ผนังกันเสียง 3 ประโยชน์ช่วยแก้ปัญหาเสียงรบกวนจากเพื่อนบ้าน

DDproperty Editorial Team
ผนังกันเสียง 3 ประโยชน์ช่วยแก้ปัญหาเสียงรบกวนจากเพื่อนบ้าน
สำหรับผู้ที่พักอาศัยในบ้านแฝดหรือทาวน์โฮมอาจเคยมีปัญหาเรื่องเสียงรบกวนจากเพื่อนบ้านหรือจากชุมชนในละแวกใกล้เคียงกันมาบ้าง ซึ่งเป็นปัญหาที่หลีกเลี่ยงได้ยาก แต่ก็ใช่ว่าจะแก้ไขไม่ได้ การติดตั้ง “ผนังกันเสียง” ก็เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย ลองมาดู 3 ประโยชน์ของผนังกันเสียง และสิ่งที่ต้องรู้ก่อนติดตั้งผนังกันเสียง
Subscription Banner for Article

ผนังกันเสียงคืออะไร

ผนังกันเสียง เป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติในการป้องกันเสียงดัง เพื่อใช้แก้ไขปัญหาเสียงรบกวนต่าง ๆ ได้ทั้งเสียงดังจากภายนอกทะลุเข้ามาสู่ภายในห้อง รวมทั้งยังป้องกันไม่ให้เสียงดังจากภายในห้องของเราทะลุออกไปสร้างความรบกวนภายนอกอีกด้วย

ประโยชน์ของผนังกันเสียง

แน่นอนว่าประโยชน์ของผนังกันเสียง คือการป้องกันเสียงต่าง ๆ จากภายนอกไม่ให้มารบกวนภายในบ้านของคุณ แต่เสียงรบกวนประเภทใดบ้างที่ผนังกันเสียงสามารถตอบโจทย์ความต้องการผู้อยู่อาศัยได้
1. ผนังกันเสียงป้องกันเสียงจากบ้านข้าง ๆ ที่มีผนังบ้านติดกัน เช่น บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ หรือทาวน์โฮม หรือแม้แต่บ้านเดี่ยวที่มีระยะห่างกันไม่มาก ทำให้ยังได้รับเสียงรบกวนจากเพื่อนบ้านข้าง ๆ อยู่
2. ผนังกันเสียงป้องกันเสียงจากแหล่งชุมชน เช่น ถนนใหญ่ และโรงงานอุตสาหกรรม หรือพื้นที่ที่มีการก่อสร้างในบริเวณใกล้เคียง สำหรับผู้มีบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ หรือทาวน์โฮม การติดตั้งผนังกันเสียงจะช่วยแก้ไขปัญหาเสียงรบกวนจากสิ่งแวดล้อมภายนอกได้เป็นอย่างดี

ปิดบ้านอย่างดี เสียงรบกวนเล็ดลอดเข้ามาได้อย่างไร?

ก่อนที่จะเลือกติดผนังกันเสียง หลายคนอาจสงสัยว่าเสียงรบกวนต่าง ๆ ทั้งจากเพื่อนบ้านและสิ่งแวดล้อมรอบบ้านนั้นทะลุผ่านเข้ามาบ้านของคุณได้อย่างไร จริง ๆ แล้ว โดยธรรมชาติเสียงจะต้องเดินทางผ่านตัวกลางเสมอ โดยอาศัยตัวกลางได้ 2 แบบ คือ ตัวกลางที่เป็นอากาศ กับตัวกลางที่เป็นโครงสร้าง

1. เสียงส่งผ่านตัวกลางที่เป็นอากาศ (Airborne Sound Transmission)

