บ้านสวยราคาถูก 3 เรื่องควรรู้ เลือกอย่างไรให้เหมาะสม

DDproperty Editorial Team
บ้านสวยราคาถูก 3  เรื่องควรรู้ เลือกอย่างไรให้เหมาะสม
ใคร ๆ ก็อยากเป็นเจ้าของบ้านสวย โดยเฉพาะบ้านสวยราคาถูก แต่นิยามคำว่า "บ้านสวย" และ "บ้านราคาถูก" ของแต่ละคนย่อมแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความชอบ รสนิยม และความสามารถทางด้านการเงิน อย่างไรก็ตาม การเป็นเจ้าของบ้านสวยที่สมบูรณ์แบบก็ควรเหมาะสมกับการอยู่อาศัยด้วย โดยมี 3 เรื่องที่ผู้อยากได้บ้านสวยราคาถูกควรรู้ ดังนี้

1. บ้านสวยราคาถูก 7 สไตล์ที่กำลังได้รับความนิยม

ปัจจุบันมีแบบบ้านสวยหลากหลายสไตล์ โดยมี 7 สไตล์ที่กำลังได้รับความนิยม ได้แก่

1) สไตล์โมเดิร์น

รูปทรงของบ้านจะเป็นทรงเลขาคณิต เช่น สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม ออกแบบให้มีความโปร่ง เรียบง่าย ลดทอนรายละเอียดที่ไม่จำเป็น เน้นการใช้งานคุ้มค่า มักใช้โทนสีเรียบ เช่น ขาว เทา ดำ วัสดุมักใช้คอนกรีต เหล็ก ไม้ ไม่ทาสีทับ เปลือยให้เห็นผิววัสดุที่แท้จริง

2) สไตล์มินิมอล

บ้านสไตล์มินิมอลมีแนวคิด “น้อยแต่มาก” มีความคล้ายกับบ้านสไตล์โมเดิร์น การออกแบบเรียบง่ายแต่เน้นฟังก์ชันการใช้งาน โทนสีของบ้านมักเป็นสีอ่อน เช่น สีขาว สีเทาอ่อน สีเทาเข้ม

3) สไตล์ลอฟท์

การออกแบบเน้นโชว์ความดิบเท่ของโครงสร้างบ้าน ผนังอิฐ หรือปูนเปือย รวมไปถึงท่อแอร์ ท่อน้ำ และท่อสายไฟ สำหรับโทนสี นิยมใช้สีขาว ดำ และสีเทา

4) สไตล์นอร์ดิก

มีความโดดเด่นตรงรูปทรงจั่วแหลม ใช้กระจกเป็นส่วนประกอบ เพื่อนำแสงสว่างจากธรรมชาติเข้ามาสู่อาคาร โทนสีเน้นการใช้สีธรรมชาติ ใช้ส่วนประกอบของไม้ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความผ่อนคลาย

5) สไตล์ทรอปิคอล

เน้นการออกแบบโดยคำนึงถึงสภาพอากาศและภูมิประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่เขตร้อน ทำให้ตัวบ้านมีคุณสมบัติในการรับมือกับอากาศร้อนได้ดี เน้นโทนสีอุ่นอย่างเอิร์ทโทน เช่น สีเบจ สีครีม สีน้ำตาลอ่อน

6) สไตล์ร่วมสมัย

เป็นบ้านที่มีส่วนผสมระหว่างบ้านสไตล์คลาสสิกกับบ้านสไตล์โมเดิร์น รายละเอียดส่วนต่างๆ ของบ้าน เช่น หลังคา มักมีการออกแบบให้ดูนุ่มนวล มีความโค้งกว่าบ้านสไตล์โมเดิร์นที่ใช้รูปทรงเลขาคณิต เน้นโทนสีขาว ครีม เทา

