เมื่อเราต้องการจะซื้อบ้านเป็นของตนเอง และได้ตัดสินใจทำเรื่องกู้สินเชื่อบ้านกับทางธนาคาร ส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่ของธนาคารมักจะนำเสนอประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อบ้าน หรือ MRTA : Mortgage Reducing Term Assurance มาเป็นทางเลือกให้กับเรา โดยประกันประเภทนี้เน้นเรื่องของความคุ้มครองเป็นหลัก ไม่มีเงินจ่ายคืนเมื่อครบสัญญา ทำให้ค่าเบี้ยประกันชีวิตถูกที่สุดเมื่อเทียบกับประกันประเภทอื่น ๆ เช่น สะสมทรัพย์ ตลอดชีพ และบำนาญ
ประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อบ้านมีกี่ประเภท
ประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อบ้านนี้แบ่งย่อยได้อีก 2 แบบด้วยกัน คือ
1. คุ้มครองแบบลดหลั่น (คุ้มครองลดลงตามยอดหนี้ที่คงเหลือ)
2. คุ้มครองแบบคงที่
ประกัน MRTA คืออะไร สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้หรือไม่?
เปรียบเทียบประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อบ้าน
ก่อนอื่นขอเปรียบเทียบให้เห็นก่อนว่าประกันทั้ง 2 แบบมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะได้ใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อบ้านว่าควรจะเลือกแบบไหนดี หากจำนวนเงินเอาประกัน 2,000,000 บาท ระยะเวลาคุ้มครอง 30 ปี
คุ้มครองแบบลดหลั่น (คุ้มครองลดลดตามยอดหนี้ที่คงเหลือ)
130,060 บาท
คุ้มครองแบบคงที่
219,880 บาท สูงกว่า 89,820 บาท (69%)
คุ้มครองแบบลดหลั่น (คุ้มครองลดลดตามยอดหนี้ที่คงเหลือ)
คุ้มครองการเสียชีวิตเท่ากับจำนวนเงินกู้ที่ลดลง
คุ้มครองแบบคงที่
คุ้มครองกรณีเสียชีวิตเท่ากับจำนวนเงินเอาประกันภัย
คุ้มครองแบบลดหลั่น (คุ้มครองลดลดตามยอดหนี้ที่คงเหลือ)
ประมาณ 1,975,000 บาท
คุ้มครองแบบคงที่
2,000,000 บาท
คุ้มครองแบบลดหลั่น (คุ้มครองลดลดตามยอดหนี้ที่คงเหลือ)
ประมาณ 1,650,000 บาท
คุ้มครองแบบคงที่
2,000,000 บาท
คุ้มครองแบบลดหลั่น (คุ้มครองลดลดตามยอดหนี้ที่คงเหลือ)
ประมาณ 1,010,000 บาท
คุ้มครองแบบคงที่
2,000,000 บาท
คุ้มครองแบบลดหลั่น (คุ้มครองลดลดตามยอดหนี้ที่คงเหลือ)
ประมาณ 10,000 บาท
คุ้มครองแบบคงที่
2,000,000 บาท
คุ้มครองแบบลดหลั่น (คุ้มครองลดลดตามยอดหนี้ที่คงเหลือ)
เท่ากับ 0 บาท (สิ้นสุดความคุ้มครอง)
คุ้มครองแบบคงที่
0 บาท (สิ้นสุดความคุ้มครอง)
คุ้มครองแบบลดหลั่น (คุ้มครองลดลดตามยอดหนี้ที่คงเหลือ)
หลังจากชำระหนี้ธนาคารแล้ว ไม่มีส่วนต่างคืนให้กับผู้รับประโยชน์ ลำดับถัดไป
คุ้มครองแบบคงที่
หลังจากชำระหนี้ธนาคารแล้ว ส่วนต่างคืนให้กับผู้รับประโยชน์ลำดับถัดไปตามที่ระบุในกรมธรรม์
จากตารางข้างต้น กรณีผู้เอาประกันภัยจากไปก่อนวัยอันควรปีที่ 29 หากเลือกความคุ้มครองแบบลดหลั่น จะได้รับความคุ้มครอง 10,000 บาท แต่หากเลือกความคุ้มครองแบบคงที่ จะได้รับความคุ้มครอง 2,000,000 บาท ส่วนใน ปีที่ 30 หากจากไปก่อนวัยอันควร จะไม่ได้รับความคุ้มครองตามยอดหนี้ เพราะผ่อนชำระหนี้หมดแล้ว และสิ้นสุดความคุ้มครอง
แล้วตกลงจะเลือกแบบไหนดี ประเด็นนี้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของเราเป็นหลัก โดยมีแนวคิดเพื่อไว้ใช้พิจารณา ซึ่งเป็นคำถามประกอบด้วย
1. รายได้หลักของครอบครัวมาจากเราใช่หรือไม่
2. กรณีหัวหน้าครอบครัวจากไปก่อนวัยอันควร สมาชิกภายในครอบครัวสามารถชำระหนี้แทนเราได้ทั้งหมด ใช่หรือไม่
3. ทุนประกันชีวิตที่มีอยู่ครอบคลุมตามมูลค่าหนี้ของบ้านใช่หรือไม่
ถ้าคำตอบ คือ “ใช่” ทั้ง 3 ข้อ อาจพิจารณาไม่เลือกทำประกันได้ แต่หากคำตอบ คือ “ไม่ใช่” ก็มาพิจารณาที่ ค่าเบี้ยประกันที่ต้องชำระ และความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกันชีวิต รวมทั้งคำนึงถึงความเสี่ยงสำหรับคนที่อยู่ข้างหลัง ซึ่งเราได้กระจายความเสี่ยงนี้อย่างไร
การที่จะเลือกความคุ้มครองแบบลดหลั่น (คุ้มครองลดลงตามยอดหนี้ที่คงเหลือ) โดยจ่ายเบี้ยประกันน้อย หรือคุ้มครองแบบคงที่ 30 ปี โดยจ่ายค่าเบี้ยประกันสูงหน่อย เราสามารถพิจารณาเลือกแบบประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อบ้านได้ด้วยตัวเอง
เรื่องข้างต้นนี้เขียนโดย พฤทธิ์ จำรัสพันธุ์ AFPTTM K-Expert ฝ่ายวางแผนและให้คำปรึกษาลูกค้าบุคคล ธนาคารกสิกรไทย หากมีข้อสงสัยหรือต้องการปรึกษาวางแผนเพิ่มเติม สามารถปรึกษากับ K-Expert ธนาคารกสิกรไทย ได้ที่ K-Expert@kasikornbank.com