บ้านราคา 7 ล้านบาท 6 เรื่องสำคัญ รู้ก่อนตัดสินใจซื้อ

DDproperty Editorial Team
บ้านราคา 7 ล้านบาท 6 เรื่องสำคัญ รู้ก่อนตัดสินใจซื้อ
ปัจจุบันบ้านราคา 7 ล้านบาท ถือเป็นอีกหนึ่งรูปแบบบ้านที่ผู้ประกอบการพัฒนาโครงการบ้านจัดสรรได้หันมาพัฒนาโครงการบ้านจัดสรรกันมากขึ้น เนื่องจากเห็นว่ากลุ่มเป้าหมายที่มีความสามารถในการซื้อบ้านระดับราคานี้ยังคงมีอยู่ ลองมาดูว่าบ้านราคา 7 ล้านบาทมีลักษณะอย่างไร

1. รู้จักบ้านราคา 7 ล้านบาท ผ่านการแบ่งเซกเมนต์ของบ้าน

สำหรับอสังหาริมทรัพย์แนวราบ จะมีการแบ่งเซกเมนต์ตามระดับราคา ซึ่งเซกเมนต์ต่าง ๆ จะสะท้อนถึงทำเล รูปแบบบ้าน ฟังก์ชั่นของบ้าน และกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งสำหรับบ้านเดี่ยวและบ้านแฝด จะแบ่งเซกเมนต์ออกเป็น
  • ECONOMY CLASS ราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท
  • MAIN CLASS ราคา 3-5 ล้านบาท
  • UPPER CLASS ราคา 5-10 ล้านบาท
  • HIGH CLASS ราคา 10-20 ล้านบาท
  • LUXURY CLASS ราคา 20-40 ล้านบาท
  • SUPER LUXURY CLASS 40 ล้านบาทขึ้นไป
ส่วนทาวน์เฮ้าส์หรือทาวน์โฮม จะแบ่งเซกเมนต์ออกเป็น
  • ECONOMY CLASS ราคา 2 ล้านบาทขึ้นไป
  • MAIN CLASS ราคา 2 – 4 ล้านบาท
  • UPPER CLASS ราคา 4-7 ล้านบาท
  • HIGH CLASS ราคา 7-15 ล้านบาท
  • LUXURY CLASS ราคา 15-30 ล้านบาท
  • SUPER LUXURY CLASS ราคา 30 ล้านขึ้นไป
จากการแบ่งเซกเมนต์ของที่อยู่อาศัยแนวราบ ทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และทาวน์เฮาส์หรือทาวน์โฮม ที่มีราคา 7 ล้านบาท จะจัดอยู่ในกลุ่ม UPPER CLASS โดยบ้านในกลุ่มนี้ การออกแบบบ้านและฟังก์ชั่นต่าง ๆ มักจะมีการผสมผสานระหว่างบ้านขนาดเล็กและบ้านขนาดกลาง เน้นการใช้วัสดุที่มีความพรีเมียมมากขึ้นกว่าบ้านในเซกเมนต์ที่ต่ำกว่า และมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในโครงการที่ดีกว่า

รวมประกาศขายบ้าน

ประกาศขายบ้านเดี่ยวราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท หลายทำเล

2. ทำเลของบ้านราคา 7 ล้านบาท

บ้านราคา 7 ล้านบาท พบได้ตามโครงการบ้านจัดสรรทั้งในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัด หากเป็นทำเลในเมืองของกรุงเทพฯ ตัวเลือกส่วนใหญ่จะเป็นบ้านในรูปแบบทาวน์เฮ้าส์หรือทาวน์โฮม ส่วนในทำเลชานเมืองและปริมณฑลจะมีบ้านเดี่ยวและบ้านแฝดเป็นตัวเลือกเพิ่มเติม ขณะที่ตามต่างจังหวัด บ้านราคา 7 ล้านบาทส่วนใหญ่จะเป็นบ้านเดี่ยว

