รู้เรื่องที่ดินก่อนสร้างบ้าน อาจจะประหยัดงบประมาณได้อีกเป็นล้าน

กิตติคม พจนี
รู้เรื่องที่ดินก่อนสร้างบ้าน อาจจะประหยัดงบประมาณได้อีกเป็นล้าน
ปัจจุบันนอกจากบ้านจัดสรรที่กำลังเป็นที่นิยมสำหรับผู้ที่กำลังมองหาที่อยู่อาศัยใหม่แล้ว การใช้งบประมาณในการซื้อที่ดินและปลูกสร้างบ้านเองก็ไม่ได้มีความน่าสนใจน้อยไปกว่ากัน เนื่องจากการซื้อที่ดินปลูกสร้างบ้านเองนั้นสามารถกำหนดงบประมาณและที่ตั้งได้ด้วยตัวเอง รวมไปถึงเรื่องความเป็นส่วนตัวต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่คนที่มองหาบ้านเดี่ยวและมีงบประมาณจำกัดก็จะตัดสินใจปลูกสร้างบ้านด้วยตัวเอง
ทีนี้การเลือกสรรที่ดินที่จะมาปลูกบ้านนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากที่ดินในแต่ละพื้นที่มีลักษณะที่แตกต่างกันไป ซึ่งใครที่คิดจะสร้างบ้านจะต้องรู้เรื่องของพื้นดินบนที่ดินนั้นๆ ด้วยว่ามีสภาพดินเป็นอย่างไร ประวัติที่ผ่านมาเคยประสบปัญหาอะไรมาก่อน โดยถ้าเราสามารถดูออกว่าที่ดินที่คิดจะซื้อนั้นมีความเหมาะสมในการสร้างบ้านมากแค่ไหน เชื่อหรือไม่ว่าเราจะสามารถประหยัดงบประมาณในการสร้างบ้านได้มากขึ้นทีเดียว ซึ่งข้อควรรู้ในการสร้างบ้านบนที่ดินของตัวเองทั่วไปจะต้องคำนึงถึงเรื่องกฎหมายเป็นหลัก แต่เรื่องการเลือกที่ดินก็ถือเป็นอีกหนึ่งจุดที่สำคัญ ลองมาดูกันว่านอกเหนือจากเรื่องกฎหมายเราต้องรู้อะไรเกี่ยวกับที่ดิน
2017-07-01_18-23-21
ลักษณะชั้นดินของที่ดินมีผลต่อการปลูกสร้างบ้าน โดยชั้นดินบนที่ดินที่เราจะนำมาปลูกสร้างบ้านนั้น ถือเป็นปัจจัยหลักที่สามารถช่วยให้เราลดคอร์สเรื่องราคาในการปลูกสร้างบ้านได้ ตั้งแต่การถมที่ดิน เจาะเสาเข็ม ตลอดการทรุดตัวของบ้านในอนาคต ซึ่งเรื่องของชั้นดินบนที่ดินนั้นถือเป็นการการันตีอายุการใช้งานของบ้านบนที่ดินนั้นๆ ได้เลย เพราะไม่ว่าคุณจะปลูกบ้านถูกหรือแพง ใช้วิศวะกี่สิบกี่ร้อยคนในการออกแบบ หากชั้นดินบนที่ดินนั้นมีความอ่อนตัวสูงก็อาจทำให้บ้านทรุดตัวได้ จากรูปที่หนึ่งจึงแสดงให้เห็นได้ว่าพื้นที่ในกรุงเทพและปริมณฑลเคยเป็นทะเลมาก่อนเมื่อประมาณ 10,000 ปีที่แล้ว โดยชั้นดินบนสุดจะเป็นดินตะกอนในน้ำทะเลทำให้ดินมีความอ่อนตัวมากเรียกว่าชั้นดินเหนียวอ่อนมีความหนาประมาณ 8 – 12 เมตร หากนับเฉพาะกรุงเทพฯ และปริมณฑลตามรูปด้านบน ถือว่ามีชั้นดินเหนียวอ่อนที่มีความหนาแน่นสูงกว่าจังหวัดอื่นๆ แต่ทั้งนี้ถึงแม้จะมีความหนาแน่นแต่ก็ไม่สามารถรับน้ำหนักอาคารได้โดยตรง จำเป็นจะต้องถมดินเพิ่ม และตอกเสาเข็มเพื่อถ่ายน้้าหนักอาคารลงไปสู่ชั้นดินด้านล่างที่แข็งแรงกว่า
