สัญญาจำนองที่ดิน 5 ข้อควรรู้ก่อนทำสัญญา

DDproperty Editorial Team
สัญญาจำนองที่ดิน 5 ข้อควรรู้ก่อนทำสัญญา
สัญญาจำนองที่ดิน สัญญาการจำนองบ้าน หลายคนอาจสงสัยว่าคืออะไร เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์อย่างไร ดังนั้นในบทความนี้จะพาไปหาคำตอบว่าสัญญาการจำนองคืออะไร อะไรที่สามารถจำนองได้บ้าง และสิ่งที่ควรมีในสัญญาการจำนองมีอะไรบ้าง
อ่านหัวข้อที่คุณสนใจ

สัญญาจำนอง คืออะไร

หลายคนอาจได้ยินคำว่า ‘จำนองบ้าน’ หรือ ‘จำนองที่ดิน’ แต่อาจไม่แน่ใจว่าการจำนองคืออะไร ที่จริงแล้วการจำนอง คือ การที่บุคคลหนึ่ง เรียกว่า "ผู้จำนอง" เอาอสังหาริมทรัพย์ของตนเช่นที่ดิน หรือ ทรัพย์ทื่กฏหมายอนุญาตให้จำนองไปจดทะเบียนไว้กับอีกบุคคลหนึ่ง เรียกว่า "ผู้รับจำนอง" เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ ทั้งนี้โดยผู้จำนองไม่ต้องส่งมอบ ที่ดิน หรือทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ผู้รับจำนอง
ส่วนสัญญาจำนอง คือ สัญญาเงินกู้ในรูปแบบหนึ่ง ที่มีการนำเอาอสังหาริมทรัพย์มาใช้เป็นหลักประกันการชำระหนี้ ไม่ว่าจะเป็น โฉนดที่ดิน บ้าน คอนโดมิเนียม โรงงาน โกดัง โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ เป็นต้น เนื่องจากอสังหาริมทรัพย์เป็นทรัพย์สินที่มีคุณภาพ ไม่เคยเสื่อมค่าตามกาลเวลา และไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ทำให้อสังหาริมทรัพย์ จึงเป็นหลักประกันที่มั่นคงนั่นเอง
นอกจากนั้นผู้ที่จะสามารถนำทรัพย์สินมาทำสัญญาจำนองได้ จะต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ใช้ในการจำนองเท่านั้น และหากไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สิน ก็จะต้องได้รับมอบอำนาจมาจากเจ้าของทรัพย์สินโดยตรง หากไม่ใช่ทั้งสองอย่างนี้ สัญญาจำนองก็จะไม่มีผลทันที อีกทั้งการทำสัญญาการจำนอง จะต้องทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่กรมที่ดินเท่านั้น ดังนั้นขอให้มั่นใจได้เลยว่าการปลอมแปลงเอกสารเพื่อทำสัญญาการจำนองนั้น ไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ง่าย ๆ เลย
รวมหนังสือสัญญาซื้อขายบ้าน-คอนโด สัญญาเช่า และสัญญาก่อสร้าง

รวมหนังสือสัญญาซื้อขายบ้าน-คอนโด สัญญาเช่า และสัญญาก่อสร้าง

ทรัพย์สินที่ทำสัญญาจำนองได้มีอะไรบ้าง

นอกจากทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ ที่สามารถนำมาเป็นหลักประกันการชำระหนี้ได้แล้ว ยังมีทรัพย์อีกประเภทที่สามารถนำมาใช้ในการทำสัญญาจำนองได้ นั่นก็คือ เรือกำปั่น เรือกลไฟ เรือแพที่อยู่อาศัย หรือสัตว์ที่เป็นพาหนะ แต่จะต้องเป็นทรัพย์ที่ได้จดทะเบียนขึ้นถูกต้องตามกฎหมายแล้วเท่านั้น