3. สำรวจตนเองก่อนตัดสินในซื้อบ้าน

สำหรับผู้ที่ต้องการซื้อบ้านราคา 7 ล้านบาท ก่อนอื่นควรสำรวจตนเองก่อนว่าบ้านราคา 7 ล้านบาท เหมาะกับความต้องการของเราหรือไม่ โดยกลุ่มผู้ที่ต้องการบ้านราคานี้ มักเป็นคนที่มีครอบครัวแล้ว และครอบครัวมีขนาดใหญ่ขึ้น ต้องการบ้านที่มีพื้นที่ใช้สอยมากขึ้น
ขณะที่อยู่ในทำเลใกล้เมือง หรือชานเมืองที่สามารถเดินทางสะดวก นอกจากนั้นยังควรเป็นผู้ที่มีรายได้ค่อนข้างสูง เช่น พนักงานระดับผู้บริหาร ข้าราชการระดับสูง หรือเจ้าของกิจการ ไม่ใช่พนักงานที่เพิ่งเริ่มต้นวัยทำงาน ยกเว้นกรณีที่มีเงินเก็บแล้วขอสินเชื่อที่เป็นส่วนต่างของราคาบ้านในจำนวนไม่มากนัก

4. ประเมินความสามารถทางด้านการเงิน

หากต้องการขอสินเชื่อเพื่อซื้อบ้านหรือกู้เงินซื้อบ้านจากสถาบันการเงิน หากใช้สูตรการขอสินเชื่อได้ในราคา 60 เท่าของเงินเดือน (รายได้ต่อเดือน X 60 = ราคาบ้านที่ขอสินเชื่อได้) ซึ่งจากสูตรนี้จะเห็นได้ว่าผู้ที่ต้องการซื้อบ้านราคา 7 ล้านบาท ต้องมีเงินเดือนประมาณ 116,000 บาทต่อเดือน หรือมากกว่านั้น ในกรณีที่ผู้ขอสินเชื่อไม่มีภาระหนี้ใด ๆ เลย
ส่วนความสามารถในการผ่อนชำระต่อเดือน หลักการทั่วไปที่ธนาคารใช้พิจารณาความสามารถในการผ่อนชำระของผู้กู้จะอยู่ที่ 40% ของรายได้ ซึ่งหากคำนวนจากฐานเงินเดือนประมาณ 116,000 บาท ก็จะต้องมีความสามารถในการผ่อนชำระค่าบ้าน ประมาณ 46,400 บาทต่อเดือน
ตารางเปรียบเทียบจำนวนเงินผ่อนชำระบ้าน และวงเงินกู้ซื้อบ้าน-คอนโดสูงสุด
เงินเดือน 15,000 บาท
6,000 บาท
900,000 บาท
เงินเดือน 20,000 บาท
8,000 บาท
1,200,000 บาท
เงินเดือน 25,000 บาท
10,000 บาท
1,500,000 บาท
เงินเดือน 30,000 บาท
12,000 บาท
1,800,000 บาท
เงินเดือน 35,000 บาท
14,000 บาท
2,100,000 บาท
เงินเดือน 40,000 บาท
16,000 บาท
2,400,000 บาท
เงินเดือน 45,000 บาท
18,000 บาท
2,700,000 บาท
เงินเดือน 50,000 บาท
20,000 บาท
3,000,000 บาท
เงินเดือน 55,000 บาท
22,000 บาท
3,300,000 บาท
เงินเดือน 60,000 บาท
24,000 บาท
3,600,000 บาท
เงินเดือน 65,000 บาท
26,000 บาท
3,900,000 บาท
เงินเดือน 70,000 บาท
28,000 บาท
4,200,000 บาท
เงินเดือน 80,000 บาท
32,000 บาท
4,800,000 บาท
เงินเดือน 90,000 บาท
36,000 บาท
5,400,000 บาท
เงินเดือน 100,000 บาท
40,000 บาท
6,000,000 บาท
หมายเหตุ: ตัวเลขโดยประมาณ
ทั้งนี้ หากประเมินความสามารถทางด้านการเงินแล้วพบว่าไม่เพียงพอที่จะขอสินเชื่อเพื่อซื้อบ้านราคา 7 ล้านบาท ก็สามารถใช้วิธีหาผู้กู้ร่วมซื้อบ้านได้ โดยผู้ที่กู้ร่วมต้องมีความสัมพันธ์ทางสายเลือด เช่น บิดา มารดา สามีหรือภรรยา ลูก และเครือญาติ
ก่อนกู้ร่วมซื้อบ้าน-คอนโดต้องรู้

