หลังคาบ้านสวย ๆ 7 ประเภท เลือกแบบไหน เหมาะกับสภาพภูมิอากาศของไทย

DDproperty Editorial Team
หลังคาบ้านสวย ๆ 7 ประเภท เลือกแบบไหน เหมาะกับสภาพภูมิอากาศของไทย
หากหน้าบ้านเปรียบเหมือนผิวหน้า หลังคาบ้านคงไม่ต่างกับอะไรกับทรงผม ถ้าทรงผมผิดเพี้ยนไม่เข้ากับรูปหน้า บ้านก็อาจจะดูไม่เข้าตาเท่าไร และถึงแม้ในปัจจุบันจะไม่มีกรอบตายตัวสำหรับการเลือกรูปแบบหลังคาบ้านสวย ๆ แต่การเลือกซื้อบ้านที่มีหลังคาที่เหมาะสมและตอบโจทย์กับการอยู่อาศัยที่สุด ก็ช่วยให้บ้านตรงใจผู้อยู่อาศัยมากยิ่งขึ้น

ทำความรู้จักกับประเภทของหลังคาบ้านสวย ๆ

1. หลังคาบ้านทรงจั่ว

หลังคาบ้าน ทรงจั่ว
เป็นรูปแบบหลังคาทรงมาตรฐานที่พบเห็นได้ทั่วไป หลังคาบ้านสวย ๆ มีความร่วมสมัยและเป็นที่นิยม เนื่องจากรูปทรงลาดเอียงของหลังคาถูกออกแบบมาเพื่อให้อากาศไหลเวียน ช่วยให้มวลอากาศเย็นเข้ามาช่วยระบายความร้อน ทำให้สามารถระบายความร้อนภายใต้หลังคาได้ดี เหมาะกับสภาพอากาศร้อนชื้นแบบประเทศไทย อีกทั้งหากวางทิศทางให้เหมาะสมยังรับลมได้ดีกับลมประจำถิ่นอีกด้วย

2. หลังคาบ้านทรงปั้นหยา

หลังคาบ้าน ทรงปั้นหยา
รูปทรงดูคล้าย ๆ กับทรงจั่ว แต่จะต่างกันที่หลังคาทรงปั้นหยาจะมีด้านลาดชัน 4 ด้าน และมักจะมีชายคาที่ยื่นออกไปปกคลุมตัวบ้าน ช่วยกันแดดและกันฝนได้ดี ด้วยรูปทรงที่มั่นคงของโครงสร้างที่ผสานกัน 4 ด้าน ทำให้หลังคาทรงปั้นหยา นอกจากจะเป็นหลังคาบ้านสวย ๆ ที่มีความคงทนแข็งแรง แต่ขณะเดียวกัน ในด้านการระบายอากาศและการรับลมจะทำได้ไม่ค่อยดีนัก จึงควรติดแผ่นฝ้าชายคาที่มีรูระบายอากาศ หรือเว้นร่องฝ้าชายคา เพื่อให้สามารถระบายอากาศใต้หลังคาได้ดีขึ้น

3. หลังคาบ้านทรงมะนิลา

หลังคาบ้าน ทรงมะนิลา
เป็นทรงที่มีการผสมผสานระหว่าง ทรงจั่ว และ ทรงปั้นหยา โดยรูปทรงจะมีจั่วอยู่บริเวณยอดหลังคา ข้อดีของหลังคาทรงมะนิลา คือมีความแข็งแรงมั่นคง กันแดดกันฝนได้ดีเหมือนกับทรงปั้นหยา และยังสามารถระบายความร้อนได้ดีเหมือนกับทรงจั่ว ทำให้หลังคาทรงมะนิลาเป็นหลังคาบ้านสวย ๆ ที่นิยมในประเทศเขตร้อนอย่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

4. หลังคาบ้านทรงแบน

หลังคาบ้าน ทรงแบน
เป็นหลังคาที่ได้รับความนิยมอย่างมากในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะในทาวน์เฮ้าส์และทาวน์โฮม ข้อดีของหลังงคาทรงแบนคือ เป็นหลังคาบ้านสวย ๆ ให้รูปทรงแบบโมเดิร์นสวยงาม เหมาะกับบ้านในเมือง สามารถใช้พื้นที่หลังคาในการทำประโยชน์ได้ แต่เนื่องด้วยหลังคาทรงแบนทำด้วยคอนกรีต ทำให้สะสมความร้อนไว้มากกว่าหลังคาในรูปแบบอื่น