7) สไตล์ไทยประยุกต์

แบบบ้านที่นำศิลปะวัฒนธรรมไทยดั้งเดิมผสมผสานกับความทันสมัย โดยนิยมใช้หลังคาทรงจั่ว หรือทรงปั้นหยา ตัวบ้านเน้นเปิดพื้นที่ให้ดูโล่ง การก่อสร้างบ้านสไตล์นี้นิยมใช้วัสดุธรรมชาติ หรือวัสดุทดแทนธรรมชาติ เช่น ไม้ กระเบื้องดินเผา และใช้สีโทนเนเชอรัล
รวมแบบบ้านสวย ๆ แบบบ้านสไตล์ไหนใช่สำหรับคุณ

รวมแบบบ้านสวย ๆ แบบบ้านสไตล์ไหนใช่สำหรับคุณ

2. เลือกช่องทางที่ใช่

หลังมีสไตล์บ้านที่ชอบเป็นแนวทาง ขั้นตอนต่อมาก็คือเลือกช่องทางในการเป็นเจ้าของบ้านสวยราคาถูก ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 4 ช่องทางหลัก คือ

1) ปลูกบ้านเอง

สำหรับผู้ที่มีที่ดินอยู่แล้ว การปลูกบ้านเองน่าจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสม ข้อดีคือนอกจากจะได้แบบบ้าน วัสดุก่อสร้าง ฟังก์ชันของบ้านตามที่ต้องการ รวมทั้งประหยัดค่าที่ดินซึ่งมีอยู่แล้ว ยังไม่ต้องเสียค่าส่วนกลางอีกด้วย
ในเรื่องของแบบบ้าน ปัจจุบันก็มีแบบบ้านแจกฟรีของสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร ให้เลือกหลากหลายแบบ ช่วยประหยัดทั้งค่าใช้จ่ายและเวลา
แต่ข้อด้อยคืองบประมาณในการสร้างบ้านอาจบานปลาย ไม่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมรอบ ๆ บ้าน ต้องดำเนินเรื่องขออนุญาตปลูกสร้างบ้านเอง และหากเลือกผู้รับเหมาที่ไม่มีความชำนาญอาจทำให้เกิดปัญหาภายหลัง
สร้างบ้านเอง ต้องเตรียมอะไรบ้าง

สร้างบ้านเอง ต้องเตรียมอะไรบ้าง

2) ใช้บ้านสำเร็จรูป

สำหรับผู้ที่มีที่ดินอยู่แล้ว อีกทางเลือกหนึ่งคือบ้านสำเร็จรูปหรือบ้านน็อคดาวน์ ซึ่งข้อดีคือสามารถเลือกแบบบ้านที่ถูกใจ ควบคุมงบประมาณได้ ได้บ้านอย่างรวดเร็ว
ขณะที่ข้อด้อยคือบ้านประเภทนี้ใช้วัสดุมวลเบา ทำให้อายุการใช้งานไม่ยาวนาน ไม่เหมาะกับการรีโนเวท และปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ได้ยาก

3) ซื้อจากโครงการบ้านจัดสรร

ทางเลือกของคนอยากมีบ้านส่วนใหญ่คือการซื้อบ้านจากโครงการบ้านจัดสรร ซึ่งข้อดีคือควบคุมงบประมาณในการซื้อบ้านได้ เลือกทำเลที่ต้องการได้ มีสิ่งอำนวยความสะดวก มีระบบรักษาความปลอดภัย มีสภาพแวดล้อมที่ดี
แต่ข้อด้อยคืออาจไม่ได้บ้านแบบที่ต้องการ 100% ต้องเสียค่าส่วนกลาง ที่ดินจำกัดต่อเติมลำบาก และเนื่องจากราคาบ้านมีความสัมพันธ์กับราคาที่ดิน บ้านสวยราคาถูกในโครงการบ้านจัดสรร จึงอาจอยู่ในทำเลห่างไกลจากเมือง

4) ซื้อบ้านมือสอง

หากอยากได้บ้านสวยราคาถูก การซื้อบ้านมือสองก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือก เพราะราคาถูกกว่าบ้านใหม่ และอาจได้บ้านในทำเลที่ดีกว่า ใกล้เมืองกว่า ส่วนข้อด้อยคือมีแบบบ้านให้เลือกค่อนข้างจำกัด และบ้านอาจผ่านการใช้งานมานานแล้ว

