Leasehold Vs. Freehold กับ 3 วิธีเลือกซื้อคอนโดเพื่อลงทุน

DDproperty Editorial Team
Leasehold Vs. Freehold กับ 3 วิธีเลือกซื้อคอนโดเพื่อลงทุน
เมื่อพูดถึงการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ ต้องยอมรับว่าการซื้อคอนโดเพื่อนำมาลงทุนถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่หลายคนให้ความสนใจไม่น้อย การลงทุนดังกล่าวถือว่าต้องใช้ต้นทุนมากพอสมควร อีกทั้งยังต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว เพื่อวางแผนและตัดสินใจว่าจะเลือกลงทุนคอนโดแบบไหนให้ต่อยอดทุนให้งอกงาม ลองมาดูว่าการลงทุนคอนโดแบบไหนระหว่าง Leasehold และ Freehold เหมาะกับการลงทุนมากกว่ากัน

ลงทุนคอนโดคืออะไร มีแบบไหนบ้าง

ก่อนเริ่มลงทุนคอนโดนั้น สิ่งแรกที่ต้องรู้และทำความเข้าใจเป็นพื้นฐานสำหรับนักลงทุนอสังหาฯ มือใหม่นั้น ก็คือช่องทางการลงทุนและประเภทคอนโดที่จะลงทุน เริ่มแรกมาดูกันว่าช่องทางการลงทุนคอนโดนั้นมีแบบไหนบ้าง
เริ่มต้นตั้งแต่การซื้อคอนโด โดยทั่วไปสามารถทำได้ 3 ช่องทางหลัก ได้แก่ ซื้อกับเจ้าของโครงการ ซื้อคอนโดมือสอง และซื้อจากการประมูล ซึ่งการซื้อแต่ละแบบมีรายละเอียด ดังนี้
ช่องทางการซื้อรายละเอียด
1. ซื้อกับเจ้าของโครงการผู้ลงทุนซื้อคอนโดกับเจ้าของโครงการหรือ Developer โดยตรง สินทรัพย์ที่เราจะซื้อนั้นจะเป็นของมือหนึ่ง ซึ่งควรให้ความสำคัญในการเลือกซื้อลงทุนกับโครงการที่มีชื่อเสียงและน่าเชื่อถือระดับหนึ่ง ผู้ลงทุนอาจเริ่มหาข้อมูลจากโครงการหลายแห่ง รวมทั้งพิจารณาโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ผ่านมาของผู้ประกอบการแต่ละราย หากมีโอกาสอาจขอเข้าไปดูโครงการจริง ก็จะช่วยให้ได้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจง่ายยิ่งขึ้น
2. ซื้อคอนโดมือสองการลงทุนซื้อคอนโดด้วยวิธีนี้จะเป็นการถ่ายโอนกรรมสิทธิ์เจ้าของสินทรัพย์จากผู้อื่นมาอีกทอดหนึ่ง คอนโดที่สร้างมานานจะมีราคาต่อตารางเมตรถูกลง บางแห่งอาจตั้งอยู่บนทำเลทอง ขนาดและลักษณะห้องตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการปล่อยเช่า การลงทุนซื้อคอนโดด้วยวิธีนี้จึงต้องเลือกห้องที่มีสภาพดี ราคาไม่แพง เพื่อนำมาต่ออยอดทำกำไรให้คุ้มค่ากับเงินที่ลงทุนไป
3. ซื้อจากการประมูลการลงทุนซื้อคอนโดด้วยการประมูลนั้นว่าด้วยการประมูลแข่่งขันราคาเพื่อให้ได้คอนโดนั้นมา โดยผู้ลงทุนต้องให้ราคาสูงที่สุด จึงได้รับโอนกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของ เมื่อได้รับโอนกรรมสิทธิ์แล้ว ผู้ลงทุนสามารถนำมารีโนเวท ตีราคาค่าตกแต่งต่อเติมได้
คอนโด Leasehold กับ Freehold แตกต่างกัน