5. หลังคาบ้านทรงเพิงหมาแหงน

หลังคาบ้าน ทรงเพิงหมาแหงน
หลังคาบ้านสวย ๆ ให้ความโมเดิร์นทันสมัยเช่นเดียวกับหลังคาทรงแบน แต่จะมีความลาดเอียงด้านใดด้านหนึ่ง นิยมใช้ในบ้านที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก เนื่องจากหลังคาทรงนี้ป้องกันความร้อนได้ไม่ดีนัก ซึ่งแก้ไขได้ด้วยการออกแบบช่องระบายความร้อนใต้หลังคาเพิ่มเติม แต่มีข้อดีคือสามารถก่อสร้างง่าย รวดเร็ว และมีราคาประหยัด

6. หลังคาบ้านทรงปีกผีเสื้อ

หลังคาบ้าน ทรงปีกผีเสื้อ
เป็นลักษณะของหลังคาทรงเพิงหมาแหงนหันหลังชนกัน ตรงกลางเป็นส่วนลาดเอียงต่ำ มีความทันสมัย สามารถรับน้ำฝนได้ดี แต่สำหรับพื้นที่ฝนตกชุกจะไม่ค่อยเหมาะ เนื่องจากมีโอกาสหลังคารั่วซึมได้

7. หลังคาบ้านทรงกลม

หลังคาบ้าน ทรงกลม
เป็นทรงที่ไม่ค่อยพบเห็นเท่าไรนัก เนื่องจากก่อสร้างยาก ไม่สามารถใช้วัสดุหลังคาประเภทกระเบื้องได้ ข้อดีของหลังคาทรงกลมคือ เป็นหลังคาบ้านสวย ๆ ที่มีความโดดเด่นสวยงาม ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องการรั่วซึม แต่ต้องอาศัยช่างที่มีความชำนาญในการก่อสร้างและการคำนวณโครงสร้าง

สรุปหลังคาบ้านแต่ละประเภท

ประเภทหลังคาบ้าน
ลักษณะและข้อดี
หลังคาบ้านทรงจั่ว
ระบายความร้อนได้ดี เหมาะกับสภาพอากาศของไทย
หลังคาบ้านทรงปั้นหยา
กันแดดกันฝนได้ดี คงทนแข็งแรง
หลังคาบ้านทรงมะนิลา
แข็งแรงมั่นคง กันแดดกันฝนได้ดี ระบายความร้อนได้ดี
หลังคาบ้านทรงแบน
รูปทรงทันสมัย พื้นที่บนหลังคาใช้ประโยชน์ได้
หลังคาบ้านทรงเพิงหมาแหงน
รูปทรงทันสมัย ก่อสร้างง่าย รวดเร็ว ราคาประหยัด
หลังคาบ้านทรงปีกผีเสื้อ
รูปทรงทันสมัย รับน้ำฝนได้ดี
หลังคาบ้านทรงกลม
โดดเด่นสวยงาม พบเห็นน้อย เพราะก่อสร้างยาก

ควรเลือกโครงสร้างหลังคาบ้านแบบไหนดี?

นอกจากรูปทรงหลังคาแล้ว โครงสร้างหลังคาคือสิ่งที่ต้องพิจารณาอันดับต้น ๆ เพราะเป็นส่วนค้ำจุนวัสดุมุงหลังคา ซึ่งต้องผ่านการคำนวณรับน้ำหนักต่าง ๆ เพื่อความคงทนแข็งแรงและความปลอดภัยของคนในบ้าน โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ โครงสร้างเหล็ก และโครงสร้างไม้