ประกาศขายบ้านเดี่ยว

รวมประกาศขายบ้านเดี่ยวในกรุงเทพฯ หลายทำเลและระดับราคา

ช่องทางในการเป็นเจ้าของบ้านสวยราคาถูก ข้อดี-ข้อด้อย
ปลูกบ้านเอง
ได้แบบบ้านตามที่ต้องการ
งบประมาณในการก่อสร้างอาจบานปลาย
ใช้บ้านสำเร็จรูป
ได้บ้านอย่างรวดเร็ว
ปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ได้ยาก
ซื้อจากโครงการบ้านจัดสรร
ควบคุมงบประมาณในการซื้อบ้านได้
ไม่ได้บ้านแบบที่ต้องการ 100%
ซื้อบ้านมือสอง
ราคาถูก
สภาพบ้านอาจทรุดโทรม

3. เลือกบ้านสวยราคาถูกให้เหมาะสมกับตนเอง

บ้านสวยราคาถูก หากมีแต่ความสวยอย่างเดียวอาจไม่ใช่บ้านที่อยู่อาศัยแล้วมีความสุข ดังนั้นนอกจากเลือกแบบบ้านที่ถูกใจ ยังควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ด้วย

1) ความเหมาะสมในการอยู่อาศัย

เพราะบ้านคือที่อยู่อาศัย นอกจากสวยแล้วยังต้องใช้งานได้จริง มีฟังก์ชันที่ตอบโจทย์การอยู่อาศัยของคนในบ้านได้ และควรมีขนาดพอเหมาะกับจำนวนสมาชิกในบ้าน ไม่กว้างหรือไม่คับแคบจนเกินไป

2) ทำเล

แม้บ้านจะสวย แต่หากอยู่ในทำเลที่ห่างไกลสถานที่ทำงานและสิ่งอำนวยความสะดวก ก็อาจจะไม่เหมาะสมกับการอยู่อาศัย เพราะต้องแลกมาด้วยการเสียเวลากับการเดินทางที่ไม่สะดวก และค่าเดินทางที่สูงมากในแต่ละวัน

3) ราคา

โดยปรกติภาระในการผ่อนบ้านไม่ควรเกิน 1 ใน 3 ของรายได้แต่ละเดือน ซึ่งหากได้บ้านสวย แต่ต้องผ่อนบ้านจนแทบไม่เหลือเงินไปใช้ในเรื่องอื่น ๆ หรือไม่เหลือเก็บเอาไว้สำรองยามฉุกเฉิน การได้เป็นเจ้าของบ้านสวยก็อาจทำให้ชีวิตไม่สวยอย่างที่คิดได้
สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลทั่วไปเท่านั้น DDproperty by PropertyGuru ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท ออลพร็อพเพอร์ตี้ มีเดีย จำกัด ไม่สามารถรับรองหรือรับประกันเกี่ยวกับข้อมูล รวมทั้งไม่สามารถรับรองหรือรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับความเหมาะสม สำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะใด ๆ ของข้อมูล ตามขอบเขตสูงสุดที่กฎหมายอนุญาต แม้ว่าเราได้พยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ถูกต้อง เชื่อถือได้ และครบถ้วน ณ เวลาที่เขียน แต่ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ไม่ควรนำไปใช้ในการตัดสินใจทางการเงิน, การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือทางกฎหมายทันที ผู้อ่านไม่ควรใช้ข้อมูลในบทความ แทนคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมซึ่งสามารถพิจารณาข้อเท็จจริงและสถานการณ์ส่วนตัวของคุณได้ ทั้งนี้ เราไม่สามารถรับผิดชอบใด ๆ หากคุณเลือกที่จะนำข้อมูลไปใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ

เตรียมตัวกู้ซื้อบ้าน-คอนโดอย่างไร

กู้ซื้อบ้าน-คอนโด โดยปกติจะให้กู้ไม่เกิน 90% ของราคาซื้อขาย ขึ้นอยู่กับโปรโมชั่นของแต่ละธนาคารในขณะนั้น หรือราคาที่ธนาคารประเมิน (ใช้ราคาที่ต่ำกว่า) ส่วนที่เกินมา ผู้กู้ต้องจ่ายเอง