ข้อได้เปรียบของชั้นดินเหนียวอ่อนบนที่ดินที่มีความหนาแน่นกว่าก็จะสามารถประหยัดงบประมาณในการถมดิน และตอกเสาเข็มได้มากขึ้นเท่านั้น ซึ่งโดยส่วนใหญ่หากเป็นที่ดินที่มีชั้นดินเหนียวที่มีความหนาแน่นมักจะถมที่ดินด้วยดินทราย ประกอบด้วยทรายประมาณร้อยละ 70 ขึ้นไป ไม่อุ้มน้ำ ง่ายต่อการกัดกร่อน เมื่อนำมาถมจำเป็นต้องบดอัดอย่างดี และมีการป้องกันดินไหล เพื่อไม่ให้ดินทรุดตัวและไหลไปบริเวณข้างเคียง นอกจากนั้นดินทรายยังมีราคาถูก เหมาะสำหรับถมดินในการปลูกบ้าน ที่สำคัญการถมดินก็ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ควรศึกษาก่อนสร้างบ้านบนที่ดินของตัวเอง
2017-07-01_18-24-04
เรื่องต่อมาที่เกี่ยวข้องกับดินบนที่ดินก็คือการวางเสาเข็ม โดยทั่วไปปลายเสาเข็มจะพยายามวางไว้ที่ชั้นทรายชั้น ใดชั้นหนึ่ง เพื่อจ้ากัดการทรุดตัว ความยาวเสาเข็มของอาคารสูงจะลงลึกได้ถึง 60-70 เมตร ซึ่งก็เป็นความลึกที่ลึกที่สุดสำหรับฐานรากเสาเข็มในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดกับการทรุดตัวของบ้านจะอยู่ที่ชั้นดินเหนียวอ่อนชั้นบนสุดจนถึงชั้นทรายชั้นแรกที่ส่งผลไปถึงรากเสาเข็ม ดังนั้นเพื่อลดงบประมาณในการตอกความลึกของเสาเข็ม ก็ต้องพยายามหาชั้นดินบนที่ดินที่มีสภาพหนาแน่นเอาไว้ก่อน ยิ่งชั้นดินเหนียวบนที่ดินที่จะปลูกบ้านมีความหนาแน่นมากเท่าไหร่ ก็จะช่วยลดงยประมาณต่าง ๆ ได้เยอะลงไปเรื่อย ๆ ในอดีตที่ดินบางที่มีชั้นดินที่ดีมาก ๆ การปลูกบ้านเรือนส่วนใหญ่จึงเป็นการวางฐานรากของบ้านด้วยการขุดหน้าดินบนที่ดินทิ้ง โดยไม่ต้องเจาะเสาเข็มเลย ซึ่งสามารถประหยัดงบประมาณได้หลายเท่าตัว
land-collapses-2
ดังนั้นจากที่กล่าวมาในเรื่องของชั้นดินที่เกี่ยวข้องกับการถมดิน และเชื่อมโยงไปสู่การเจาะเสาเข็ม ซึ่งเป็นเรื่องของฐานรากของบ้านทั้งสิ้น การเลือกที่ดินจึงเป็นส่วนสำคัญมากที่ต้องศึกษาก่อนสร้างบ้าน นอกจากจะช่วยประหยัดงบประมาณในการก่อสร้างแล้ว ยังช่วยประหยัดงบประมาณการซ่อมแซมที่มีมูลค่ามหาศาลหากในอนาคตบ้านของเรานั้นทรุดตัว โดยสาเหตุส่วนใหญ่ที่บ้านของเรานั้นทรุดตัวนั้น ปัจจัยแรก ๆ มาจากที่ดินล้วน ๆ หากเราไม่เคยเช็คประวัติ เช็คพื้นที่ต่าง ๆ ย่อมมีโอกาสที่บ้านจะมีความทรุดตัวสูง เนื่องจากในแต่ละปีพื้นที่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลจะมีการทรุดตัวลงอยู่เสมออย่างน้อยปีละไม่เกิน 1 ซม. ซึ่งเราอาจจะไม่รู้ตัว แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงและเป็นสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดปัญหาบ้านทรุด
Background layer soil fertility, which was weighed down with gravel for roads.
