ราคาขายที่ดินปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะที่ดินถือเป็นปัจจัยสำคัญทั้งของการก่อสร้างบ้านใหม่ และการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ อย่างโครงการบ้านแนวราบ หรือคอนโด ลองมาดูว่าในช่วงที่ผ่านมา ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดอยู่ในทำเลไหน
อ่านหัวข้อที่คุณสนใจ
- 10 ทำเลที่มีราคาที่ดินแพงสุด
- 10 ทำเลที่มีราคาที่ดินเพิ่มขึ้นมากที่สุด
- 14 ทำเลแนวรถไฟฟ้าราคาที่ดินเพิ่มขึ้น
10 ทำเลที่มีราคาที่ดินแพงสุดในปี 2568
ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA เผยผลสำรวจราคาที่ดิน พบว่า ราคาที่ดินในปี 2568 เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 5%
การที่ราคาที่ดินใจกลางเมือง ซึ่งไม่มีสาธารณูปโภคใหม่เพิ่มเติมใด ๆ ต่างจากในเขตต่อเมืองหรือเขตชานเมืองที่มักจะมีทางด่วนหรือรถไฟฟ้าวิ่งผ่าน ยังขึ้นราคา เพราะยิ่งมีรถไฟฟ้านอกเมืองมากขึ้น ก็ยิ่งสามารถนำกำลังซื้อจากนอกเมืองเข้ามาในใจกลางเมืองมากขึ้น จึงทำให้ราคาที่ดินยังขยับสูงขึ้นตลอดเวลา
โดย 10 ทำเลราคาที่ดินแพงสุดในประเทศไทย ประจำปี 2568 มีดังนี้
1
สยามสแควร์, ชิดลม, เพลินจิต
3.85 ล้านบาท/ตารางวา
2.7%
2
วิทยุ
3.07 ล้านบาท/ตารารงวา
2.3%
3
สุขุมวิท-ไทม์สแควร์
2.93 ล้านบาท/ตารางวา
2.8%
4
สุขุมวิท-อโศก
2.8 ล้านบาท/ตารางวา
3.7%
5
สีลม
2.67 ล้านบาท/ตารางวา
2.7%
6
สาทร
2.35 ล้านบาท/ตารางวา
2.2%
7
สุขุมวิท-เอกมัย
1.96 ล้านบาท/ตารางวา
3.2%
8
เยาวราช
1.93 ล้านบาท/ตารางวา
4.3%
9
พหลโยธินช่วงต้น
1.9 ล้านบาท/ตารางวา
5.6%
10
พญาไท
1.9 ล้านบาท/ตารางวา
5.6%
สำหรับทำเลที่ราคาที่ดินที่แพงที่สุดนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือในการสำรวจของศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ในปี 2537 บริเวณเยาวราช หรือ China Town ของกรุงเทพฯ มีราคาที่ดินแพงสุด เป็นเงิน 700,000 บาท/ตารางวา
ต่อมาราคาที่ดินที่แพงสุดขยับเป็นพื้นที่สีลม ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการเงินของประเทศ และในที่สุดก็เปลี่ยนมาเป็นแถวสยามสแควร์, ชิดลม, เพลินจิต ทั้งนี้ เพราะทำเลนี้เป็นจุดตัดของรถไฟฟ้า และมีการพัฒนาในเชิงพาณิชย์ที่เข้มข้นในลักษณะของพื้นที่ค้าปลีกที่สำคัญที่สุดจึงทำให้ราคาที่ดินสูงกว่าทำเลอื่น ๆ
อย่างไรก็ตาม ในปี 2569 ราคาที่ดินใจกลางเมืองก็ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากอานิสงส์ของการก่อสร้างรถไฟฟ้าชานเมือง โดยคาดว่า ราคาที่ดินจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณ 5% จากปี 2568
ขายที่ดิน
รวมประกาศขายที่ดิน ในเขตปทุมวัน บนเว็บไซต์ DDproperty
10 ทำเลที่มีราคาที่ดินเพิ่มขึ้นมากที่สุด
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) รายงานดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ไตรมาสที่ 4 ปี 2567 พบว่า ค่าดัชนีราคาที่ดินเปล่า เพิ่มขึ้น 2.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) และเพิ่มขึ้น 1.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY)
ถือเป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าโดยไตรมาส 4 ปี 2566 เพิ่มขึ้น 3.4% YoY ซึ่งการชะลอตัวดังกล่าวเป็นผลจากการชะลอตัวของการลงทุนเพื่อพัฒนาอสังหาริมทรัพย์โครงการใหม่ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ตามกำลังซื้อที่อยู่อาศัยที่ชะลอตัวตามเศรษฐกิจ
