ปัจจุบันการซื้อขายอสังหาฯ ไม่ได้มีบุคคลที่เกี่ยวข้องเพียงสองฝ่ายคือผู้ขายและผู้ซื้อเท่านั้น แต่ยังมีบุคคลซึ่งเป็นตัวกลางคอยเชื่อมโยงความต้องการของผู้ซื้อและผู้ขายให้มาบรรจบกันที่ความพึงพอใจทั้งสองฝ่าย บุคคลนั้นคือ เอเจนต์หรือนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นชื่อเรียกที่เราคุ้นเคยกันดี แต่อาจไม่แน่ใจว่าแท้จริงแล้วตัวแทนอสังหาฯ ทำงานอย่างไร และแบ่งเป็นกี่ประเภท DDproperty อยากชวนมาทำความรู้จักอาชีพตัวแทนอสังหาฯ ในประเทศไทยกัน
4 ประเภทของนายหน้าที่ประเทศไทย
1. นายหน้าท้องถิ่น
นายหน้าประเภทนี้เกิดขึ้นเองจากการที่ผู้ซื้อบอกความต้องการซื้อผ่านคนรู้จัก ขณะเดียวกันผู้ขายก็บอกความต้องการขายไปยังคนรอบข้าง แล้วเกิดการบอกต่อ ๆ กันไป
ยกตัวอย่าง เพื่อนบ้านของคุณมาบอกว่าต้องการขายบ้าน และเพื่อนร่วมงานของคุณเองก็ต้องการซื้อบ้านเช่นกัน คุณจึงนำความต้องการของทั้งสองฝ่ายมาบอกกัน ในที่สุดเพื่อนบ้านของคุณก็ขายบ้านให้เพื่อนร่วมงานของคุณ โดยมีคุณเป็นตัวกลางที่ประสานการติดต่อและได้รับส่วนแบ่งจากการขายบ้านนั้น เท่ากับว่าคุณเป็นนายหน้าท้องถิ่นไปโดยปริยาย
นายหน้าท้องถิ่นจึงมีจำนวนมากที่สุดแต่ไม่ได้ยึดถือเป็นอาชีพหลัก โดยส่วนใหญ่แล้วเป็นคนที่กว้างขวางในแต่ละพื้นที่ เช่น เพื่อนบ้าน หัวหน้าชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน เป็นต้น
ค้นหาเอเจนต์
รวมเอเจนต์ที่ยืนยันตัวตนแล้ว หรือ Verified Agents
2. นายหน้าตัวแทน
ที่เรียกว่านายหน้าตัวแทนเป็นเพราะนายหน้าประเภทนี้เป็นตัวแทนของผู้ซื้อหรือผู้ขายฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยตรง โดยตัวแทนจะได้รับมอบหมายให้เป็นคนติดต่อกับอีกฝ่าย
ถ้าเป็นตัวแทนของผู้ขายก็จะเป็นคนที่ติดต่อกับนายหน้าหรือผู้ซื้อ แล้วนายหน้าตัวแทนจะได้รับส่วนแบ่งซึ่งกันเอาไว้จากส่วนแบ่งของนายหน้าอีกทีหนึ่ง โดยไม่ว่านายหน้าคนไหนจะขายได้ก็ต้องให้ส่วนแบ่งแก่นายหน้าตัวแทน
แต่ถ้าเป็นตัวแทนของผู้ซื้อก็จะเป็นตัวแทนที่ติดต่อกับผู้ขายหรือนายหน้าก็จะได้ส่วนแบ่งจากนายหน้าหรือผู้ขายเช่นกัน นายหน้าประเภทนี้เกิดขึ้นเพียงเพราะเป็นคนที่เข้ามาคั่นกลางระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย

3. นายหน้าโครงการ
นายหน้าประเภทนี้จัดเป็นนายหน้าวิชาชีพซึ่งทำงานภายใต้องค์กรที่เป็นบริษัทหรือนิติบุคคล ทำงานเป็นทีม มีการบริหารงานผ่านฝ่ายต่างๆ อย่างเป็นระบบ เช่น ฝ่ายการตลาด ฝ่ายขาย ฝ่ายสินเชื่อ ฝ่ายกฎหมาย เป็นต้น นายหน้าโครงการจะเข้ามาประจำโครงการจัดสรรต่าง ๆ โดยรับผิดชอบการขายโครงการให้เจ้าของโครงการ
ส่วนใหญ่นายหน้าโครงการมักจะเป็นบริษัทซึ่งแยกตัวออกมาจากบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อดำเนินกิจการเกี่ยวกับการขายเพียงอย่างเดียวให้กับโครงการต่าง ๆ ของบริษัทพัฒนาอสังหาฯ นายหน้าประเภทนี้เรารู้จักกันดี คือ พนักงานขายประจำโครงการต่าง ๆ
4. นายหน้าโบรกเกอร์และนายหน้าสมทบ
นายหน้าโบรกเกอร์เป็นนายหน้าที่จัดตั้งบริษัทหรือจดทะเบียนนิติบุคคลขึ้นมาเพื่อดำเนินกิจการด้านการเป็นตัวแทนอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะ โดยนายหน้าโบรกเกอร์จะไม่ได้ทำหน้าที่ออกไปติดต่อกับผู้ซื้อหรือผู้ขายด้วยตนเองแต่มีหน้าที่บริหารโดยส่งพนักงานขายในสังกัดของตนออกไปพบลูกค้า ซึ่งพนักงานขายในสังกัดนี้เรียกว่านายหน้าสมทบ
โดยนายหน้าโบรกเกอร์มีทั้งที่มาจากนายหน้าอิสระหรือการซื้อแฟรนไชส์ธุรกิจนายหน้าจากบริษัทโบรกเกอร์ต่างประเทศเข้ามาเปิดในไทย ทำให้มีประสบการณ์ และมาตรฐานการทำงานในลักษณะความเป็นวิชาชีพ ซึ่งนายหน้าโบรคเกอร์จะถ่ายทอดความรู้และฝึกอบรมแก่นายหน้าสมทบ นอกจากนี้ยังมีการบริการที่ครบวงจรมากกว่านายหน้าตัวแทนและนายหน้าท้องถิ่น
