ตั้งแต่ปี 2560 นี้ อปท. (องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น) จะเริ่มเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่รัฐบาลประกาศใช้ในปีนี้ บ้านของคุณเข้าข่ายต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหรือไม่ และหากต้องเสียภาษีจะต้องเสียภาษีเท่าไร พบคำตอบ พร้อมวิธีการคำนวณภาษีที่นี่ครับ
บ้านแบบไหนเข้าข่ายต้องเสียภาษี
บ้านในที่นี้หมายถึงอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นที่อยู่อาศัยประเภทต่างๆ ทั้ง บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ รวมไปถึงคอนโดมิเนียมอีกด้วย โดยมีเงื่อนไขในการพิจารณาคือการเป็นบ้านหลังแรก และมูลค่าของบ้าน
บ้านหลังแรกที่มีมูลค่าเกิน 50 ล้านบาทขึ้นไป
บ้านหลังแรกจะได้รับการยกเว้นภาษีในกรณีที่มีมูลค่าต่ำกว่า 50 ล้านบาท แต่หากบ้านหลักแรกมีมูลค่าเกินกว่า 50 ล้านบาทก็จะต้องเสียภาษีโดยคำนวณจากมูลค่าของทรัพย์สินเฉพาะส่วนที่จาก 50 ล้านบาทขึ้นไป ตามหลักการของอัตราภาษีก้าวหน้า ตามอัตราภาษีที่แสดงด้านล่างนี้ครับ
บ้านหลังที่ 2 เป็นต้นไป
หากมีบ้านมากกว่า 1 หลัง บ้านตั้งแต่หลังที่ 2 เป็นต้นไปจะต้องเสียภาษีโดยไม่มีการยกเว้นใดๆ ส่วนจำนวนภาษีที่ต้องเสียนั้นก็จะใช้หลักการอัตราภาษีก้าวหน้า โดยบ้านที่มีมูลค่ามากกว่าก็จะเสียภาษีในจำนวนที่มากกว่า ตามอัตราภาษีที่แสดงในตารางด้านล่างนี้
วิธีการคำนวณภาษี
การคำนวณภาษีของที่อยู่อาศัยแนวราบ เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ นั้นจะมีวิธีการที่แตกต่างจากที่อยู่อาศัยแนวสูงอย่างคอนโด โดยที่อยู่อาศัยแนวราบนั้นจะคำนวณภาษีจากมูลค่าที่ดิน รวมเข้ากับมูลค่าสิ่งปลูกสร้าง แต่กับคอนโดมิเนียมนั้นเราสามารถนำมูลค่าของห้องชุดมาคำนวณภาษีได้เลย
การคำนวณภาษีบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์
ที่อยู่อาศัยประเภทแนวราบสามารถคำนวณภาษีได้ ดังนี้
ภาระภาษี = (มูลค่าที่ดิน + มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง) x อัตราภาษี
มูลค่าที่ดิน ทราบได้จากการนำราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินที่กรมธนารักษ์กำหนด (บาท/ตารางวา) มาคูณด้วยขนาดพื้นที่ (ตารางวา)
มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง ทราบได้จากการนำราคาประเมินทุนทรัพย์โรงเรือนสิ่งปลูกสร้างกำหนดโดยกรมธนารักษ์ (บาท/ตารางเมตร) มาคูณด้วยขนาดพื้นที่ของสิ่งปลูกสร้าง และหักด้วยค่าเสื่อมราคาตามการหักค่าเสื่อมราคาของสิ่งปลูกสร้างดังนี้
ตัวอย่างการคำนวณภาษีบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์
คุณมีบ้านสองหลังบ้านหลังแรก มูลค่า 8 ล้านบาท บ้านหลังแรกจึงได้รับการยกเว้นภาษีทั้งหมด แต่บ้านหลังที่ 2 มูลค่า 15 ล้านบาทนั้นคุณจะต้องเสียภาษีตามอัตราภาษีก้าวหน้า โดยบ้านหลังที่ 2 นั้นมีพื้นที่ 60 ตารางวา พื้นที่สิ่งปลูกสร้าง 148 ตารางเมตร ลักษณะเป็นบ้านตึก อายุ 28 ปี ซึ่งมีวิธีการคำนวณภาษีดังนี้
ขั้นที่ 1 คำนวณหามูลค่าที่ดิน
ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินกรมธนารักษ์ (สมมติ) เท่ากับ 44,000 บาทต่อตารางวา ดังนั้นบ้านที่มีพื้นที่ 60 ตารางวา จะมีมูลค่าที่ดิน 44,000 x 60 = 2,640,000 บาท
