รับมือ Post Vacation Blue ด้วยการลงทุน

DDproperty Editorial Team
รับมือ Post Vacation Blue ด้วยการลงทุน
เผลอแป๊ปเดียววันหยุดยาว พักผ่อนช่วงปีใหม่ก็จบลงอย่างรวดเร็ว เวลาที่คนเรามีความสุขอะไร ๆ ก็ผ่านไปไวเสมอ หลายคนตื่นเต้นที่จะได้กลับไปโต๊ะทำงานเพราะได้หยุดชาร์จแบตเติมพลังให้คุณอย่างเต็มเปี่ยม
แม้ว่าใกล้จะเข้าสู่เดือนที่ 3 ของปีนี้แล้วแต่บางคนก็ยังจมอยู่กับความหดหู่ ห่อเหี่ยว มองไปทางไหนก็เอาแต่ถอนหายใจเฮือก ๆ ไม่อยากลุกจากเตียง กดปุ่ม Snooze แล้ว Snooze อีก นอนฝันถึงเวลาอันแสนสุขที่ได้ท่องเที่ยว ขอต่อเวลาให้วันหยุดนี้ยาวออกไปไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งอาการที่เล่ามานี้เราเรียกว่า “อาการ Post-Vacation Blue” ซึ่งวันนี้ K-Expert จะพาไปทำความรู้จักกับอาการนี้ให้มากขึ้นพร้อมแนะนำวิธีแก้ไข
sportlight

Post-Vacation Blue คืออะไร ?

Post-Vacation Blue คือ อาการหรือสภาวะ ห้วงอารมณ์ที่เซื่องซึม เศร้า เหงาหงอย ห่อเหี่ยว หลังจากได้ใช้ชีวิตสนุกสนานสุดเหวี่ยงไปกับวันหยุดยาว คิดถึงคนที่บ้าน คิดถึงบรรยากาศสบาย ๆ คิดถึงสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้ไป โดยไม่มีเรื่องงานเข้ามารบกวนหัวใจ ทำให้ไม่อยากกลับไปโต๊ะทำงาน
แต่หลังวันหยุดยาวซักพัก อาการจะค่อย ๆ หายไปและดีขึ้นตามวันเวลา พอถึงจุดหนึ่งเราเองจะเข้าใจและยอมรับความเป็นจริงได้ว่า ชีวิตต้องไปต่อ โดยหลัก ๆ แล้ว อาการที่เข้ามากระทบมีทั้งทางร่างกายและจิตใจ วันนี้เรามาดู 3 เครื่องมือทางการเงิน ที่จะมาช่วยบรรเทาอาการ Post-Vacation Blue กัน
Money Saving concept

3 เครื่องมือทางการเงิน

ตัวช่วยที่ 1 ออมเงินและลงทุนอัตโนมัติ

เชื่อไหมว่า ร้อยทั้งร้อย คนที่ได้ไปพักผ่อนนานๆ แล้วกลับมาเจอสภาวะ Post-Vacation Blue จะอยากกลับไปเที่ยวอีก เพราะคิดถึงช่วงเวลาที่สุดแสนจะมีความสุขเหล่านั้น แต่พอมาดูเงินในกระเป๋าที่จะไปทริปหน้าต่อ บางคนอาจจะหดหู่ยิ่งกว่าเดิม เพราะชอปปิ้งจนเพลิน ไม่มีเงินที่จะไปท่องเที่ยวแล้ว
ดังนั้นสำหรับคนที่เสพติดการท่องเที่ยว อยากมีทริปต่อไปเรื่อย ๆ แนะนำให้ “แบ่งบัญชีเงินเก็บโดยนำมาออมเพื่อการท่องเที่ยว” โดยเฉพาะ โดยสามารถ “ออมหรือนำไปลงทุนโดยตัดบัญชีเงินเดือนอัตโนมัติ” เวลาเงินเข้าเพื่อเป็นการสร้างวินัย พอถึงเวลาจะไปเที่ยวจริง ๆ จะได้มีเงินไปใช้จ่าย ไม่ต้องมานั่งกังวลเมื่อทริปหน้ามาถึง