คอนโด Leasehold กับ Freehold แตกต่างกันอย่างไร

เมื่อรู้ถึงช่องทางการซื้อคอนโดแล้วว่าสามารถซื้อได้อย่างไรบ้าง ก็มาดูกันว่าคอนโดแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร โดยทั่วไปแล้ว ประเภทลงทุนคอนโดจะแบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่ คอนโด Leasehold กับคอนโด Freehold ซึ่งทั้งสองแบบมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน ดังนี้

1. คอนโด Leasehold คืออะไร

คอนโด Leasehold คือ คอนโดที่มีการถือกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของตามกำหนดระยะเวลา ผู้เป็นเจ้าของสินทรัพย์ดังกล่าวต้องชำระค่าเช่าตามอัตราค่าเช่าที่กำหนดเป็นรายงวด เมื่อสัญญาคอนโดครบกำหนดสัญญาที่ทำไว้ กรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของจะกลับคืนสู่ผู้ให้เช่าคอนโดทันที ทั้งนี้ คอนโด Leasehold ยังมีลักษณะ ดังนี้
– เจ้าของต้องทำสัญญากับผู้ให้เช่าอีกต่อหนึ่ง ซึ่งมีกำหนดถือครองกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของสินทรัพย์ 30 ปี ตามกฎหมาย
– เจ้าของอาจเรียกร้องขอจัดการเรื่องก่อสร้าง ต่อเติม หรือตกแต่งกับผู้ให้เช่าได้ตามสมควร
– เจ้าของต้องจ่ายค่าธรรมเนียมสำหรับบำรุงรักษา ค่าบริการรายปี รวมทั้งค่าประกันตึก
– เจ้าของต้องจ่ายค่าเช่าแก่ผู้ให้เช่าตามกำหนดสัญญา
– เจ้าของจะได้รับอนุญาตจากผู้ให้เช่าในการจัดการที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์นั้น
– เจ้าของอาจถูกจำกัดสิทธิตามข้อบังคับของผู้ให้เช่า
– เจ้าของจะถูกยกเลิกสัญญาในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงของสัญญาเช่าคอนโด

2. คอนโด Freehold คืออะไร

คอนโด Freehold คือ คอนโดที่มีการถือกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของสินทรัพย์ตลอดไป กล่าวคือ ผู้ที่ลงทุนซื้อคอนโดแบบนี้จะได้สิทธิเป็นเจ้าของคอนโดแบบขาด ไม่มีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดของการเป็นเจ้าของคอนโด นอกจากนี้ ผู้ที่ลงทุนซื้อคอนโดแบบนี้ จะได้รับกรรมสิทธิ์ต่าง ๆ ดังนี้
– ไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าเช่าตามกำหนดสัญญาใด ๆ
– มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลรักษาสภาพอาคาร
– ถือครองกรรมสิทธิ์เป็นชื่อของตัวเอง
ลงทุนคอนโด Leasehold หรือคอนโด Freehold แบบไหนเหมาะกับใคร

ลงทุนคอนโด Leasehold หรือ Freehold แบบไหนเหมาะกับใคร

จริง ๆ แล้ว การลงทุนคอนโดไม่มีสูตรสำเร็จตายตัวว่าแบบไหนดีกว่าหรือดีที่สุด จะมีก็แต่เหมาะสมและเข้ากับความต้องการของเรามากที่สุด การเปรียบเทียบด้านต่าง ๆ ของคอนโดประเภท Leasehold กับ Freehold อาจทำให้เห็นความแตกต่างที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ลงทุนแต่ละคนได้ ดังนี้