ขั้นที่ 2 คำนวณหามูลค่าสิ่งปลูกสร้าง
ราคาประเมินทุนทรัพย์สิ่งปลูกสร้าง (สมมติ) เท่ากับ 8,400 บาทต่อตารางเมตร ดังนั้นบ้านที่มีพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง 148 ตารางวา จะมีมูลค่าสิ่งปลูกสร้าง 8,400 x 148 = 1,243,200 บาท
ราคาประเมินทุนทรัพย์สิ่งปลูกสร้าง (สมมติ) เท่ากับ 8,400 บาทต่อตารางเมตร ดังนั้นบ้านที่มีพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง 148 ตารางวา จะมีมูลค่าสิ่งปลูกสร้าง 8,400 x 148 = 1,243,200 บาท
ขั้นที่ 3 คำนวณมูลค่าสิ่งปลูกสร้างหลังหักค่าเสื่อม
บ้านเป็นสิ่งปลูกสร้างประเภทตึก มีอายุ 28 ปี หักค่าเสื่อมร้อยละ 2 ต่อไป ดังนั้นค่าเสื่อมที่จะต้องหักออกจากมูลค่าสิ่งปลูกสร้างเท่ากับ 1,243,200 x 2% = 24,864 บาท
บ้านเป็นสิ่งปลูกสร้างประเภทตึก มีอายุ 28 ปี หักค่าเสื่อมร้อยละ 2 ต่อไป ดังนั้นค่าเสื่อมที่จะต้องหักออกจากมูลค่าสิ่งปลูกสร้างเท่ากับ 1,243,200 x 2% = 24,864 บาท
ดังนั้นมูลค่าสิ่งปลูกสร้างหลังหักค่าเสื่อมเท่ากับ 1,243,200 – 24,864 = 1,218,336 บาท
ขั้นที่ 4 คำนวณภาษีตามอัตราภาษี
รวมมูลค่าที่ดินและมูลค่าสิ่งปลูกสร้างหลักหักค่าเสื่อมเข้าด้วยกันแล้วคูณด้วยอัตราภาษี ซึ่งจากอัตราภาษีที่เรียกเก็บจริงของบ้านที่มีมูลค่ามากกว่า 10 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 20 ล้านบาทอยู่ที่ 0.10% จึงคำนวณภาษีได้ดังนี้
1,218,336 x 0.10% = 1,218.34 บาท
ดังนั้นต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับบ้านหลังที่ 2 จำนวน 1,218.34 บาท
รายการอ้างอิง: 20 คำถาม ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
Picture Reference: www.bostonmagazine.com
เรื่องข้างต้นเขียนโดย ชัยสิทธิ์ บุนนาค Content Writer ประจำ DDproperty.com หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับตัวบทความสามารถติดต่อโดยตรงได้ที่ kittikom@ddproperty.com หรือ หากมีข้อสงสัยอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์สามารถไปทิ้งคำถามและหาคำตอบได้ในถามกูรู
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลทั่วไปเท่านั้น DDproperty by PropertyGuru ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท ออลพร็อพเพอร์ตี้ มีเดีย จำกัด ไม่สามารถรับรองหรือรับประกันเกี่ยวกับข้อมูล รวมทั้งไม่สามารถรับรองหรือรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับความเหมาะสม สำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะใด ๆ ของข้อมูล ตามขอบเขตสูงสุดที่กฎหมายอนุญาต แม้ว่าเราได้พยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ถูกต้อง เชื่อถือได้ และครบถ้วน ณ เวลาที่เขียน แต่ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ไม่ควรนำไปใช้ในการตัดสินใจทางการเงิน, การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือทางกฎหมายทันที ผู้อ่านไม่ควรใช้ข้อมูลในบทความ แทนคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมซึ่งสามารถพิจารณาข้อเท็จจริงและสถานการณ์ส่วนตัวของคุณได้ ทั้งนี้ เราไม่สามารถรับผิดชอบใด ๆ หากคุณเลือกที่จะนำข้อมูลไปใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