ทำให้ผู้ประกอบการบางส่วนใช้ความระมัดระวังในการตัดสินใจซื้อที่ดินเพื่อพัฒนาโครงการ ส่งผลให้ความต้องการซื้อขายที่ดินเปล่าในกรุงเทพฯ-ปริมณฑลชะลอตัวลง และทำให้ราคาที่ดินเปล่าปรับตัวเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลงด้วยเช่นกัน
ตารางแสดงดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ไตรมาส 4 ปี 2567
Q1/2565
341
+0.6%
+4.5%
Q2/2565
354.5
+4%
+6.5%
Q3/2565
368.8
+4%
+10.3%
Q4/2565
381.4
+3.4%
+12.5%
Q1/2566
385.7
+1.1%
+13.1%
Q2/2566
376.5
-2.4%
+6.2%
Q3/2566
379.9
+0.9%
+3%
Q4/2566
394.2
+3.8%
+3.4%
Q1/2567
407.8
+3.5%
+5.7%
Q2/2567
398.2
-2.4%
+5.8%
Q3/2567
391.1
-1.8%
+2.9%
Q4/2567
401.4
+2.6%
+1.8%
5 โซน ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ที่มีราคาที่ดินเพิ่มขึ้นสูงสุด
สำหรับโซนที่มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นสูงสุด 5 อันดับแรก เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ยังคงเกาะกลุ่มอยู่ในพื้นที่ชานเมืองของกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ เช่น โครงการก่อสร้างถนนทางหลวงและทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ทำให้การเดินทางเข้า-ออกเมืองได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
ประกอบกับราคาที่ดินบริเวณชานเมืองยังคงมีราคาไม่สูงมากนัก ซึ่งผู้ประกอบการสามารถพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยแนวราบได้ในราคาที่สอดคล้องกับกำลังซื้อของกลุ่มผู้ที่มีความต้องการที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน
ขณะที่ราคาที่ดินในกรุงเทพชั้นในปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมาจากที่ดินเปล่ารอการพัฒนาในพื้นที่ดังกล่าวมีจำนวนจำกัด จึงทำให้การซื้อขายที่ดินที่มีขนาดแปลงไม่ใหญ่แต่มีมูลค่าสูง และมักถูกพัฒนาเป็นรูปแบบโครงการมิกซ์ยูส ที่ประกอบด้วย อาคารสำนักงาน, อาคารพาณิชยกรรม และอาคารที่อยู่อาศัยประเภทอาคารชุด
โดยทำเลที่มีการเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่
1. ที่ดินโซนนครปฐม มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาที่ดินสูงขึ้น 59.6% YoY
2. ที่ดินโซนสมุทรสาคร มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาที่ดินสูงขึ้น 44.2% YoY
3. ที่ดินโซนเมืองปทุมธานี-ลาดหลุมแก้ว-สามโคก มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาที่ดินสูงขึ้น 27.3% YoY
4. ที่ดินโซนกรุงเทพชั้นใน (เขตจตุจักร, เขตห้วยขวาง, เขตยานนาวา, เขตวัฒนา, เขตคลองเตย, เขตพญาไท, เขตบางคอแหลม, เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย, เขตบางซื่อ, เขตดินแดง, เขตราชเทวี และเขตบางรัก) มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาที่ดินสูงขึ้น 16.4% YoY
5. ที่ดินโซนบางเขน-สายไหม-ดอนเมือง-หลักสี่-มีนบุรี-หนองจอก-คลองสามวา-ลาดกระบัง มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาที่ดินสูงขึ้น 1.2% YoY
เช็กราคาประเมินที่ดินกรุงเทพฯ
ราคาประเมินที่ดินกรุงเทพฯ ทำเลไหนราคาแพงสุด เช็กได้ที่นี่
5 แนวรถไฟฟ้าราคาที่ดินเพิ่มขึ้นสูงสุด
ส่วนราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาในแนวเส้นทางที่มีรถไฟฟ้าผ่าน พบว่า ทำเลที่มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นสูงสุดเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นที่ดินที่มีโครงการรถไฟฟ้าเปิดให้บริการแล้ว และเป็นทำเลที่มีสถานีเชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟฟ้าหรือสามารถเดินทางเชื่อมถึงกันได้ง่าย