1. กรรมสิทธิ์เจ้าของ

– คอนโค Leasehold ถือครองกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ตามกำหนดระยะเวลาระบุในสัญญา ซึ่งครอบคลุมสูงสุด 30 ปี ตามกฎหมายไทย โดยจะต่อสัญญาได้ใหม่ตามข้อตกลงกับผู้ให้เช่าภายใต้กฎหมายที่ระบุไว้ ทั้งนี้ การต่อสัญญาเช่าครั้งที่สองก็อาจกระทำไม่ได้จนกว่าครบกำหนด 90 วัน ก่อนครบกำหนดสัญญาาเก่า
– คอนโด Freehold กรรมสิทธิ์เจ้าของถือเป็นสิทธิขาดทันทีหลังจากได้รับโอนกรรมสิทธิ์นั้นเรียบร้อยแล้ว กล่าวคือ เจ้าของคอนโดประเภทนี้จะสามารถขาย จำนอง หรือส่งมอบสินทรัพย์นี้ให้แก่ทายาทได้ตามต้องการ

2. การถือครองของชาวต่างชาติ

– คอนโค Leasehold ถือครองได้ไม่จำกัด
– คอนโด Freehold ถือครองได้อัตรา 49% จากจำนวนยูนิตทั้งหมด

3. มูลค่าสินทรัพย์

คอนโด Freehold จะมีแนวโน้มของมูลค่าสินทรัพย์จะปรับตัวสูงขึ้นในอนาคตตามแนวโน้มราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้น ซึ่งมากกว่าคอนโด Leasehold

4. ราคาซื้อ

– คอนโด Leasehold ราคาคอนโดที่จะลงทุนจ่ายน้อยกว่าเมื่อตอนทำสัญญาและโอนกรรมสิทธิ์ โดยจ่ายค่าธรรมเนียมโอนเพียง 1.1% เหมาะแก่ผู้ที่ต้องการลงทุนสำหรับปล่อยเช่าต่อ
– คอนโด Freehold ราคาคอนโดที่จะจ่ายสูงกว่าเมื่อตอนทำโอนกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของ โดยจะเก็บเป็นค่าธรรมเนียมการโอน คิดเป็นค่าธรรมเนียมการโอน 2% ค่าอากรแสตมป์ 0.5% และภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% นอกจากนี้ ราคาจะมากหรือน้อยขึ้นก็อาจอยู่กับจำนวนยูนิตที่ซื้อด้วย ยิ่งลงทุนคอนโดในจำนวนยูนิตมาก ก็ยิ่งจ่ายมาก โดยทั่วไปแล้ว ราคาจะตกอยู่ที่ประมาณ 8,000-10,000 บาท/ตารางเมตร
การลงทุนคือหนทางที่ช่วยต่อยอดสิ่งที่มีอยู่ให้งอกเงยได้มากกว่าเดิม การลงทุนคอนโดจึงเป็นมากกว่าการนำเงินที่เรามีไปซื้อสิ่งที่เราอยากได้ แต่ยังต้องอาศัยการวิเคราะห์ วางแผน และเลือกสรรสิ่งที่เหมาะสมและตอบโจทย์กับความต้องการของเราในตอนนั้นอีกด้วย หากใครอยากรู้เคล็ดลับการลงทุนอสังหาฯ ที่เจาะลึกมากกว่านี้ ติดตามอ่านบทความวิธีลงทุนอสังหาฯ ให้ได้กำไรงาม สไตล์ผู้บริหาร กันต่อได้เลย
สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า

คำนวณยอดผ่อนต่อเดือนตามระยะเวลากู้

เพียงใส่ยอดเงินกู้ที่คุณต้องการ เราจะคำนวณให้คุณเห็นถึงยอดผ่อนชำระต่อเดือนตามระยะเวลาผ่อนและอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกัน

คำนวณยอดผ่อนต่อเดือน

คำนวณยอดผ่อนชำระต่อเดือนตามอัตราดอกเบี้ยของคุณด้วยเครื่องมือคำนวณสินเชื่อนี้

คำนวณวงเงินกู้สูงสุด

คำนวณสินเชื่อบ้าน ยอดวงเงินกู้บ้านใหม่ที่คาดว่าจะได้รับจากแบงก์และยอดผ่อนชำระในแต่ละเดือน