ตัวช่วยที่ 2 ประกันสุขภาพและประกันเดินทางรายปี

เมื่อไปเที่ยวหลายสิบวันในช่วงวันหยุดยาวกลับมา มักมี “อาการ Jet Lag” โดยเฉพาะผู้ที่ไปเที่ยวประเทศไกลๆ อยู่คนละ Time Zone กัน อาการของ Jet Lag มักส่งผลต่อการนอน เช่น นอนไม่หลับ นอนไม่พอ ตื่นกลางดึก ตื่นเร็ว หรือนอนมากเกินไป เมื่อยล้า อ่อนเพลีย หมดแรง ง่วงนอนในตอนกลางวัน ขาดสมาธิและสมรรถภาพในการทำงานได้ตามปกติ
“ประกันสุขภาพ” ก็เป็นเครื่องมือทางการเงินอีกตัวหนึ่งที่ช่วยบรรเทาผลกระทบจากอาการ Post vacation Blue ได้เพราะถ้าเกิดเป็นมากกว่า Jet Lag หลังจากไปท่องเที่ยว เช่น ไข้หวัด หรือร้ายแรงขนาดโรคติดต่อจากต่างประเทศ ต้องใช้เงินค่ารักษาพยาบาลที่สูงริบ คงซ้ำเติมอาการซึมเศร้าและห่อเหี่ยวจาก Post-Vacation Blue อีกมากเลยทีเดียว
และสำหรับขาประจำสายเที่ยว แนะนำ “ประกันการเดินทางแบบรายปี” ไปเลย คุ้มกว่าจ่ายเป็นรอบ ๆ เยอะมาก ลองเลือกแบบประกันการเดินทางรายปีที่เหมาะสมกับคุณ
Businessman and woman use laptop in park, sit on grass together

ตัวช่วยที่ 3 ตัดชำระรายจ่ายอัตโนมัติ

นอกจากจะต้องมานั่งต่อสู้กับอาการ Post-Vacation Blue หลังจากท่องเที่ยวมายาวนานแล้ว ถ้ากลับมาลืมจ่ายค่าบัตรเครดิต เจอดอกเบี้ยสุดโหด หรือลืมจ่ายค่าโทรศัพท์ กลับมาโทรศัพท์ตัด ติดต่อใครไม่ได้ ทำงานลำบาก คงหดหู่กว่าเดิมอีก ไม่น้อย แนะนำให้ใช้ “บริการตัดชำระค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภค และบัตรเครดิตอัตโนมัติ” ไปเลย เพื่อไม่ต้องมานั่งกังวลระหว่างท่องเที่ยวและหลังจากกลับมานั่นเอง
ลองเลือกใช้แต่ละตัวช่วยทางการเงินกันดู เพื่อช่วยลดผลกระทบจากอาการ Post vacation Blue แล้วช่วงเวลาหลังวันหยุดยาวที่แสนเศร้าของคุณจะผ่านไป กลับมาเป็นคนกระฉับกระเฉงพร้อมทำงานเหมือนเดิม และหาทริปเติมพลังใหม่ ๆ ได้เสมอ
สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า
เรื่องข้างต้นนี้เขียนโดย ศุภณัฐ งามเศรษฐมาศ AFPTTM ธนาคารกสิกรไทย หากมีข้อสงสัยหรือต้องการปรึกษาวางแผนเพิ่มเติม สามารถปรึกษากับ K-Expert ธนาคารกสิกรไทย ได้ที่ K-Expert@kasikornbank.com

คำนวณยอดผ่อนต่อเดือน

คำนวณยอดผ่อนชำระต่อเดือนตามอัตราดอกเบี้ยของคุณด้วยเครื่องมือคำนวณสินเชื่อนี้

คำนวณวงเงินกู้สูงสุด

คำนวณสินเชื่อบ้าน ยอดวงเงินกู้บ้านใหม่ที่คาดว่าจะได้รับจากแบงก์และยอดผ่อนชำระในแต่ละเดือน

คำนวณสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน

เช็กยอดผ่อนชำระต่อเดือนอัตราใหม่และจำนวนเงินที่คุณสามารถประหยัดได้หลังจากการทำรีไฟแนนซ์