ก่อนกู้ร่วมซื้อบ้าน-คอนโดต้องรู้

5. เงินออมก็สำคัญ

แม้ตามข้อกำหนดของมาตรการควบคุมสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือ Loan-to-Value: LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทย การซื้อบ้านราคา 7 ล้านบาท ซึ่งเป็นสัญญากู้บ้านหลังแรก จะสามารถกู้ได้ 100% และยังสามารถกู้เพิ่มได้อีก 10% เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการซื้อเฟอร์นิเจอร์และตกแต่งบ้าน แต่หากเป็นสัญญากู้บ้านหลังที่ 2 และหลังที่ 3 ก็อาจจะต้องมีการวางเงินดาวน์ 10-30% ของราคาบ้าน
นอกจากนั้นในการในการซื้อบ้านยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ ค่าจดจำนอง ที่ผู้ซื้อบ้านต้องรับผิดชอบ ดังนั้นผู้ที่ต้องการซื้อบ้านราคา 7 ล้านบาท จึงควรมีเงินออมสำรองไว้อย่างน้อย 20% ของราคาบ้าน หรือประมาณ 1.4 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งในกรณีที่ยิ่งจ่ายเงินดาวน์เยอะและกู้เงินน้อย ก็จะยิ่งช่วยลดภาระเรื่องอัตราดอกเบี้ยลงไปด้วย
ค่าโอนบ้านต้องจ่ายเท่าไหร่

ค่าโอนบ้านต้องจ่ายเท่าไหร่

6. เลือกบ้านให้เหมาะสมกับการอยู่อาศัย

ขั้นตอนที่สำคัญในการตัดสินใจซื้อบ้าน คือการเลือกบ้านให้เหมาะสมกับการอยู่อาศัย เริ่มต้นจากทำเลที่ตั้ง ซึ่งไม่ว่าจะอยู่ในทำเลในเมือง ชานเมือง ปริมณฑล หรือต่างจังหวัด ควรเลือกบ้านที่อยู่ในทำเลที่การเดินทางได้สะดวก ใกล้แนวรถไฟฟ้า ถนนสายหลัก ทางด่วน ใกล้ที่ทำงานหรือโรงเรียนของสมาชิกในบ้าน และไม่ไกลจากแหล่งจับจ่ายใช้สอย เช่น ห้างสรรพสินค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ตลาด รวมทั้งสถานพยาบาล
โดยควรเลือกซื้อบ้านจากโครงการที่มีความน่าเชื่อถือ ใช้วัสดุก่อสร้างที่มีคุณภาพ ฟังก์ชั่นภายในบ้านตอบโจทย์การใช้งานของสมาชิกในครอบครัวได้ทุกวัย เช่น มีห้องสำหรับผู้สูงอายุที่ชั้นล่าง มีห้องน้ำเพียงพอ มีที่จอดรถเพียงพอ และตั้งอยู่ในตำแหน่งและทิศทางที่เหมาะสม
แบบบ้านสวย ๆ ครบทุกสไตล์

แบบบ้านสวย ๆ ครบทุกสไตล์

แม้ปัจจุบันจะมีตัวเลือกสำหรับบ้านราคา 7 ล้านบาทมากขึ้น แต่ก่อนซื้อบ้านบ้าน ผู้ซื้อควรค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อประเมินความสามารถทางการเงินของตนเอง และเลือกบ้านให้เหมาะสมกับการอยู่อาศัย เพื่อที่การซื้อบ้านจะได้มีความราบรื่นและไม่มีปัญหากวนใจตามมาในภายหลัง
สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลทั่วไปเท่านั้น DDproperty by PropertyGuru ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท ออลพร็อพเพอร์ตี้ มีเดีย จำกัด ไม่สามารถรับรองหรือรับประกันเกี่ยวกับข้อมูล รวมทั้งไม่สามารถรับรองหรือรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับความเหมาะสม สำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะใด ๆ ของข้อมูล ตามขอบเขตสูงสุดที่กฎหมายอนุญาต แม้ว่าเราได้พยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ถูกต้อง เชื่อถือได้ และครบถ้วน ณ เวลาที่เขียน แต่ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ไม่ควรนำไปใช้ในการตัดสินใจทางการเงิน, การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือทางกฎหมายทันที ผู้อ่านไม่ควรใช้ข้อมูลในบทความ แทนคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมซึ่งสามารถพิจารณาข้อเท็จจริงและสถานการณ์ส่วนตัวของคุณได้ ทั้งนี้ เราไม่สามารถรับผิดชอบใด ๆ หากคุณเลือกที่จะนำข้อมูลไปใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