ก่อนทำสัญญาการจำนองที่ดิน การจำนองบ้าน มีเรื่องอะไรที่ต้องรู้บ้าง

– การทำสัญญาจำนอง เป็นการนำหลักทรัพย์ไปค้ำประกันการชำระหนี้เท่านั้น ซึ่งหมายความว่า จะเป็นแค่การนำโฉนดที่ดินที่จะใช้ในการจำนอง ไปจดทะเบียนต่อหน้าเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน เพื่อให้ไว้เป็นหลักประกัน จะไม่มีการโอนทรัพย์สินอะไรเด็ดขาด
– รายละเอียดในใบสัญญาจำนอง จะต้องระบุชัดเจนว่า ผู้จำนอง (ผู้ขอกู้เงิน) จะทำการกู้เงินจาก ผู้รับจำนอง (ผู้ให้กู้) เป็นจำนวนเงินเท่าไร รวมถึงรายละเอียดของหลักทรัพย์ที่นำมาใช้ในการจำนองว่าคืออะไร ถ้าหากไม่ระบุตามนี้ สัญญาการจำนองจะไม่สมบูรณ์เลยทันที
– ในกรณีที่ ผู้จำนอง (ผู้ที่ขอกู้) ไม่สามารถชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ได้หรือมีการผิดสัญญาชำระหนี้ ไม่ได้หมายความว่า ผู้รับจำนอง (ผู้ให้กู้) จะเข้าไปยึดทรัพย์ที่ใช้ในกรค้ำประกันได้เลยทันที แต่จะต้องมีการดำเนินการตามกฎหมาย ตั้งแต่การฟ้องร้องยื่นเรื่องกับศาล เพื่อให้ศาลออกคำสังบังคบให้ลูกหนี้นำหลักทรัพย์ไปขายทอดตลาดที่กรมบังคับคดี และจากนั้นค่อยนำเงินมาชำระหนี้อีกที
หนังสือสัญญาจำนองที่ดิน จำนองบ้าน ควรมีรายละเอียดให้ชัดเจน

หนังสือสัญญาจำนองที่ดิน การจำนองบ้าน ควรมีรายละเอียดอะไรบ้าง

หัวข้อที่ต้องมีรายละเอียด
1. รายละเอียดทรัพย์ต้องมีการระบุรายละเอียดทรัพย์ที่นำมาจำนองอย่างชัดเจน เช่น หากเป็นหนังสือสัญญาจำนองที่ดิน จะต้องมี เลขที่โฉนด เลขที่ดิน หน้าสำรวจ ตำบล อำเภอ และจังหวัดที่ทรัพย์นั้นตั้งอยู่
2. รายละเอียดวันที่ทำสัญญาต้องมีการระบุว่า หนังสือสัญญานี้ได้ทำเมื่อวันที่เท่าไร เดือนอะไร ปีอะไร และทำสัญญาที่ไหน โดยส่วนใหญ่สถานที่มักเป็นสำนักงานที่ดินจังหวัด
3. ระบุชื่อผู้ทำสัญญาในส่วนของผู้จำนองและผู้รับจำนองต้องมีการระบุชื่อ เลขประจำตัวประชาชน อายุ สัญชาติ ชื่อของบิดามารดา บ้านเลขที่ ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ ของทั้งสองฝ่ายอย่างชัดเจน
4. รายละเอียดข้อตกลงในสัญญาสำหรับในเรื่องข้อตกลง จะต้องระบุว่าจำนวนเงินที่ทำการกู้ครั้งนี้ เป็นจำนวนเงินเท่าไร มีการคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเท่าไร กำหนดเวลาจ่ายหนี้เมื่อไร และระบุจำนวนครั้งที่จะจ่ายดอกเบี้ยหากมีการผิดชำระหนี้ให้ชัดเจน
5. ชื่อผู้ถือโฉนดที่ดินระหว่างการจำนองเป็นเหมือนพยานผู้รับฝากทรัพย์ที่เป็นหลักประกันเอาไว้ โดยในสัญญาจะถูกทำ 3 ฉบับ เพื่อให้ ผู้จำนอง ผู้รับจำนอง และพยานผู้ถือหลักทรัพย์ เก็บเอาไว้คนละหนึ่งฉบับ โดยในแต่ละฉบับจะต้องเขียนกำชับไว้ด้วยว่า ฉบับนี้ให้ใครเป็นผู้ถือ
6. การเซ็นสัญญาในท้ายสุดของสัญญาจำนองจะเป็นการเซ็นสัญญา โดยผู้ที่เซ็นสัญญาจำนองจะต้องประกอบด้วย ผู้จำนอง ผู้รับจำนอง, พยาน 2 คน (ฝ่ายละคน), เจ้าพนักงานที่ดิน, ผู้เขียนสัญญา และผู้ตรวจสัญญา เป็นอันสำเร็จ

