บ้านไม้ ได้รับความนิยมมาช้านาน นับตั้งแต่อดีตคนไทยนิยมสร้างบ้านไม้อยู่อาศัย และนิยมปลูกต้นไม้ในบริเวณบ้าน เพื่อเพิ่มความร่มรื่น และอาศัยกระแสลมเย็น ๆ ที่จะพัดเข้าทางประตูหน้าต่างและตามร่องรอยต่อของไม้เพิ่มความเย็นในบ้าน แต่แน่นอนว่าประเทศไทยเป็นเมืองร้อน ทำให้อากาศร้อนเกือบตลอดทั้งปี ลองมาดูว่า บ้านไม้ติดแอร์ได้ไหม และมีเรื่องควรรู้อะไรบ้างก่อนตัดสินใจติดแอร์ให้กับบ้านไม้
บ้านไม้ติดแอร์ต้องรู้อะไรบ้าง
สำหรับคำถาม “บ้านไม้ติดแอร์ได้ไหม” นั้นยังคงเป็นปัญหาที่หลายคนอยากรู้ เพราะหากคิดจะปรับปรุงและติดแอร์บ้านไม้ ก็กังวลว่าอากาศไหลออกตามร่องรอยต่อต่าง ๆ และทำให้แอร์ทำงานหนัก ซึ่งปัญหาที่ตามมาคือ รายจ่ายค่าไฟฟ้าจำนวนมาก แต่หากถามช่างผู้เชี่ยวชาญเครื่องปรับอากาศแล้วจะได้คำตอบว่าบ้านไม้ติดแอร์ได้ เพียงแค่ต้องปรับปรุงและปิดรอยต่อระหว่างไม้ไม่ให้ลมไหลเข้าออกเท่านั้นเอง
อย่างที่รู้กันดีว่าบ้านไม้นั้นมีร่องและรอยต่อระหว่างแผ่นไม้ไม่สนิทมิดชิดกัน เหมือนบ้านก่ออิฐฉาบปูน ไม่ว่าจะเป็นร่องระหว่างแผ่นไม้พื้น ไม้ผนัง รวมถึงร่องเกล็ดไม้ระบายอากาศตามบานประตูหน้าต่าง ล้วนเป็นช่องทางให้ลมร้อน ฝุ่นควัน และเสียงรบกวนลอดผ่านเข้าออกได้ตลอดเวลา การติดแอร์บ้านไม้ จึงต้องทำการอุดปิดรอยต่อให้มิดชิดที่สุด พูดง่าย ๆ คือต้องมีการปรับปรุงเพื่อป้องกันบ้านไม่ให้มีรอยรั่วนั่นเอง
สำหรับผู้ที่ต้องการติดแอร์ในบ้านไม้ สิ่งสำคัญในช่วงแรกคือ การตรวจเช็กสภาพบ้านก่อนปรับปรุงและติดแอร์ เพราะไม่ว่าบ้านจะเป็นที่สร้างด้วยไม้ทั้งหลัง หรือบ้านที่สร้างแบบครึ่งปูน ครึ่งไม้ บ้านไม้กึ่งปูน หรือบ้าน 2 ชั้น ชั้นบนสร้างด้วยไม้ ส่วนชั้นล่างเป็นก่ออิฐฉาบปูน ก็ควรต้องตรวจเช็กสภาพเสา คาน และโครงสร้างว่าไม่มีรอยแตกร้าว รอยรั่ว คานไม้บิดหรือโก่งตัวหรือไม่
นอกจากนี้ยังต้องสำรวจไม้พื้น ผนังไม้ ประตู หน้าต่างว่าอยู่ในสภาพดีพร้อมใช้งานหรือไม่ และหากตรวจสอบแล้วพบว่ามีส่วนใดเกิดความเสียหาย ก็จะต้องซ่อมแซมก่อนปรับปรุง หรือเปลี่ยนใหม่เพื่อให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี ก่อนลงมือปรับปรุงบ้านในส่วนของพื้น ผนัง และฝ้าเพดาน
ขั้นตอนสำคัญในการปรับปรุงบ้านไม้ก่อนติดแอร์คือ การปิดรอยต่อพื้น และรอยต่อระหว่างเสาและคาน ก่อนติดแอร์บ้านไม้ โดยวิธีที่ดีที่สุดในการปิดช่อง รอยต่อและรอยรั่วคือ การตีแผ่นฝ้าปิดใต้ไม้พื้น ซึ่งเหมาะกับบ้านที่ต้องการคงรูปลักษณ์พื้นไม้ชั้นสองไว้ดังเดิม และข้อดีอีกอย่างของการตีแผ่นฝ้าคือลดปัญหาเรื่องเสียง และยังสามารถปูฉนวนกันเสียงเพิ่มเหนือฝ้าช่วยเก็บความเย็นได้นานขึ้น