1. หลังคาบ้านสวย ๆ โครงสร้างเหล็ก

หลังคาบ้านสวย ๆ โครงสร้างเหล็ก
นิยมใช้ในการก่อสร้างบ้านสมัยใหม่ โดยหลังคาโครงสร้างเหล็กยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทย่อย ได้แก่
– หลังคาโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ เป็นเหล็กตัว C ที่ถูกมาชุบสีน้ำมันและสีกันสนิม มาเชื่อมกันเพื่อขึ้นรูปโครงสร้างที่ไซต์ก่อสร้าง มักจะเป็นเหล็กที่มีความหนาประมาณ 3 มม. เหมาะสำหรับการใช้รับน้ำหนักกระเบื้องลอนคู่ และยังมีขนาดความหนา 3.2 มม. ซึ่งเหมาะสำหรับใช้กับกระเบื้องโมเนีย
– หลังคาโครงสร้างเหล็กสำเร็จรูป เป็นเหล็กสำเร็จ มีน้ำหนักบากว่าเหล็กรูปพรรณ เคลือบผิวป้องกันสนิมและมีการคำนวณการรับน้ำหนักตามรูปทรงหลังคาและวัสดุมุงหลังคาที่ใช้ด้วยโปรแกรมวิศวกรรม โดยผ่านการวัดขนาดและตัดมาจากโรงงาน

2. หลังคาบ้านสวย ๆ โครงสร้างไม้

หลังคาบ้านสวย ๆ โครงสร้างไม้
เป็นวัสดุโครงหลังคาดั้งเดิม สามารถติดตั้งได้ไม่ยุ่งยาก ช่างธรรมดาก็สามารถทำได้ แต่มีจุดด้อยคือต้องใช้ไม้ที่มีคุณภาพ ซึ่งมักจะมีราคาสูง และมักมีปัญหาเกี่ยวกับปลวก

วัสดุมุงหลังคาแต่ละประเภท มีอะไรบ้าง?

วัสดุมุงหลังคา มักจะถูกเลือกตามรูปทรงหลังคาและโครงสร้างหลังคา ซึ่งแต่ละประเภทก็มีจุดเด่นจุดด้อยต่างกันไป ดังนี้

1. กระเบื้องคอนกรีต

หลังคาบ้านสวย ๆ ด้วยกระเบื้องคอนกรีต
หลังคาบ้านสวย ๆ ที่มีความสวยงาม ติดตั้งง่าย เพราะมีขนาดที่เข้ากับรูปทรงของบ้านเป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังมีความแข็งแรงทนทาน กันความร้อนได้ดี และสามารถใช้ได้กับทุกสภาพอากาศในเมืองไทย ทำให้กระเบื้องคอนกรีตเป็นที่นิยม แต่มีจุดด้อยคือ เนื่องจากมีน้ำหนักมาก โครงสร้างหลังคาจึงต้องมีความแข็งแรงตามไปด้วย ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านโครงสร้างจะสูงกว่าการใช้วัสดุมุงหลังคาประเภทอื่น

2. กระเบื้องดินเผา

หลังคาบ้านสวย ๆ ด้วยกระเบื้องดินเผา
มักใช้ในอาคารที่มีอายุเก่าแก่หรืออาคารอนุรักษ์ ปัจจุบันไม่ค่อยได้รับความนิยมนัก เนื่องจากกระเบื้องกินเผาต้องมีหลังคาที่ลาดชันมาก มีรูพรุนหลายจุด เกิดคราบสกปรกง่าย และยังทำความชื้นสูง แตกเปราะรั่วซึมได้ง่าย

3. กระเบื้องไฟเบอร์ซีเมนต์

หลังคาบ้านสวย ๆ ด้วยกระเบื้องไฟเบอร์ซีเมนต์
นิยมใช้กับหลังคาที่มีขนาดใหญ่ มีความแข็งแรงทนทาน กันความร้อนได้ดี มีราคาถูกกว่ากระเบื้องคอนกรีต แต่มีความทนทานน้อยกว่าเล็กน้อย และเริ่มนิยมใช้กันมากขึ้น

4. หลังคาโลหะเคลือบ หรือแผ่นเหล็กเมทัลชีท

หลังคาบ้านสวย ๆ ด้วยหลังคาโลหะเคลือบ หรือแผ่นเหล็กเมทัลชีท
วัสดุมุงหลังคาที่มีน้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย รอยต่อน้อย มีความสวยงามและสะท้อนความร้อนได้ดี แต่มีจุดด้อยคือมีอายุการใช้งานสั้น และมักเกิดเสียงดังได้ง่าย

ไขข้อข้องใจ หลังคาบ้านสวย ๆ แบบไหนเหมาะกับบ้านเรา?