โดยเสียงจะเดินทางผ่านอากาศส่วนต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงช่องว่างของทุกรอยต่อ เช่น รอยต่อระหว่างวงกบประตูหน้าต่างกับผนังหรือตัวหน้าบานเอง กรณีทาวน์โฮม ตึกแถว หรือคอนโด ที่ใช้ผนังร่วมกันเพื่อนบ้าน อาจพบปัญหาเสียงลอดตามรอยต่อปลั๊กที่อยู่ตำแหน่งเดียวกัน รวมถึงปัญหาเสียงลอดผ่านช่องว่างของผนังส่วนเหนือฝ้าที่ก่อไม่ชนถึงท้องคาน

2. เสียงส่งผ่านตัวกลางที่เป็นโครงสร้าง (Structure-Borne Sound Transmission)

โดยการสั่นสะเทือนของโครงสร้างหรือส่วนประกอบอาคาร อย่างเวลาปิดประตูแรง ๆ กระแทกจนเกิดแรงสั่นสะเทือนผ่านวงกบต่อเนื่องไปยังผนัง พื้น/คาน/เสา หรือเวลาที่ข้างบ้านเปิดเพลงดังจนเรารู้สึกถึงการสั่นสะเทือนที่กระทบผ่านส่วนต่าง ๆ ของอาคาร
ผนังกันเสียงช่วยป้องกันเสียงจากภายนอกได้ดี