ทั้งนี้เมื่อที่ดินรอบ ๆ บ้านทรุดลงเรื่อย ๆ จนต่ำกว่าระดับคานบ้าน จะทำให้เกิดโพรงใต้บ้านเป็นช่องโหว่ขึ้น ซึ่งแม้จะไม่อันตรายต่อโครงสร้างแต่ก็ดูไม่สวยงาม และอาจจะเป็นช่องทางให้สัตว์ต่างๆ มุดเข้าไปได้ จนไปสร้างฐานใต้บ้านเป็นกองกำลังสัตว์ร้ายที่สามารถทำลายโครงสร้างบ้านและทำอันตรายสมาชิกในบ้านได้ ดังนั้นจะต้องตรวจเช็คที่ดินรอบบ้านเป็นประจำ และปรับระดับพื้นดินเพิ่ม โดยถมพื้นให้สูงขึ้นจนเลยโพรงใต้บ้านเมื่อที่ดินมีการทรุดตัวจนเกิดเป็นโพรง
Three excavators work on construction site at sunset
อย่างที่กล่าวมาข้างต้นว่าที่ดินที่มีการทรุดตัวตลอดเวลา หากปัจจุบันบ้านของเราสร้างอยู่บนที่ดินที่มีชั้นดินเหนียวอ่อนมาก อาจจะทำให้ที่ดินมีการทรุดตัวจนมีผลกระทบต่อเสาเข็มของบ้าน จนเสาเข็มไม่สามารถรองรับน้ำหนักของตัวบ้านให้กระจายไปเท่ากันทุกเสาได้ และในที่สุดบ้านจะทรุดและเอียงจนพังก็อาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้นเรื่องของดินบนที่ดินจึงเป็นเรื่องที่ควรศึกษาให้ดีก่อนที่คิดจะซื้อและปลูกบ้าน เพราะนอกจากจะช่วยประหยัดงบประมาณของการถมดินหนา ๆ และการเจาะเสาเข็มให้ลึกลงไปหลายเมตร ซึ่งสิ้นเปลืองบประมาณมากขึ้นแล้ว ยังส่งผลไปถึงเรื่องบ้านทรุดตัวในอนาคตด้วย และถ้าหากวันหนึ่งบ้านทรุดตัวถึงขนาดที่เอนเอียงไปด้านหนึ่งจนพังลงมาหรือที่เรียกว่าบ้านถล่ม รับรองคุณต้องเสียเงินทุบทำใหม่ และเสียเงินอีกเป็นล้าน ๆ แน่นอน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก gerd.eng.ku.ac.th
อัพเดท ข่าวอสังหาริมทรัพย์ สดใหม่ทุกวัน พร้อมส่งตรงถึงอีเมล์ของคุณฟรี สมัครได้ที่นี่ หรือหากคุณกำลังมองหาบ้าน คอนโด ก็สามารถเลือกชม โครงการใหม่ พร้อม รีวิวโครงการคอนโดใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคาได้เช่นกัน
เรื่องข้างต้นนี้เขียนโดย กิตติคม พจนี Content Writer ประจำ DDproperty.com หากมีคำถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ kittikom@ddproperty.com
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลทั่วไปเท่านั้น DDproperty by PropertyGuru ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท ออลพร็อพเพอร์ตี้ มีเดีย จำกัด ไม่สามารถรับรองหรือรับประกันเกี่ยวกับข้อมูล รวมทั้งไม่สามารถรับรองหรือรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับความเหมาะสม สำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะใด ๆ ของข้อมูล ตามขอบเขตสูงสุดที่กฎหมายอนุญาต แม้ว่าเราได้พยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ถูกต้อง เชื่อถือได้ และครบถ้วน ณ เวลาที่เขียน แต่ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ไม่ควรนำไปใช้ในการตัดสินใจทางการเงิน, การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือทางกฎหมายทันที ผู้อ่านไม่ควรใช้ข้อมูลในบทความ แทนคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมซึ่งสามารถพิจารณาข้อเท็จจริงและสถานการณ์ส่วนตัวของคุณได้ ทั้งนี้ เราไม่สามารถรับผิดชอบใด ๆ หากคุณเลือกที่จะนำข้อมูลไปใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