รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน รถไฟฟ้า MRT สายใหม่ที่สร้างตามแผนพัฒนาผังเมืองด้วยระบบราง เพื่อกระตุ้นการเติบโตของเมือง และขยายความเจริญออกไปถึงเขตปริมณฑล
โดยรถไฟฟ้าสายนี้เป็นหนึ่งในโครงการรถไฟฟ้า 5 สายที่เตรียมเปิดใช้ภายในปี พ.ศ. 2563 และเป็นรถไฟฟ้าที่จะเชื่อมต่อผู้อยู่อาศัยย่านฝั่งธนฯ เข้าสู่ใจกลางเมืองได้อย่างสะดวกสบาย
หลายคนอาจมีคำถามว่า รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเปิดใช้เมื่อไร เราสามารถแบ่งความคืบหน้าได้ออกเป็น 2 ส่วน
รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-หลักสอง
ส่วนแรกคือ ส่วนต่อขยายช่วงสถานีหัวลำโพงถึงสถานีหลักสองทั้ง 11 สถานี ได้แก่ สถานีวัดมังกร สถานีสามยอด สถานีสนามไชย สถานีอิสรภาพ สถานีท่าพระ สถานีบางไผ่ สถานีบางหว้า สถานีเพชรเกษม 48 สถานีภาษีเจริญ สถานีบางแค และสถานีหลักสอง ที่สร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยเปิดให้บริการเต็มรูปแบบอย่างเป็นทางการมาตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน 2562 ค่าโดยสาร 16-42 บาท
รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงเตาปูน-ท่าพระ
ส่วนที่สอง รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายช่วงสถานีเตาปูน-สถานีท่าพระ รวม 8 สถานี ได้แก่ สถานีบางโพ สถานีบางอ้อ สถานีบางพลัด สถานีสิรินธร สถานีบางยี่ขัน สถานีบางขุนนนท์ สถานีไฟฉาย และสถานีจรัญฯ 13
ล่าสุด การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ร่วมกับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) ได้เร่งดำเนินการเตรียมความพร้อมสำหรับเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงเตาปูน-ท่าพระ ให้เร็วยิ่งขึ้น และเปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบในวันที่ 30 มีนาคม 2563 โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. เปิดอย่างเป็นทางการและเริ่มจัดเก็บค่าโดยสาร ตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2563 นี้เป็นต้นไป
2. ถือเป็นการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล หรือสายสีน้ำเงิน อย่างครบทุกสถานีเต็มโครงข่ายของเส้นทาง โดยมีจำนวนสถานีทั้งสิ้น 38 สถานี รวมระยะทางประมาณ 48 กิโลเมตร
3. มีแนวเส้นทางเชื่อมต่อโครงข่ายเป็นวงกลม (Circle Line) สายแรกของไทย โดยสามารถเดินทางได้รอบกรุงเทพฯ และมีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่น ๆ และระบบขนส่งสาธารณะอื่น ๆ ทั้งล้อ เรือ ราง
4. สำหรับอัตราค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินทั้งเส้นทาง จะคิดอัตราค่าโดยสารตามระยะทาง ตั้งแต่สถานีแรก ที่อัตรา 16 บาท สูงสุด 42 บาท
ทั้งนี้ การคิดอัตราค่าโดยสารสูงสุด จะคิดที่ 12 สถานี จากจำนวนทั้งสิ้น 38 สถานี และในกรณีเดินทางเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 จะคิดอัตราค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 48 บาท (จากราคาปกติไม่เกิน 70 บาท) เดินทางได้ถึง 53 สถานี (สายสีน้ำเงินและสายสีม่วง)
พร้อมทั้งยังคงส่วนลดพิเศษสำหรับเด็กอายุไม่เกิน 14 ปี ที่มีความสูงระหว่าง 91-120 เซนติเมตร และผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จะได้รับส่วนลดค่าโดยสาร 50% รวมทั้งนักเรียนนักศึกษาที่มีอายุไม่เกิน 23 ปี จะได้รับส่วนลดค่าโดยสาร 10% เช่นเดิม
