พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมในกรุงเทพฯ ต้องรู้ก่อนซื้อบ้าน

DDproperty Editorial Team
พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมในกรุงเทพฯ ต้องรู้ก่อนซื้อบ้าน
ปัญหาน้ำท่วมไม่ใช่เรื่องใหม่ในกรุงเทพฯ เพราะฝนตกหนักเมื่อไหร่ น้ำต้องท่วมทุกครั้ง อยู่ที่จะมากหรือน้อยเท่านั้น ดังนั้น ก่อนซื้อบ้าน หรือซื้อคอนโด หากรู้เบื้องต้นว่าพื้นที่ไหนในกรุงเทพฯ เป็นพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ก็ช่วยให้สบายใจในการอยู่อาศัย หรือหาทางป้องกันและปรับปรุงบ้านได้ล่วงหน้า ลองมาดูว่าพื้นที่ไหนในกรุงเทพฯ ที่เป็นพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมบ้าง
อ่านหัวข้อที่คุณสนใจ

ทำไมกรุงเทพฯ ถึงน้ำท่วมบ่อย

สาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้กรุงเทพฯ ประสบปัญหาน้ำท่วมอยู่เสมอคือ

1. พื้นที่เมืองไม่มีพื้นที่รับน้ำ

ในอดีตกรุงเทพฯ ยังมีทุ่งนา ป่ากก ร่องสวน เป็นพื้นที่รับน้ำ แต่ปัจจุบันพื้นที่ทั้งหมดของกรุงเทพฯ เปลี่ยนแปลงเป็นบ้าน คอนโด ซึ่งตั้งอยู่ในระดับสูงกว่าพื้นถนน เมื่อฝนตกลงมา น้ำทั้งหมดจึงไหลไปรวมที่ถนน

2. ขนาดของท่อระบายน้ำเล็กเกินไป

โดยกรุงเทพฯ เป็นเมืองเก่า ท่อระบายน้ำได้ก่อสร้างมานานแล้ว บางท่อมีขนาดเล็กเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 30-60 เซนติเมตร ส่วนขนาดใหญ่ที่สุดประมาณ 80 เซนติเมตร
ท่อเหล่านี้แต่เดิมได้ออกแบบมาเพื่อรองรับน้ำฝนในปริมาณที่ฝนตกไม่เกิน 60 มิลลิเมตร/ชั่วโมงเท่านั้น แต่ปัจจุบันฝนที่ตกลงมามีปริมาณมากกว่า 100 มิลลิเมตร/ชั่วโมง ทำให้ไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน จึงก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขัง
อย่างไรก็ตาม กรุงเทพมหานครได้หาแนวทางในการแก้ไขปัญหามาโดยตลอด อย่างเช่นการสร้างหรือปรับปรุงถนนใหม่ กำหนดให้มีการวางท่อระบายน้ำขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.20 เมตร รวมถึงการก่อสร้างท่อลอด Pipe Jacking จะใช้ท่อระบายน้ำขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.20 เมตร เช่นกัน เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว และเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำลงสู่คูคลองต่อไป

3. ท่อระบายน้ำอุดตัน

ท่อระบายน้ำอุดตันเกิดจากหลายสาเหตุ อาทิ การสะสมของดินโคลน เศษวัสดุ ที่ชะล้างไหลมาจากถนนหรือตามโครงการก่อสร้าง รวมถึงจากร้านค้า หรือบ้านเรือนที่ทิ้งขยะ ทิ้งเศษอาหาร ไขมัน ลงมาตามท่อ ส่วนใหญ่จะไม่ผ่านระบบกรอง หรือระบบถังดักไขมัน
โดยของเสียประเภทไขมัน หากปล่อยทิ้งสะสมประมาณ 1 เดือนจะจับตัวเป็นก้อนชั้นหนา หากเกิน 10 เซนติเมตรจะมีผลทำให้น้ำไหลผ่านยากมาก

4. ภัยธรรมชาติ

ภัยธรรมชาติ ถือเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้กรุงเทพฯ น้ำท่วม อาทิ พายุฤดูร้อนที่มักเกิดขึ้นในลักษณะพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง มีลูกเห็บตกในบางพื้นที่ รวมถึงฟ้าผ่า และน้ำทะเลหนุน จึงมีโอกาสที่จะเกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่
เช็กพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม

เช็กพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม 12 จุด ใน 8 เขต

จากการสำรวจของสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร พบว่า ในกรุงเทพฯ มีจุดเสี่ยงน้ำท่วมขัง จำนวน 12 จุด ในพื้นที่ 8 เขต ประกอบด้วย

พื้นที่ฝั่งพระนคร จำนวน 9 จุดใน 6 เขต

1. เขตจตุจักร ถนนรัชดาภิเษก บริเวณหน้าธนาคารกรุงเทพ
2. เขตบางซื่อ ถนนประชาราษฎร์สาย 2 บริเวณแยกเตาปูน
3. เขตหลักสี่ ถนนแจ้งวัฒนะ ช่วงจากคลองประปา ถึงคลองเปรมประชากร
4. เขตดุสิต ถนนราชวิถี บริเวณหน้าราชภัฏสวนดุสิตและเชิงสะพานกรุงธนบุรี
5. เขตราชเทวี ถนนพญาไท บริเวณหน้ากรมปศุสัตว์
6. เขตราชเทวี ถนนศรีอยุธยา บริเวณหน้า สน.พญาไท
7. เขตสาทร ถนนจันทน์ ช่วงจากซอยบำเพ็ญกุศล ถึงที่ทำการไปรษณีย์ยานนาวา
8. เขตสาทร ถนนสวนพลู ช่วงจากถนนสาทรใต้ ถึงถนนนางลิ้นจี่
9. เขตสาทร ถนนสาธุประดิษฐ์ บริเวณแยกตัดถนนจันทน์

พื้นที่ฝั่งธนบุรี จำนวน 3 จุดใน 2 เขต

10. เขตบางขุนเทียน ถนนบางขุนเทียน-ชายทะเล ช่วงจากถนนพระรามที่ 2 ถึงคลองสะแกงาม
11. เขตบางแค ถนนเพชรเกษม ช่วงจากคลองทวีวัฒนา ถึงคลองราชมนตรี
12. เขตบางแค ถนนหมู่บ้านเศรษฐกิจ ช่วงจากถนนเพชรเกษม ถึงวงเวียนกาญจนาภิเษก
โดยในปี 2565 กรุงเทพมหานครวางเป้าหมาย ลดจุดเสี่ยงน้ำท่วมให้เหลือ 8 จุดและจุดเฝ้าระวังน้ำท่วมให้ลดลงเหลือ 36 จุด

กทม. กับแนวทางการแก้ปัญหาน้ำท่วม

แนวทางการแก้ปัญหาของกรุงเทพมหานคร มีโครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่ก่อสร้างจนเสร็จเพิ่มขึ้นอีก 5 โครงการ จะช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมได้มากกว่าเดิม โดย 5 โครงการแก้ปัญหาน้ำท่วมที่สร้างเสร็จในปี 2564 ประกอบด้วย
1. สถานีสูบน้ำ 7 แห่ง
2. บ่อสูบน้ำ 5 แห่ง
3. แก้มลิง 2 แห่ง
4. แหล่งเก็บน้ำ 2 แห่ง
5. ท่อทางด่วนระบายน้ำ 1 แห่ง
อย่างไรก็ตาม ระหว่างเดือนสิงหาคม-ตุลาคม เป็นช่วงเตรียมพร้อมและเฝ้าระวังสถานการณ์ "ฝนตกหนัก" ในกรุงเทพฯ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยฝนสะสมอยู่ที่ 35-90 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง โดยที่ระบบระบายน้ำ ของกรุงเทพมหานคร รองรับได้ประมาณ 60 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง
ทั้งนี้ สำนักระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร ได้วางไว้ 3 ระดับ ตั้งแต่ "ก่อนฝนตก-ระหว่างฝนตก-หลังฝนตก" โดยก่อนฝนตกให้แจ้งเตือนประชาชนจากระบบเรดาห์ของกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะ "ระหว่างฝนตก" ให้เร่งระบายน้ำในจุดเสี่ยงน้ำท่วม 12 แห่งให้เร็วที่สุด เพราะหากการระบายน้ำเข้าสู่ระบบ "ระบายน้ำหลัก" ไม่สามารถทำได้เต็มกำลัง ต้องเร่งระบายน้ำเข้าระบบ "ระบายน้ำรอง" หรือจุดย่อย เพื่อให้สามารถระบายน้ำได้เร็วขึ้น