ผนังปกติสามารถกันเสียงได้มากน้อยแค่ไหน

เมื่อเรารู้ถึงหลักการเดินทางของเสียงแล้ว ลองมาดูกันว่า ผนังปกติของบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม หรือคอนโด ที่ไม่ใช่ผนังกันเสียงนั้นมีค่า Sound Transmission Class หรือ STC คือ ค่าที่บอกถึงระดับการส่งผ่านของเสียงอยู่ที่เท่าใหร่ เพราะยิ่งมีค่ามากหมายถึงกันเสียงได้มาก เช่น ผนังที่มีค่า STC 50 จะกันเสียงได้ดีกว่าผนังที่มีค่า STC 40 นั่นเอง
โดยในสหรัฐอเมริกา ได้กำหนดมาตรฐานของค่าการกั้นเสียงของผนังระหว่างยูนิตไว้ดังนี้
1. สำหรับอาคารระดับโรงแรม 5 ดาว ต้องมีค่าการกั้นเสียง หรือค่า STC อย่างน้อย 55
2. สำหรับอาคารที่พักทั่วไป ต้องมีค่าการกั้นเสียง หรือค่า STC อย่างน้อย 52
3. ค่าการกั้นเสียงต่ำที่สุดที่ยอมรับได้ สำหรับผนังกั้นระหว่างห้อง ต้องมีค่า STC อย่างน้อย 48
แต่ในประเทศไทย วิศวกรแนะนำว่าผนังของที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็น บ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม ทาวน์เฮาส์ หรือคอนโด ควรมีค่าการกั้นเสียงหรือค่า STC อย่างน้อย 45 ซึ่งปกติในการก่อสร้างที่พักอาศัย ส่วนใหญ่มักจะใช้ผนังเหล่านี้ในการก่อสร้าง
ผนังก่ออิฐมอญเต็มแผ่น ฉาบทั้งสองด้าน
10 เซนติเมตร
ประมาณ 45
ผนังก่ออิฐมวลเบา G2 ฉาบทั้งสองด้าน
10 เซนติเมตร
ประมาณ 42
ผนังก่ออิฐมอญเต็มแผ่น ฉาบทั้งสองด้าน
15 เซนติเมตร
ประมาณ 50
ผนังก่ออิฐมวลเบา G4 ฉาบทั้งสองด้าน
20 เซนติเมตร
ประมาณ 51
จะเห็นได้ว่าผนังก่ออิฐมวลเบามีค่า STC ต่ำสุดในบรราดาผนังทั้งหมด ทำให้ประสิทธิภาพในการป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกน้อยลงไปด้วย ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยการติดตั้งผนังกันเสียง เพื่อเพิ่มค่า STC ที่ช่วยป้องกันเสียงต่าง ๆ ได้มากขึ้น เช่น
1. ผนังก่ออิฐมวลเบา 2 ชั้น แต่ละด้านใช้อิฐมวลเบา G4 หนา 7.5 เซนติเมตร ฉาบทั้งสองด้าน กรุภายในช่องว่างด้วยผนังกันเสียง ISO NOISE หนา 5 เซนติเมตร เต็มพื้นที่ผนัง โดยความหนาของผนังทั้งหมด 20 เซนติเมตร มีค่า STC ประมาณ 65
2. ผนังเบายิปซั่ม แต่ละด้านประกอบด้วย ยิปซั่มความหนา 12 มิลลิเมตร ด้านละ 2 แผ่น ติดตั้งกับโครง C64 กรุภายในช่องว่างด้วยผนังกันเสียง ISO NOISE หนา 5 เซนติเมตร เต็มพื้นที่ผนัง โดยความหนาของผนังทั้งหมด 12 เซนติเมตร มีค่า STC ประมาณ 52
3. ผนังเบายิปซั่ม แต่ละด้านประกอบด้วย ยิปซั่มความหนา 12 มิลลิเมตร ด้านละ 2 แผ่น ติดตั้งกับโครง C64 แบบโครงคู่ กรุภายในช่องว่างด้วยผนังกันเสียง ISO NOISE หนา 5 เซนติเมตร จำนวน 2 ชั้น เต็มพื้นที่ผนัง โดยความหนาของผนังทั้งหมด 12 เซนติเมตร มีค่า STC ประมาณ 63
ดังนั้น ก่อนที่จะติดตั้งผนังกันเสียง เจ้าของบ้านจึงจำเป็นต้องทราบว่า ผนังบ้านของตนเองใช้วัสดุแบบไหน เพื่อให้สามารถเลือกใช้ผนังกันเสียงได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ
ที่สำคัญคือควรเช็กความต้องการของตนเองเสียก่อนว่าอยากให้ป้องกันเสียงเล็ดลอดขนาดไหน เพราะการแก้ไขปัญหาเรื่องเสียงรบกวนจากรอบบ้านอาจไม่จำเป็นต้องใช้ผนังกันเสียงเสมอไป ทุกวันนี้มีวัสดุกันเสียงมากมายให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม ซึ่งควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อจัดสรรงบประมาณได้อย่างคุ้มค่า
สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลทั่วไปเท่านั้น DDproperty by PropertyGuru ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท ออลพร็อพเพอร์ตี้ มีเดีย จำกัด ไม่สามารถรับรองหรือรับประกันเกี่ยวกับข้อมูล รวมทั้งไม่สามารถรับรองหรือรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับความเหมาะสม สำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะใด ๆ ของข้อมูล ตามขอบเขตสูงสุดที่กฎหมายอนุญาต แม้ว่าเราได้พยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ถูกต้อง เชื่อถือได้ และครบถ้วน ณ เวลาที่เขียน แต่ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ไม่ควรนำไปใช้ในการตัดสินใจทางการเงิน, การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือทางกฎหมายทันที ผู้อ่านไม่ควรใช้ข้อมูลในบทความ แทนคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมซึ่งสามารถพิจารณาข้อเท็จจริงและสถานการณ์ส่วนตัวของคุณได้ ทั้งนี้ เราไม่สามารถรับผิดชอบใด ๆ หากคุณเลือกที่จะนำข้อมูลไปใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ

คำนวณยอดผ่อนต่อเดือน

คำนวณยอดผ่อนชำระต่อเดือนตามอัตราดอกเบี้ยของคุณด้วยเครื่องมือคำนวณสินเชื่อนี้

คำนวณวงเงินกู้สูงสุด

คำนวณสินเชื่อบ้าน ยอดวงเงินกู้บ้านใหม่ที่คาดว่าจะได้รับจากแบงก์และยอดผ่อนชำระในแต่ละเดือน

คำนวณสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน

เช็กยอดผ่อนชำระต่อเดือนอัตราใหม่และจำนวนเงินที่คุณสามารถประหยัดได้หลังจากการทำรีไฟแนนซ์