ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่ มีขึ้นมาเพื่ออะไร แล้วใครได้ประโยชน์บ้าง?

DDproperty Editorial Team
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่ มีขึ้นมาเพื่ออะไร แล้วใครได้ประโยชน์บ้าง?
คุณรู้หรือเปล่าว่าแต่เดิมกฎหมายการจัดเก็บภาษี มีการแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ ภาษีบำรุงท้องที่” กับ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน” ซึ่งกฎหมายทั้ง 2 ฉบับมีความไม่สอดคล้องกันเลยในการจัดเก็บ และไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน ทางภาครัฐจึงได้ออกกฎหมาย ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” มาทดแทน โดยใช้วิธีประเมินจากมูลค่าทั้งหมดของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำหน้าที่จัดเก็บและดำเนินการต่าง ๆ เพื่อนำนำเงินที่ได้มาพัฒนาท้องถิ่นอีกทาง
สำหรับประโยชน์ที่ประชาชนตาดำๆ อย่างเราจะได้รับจากการปรับปรุงโครงสร้างภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังต่อไปนี้
– ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม เนื่องจากผู้มีทรัพย์สินมูลค่าสูง ก็ควรที่จะต้องเสียภาษีมากกว่าผู้ที่มีทรัพย์สินมูลค่าต่ำ หรือ พูดง่ายๆ ว่ามีมากจ่ายมากมีน้อยจ่ายน้อยนั่นเอง
– เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน และเพื่อลดการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่
– เพื่อเป็นกระตุ้นให้มีการใช้ประโยชน์จากที่ดิน ลดปัญหาการกักตุนที่ดินเพื่อเก็งกำไรและกระจายการถือครองที่ดิน
– อีกทั้งยังช่วยเพิ่มรายได้ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หลังจากที่ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีผลบังคับใช้ในปีแรก กระทรวงการคลัง คาดว่าจะทำให้ท้องถิ่นมีรายได้จากการจัดเก็บภาษี 64,290 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดิม 38,318 ล้านบาท (ภาษีโรงเรือนและที่ดิน-ภาษีบำรุงท้องที่)
– เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการบริหารงาน และบริหารจัดการเงินของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้น
อีกทั้งยังมีทรัพย์สินที่ได้รับยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ได้แก่ทรัพย์สินประเภทใดบ้าง ซึ่งทรัพย์สินที่ได้รับการยกเว้นภาษีประกอบด้วยทรัพย์สินต่างๆ 12 รายการดังนี้
  1. ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
  2. ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่มิได้ใช้หาผลประโยชน์
  3. ทรัพย์สินของรัฐหรือของหน่วยงานของรัฐที่ใช้ในกิจการของรัฐหรือของหน่วยงานของรัฐ หรือ ในกิจการสาธารณะ โดยมิได้ใช้หาผลประโยชน์
  4. ทรัพย์สินที่เป็นที่ทำการขององค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษขององค์การสหประชาชาติ หรือองค์การระหว่างประเทศอื่น ที่ประเทศไทยมีข้อผูกพันให้ยกเว้นภาษีตามสนธิสัญญาหรือความตกลง
  5. ทรัพย์สินที่เป็นที่ทำการสถานทูตหรือสถานกงสุลของต่างประเทศตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน
  6. ทรัพย์สินของสภากาชาดไทย
  7. ทรัพย์สินที่เป็นศาสนสมบัติไม่ว่าของศาสนาใด เฉพาะที่มิได้ใช้หาผลประโยชน์
  8. ทรัพย์สินที่ใช้เป็นสุสานสาธารณะหรือฌาปนสถานสาธารณะ โดยมิได้รับประโยชน์ตอบแทน
  9. ทรัพย์สินที่เป็นของมูลนิธิหรือองค์การที่ประกอบกิจการสาธารณะ ทั้งนี้ เฉพาะที่มิได้ใช้หาผลประโยชน์
  10. ทรัพย์สินของเอกชนเฉพาะส่วนที่ได้ยินยอมให้ทางราชการจัดให้ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ หรือทรัพย์สินของเอกชนที่ได้ใช้เพื่อ สาธารณประโยชน์ โดยเจ้าของทรัพย์สินนั้นมิได้ใช้หรือ หาผลประโยชน์ในทรัพย์สินนั้น
  11. ทรัพย์ส่วนกลางตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด และที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคตามกฎหมาย ว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
  12. ทรัพย์สินตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
หลายคนอาจสงสัยว่า จากที่รัฐบาลมีมติให้เพิ่มเติมในการจัดเก็บ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นภาษีประเภทใหม่ที่รัฐบาลจะนำมาใช้เพื่อจัดเก็บภาษีเพิ่มเติม นั้นไม่ได้ เนื่องมาจากรัฐบาลมีรายได้จากภาษีประเภทอื่นไม่เพียงพอ แต่การที่เรียกเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นภาษีประเภทใหม่ที่นำมาใช้ จัดเก็บแทนภาษีโรงเรือนและที่ดิน – ภาษีบำรุงท้องที่ ที่มีความไม่สอดคล้องกัน ให้เกิดความเหมาะสมและเข้ากับสภาวการณ์ ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จัดเก็บอยู่ในปัจจุบัน ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยรายได้ จากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด จะเป็นของ อปท. เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาท้องถิ่น โดยไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินหรือรายได้ของรัฐบาลแต่อย่างใด
ข้อมูลอ้างอิง: http://www.thaigov.go.th/
ซึ่งสามารถอ่าน ให้ติดตามอ่านต่ออีก หรืออ่านบทความอื่นๆ ได้ที่ DDproperty.com
สามารถชมรีวิวโครงการใหม่ๆ ได้ที่นี่… เพื่อศึกษาของมูลโครงการที่คุณสนใจประกอบการลงทุน

เรื่องข้างต้นเรียบเรียงโดย วัชระ วงศ์สง่า Content Writer ประจำเว็บไซต์ DDproperty.com หากมีคำถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ Watchara@ddproperty.com