อุโมงค์ระบายน้ำ ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วม

โดยสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร ดำเนินโครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำจากบึงหนองบอนลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งอุโมงค์ระบายน้ำดังกล่าวมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 เมตร ความยาว 9.4 กิโลเมตร ความลึก 30 เมตร
อุโมงค์ระบายน้ำ บึงหนองบอน
โดยแนวอุโมงค์เริ่มจากอาคารรับน้ำบริเวณบึงหนองบอน ลอดใต้แนวคลองหนองบอน แนวคลองตาช้าง ถนนศรีนครินทร์ ถนนอุดมสุข ซอยอุดมสุข 29 ถนนสุขุมวิท 101/1 ลอดใต้แนวคลองบางอ้อ ผ่านสถานีสูบน้ำบางอ้อและออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากคลองบางอ้อ
ในแนวเส้นทางระหว่างทางที่อุโมงค์ระบายน้ำบึงหนองบอนลอดผ่าน จะมีการก่อสร้างปล่องรับน้ำและอาคารรับน้ำ เพื่อรวบรวมน้ำในคลองต่าง ๆ ที่อุโมงค์ลอดผ่านจะช่วยให้ระบายลงสู่ระบบอุโมงค์ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้คาดว่าอุโมงค์ระบายน้ำดังกล่าวจะก่อสร้างแล้วเสร็จ สามารถเปิดใช้งานได้ประมาณเดือนมีนาคม 2565

4 แอปพลิเคชัน เช็กสถานการณ์น้ำท่วม

สำหรับการติดตามสถานการณ์น้ำ สามารถอัปเดตสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดด้วยตนเอง ผ่านแอปพลิเคชัน ของหน่วยงานภาครัฐ ที่พัฒนาขึ้นเพื่อแจ้งเตือน ให้คำแนะนำ รับแจ้งเหตุ พร้อมทั้งเตรียมรับมือสถานการณ์น้ำได้ อย่างทันท่วงที
4 แอปพลิเคชัน เช็กน้ำท่วม

1. ThaiWater

แอปพลิเคชัน ThaiWater รายงานสถานการณ์น้ำและอากาศของประเทศไทย ทั้งแผนที่และปริมาณฝน 24 ชั่วโมงย้อนหลัง สภาพอากาศประจำวัน เส้นทางพายุ ภาพรวมอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในประเทศ รวมถึงข้อมูลปริมาณน้ำใช้การ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยาด้วย

2. DPM Reporter

แอปพลิเคชัน DPM Reporter แจ้งเตือนสาธารณภัย พร้อมส่งข้อมูลข่าวสารไปยังประชาชนผ่านระบบ Smart Phone ในลักษณะ Private และ Public Channels โดยมีฟังก์ชันข่าวสาธารณภัยรายงานสถานการณ์ภัยที่เกิดขึ้นภายในประเทศ ในรูปแบบภาพนิ่ง คลิปวิดีโอ และรายละเอียดของภัย
ขณะเดียวกันยังมีฟังก์ชันรายงานข่าว โดยเปิดให้ผู้ใช้งานมีส่วนร่วมเป็นผู้รายงานสถานการณ์ภัยด้วยตนเอง และฟังก์ชันแผนที่ข่าว แจ้งเตือนภัยล่วงหน้าทั่วประเทศ
นอกจากนี้ ยังมีฟังก์ชันแจ้งเตือนสาธารณภัย รวบรวมข่าวแจ้งเตือนภัย ทุกประเภท และข้อมูลสรุปสาธารณภัยประจำวัน และฟังก์ชันสถิติสาธารณภัย เป็นการรวบรวมการเกิดสาธารณภัย ครอบคลุมตั้งแต่รายปี รายเดือน รายสัปดาห์ และรายวันด้วย

3. WMSC

แอปพลิเคชัน WMSC ฐานข้อมูลข่าวสาร รายงานทั้งสถานการณ์น้ำประจำวัน ข้อมูลน้ำในอ่าง ข้อมูลน้ำฝน ข้อมูลน้ำท่า กล้องติดตามสถานการณ์น้ำ และข้อมูลการเกษตร รวมถึงรายงานสภาพภูมิอากาศ แผนที่อากาศ แผนที่ลมชั้นบน และภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อช่วยรับมือน้ำท่วม