เลือกเอเจนต์อย่างไรให้ได้คนที่น่าเชื่อถือ
1. เลือกเอเจนต์ที่มีการยืนยันตัวตนและการรับรอง
สำหรับผู้ที่กำลังใช้บริการเอเจนต์แต่ไม่แน่ใจว่าจะเลือกอย่างไรดี ทาง DDproperty มองเห็นถึงความสำคัญในการส่งมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้ที่ต้องการผู้ช่วยสำคัญอย่างเอเจนต์ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า จึงได้ริเริ่มโครงการ "การยืนยันตัวตนเอเจนต์ (Agent Verification)" เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับเอเจนต์
Agent Verification คืออะไร
Agent Verification คือ โปรแกรมการยืนยันตัวตนและการรับรองเอเจนต์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อและความเป็นมืออาชีพให้กับเอเจนต์ โดยแบ่งเป็น

Agent Verification (การยืนยันตัวตนเอเจนต์) และ Agency Verification (การยืนยันตัวตนของบริษัทเอเจนต์อสังหาฯ) จะช่วยให้แพลตฟอร์มของเรามีความน่าเชื่อถือและปลอดภัยมากขึ้น เราจึงให้เอเจนต์ลงทะเบียนยืนยันตัวตนและแสดงข้อมูลการติดต่อ โดยใช้หลักฐานดังนี้
- เอกสารทางราชการที่มีรูปถ่าย เช่น บัตรประชาชนหรือพาสปอร์ต พร้อมถ่ายหน้าเอเจนต์และบัตรประชาชนเพื่อยืนยันตัวตน
- Line ID
- เบอร์โทรศัพท์
- อีเมล
หากเป็นเอเจนต์ที่มีสังกัดบริษัทเอเจนต์อสังหาฯ จะต้องส่งเอกสารอย่างใดอย่างหนึ่งด้านล่างนี้ เพื่อระบุบริษัทเอเจนต์อสังหาฯ ที่สังกัดอยู่ได้อย่างถูกต้อง
- หนังสือรับรองการเป็นเอเจนต์ของบริษัทเอเจนต์อสังหาฯ ที่สังกัดอยู่ หรือ
- นามบัตรที่ออกให้โดยบริษัทเอเจนต์อสังหาฯ หรือนามบัตรที่ใช้รูปแบบของบริษัทเอเจนต์อสังหาฯ หรือ
- ใบสลิปค่าคอมมิชันที่แสดงชื่อบริษัทเอเจนต์อสังหาฯ และชื่อของเอเจนต์
ส่วนการยืนยันตัวตนของบริษัทเอเจนต์อสังหาฯ จะต้องยื่นเอกสารดังนี้
- หนังสือรับรองบริษัท หรือ ภ.พ.20
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของบริษัท
- Official Account Line ID (หรือ Facebook/LinkedIn ของบริษัท)
- อีเมล
หลังจากที่ทราบในเรื่องของประเภทและวิธีการเลือกนายหน้ากันแล้วว่ามีอะไรบ้าง ถึงคราวที่จะต้องทำความรู้จักกับสัญญานายหน้าอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากสำหรับผู้ซื้อ
เรื่องข้างต้นนี้เขียนโดย เชษฐพล มานิตย์ นักเขียนออนไลน์ประจำ DDproperty.com หากมีคำถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ kittikom@ddproperty.com
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลทั่วไปเท่านั้น DDproperty by PropertyGuru ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท ออลพร็อพเพอร์ตี้ มีเดีย จำกัด ไม่สามารถรับรองหรือรับประกันเกี่ยวกับข้อมูล รวมทั้งไม่สามารถรับรองหรือรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับความเหมาะสม สำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะใด ๆ ของข้อมูล ตามขอบเขตสูงสุดที่กฎหมายอนุญาต แม้ว่าเราได้พยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ถูกต้อง เชื่อถือได้ และครบถ้วน ณ เวลาที่เขียน แต่ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ไม่ควรนำไปใช้ในการตัดสินใจทางการเงิน, การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือทางกฎหมายทันที ผู้อ่านไม่ควรใช้ข้อมูลในบทความ แทนคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมซึ่งสามารถพิจารณาข้อเท็จจริงและสถานการณ์ส่วนตัวของคุณได้ ทั้งนี้ เราไม่สามารถรับผิดชอบใด ๆ หากคุณเลือกที่จะนำข้อมูลไปใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