ผู้โดยสารสามารถศึกษาเส้นทางการเดินทางและอัตราค่าโดยสารได้จาก แอปพลิเคชัน Bangkok MRT เว็บไซต์บริษัท BEM (ธุรกิจรถไฟฟ้า) และป้ายประกาศ ณ สถานีรถไฟฟ้า
5. เมื่อผู้โดยสารแตะบัตรหรือเหรียญโดยสารที่ประตูอัตโนมัติแล้ว จะสามารถอยู่ในระบบรถไฟฟ้าได้ไม่เกิน 180 นาที
เพิ่มมาตรการ Social Distancing เว้นระยะห่าง
ทั้งนี้ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินยังได้ดำเนินการตามมาตรการของภาครัฐ เพื่อลดความเสี่ยงจากการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส COVID-19 ได้เพิ่มมาตรการ Social Distancing การสร้างระยะห่างทางสังคม ซึ่งเริ่มดำเนินการ ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป โดยจัดทำเส้นแบ่งระยะห่างการยืน 1 เมตร ตามจุดต่าง ๆ ดังนี้
– หน้าห้องออกบัตรโดยสาร
– หน้าเครื่องออกเหรียญโดยสาร
– บริเวณชั้นชานชาลา ระหว่างยืนรอรถไฟฟ้า
– ลิฟต์โดยสาร
เสริมรถเวลาเร่งด่วนช่วงเช้า ลดความแออัด
นอกจากนี้เพื่อความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทางของผู้โดยสาร รฟม. และ BEM ยังได้เพิ่มขบวนรถเสริมของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินให้บริการในช่วงเวลาเร่งด่วนเช้าในพื้นที่โซนในเมือง เพื่อลดความแออัด เพราะถึงแม้ว่าบางคนจะทำงานที่บ้านหรือ Work from home แล้ว แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่ยังต้องเดินทางไปออฟฟิศ โดยใช้รถไฟฟ้าอยู่
ขั้นตอนการใช้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินให้ห่างไกลจากโควิด-19
1. ต้องสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าตลอดเวลาตั้งแต่เข้าใช้บริการที่สถานี
2. ให้รักษาระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1 เมตร ตลอดเวลาขณะใช้บริการไม่ว่าจะเป็น
การใช้ลิฟต์ การซื้อตั๋วโดยสาร การใช้เครื่องอัตโนมัติเช่นเครื่องออกตั๋ว เครื่อง ATM การรอขึ้นรถไฟฟ้า การโดยสารรถไฟฟ้า การเดินสัญจรภายในสถานี
การใช้ลิฟต์ การซื้อตั๋วโดยสาร การใช้เครื่องอัตโนมัติเช่นเครื่องออกตั๋ว เครื่อง ATM การรอขึ้นรถไฟฟ้า การโดยสารรถไฟฟ้า การเดินสัญจรภายในสถานี
3. ให้ซื้อตั๋วโดยสาร หรือเติมเงินในบัตร MRT ที่ตู้จำหน่ายตั๋วโดยสารอัตโนมัติ ที่มีให้บริการทุกสถานี โดยมีการทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทุก 1 ชั่วโมง เพื่อลดการติดต่อสัมผัสกับพนักงาน
4. ศึกษาข้อมูลการเดินทางจากป้ายประชาสัมพันธ์ หรือ Bangkok MRT Application ซึ่งมีข้อมูลสำคัญครบถ้วนในการใช้บริการรถไฟฟ้า
5. เปลี่ยนมาใช้บัตรโดยสาร MRT หรือ MRT Plus หนึ่งคน หนึ่งใบ สามารถเติมเงินเก็บไว้ใช้ได้ตลอด ช่วยลดการสัมผัส การใช้สิ่งของ อุปกรณ์ร่วมกับบุคคลอื่น
6. ติดต่อกับพนักงานเฉพาะในกรณีที่จำเป็นเพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดบุคคลอื่น
7. ล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจลที่ทุกสถานีมีไว้บริการที่จุดตรวจสัมภาระ และห้องออกบัตรโดยสาร
8. ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ ปฏิบัติตามมาตรการต่าง ๆ เช่นการตรวจคัดกรองวัดอุณหภูมิร่างกาย
ความพิเศษของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
– เชื่อมต่อเขตเมืองและปริมณฑลให้ใกล้กว่าที่เคย
จากผังสถานีทั้งหมดของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายมาจากสถานีหัวลำโพงไปหลักสองและจากสถานีเตาปูนไปท่าพระ โดยตัดผ่านตั้งแต่พื้นที่เมืองเก่าย่านพระนคร เช่น สถานีสนามไชย หรือถนนเก่าแก่คู่กรุงเทพฯ อย่างถนนเจริญกรุง ที่มีสถานีวัดมังกรตั้งอยู่บนนั้น และกินพื้นที่มาจนถึงฝั่งธนบุรีอย่างสถานีหลักสอง ทำให้การเดินทางเข้าออกเขตเมืองไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
– สถาปัตยกรรมที่คงไว้ถึงเอกลักษณ์ของพื้นที่
จุดเด่นหนึ่งของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายสถานีหัวโพง-สถานีหลักสอง คือสถาปัตยกรรมที่สวยงาม โดยเห็นได้จาก สถานีสนามไชยและสถานีสามยอด โดยภายในสถานีสนามไชยถูกออกแบบเชิงสถาปัตยกรรมไทยโบราณ เนื่องจากตั้งอยู่บนพื้นที่อนุรักษ์เกาะรัตนโกสินทร์ จึงได้รับแรงบันดาลใจจากท้องพระโรงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ส่วนสถานีสามยอด ความสวยงามของทั้งภายนอกและภายในสถานีคงไว้ถึงเอกลักษณ์บ้านเรือนยุคเก่าของย่านเจริญกรุง จึงอาจทำให้ทั้งสองสถานีนี้เป็นจุดส่งเสริมการท่องเที่ยวในอนาคต
– จุดเชื่อมต่อการเดินทางที่ไม่สิ้นสุด
ตามนโยบายที่จะแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดด้วยเส้นทาง “ล้อ ราง เรือ” รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินจะเป็นจุดเริ่มต้นการเชื่อมต่อการเดินทางสาธารณะทั้ง 3 ทางดังกล่าว คือ รถยนต์ รถไฟฟ้า และเรือ ซึ่งบริเวณสถานีเชื่อมต่อใหม่อย่างสถานีท่าพระจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกเติบโตขึ้นอีกมากมาย เพื่อตอบรับความต้องการของผู้อยู่อาศัยที่คาดว่าจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
– รถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกที่วิ่งผ่านใต้น้ำ
เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินวิ่งผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาด้วยการลอดอุโมงค์ใต้แม่น้ำเจ้าพระยาลึกกว่า 30 เมตร และเป็นระยะทางยาวกว่า 200 เมตร โดยอุโมงค์นี้จะเชื่อมการเดินทางระหว่างสถานีสนามไชยและสถานีอิสรภาพเข้าด้วยกัน ทำให้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินจะเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกในประเทศไทยที่เดินทางลอดใต้น้ำ
รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ทำเลทองที่น่าจับตามอง
ผู้ที่สนใจลงทุนอสังหาริมทรัพย์แบบสร้างเสร็จแล้ว โครงการที่อยู่อาศัยรอบโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเป็นตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะคาดว่าจะมีผู้ใช้บริการกว่า 400,000 คนต่อวันเพื่อหลีกหนีปัญหารถติดบนท้องถนน รวมไปถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่มีแผนจะสร้างขึ้นเพื่อรองรับการใช้ชีวิตของผู้อยู่อาศัยที่จะเกิดขึ้นใหม่ โดยเฉพาะแนวพื้นที่จรัญสนิทวงศ์
จากปัจจัยดังกล่าวทำให้ดัชนีราคาที่ดินริมถนนรอบสถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายพุ่งสูงขึ้นจากตารางวา (ตร.ว.) ละ 100,000 บาท สู่ ตร.ว. ละ 200,000-300,000 บาท จึงเป็นโอกาสดีสำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ติดรถไฟฟ้าเพื่อเก็งกำไร