4. DWR4THAI

แอปพลิเคชัน DWR4THAI ให้บริการข้อมูลข่าวสารของกรมทรัพยากรน้ำ รายงานสถานการณ์น้ำเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลจากระบบสารสนเทศทรัพยากรน้ำที่มีอยู่ นำเสนอข้อมูล ข่าวสาร บริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) สู่ประชาชนเพื่อสนับสนุนการติดตาม เฝ้าระวัง และเตือนภัยธรรมชาติด้านทรัพยากรน้ำ
สำหรับผู้ประสบภัย สามารถแจ้งเหตุ และขอความช่วยเหลือทางไลน์ "ปภ.รับแจ้งเหตุ1784" โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และ แอปพลิเคชั่น "พันภัย" รวมถึง(telephone)สายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

เช็กพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก

จากข้อมูลของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ได้เก็บข้อมูลตลอด 9 ปี (พ.ศ. 2548-2556) พบว่า หลายพื้นที่ในกรุงเทพฯ มีปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก โดยเฉพาะพื้นที่รอบนอก โดยมีรายละเอียดดังนี้
Flood Bangkok_02
พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยระดับ 1 พื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมซ้ำซาก 7-9 ปี และพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยระดับ 2 พื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมซ้ำซาก 5-6 ปี ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่รอบนอกกรุงเทพฯ ได้แก่
– หนองจอก
– คลองสามวา
– ลาดกระบัง
– มีนบุรี
และบางส่วนในเขต
– สายไหม
– บางเขน
– คันนายาว

ค้นหาพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมสูงจากระดับความสูง-ต่ำ

ระดับความสูง-ต่ำในพื้นที่กรุงเทพฯ ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้แต่ละพื้นที่มีความเสี่ยงต่อน้ำท่วมไม่เท่ากัน โดยพื้นที่ในกรุงเทพฯ สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 1-1.5 เมตร เมื่อเทียบกับจังหวัดอื่น อาทิ เพชรบูรณ์ 114 เมตร นครราชสีมา 187 เมตร อุตรดิตถ์ 63 เมตร ราชบุรี 5 เมตร และภูเก็ต 2 เมตร ถือว่ามีระดับที่ไม่สูงมากนัก โดยแต่ละเขตมีความสูง ดังนี้
Flood_bkk_info_b
แม้ว่ากรุงเทพฯ หลายเขตจะอยู่ในช่วงระดับต่ำกว่า 0 เมตร จนถึงสูงกว่าระดับน้ำทะเล 1 เมตร แต่น้ำกลับไม่ท่วมในช่วงน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 หากไม่นับเขตกรุงเทพฯ ชั้นใน ซึ่งเป็นพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญ ที่จะยอมให้ท่วมไม่ได้แล้ว ก็จะมีเขตบางนา ที่แม้พื้นที่ส่วนใหญ่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1 เมตร แต่น้ำกลับไม่ท่วม
อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พบว่า ปริมาณฝนตก ในเขตกรุงเทพฯ มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 5% ระดับน้ำทะเลสถานีหลัก บริเวณปากแม่น้ำทั้ง 4 คือ แม่กลอง ท่าจีน เจ้าพระยา และบางปะกง มีแนวโน้มสูงขึ้นโดยเฉลี่ย 1.3 เซนติเมตรต่อปี ขณะที่กรุงเทพฯ มีการทรุดตัวประมาณ 1 เซนติเมตรต่อปี ทำให้น้ำทะเลสูงขึ้น 3 มิลลิเมตรทุกปี