เนื่องด้วยพื้นฐานประเทศไทยเป็นประเทศในเขตร้อนชื้น มีแดดจัดและฝนตกชุกตลอดทั้งปี ดังนั้นควรเลือกหลังคาบ้านสวย ๆ ที่จะช่วยระบายความร้อนได้ดี ได้แก่ หลังคาทรงจั่ว, หลังคาทรงปั้นหยา และหลังคาทรงมะนิลา
สำหรับหลังคาบ้านสวย ๆ ที่ไม่ต้องใช้งบประมาณมาก ก่อสร้างไม่ยุ่งยาก ได้ความสวยงามแบบสมัยใหม่ ได้แก่ หลังคาทรงแบน, หลังคาทรงเพิงหมาแหงน และหลังคาทรงปีกผีเสื้อ แต่มีจุดด้อยคือกันแดดกันฝนได้ไม่ดีนัก และมีโอกาสเกิดการรั่วซึมมาก
ส่วนหลังคาทรงกลม เป็นหลังคาที่มีความสวยงามโดดเด่นเฉพาะตัว แต่ต้องใช้ช่างที่มีความชำนาญ และยังใช้งบประมาณสูงกว่าหลังคาแบบอื่น เนื่องจากต้องใช้วัสดุประเภท เมทัลชีท, ไฟเบอร์กลาส, ยางมะตอย และแผ่นทองแดง ซึ่งมีจุดด้อยคือไม่สามารถระบายความร้อนได้ดีเท่ากับทรงอื่น ๆ
รสนิยมไม่มีคำว่าถูกผิด เช่นเดียวกับการเลือกหลังคาบ้านสวย ๆ แต่อย่างไรก็ตาม นอกจากเรื่องของความชอบแล้ว ควรเลือกวัสดุและโครงสร้างที่รองรับกัน ซึ่งสามารถปรึกษาช่างหรือผู้รับเหมาได้ เพื่อความมั่นคงแข็งแรง ความสวยงาม และอายุการใช้งานที่ยืนยาวขึ้นของหลังคานั่นเอง
สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลทั่วไปเท่านั้น DDproperty by PropertyGuru ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท ออลพร็อพเพอร์ตี้ มีเดีย จำกัด ไม่สามารถรับรองหรือรับประกันเกี่ยวกับข้อมูล รวมทั้งไม่สามารถรับรองหรือรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับความเหมาะสม สำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะใด ๆ ของข้อมูล ตามขอบเขตสูงสุดที่กฎหมายอนุญาต แม้ว่าเราได้พยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ถูกต้อง เชื่อถือได้ และครบถ้วน ณ เวลาที่เขียน แต่ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ไม่ควรนำไปใช้ในการตัดสินใจทางการเงิน, การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือทางกฎหมายทันที ผู้อ่านไม่ควรใช้ข้อมูลในบทความ แทนคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมซึ่งสามารถพิจารณาข้อเท็จจริงและสถานการณ์ส่วนตัวของคุณได้ ทั้งนี้ เราไม่สามารถรับผิดชอบใด ๆ หากคุณเลือกที่จะนำข้อมูลไปใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ

คำนวณยอดผ่อนต่อเดือนตามระยะเวลากู้

เพียงใส่ยอดเงินกู้ที่คุณต้องการ เราจะคำนวณให้คุณเห็นถึงยอดผ่อนชำระต่อเดือนตามระยะเวลาผ่อนและอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกัน

คำนวณยอดผ่อนต่อเดือน

คำนวณยอดผ่อนชำระต่อเดือนตามอัตราดอกเบี้ยของคุณด้วยเครื่องมือคำนวณสินเชื่อนี้

คำนวณวงเงินกู้สูงสุด

คำนวณสินเชื่อบ้าน ยอดวงเงินกู้บ้านใหม่ที่คาดว่าจะได้รับจากแบงก์และยอดผ่อนชำระในแต่ละเดือน