3 ข้อควรรู้ขั้นพื้นฐานการปรับปรุงบ้านไม้ติดแอร์
1. ปรับปรุงเพดาน บ้านไม้ปกติบางที่จะไม่มีฝ้าเพดาน ถ้าจะติดแอร์จำเป็นที่จะต้องวางฝ้าใหม่ด้วยการบุผนังกันความร้อนหรือใช้แผ่นกันความร้อนปู แล้วค่อยติดฝ้าทับ
2. ปรับปรุงผนังห้อง บ้านไม้ธรรมดาถึงแม้ว่าจะมีการทำผนังห้องด้วยไม้ดูเหมือนจะแนบสนิทกัน แต่อย่างไรก็ตามลมแอร์ก็ยังออกได้ ต้องทำการใช้แผ่นกันความร้อนปิดให้ครบทุกด้านถ้าทำได้ จากนั้นให้ใช้แผ่นยิปซั่มปิดทับลงไปภายในห้องให้ครบทุกด้านเช่นกัน แล้วทำการยาแนวตามขอบให้ละเอียดที่สุด
3. ปิดพื้นห้อง หากพื้นห้องนั้นเป็นพื้นไม้กระดาน เพราะมีบางแห่งใช้เสื่อน้ำมัน แต่ก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร วิธีที่ดีที่สุดก็คือการปูพื้นใหม่ด้วยปูนหรือไม่ก็ใช้แผ่นยิปซั่มทำฝ้าปิดใต้พื้นไม้ หรือใต้ถุนไม้ ให้แนบสนิทที่สุด ถ้าหากเป็นบ้านทรงเตี้ยอาจจำเป็นที่จะต้องใช้การรื้อ แต่ถ้าเป็นบ้านที่ยกสูงจะสะดวกเพราะคล้ายกับการทําฝ้าเพดาน สามารถลงไปปิดพื้นที่ใต้ถุนบ้านได้เลย
บ้านไม้ติดแอร์ ข้อดี-ข้อด้อย และข้อควรระวังของ
เมื่อตัดสินใจได้แล้วว่าจะติดแอร์ให้บ้านไม้ เราควรรู้ข้อดีและข้อควรระวังก่อนติดตั้งแอร์ด้วย
ข้อดี-ข้อด้อยของการติดแอร์บ้านไม้
แน่นอนว่าช่วยในเรื่องของการลดความร้อนและมลพิษ ที่จะเข้าในตัวบ้าน และยังช่วยให้บ้านเย็นขึ้น เมื่อมีข้อดีย่อมมีข้อเสีย ซึ่งข้อเสียในการบ้านไม้ติดแอร์คือ เสน่ห์ของบ้านไม้อาจจะลดลงจากการปรับปรุงบ้านจากการติดตั้งฝ้า พื้น ผนัง เพดาน เพื่อป้องกันการรั่วไหลของอากาศจากภายในสู่ภายนอก หรือภายนอกเข้าสู่ภายใน และที่สำคัญต้องใช้งบในการปรับปรุงบ้าน และอุดรอยต่อ รอยรั่วภายในบ้าน
ข้อควรระวังของการติดแอร์ให้บ้านไม้
ข้อควรระวังคือ ควรมีผ้าม่าน ตรงหน้าต่างทุกบาน ในห้องแอร์ เพราะการติดกระจก บานเลื่อนในบ้านไม้จะทำให้ดูไม่สวยงาม ดังนั้น การติดผ้าม่านจึงมีส่วนช่วยมากในการกันแสงแดด และอากาศรั่วของอากาศในช่วงกลางวันและกลางคืน
ขณะเดียวกันการเลือกใช้แอร์ควรเลือกใช้แอร์แบบแขวนเพดาน หรือติดผนัง ในตำแหน่งไกลตัว และควรเลือกแบบเงียบที่สุด เพราะการสั่นของแอร์กับผนังที่เป็นไม้นั้น บางรุ่นสั่นแรงอาจทำให้แผ่นไม้สั่นได้ด้วย

บ้านไม้ วิธีเลือกขนาดแอร์ให้เหมาะสม
สูตรการคำนวณ BTU เบื้องต้นคือ
BTS = พื้นที่ห้อง (กว้าง x ยาว) x ความแตกต่าง
ความแตกต่างแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
600-700 = ห้องที่มีความร้อนน้อยใช้เฉพาะกลางคืน
700-800 = ห้องที่มีความร้อนสูงใช้เวลากลางวัน
9,000
12-15 ตร.ม.