เช็กพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมจาก GISTDA

เช็กพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด จากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ผ่านเว็บไซต์ http://flood.gistda.or.th โดยจะเป็นการแสดงพื้นที่น้ำท่วมจากภาพถ่ายดาวเทียมไทยโชต และภาพถ่ายดาวเทียม Nasa Blue Marble
โดยข้อมูลจากเว็บไซต์นี้ สามารถตรวจสอบที่ดินเบื้องต้น ว่าพื้นที่ไหนเป็นพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมแบบ Real time และข้อมูลแบบเป็นสถิติ ดังนี้
ตัวอย่างเว็บไซต์ตรวจสอบที่ดิน ทำเลไหนเป็นพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม
– แผนที่น้ำท่วมรอบ 7 วัน
สถานการณ์น้ำท่วมเปรียบเทียบแต่ละปี
– สถานการณ์น้ำท่วมเปรียบเทียบแต่ละปี มีให้เลือกตั้งแต่ปี 2549-2563
ความถี่น้ำท่วมขังในรอบ 11 ปี
– ความถี่น้ำท่วมขังในรอบ 11 ปี
คำอธิบายสัญลักษณ์
– สีน้ำเงิน คือ 1 ครั้ง
– สีเหลือง คือ 2-4 ครั้ง
– สีม่วง คือ 5-7 ครั้ง
– สีแดง คือ 8-10 ครั้ง

พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมจากบทเรียนปี 54

flood_bkk_info น้ำท่วม กรุงเทพฯ

หากย้อนไปดูสถานการณ์น้ำท่วมในกรุงเทพฯ เมื่อปี 2554 จะพบว่า พื้นที่ในกรุงเทพฯ แทบจะจมมิดใต้มวลน้ำมหาศาล ซึ่งบางเขตต้องกลายเป็นพื้นที่ทางผ่านของน้ำเพื่อระบายลงสู่ทะเล และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบกับใจกลางเมืองกรุงเทพฯ โดยจาก 50 เขต มีเพียง 12 เขต เท่านั้นที่เหลือรอดจากมวลน้ำมาได้ ได้แก่
– ทุ่งครุ
– ราษฎร์บูรณะ
– ป้อมปราบศัตรูพ่าย
– วังทองหลาง
– พญาไท
– วัฒนา
– ปทุมวัน
ส่วนที่เหลือมี 9 เขตที่เสียหายบางส่วนจากการขึ้น-ลงของระดับแม่น้ำเจ้าพระยา หรือได้รับผลกระทบในช่วงสั้น ๆ ได้แก่
– พระนคร
– ดุสิต
– สัมพันธวงศ์
– บางรัก
– บางคอแหลม
– คลองเตย
– ยานนาวา
เขตที่ได้รับความเสียหายบางส่วนที่เกิดจากน้ำเหนือ แยกเป็น 2 ส่วน คือ เสียหายเกิน 20% มี 9 เขต ได้แก่
– ประเวศ
– คันนายาว
– มีนบุรี
– ลาดกระบัง
– หนองจอก
– สะพานสูง
– ลาดพร้าว
– บางกอกน้อย
– บางบอน
เสียหายน้อยกว่า 20% มี 8 เขตคือ
– ดินแดง
– ห้วยขวาง
– บึงกุ่ม
– บางกะปิ
– บางกอกใหญ่
– จอมทอง
– ธนบุรี
– บางขุนเทียน
สำหรับเขตที่เสียหายมากที่สุดเรียกว่าท่วมมากและท่วมนาน มี 12 เขต ได้แก่
– ตลิ่งชัน
– ทวีวัฒนา
– บางพลัด
– บางแค
– ภาษีเจริญ
– หนองแขม
– ดอนเมือง
– บางเขน
– สายไหม
– หลักสี่
– จตุจักร
– คลองสามวา
จากข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่าปัจจัยที่น้ำจะท่วมหรือไม่นั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความสูงจากระดับน้ำทะเลเท่านั้น อาจรวมถึงเรื่องการดูแลความสะอาดของคนในพื้นที่ เพราะนอกจากฝนแล้วสิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดน้ำท่วมคือปัญหาขยะอุดตันตามท่อระบายน้ำ ดังนั้นการเช็กพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมจำเป็นจะต้องพิจารณาหลายด้านประกอบกัน
สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า

คำนวณยอดผ่อนต่อเดือน

คำนวณยอดผ่อนชำระต่อเดือนตามอัตราดอกเบี้ยของคุณด้วยเครื่องมือคำนวณสินเชื่อนี้

คำนวณวงเงินกู้สูงสุด

คำนวณสินเชื่อบ้าน ยอดวงเงินกู้บ้านใหม่ที่คาดว่าจะได้รับจากแบงก์และยอดผ่อนชำระในแต่ละเดือน

คำนวณสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน

เช็กยอดผ่อนชำระต่อเดือนอัตราใหม่และจำนวนเงินที่คุณสามารถประหยัดได้หลังจากการทำรีไฟแนนซ์