดีก็มีแนวโน้มว่า BOT อาจจะปรับลดดอกเบี้ยลงมาอีกส่งผลให้ภาระการผ่อนลดน้อยลง
fed-infographic-09122015-2
อ่านบทความอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
เรื่องข้างต้นนี้เขียนโดย ชัยสิทธิ์ บุนนาค Content Writer ประจำ DDproperty.com หากมีคำถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ araya@ddproperty.com
หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการซื้อบ้าน คู่มือซื้อขายสามารถเป็นตัวช่วยตอบได้ทุกคำถาม พร้อมบอกรายละเอียดการคำนวณสินเชื่อบ้านให้คุณตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น