11-14 ตร.ม.
12,000
16-20 ตร.ม.
14-18 ตร.ม.
18,000
24-30 ตร.ม.
21-27 ตร.ม.
21,000
28-35 ตร.ม.
25-32 ตร.ม.
24,000
32-40 ตร.ม.
28-36 ตร.ม.
25,000
35-44 ตร.ม.
30-39 ตร.ม.
30,000
40-50 ตร.ม.
35-45 ตร.ม.
35,000
48-60 ตร.ม.
42-54 ตร.ม.
48,000
64-80 ตร.ม.
56-72 ตร.ม.
80,000
80,100 ตร.ม.
70-90 ตร.ม.
ขอบคุณข้อมูลจาก: Samsung
ทั้งนี้ การเลือกตำแหน่งติดตั้งคอยล์ร้อนก็สำคัญ ซึ่งหากจะให้ดีที่สุดควรติดตั้งคอยล์ร้อนที่พื้นดินหรือพื้นปูน แต่หากไม่สะดวก แนะนำให้ใช้ขายางรองแอร์ และรองคอมเพรสเซอร์เพื่อป้องกันการสั่น ที่สำคัญไม่ควรใช้ขาแขวน ติดกับผนังไม้ เพราะแรงสั่นจะทำให้เกิดเสียงดัง
นอกจากนี้ พื้นบ้านไม้ส่วนใหญ่จะมีรอยรั่วค่อนข้างมาก ในกรณีอยู่ชั้น 2 ในห้องแอร์ควรหาพรม หรือผ้าปูพื้นห้องทั้งห้อง เพื่อป้องกันอากาศรั่วขณะเปิดใช้งานแอร์
จะเห็นได้ว่าการติดแอร์ให้บ้านไม้ไม่ใช่เรื่องยาก แค่เพียงเตรียมการต่าง ๆ ให้พร้อม เพื่อป้องกันไม่ให้เสียค่าไฟโดยเปล่าประโยชน์ เท่านี้บ้านไม้หลังสวยของคุณก็ติดแอร์เย็นชื่นใจได้เช่นกัน
สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลทั่วไปเท่านั้น DDproperty by PropertyGuru ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท ออลพร็อพเพอร์ตี้ มีเดีย จำกัด ไม่สามารถรับรองหรือรับประกันเกี่ยวกับข้อมูล รวมทั้งไม่สามารถรับรองหรือรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับความเหมาะสม สำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะใด ๆ ของข้อมูล ตามขอบเขตสูงสุดที่กฎหมายอนุญาต แม้ว่าเราได้พยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ถูกต้อง เชื่อถือได้ และครบถ้วน ณ เวลาที่เขียน แต่ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ไม่ควรนำไปใช้ในการตัดสินใจทางการเงิน, การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือทางกฎหมายทันที ผู้อ่านไม่ควรใช้ข้อมูลในบทความ แทนคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมซึ่งสามารถพิจารณาข้อเท็จจริงและสถานการณ์ส่วนตัวของคุณได้ ทั้งนี้ เราไม่สามารถรับผิดชอบใด ๆ หากคุณเลือกที่จะนำข้อมูลไปใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