ตัวอย่างโครงการใกล้สถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
เดอะ คีย์ MRT เพชรเกษม 48
ถนนเพชรเกษมมีการเติบโตของอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่อง จึงมีศักยภาพในการเติบโตและน่าลงทุน คอนโดฯ เดอะ คีย์ MRT เพชรเกษม 48 ถูกสร้างขึ้นมาอย่างตอบโจทย์ความต้องการของผู้ที่กำลังมองหาคอนโดฯ ติดรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน พร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น Co-working Space สระว่ายน้ำระบบเกลือและฟิตเนส ให้ได้ผ่อนคลายในยามว่าง อ่านรายละเอียดโครงการเดอะคีย์ MRT เพชรเกษม 48
ชวนชื่น จรัญสนิทวงศ์ 3
พื้นที่จรัญสนิทวงศ์นั้นน่าสนใจอย่างยิ่งเนื่องจากจะรายล้อมไปด้วยสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้อยู่อาศัยรอบบริเวณรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เช่น ห้างสรรพสินค้าหลายแห่ง ตลาดน้ำ ตลาดนัด โรงพยาบาล และร้านอาหารที่มีชื่อจำนวนมาก โครงการชวนชื่น จรัญฯ 3 ตั้งอยู่ห่างสถานีท่าพระเพียง 1.5 กิโลเมตรเท่านั้น จึงเป็นอีกโครงการหนึ่งที่น่าพิจารณา เหมาะสำหรับครอบครัวใหญ่ที่มองหาบ้านเดี่ยว 3 ชั้น อ่านรายละเอียดโครงการชวนชื่น จรัญฯ 3
หรรษาเอส เพชรเกษม 81
สำหรับครอบครัวขนาดกลางจนถึงเล็ก การอยู่อาศัยในทาวน์โฮมเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ หรรษาเอส เพชรเกษม 81 เป็นโครงการทาวน์โฮมที่โดดเด่น ด้วยการเดินทางที่เชื่อมต่อได้หลากหลาย ง่ายต่อการเข้าสู่เขตเมืองอย่างสาทรหรือสีลม และรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่กำลังจะเปิดให้บริการก็ทำให้การเดินทางสะดวกสบายกว่าเดิม ทาวน์โฮมแห่งนี้ได้รับการออกแบบสไตล์โมเดิร์น ด้วยพื้นที่ใช้สอยอย่างคุ้มค่า อ่านรายละเอียดโครงการหรรษาเอส เพชรเกษม 81
นี่เป็นเพียงตัวอย่างโครงการบ้านและคอนโดที่แล้วเสร็จในทำเลทองตามแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ผู้ที่สนใจโครงการอื่น ๆ สามารถศึกษาหาข้อมูลได้ที่รีวิวโครงการใหม่ใกล้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลทั่วไปเท่านั้น DDproperty by PropertyGuru ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท ออลพร็อพเพอร์ตี้ มีเดีย จำกัด ไม่สามารถรับรองหรือรับประกันเกี่ยวกับข้อมูล รวมทั้งไม่สามารถรับรองหรือรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับความเหมาะสม สำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะใด ๆ ของข้อมูล ตามขอบเขตสูงสุดที่กฎหมายอนุญาต แม้ว่าเราได้พยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ถูกต้อง เชื่อถือได้ และครบถ้วน ณ เวลาที่เขียน แต่ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ไม่ควรนำไปใช้ในการตัดสินใจทางการเงิน, การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือทางกฎหมายทันที ผู้อ่านไม่ควรใช้ข้อมูลในบทความ แทนคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมซึ่งสามารถพิจารณาข้อเท็จจริงและสถานการณ์ส่วนตัวของคุณได้ ทั้งนี้ เราไม่สามารถรับผิดชอบใด ๆ หากคุณเลือกที่จะนำข้อมูลไปใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