ทะเบียนบ้านชั่วคราว คืออะไร และ 3 ขั้นตอนในการยื่นขอ

DDproperty Editorial Team
ทะเบียนบ้านชั่วคราว คืออะไร และ 3 ขั้นตอนในการยื่นขอ
ทะเบียนบ้านชั่วคราว จำเป็นอย่างหมากสำหรับผู้ที่มีที่อยู่อาศัยซึ่งเข้าข่ายอยู่ในกรณีพิเศษ เช่น อยู่ในพื้นที่สาธารณะ หรือไม่ได้ไปขอทะเบียนบ้านตามกำหนด จำเป็นต้องออกทะเบียนบ้านชั่วคราว ซึ่งก่อนจะไปถึงขั้นดำเนินการติดต่อ ควรทำความรู้จักและศึกษาทะเบียนบ้านชั่วคราวให้ละเอียดถี่ถ้วนเสียก่อน
อ่านหัวข้อที่คุณสนใจ

ทะเบียนบ้านชั่วคราวคืออะไร

เชื่อว่าหลายคนคงยังไม่คุ้นหูกับคำว่า "ทะเบียนบ้านชั่วคราว" ที่ออกโดยสำนักบริหารการทะเบียน ว่าคืออะไร มีไว้ทำไม โดยแท้จริงแล้ว ทะเบียนบ้านดังกล่าวจะถูกออกโดยนายทะเบียนในกรณีที่บ้านนั้นปลูกสร้างบริเวณพื้นที่สาธารณะ หรืออาณาเขตของบ้านเข้าข่ายบุกรุกป่าสงวน รวมไปถึงเป็นที่อยู่อาศัยไม่ได้ขออนุญาตก่อสร้างตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ประกอบกับไม่ได้เอกสารสิทธิ์
ทั้งหมดทั้งมวลของปัจจัยเหล่านี้ จะทำให้จำเป็นต้องได้รับทะเบียนชั่วคราวก่อนที่จะได้ฉบับทะเบียนบ้านปกติ
เป็นเจ้าบ้านได้กี่หลัง

เป็นเจ้าบ้านได้กี่หลัง

ทะเบียนบ้านชั่วคราวและทะเบียนบ้านปกติต่างกันอย่างไร

แน่นอนว่าเมื่อมีวาระของการขอทะเบียนบ้านแตกต่างกัน ลักษณะและความสำคัญของทะเบียนบ้านย่อมมีรูปแบบเปลี่ยนไปด้วย โดยความแตกต่างของทะเบียนบ้านชั่วคราวและทะเบียนบ้านปกติ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

– ทะเบียนบ้านชั่วคราว

จะได้รับเมื่อที่อยู่อาศัย เข้าข่ายละเมิดกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร หรือไม่ได้รับเอกสารสิทธิ์ ทั้งนี้ลักษณะของทะเบียนบ้านชั่วคราวจะเป็นในรูปแบบของเอกสารราชการ โดยมีเอกสิทธิ์เหมือนกับทะเบียนบ้าน
ทั้งนี้ ผู้มีชื่อในเอกสารฉบับดังกล่าว จะมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลที่มีชื่อในทะเบียนบ้านปกติ
ตามกฎหมายได้ระบุรูปแบบของทะเบียนบ้านชั่วคราวอีกประเภท ที่ไม่จำเป็นต้องเข้าข่ายละเมิดกฎหมาย นั่นคือ "ทะเบียนบ้านชั่วคราว ของสำนักงานทะเบียน" ซึ่งถูกกำหนดขึ้นเพื่อใช้ลงรายการของบุคคลขอแจ้งออกจากทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) เพื่อเดินทางไปต่างประเทศ
รวมถึงกรณีบ้านที่ถูกระบุในทะเบียนบ้าน ยังไม่มีเลขที่บ้าน จำเป็นต้องออกทะเบียนบ้านชั่วคราวดังกล่าว และเจ้าบ้านจำเป็นต้องขอเลขที่บ้านภายใน 15 วันหลังจากออกทะเบียนชั่วคราว

– ทะเบียนบ้านปกติ

เป็นทะเบียนที่นายทะเบียนออกให้ พร้อมระบุบ้านเลขที่อย่างชัดเจน ทั้งนี้ที่อยู่อาศัยดังกล่าวอยู่ในระเบียบว่าด้วยการควบคุมอาคาร หรือได้รับเอกสารสิทธิ์ในที่ดินปลูกสร้าง
สำเนาทะเบียนบ้านปกติ

ขั้นตอนขอทะเบียนบ้านชั่วคราว

ในการขอทะเบียนบ้านชั่วคราว นั้นมีเอกสารสำคัญและขั้นตอนการติดต่อดังต่อไปนี้

เอกสารที่ใช้ในการติต่อ

1. หนังสือขออนุญาตปลูกสร้างบ้าน หรือหนังสือสัญญาซื้อขายบ้าน (ถ้ามี)
2. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
3. บัตรประจำตัวผู้แจ้งหรือผู้ได้รับมอบหมาย
4. หนังสือมอบหมาย (ถ้ามี)

ขั้นตอนการติดต่อ

1. เมื่อสร้างบ้านเสร็จแล้วไปติดต่อ ณ สำนักทะเบียน ที่ได้ปลูกสร้างบ้าน
2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานเมื่อถูกต้องแล้ว จะจัดทำหลักฐานทะเบียนบ้านชั่วคราวและสำเนาทะเบียนบ้านชั่วคราว
3. มอบสำเนาทะเบียนบ้านให้แก่ผู้แจ้ง
เรื่องข้างต้นเขียนโดย อารยา ศิริพยัคฆ์ Content Writer ประจำเว็บไซต์ DDproperty.com หากมีคำถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ kittikom@ddproperty.com
สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า

ทะเบียนบ้านชั่วคราวคืออะไร

ทะเบียนบ้านชั่วคราว คือทะเบียนบ้านที่ออกให้ในกรณีที่บ้านนั้นปลูกสร้างบริเวณพื้นที่สาธารณะ หรืออาณาเขตของบ้านเข้าข่ายบุกรุกป่าสงวน รวมไปถึงเป็นที่อยู่อาศัยไม่ได้ขออนุญาตก่อสร้างตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ประกอบกับไม่ได้เอกสารสิทธิ์

การขอทะเบียนบ้านชั่วคราวให้ไปติดต่อ ณ สำนักทะเบียน ที่ได้ปลูกสร้างบ้าน โดยใช้หนังสือขออนุญาตปลูกสร้างบ้าน สัญญาซื้อขายบ้าน และบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน

กรณีบ้านที่ถูกระบุในทะเบียนบ้าน ยังไม่มีเลขที่บ้าน จำเป็นต้องออกทะเบียนบ้านชั่วคราว และเจ้าบ้านจำเป็นต้องขอเลขที่บ้านภายใน 15 วันหลังจากออกทะเบียนชั่วคราว