โดย 5 อันดับแรกที่มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นสูงสุด ได้แก่
1. รถไฟฟ้า MRT และรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม (บางซื่อ-หัวลำโพง) ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้วและโครงการในอนาคต มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นเท่ากันคือ 16.4% YoY
โดยราคาที่ดินในพื้นที่คลองเตย, ดินแดง และจตุจักร ซึ่งเป็นพื้นที่บริการตามแนวรถไฟฟ้า MRT เป็นบริเวณที่มีราคาปรับเพิ่มขึ้นมากที่สุด
ประกาศขายที่ดิน
รวมประกาศขายที่ดินแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
2. รถไฟฟ้าสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) และรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม (บางซื่อ-มธ.รังสิต) ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้ว มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นเท่ากันคือ 15.6% YoY
โดยราคาที่ดินในพื้นที่ธัญบุรี, สามโคก และคลองหลวง ซึ่งเป็นพื้นที่บริการตามแนวที่รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม เป็นบริเวณที่มีราคาปรับเพิ่มขึ้นมาก
3. รถไฟฟ้าสายสีเขียว (คูคต-ลำลูกกา) ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าโครงการในอนาคต มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 10.1% YoY
โดยราคาที่ดินในพื้นที่ลำลูกกา และสายไหม เป็นบริเวณที่มีราคาปรับเพิ่มขึ้นมาก
4. รถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน) ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้ว มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 10% YoY
โดยราคาที่ดินในพื้นที่บางบัวทอง, จตุจักร และบางซื่อ เป็นบริเวณที่มีราคาปรับเพิ่มขึ้นมาก
5. รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-บางแค), รถไฟฟ้าสายสีทอง (ธนบุรี-ประชาธิปก) และสายสีส้ม (ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรมฯ) ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้วและโครงการในอนาคต มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นเท่ากันคือ 9.2% YoY
โดยราคาที่ดินในพื้นที่ภาษีเจริญ, ธนบุรี และบางกอกใหญ่ ซึ่งเป็นพื้นที่บริการของรถไฟฟ้าทั้ง 2 สาย เป็นบริเวณที่มีราคาปรับเพิ่มขึ้นมากที่สุด
รวมประกาศขายที่ดินในกรุงเทพฯ
ค้นหาที่ดินในกรุงเทพฯ หลากหลายราคา และหลากหลายทำเล
เช็กราคาที่ดิน 14 ทำเลแนวรถไฟฟ้า
จากการสำรวจราคาที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าทั้งหมดของ ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ได้สรุปผลการเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
โดยพบว่า ราคาที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าในปี 2565-2566 มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญมากกว่าราคาที่ดินตามแนวถนนอื่น ๆ ที่ไม่มีรถไฟฟ้า
1. รถไฟฟ้า BTS
ราคาที่ดินเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 3.26% เนื่องจากในทำเลใจกลางเมืองค่อนข้างมีจำกัด จึงมีการเปลี่ยนแปลงราคาในช่วงปีล่าสุดค่อนข้างน้อย และพบว่าราคาเฉลี่ยตั้งแต่เริ่มจนถึงปัจจุบัน เพิ่มขึ้นปีละ 7.96% สายนี้เพิ่มขึ้นสูงมากเป็นอันดับแรก ๆ เพราะเป็นสายแรก และยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
2. รถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว ส่วนต่อขยาย ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง
ราคาที่ดินเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 2.64% ราคาที่ดินในรถไฟฟ้าสายนี้ก็เพิ่มขึ้นไม่มากในช่วงปีที่ผ่านมาเพราะการก้าวกระโดดในช่วงก่อน (ปี 2560-2562) โดยราคาที่ดินเฉลี่ยตั้งแต่เริ่มจนถึงปัจจุบัน เพิ่มขึ้นปีละ 8.94% เนื่องจากรถไฟฟ้าสายนี้วิ่งผ่านพื้นที่สำคัญ มีการพัฒนาใหม่ ๆ เกิดขึ้นอย่างมาก
3. รถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว ส่วนต่อขยาย ช่วงตากสิน-บางหว้า
ราคาที่ดินเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 2.96% ในทำนองเดียวกับรถไฟฟ้า BTS ช่วงหมอชิต-คูคด การเพิ่มขึ้นของราคาเกิดขึ้นในช่วง 3-4 ปีก่อน (ปี 2560-2562) โดยราคาพุ่งขึ้นสูงมาก แต่ในปัจจุบันราคากลับแทบไม่เพิ่มขึ้น ยิ่งกว่านั้นราคาเฉลี่ยตั้งแต่เริ่มจนถึงปัจจุบัน เพิ่มขึ้นปีละ 9.46% เนื่องจากรถไฟฟ้าสายนี้เข้าไปในพื้นที่ที่อยู่อาศัยหนาแน่นในย่านฝั่งธนบุรี จึงทำให้มีการเพิ่มขึ้นราคาสูงขึ้นอย่างจริงจัง
4. รถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว ส่วนต่อขยาย ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ
ราคาที่ดินเฉลี่ยล่าสุดเพิ่มขึ้น 4.11% ราคาที่ดินในปีล่าสุดยังเพิ่มขึ้นสูงพอสมควร เพราะโครงการนี้เพิ่งแล้วเสร็จ ราคาที่ดินเฉลี่ยตั้งแต่เริ่มจนถึงปัจจุบัน เพิ่มขึ้นปีละ 7.25% แม้ว่ากำลังเติบโต แต่ไม่ได้หวือหวาเท่าช่วงแรก ๆ
5. รถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว ส่วนต่อขยาย ช่วงหมอชิต-คูคด
ราคาที่ดินเฉลี่ยล่าสุดเพิ่มขึ้น 2.63% การเพิ่มขึ้นของราคาเกิดขึ้นในช่วง 3-4 ปีก่อน (ปี 2560-2562) โดยราคาพุ่งขึ้นสูงมาก แต่ในปัจจุบันราคากลับแทบไม่เพิ่มขึ้น ราคาที่ดินเฉลี่ยตั้งแต่เริ่มจนถึงปัจจุบัน เพิ่มขึ้นปีละ 9.56% เนื่องจากเป็นสายสำคัญในการเข้าเมืองโดยตรง
6. รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน
ราคาที่ดินเฉลี่ยล่าสุดเพิ่มขึ้น 4.20% และยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เนื่องจากทำเลอย่างย่านรัชดา-ห้วยขวางยังพัฒนาต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามราคาเฉลี่ยตั้งแต่เริ่มจนถึงปัจจุบัน เพิ่มขึ้นปีละ 7.23% ถือว่าเติบโตต่อเนื่องเพราะอยู่ในบริเวณที่มีการใช้สอยสูงมาก
7. รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ
ราคาที่ดินเฉลี่ยล่าสุดเพิ่มขึ้น 3.06% เนื่องจากการพัฒนาอาจจะไม่มากนัก เพราะมีพื้นที่พัฒนาค่อนข้างจำกัด ราคาเฉลี่ยตั้งแต่เริ่มจนถึงปัจจุบัน เพิ่มขึ้นปีละ 6.45% ถือว่าราคาที่ดินยังเติบโต แต่ไม่ได้สูงมากนัก เพราะผ่านในย่านที่มีการพัฒนามากแล้ว
8. รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค
ราคาที่ดินเฉลี่ยล่าสุดเพิ่มขึ้น 3.41% สาเหตุที่ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นไม่สูงมากนักเนื่องจากได้ขึ้นราคาไปมากแล้วในช่วงก่อนหน้านี้ โดยราคาเฉลี่ยตั้งแต่เริ่มจนถึงปัจจุบัน เพิ่มขึ้นปีละ 9.37% ถือว่าเป็นทำเลที่ราคาที่ดินมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเพราะผ่านพื้นที่ที่อยู่อาศัยหนาแน่นสูงในย่านฝั่งธนบุรีและผ่านใจกลางเมือง
9. รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์
ราคาที่ดินเฉลี่ยล่าสุดเพิ่มขึ้น 3.23% โดยราคาที่ดินเพิ่มขึ้นค่อนข้างต่ำ เพราะแทบไม่มีแปลงที่ดินที่จะพัฒนาได้มากนัก ราคาเฉลี่ยตั้งแต่เริ่มจนถึงปัจจุบัน เพิ่มขึ้นปีละ 7.38% ถือว่าราคาที่ดินเพิ่มขึ้นไม่มาก เนื่องจากมีจำนวนไม่กี่สถานี รวมทั้งจากตัวสถานีไปตามจุดต่าง ๆ ก็ไม่มีอะไรเชื่อมต่อ
10. รถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่
ราคาที่ดินเฉลี่ยล่าสุดเพิ่มขึ้น 3.31% โดยราคาที่ดินในปีล่าสุดกลับเพิ่มขึ้นน้อย เพราะตลาดยังไม่ฟื้นตัวดีนักในทำเลรถไฟฟ้าสายนี้ ราคาที่ดินเฉลี่ยตั้งแต่เริ่มจนถึงปัจจุบัน เพิ่มขึ้นปีละ 7.57% แม้ราคาที่ดินจะเพิ่มขึ้น แต่โอกาสในการพัฒนาเป็นคอนโดมีจำกัด เนื่องจากสถานการณ์ตลาดไม่ดี ยังมีคอนโดเหลืออีกเป็นจำนวนมาก
11. รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน
ราคาที่ดินเฉลี่ยล่าสุดเพิ่มขึ้น 2.56% ถือว่ามีการขึ้นของราคาที่ดินต่ำสุด เพราะเป็นสายรถไฟฟ้าที่ไปตามทางรถไฟเดิมที่ไม่มีการพัฒนามากนัก ราคาที่ดินเฉลี่ยตั้งแต่เริ่มจนถึงปัจจุบัน เพิ่มขึ้นปีละ 4.54% เนื่องจากแทบไม่มีการพัฒนาอะไรในพื้นที่จึงทำให้ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นน้อย
12. รถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี
ราคาที่ดินเฉลี่ยล่าสุดเพิ่มขึ้น 4.96% ถือว่าราคาที่ดินแนวรถไฟฟ้าสายนี้ยังเพิ่มขึ้นสูงพอสมควร เพราะการก่อสร้างใกล้จะแล้วเสร็จ ราคาเฉลี่ยตั้งแต่เริ่มจนถึงปัจจุบัน เพิ่มขึ้นปีละ 8.89% เรียกว่าเป็นรถไฟฟ้าสายใหม่ที่มีการเพิ่มขึ้นของราคาที่ดินค่อนข้างสูง
13. รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง
ราคาที่ดินเฉลี่ยล่าสุดเพิ่มขึ้น 3.53% แต่ราคาที่ดินในปีล่าสุดเพิ่มขึ้นค่อนข้างน้อยเพราะเพิ่มไปมากแล้วก่อนหน้านี้ ราคาที่ดินเฉลี่ยตั้งแต่เริ่มจนถึงปัจจุบัน เพิ่มขึ้นปีละ 9.75% ถือว่าเป็นสายรถไฟฟ้าที่ราคาเพิ่มขึ้นสูงสุดเนื่องจากเพิ่งเริ่มต้นในไม่กี่ปีมานี้ โดยเฉพาะบริเวณถนนลาดพร้าว
14. รถไฟฟ้าสายสีส้ม
ราคาที่ดินเฉลี่ยล่าสุดเพิ่มขึ้น 3.95% โดยราคาที่ดินเพิ่มขึ้นมากในช่วงปี 2561-2562 แต่ในปัจจุบันเพิ่มขึ้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยไม่มากนัก ราคาที่ดินเฉลี่ยตั้งแต่เริ่มจนถึงปัจจุบัน เพิ่มขึ้นปีละ 9.02% ซึ่งรถไฟฟ้าสายนี้วิ่งไปถึงมีนบุรี ช่วยสร้างศักยภาพใหม่ให้กับพื้นที่นี้โดยตรง
โดยสรุปแล้วราคาที่ดินแนวรถไฟฟ้าเฉลี่ยโดยรวมล่าสุดเพิ่มขึ้น 3.42% ถือว่าเพิ่มขึ้นไม่มากนัก พอ ๆ กับราคาที่ดินในพื้นที่อื่น ๆ แต่หากพิจารณาราคาที่ดินโดยรวมเฉลี่ยตั้งแต่เริ่มจนถึงปัจจุบัน เพิ่มขึ้นปีละ 8.10% ถือได้ว่าเพิ่มสูงกว่าราคาที่ดินทั่วไปซึ่งอยู่ที่ประมาณ 3-4%
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลทั่วไปเท่านั้น DDproperty by PropertyGuru ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท ออลพร็อพเพอร์ตี้ มีเดีย จำกัด ไม่สามารถรับรองหรือรับประกันเกี่ยวกับข้อมูล รวมทั้งไม่สามารถรับรองหรือรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับความเหมาะสม สำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะใด ๆ ของข้อมูล ตามขอบเขตสูงสุดที่กฎหมายอนุญาต แม้ว่าเราได้พยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ถูกต้อง เชื่อถือได้ และครบถ้วน ณ เวลาที่เขียน แต่ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ไม่ควรนำไปใช้ในการตัดสินใจทางการเงิน, การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือทางกฎหมายทันที ผู้อ่านไม่ควรใช้ข้อมูลในบทความ แทนคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมซึ่งสามารถพิจารณาข้อเท็จจริงและสถานการณ์ส่วนตัวของคุณได้ ทั้งนี้ เราไม่สามารถรับผิดชอบใด ๆ หากคุณเลือกที่จะนำข้อมูลไปใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