ดาวโหลดตัวอย่างหนังสือสัญญาจำนองได้ที่นี่

สัญญาการจำนองที่ดิน การจำนองบ้าน มีอายุความนานเท่าไร

สัญญาจำนอง จะเป็นโมฆะหรือไม่มีผลทางกฎหมายแล้วก็ต่อเมื่อ ผู้จำนอง ได้จ่ายหนี้ให้กับผู้รับจำนองครบถ้วน ทั้งเงินกู้และดอกเบี้ยแล้ว ซึ่งจะเรียกว่าไม่มีอายุความตามกฎหมายก็ได้ เพราะเป็นข้อตกลงระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ที่มีพยาน และมีภาระผูกพันธ์ทางกฎหมายเท่านั้น
แต่อย่างไรก็ตาม สัญญาจำนองสามารถดำเนินการให้เสร็จสิ้นก่อนได้ ในกรณีที่เจ้าหนี้ไม่ได้รับการชำระหนี้จากลูกหนี้มาเป็นระยะเวลาหนึ่ง โดยหากผู้จำนองผิดนัดชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็สามารถดำเนินการได้ดังนี้
กรณีลูกหนี้ไม่จ่ายหรือผิดนัดชำระ และต้องการให้ทรัพย์สินถูกนำไปขายทอดตลาด
ถ้าผู้จำนองผิดชำระหนี้จากที่กำหนดไว้ในสัญญาจำนอง ผู้รับจำนองหรือเจ้าหนี้ จะต้องมีหนังสือไปเตือนลูกหนี้ก่อน ซึ่งหากลูกหนี้ยังเมินเฉยละเลยไม่ยอมจ่ายหนี้อีก เจ้าหนี้ถึงจะสามารถไปดำเนินเรื่องฟ้องกับศาลได้ และถ้าหากเจ้าหนี้จะบังคับเอาหลักทรัพย์ที่นำมาค้ำไปขายทอดตลาด จะต้องมีหนังสือบอกลูกหนี้ล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน
กรณีลูกหนี้ไม่จ่ายหรือผิดนัดชำระ และต้องการให้ทรัพย์สินที่นำมาค้ำหลุดจากสิทธิของลูกหนี้
ถ้าผู้จำนองผิดชำระหนี้จากที่กำหนดไว้ในสัญญาจำนอง ผู้รับจำนองหรือเจ้าหนี้ จะคิดดอกเบี้ยเท่ากับการกู้เงินได้ (ประมาณ 15% ต่อปี) และถ้าลูกหนี้ได้ขาดส่งดอกเบี้ยเป็นเวลา 5 ปี เจ้าหนี้ก็สามารถไปดำเนินเรื่องฟ้องกับศาลได้ และถ้าหากเจ้าหนี้จะบังคับเอาหลักทรัพย์ที่นำมาค้ำไปขายทอดตลาด จะต้องมีหนังสือบอกลูกหนี้ล่วงหน้าก่อนเช่นกัน
สำหรับในเรื่องของสัญญาการจำนองที่ดิน จำนองบ้าน แม้ไม่ได้มีความยุ่งยากอะไรในเชิงกฎหมาย เพราะเป็นเหมือนสัญญาที่ตกลงกันระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้เท่านั้น ซึ่งเหมาะกับคนที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นทรัพย์สินอยู่แล้ว แต่ต้องการกู้เงินโดยไม่ต้องการขายทรัพย์สินในมือไป อย่างไรก็ตาม ก่อนทำสัญญาจำนองทุกครั้งก็ควรอ่านรายละเอียดข้อตกลงให้ถี่ถ้วน ตรวจสอบเลขที่ทรัพย์สินที่ถูกใช้ในการจำนองให้ดี ๆ และไม่ควรผิดนัดชำระหนี้และดอกเบี้ยอย่างเด็ดขาด ไม่เช่นนั้นอาจถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดที่กรมบังคับคดี
สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า

คำนวณยอดผ่อนต่อเดือนตามระยะเวลากู้

เพียงใส่ยอดเงินกู้ที่คุณต้องการ เราจะคำนวณให้คุณเห็นถึงยอดผ่อนชำระต่อเดือนตามระยะเวลาผ่อนและอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกัน

คำนวณยอดผ่อนต่อเดือน

คำนวณยอดผ่อนชำระต่อเดือนตามอัตราดอกเบี้ยของคุณด้วยเครื่องมือคำนวณสินเชื่อนี้

คำนวณวงเงินกู้สูงสุด

คำนวณสินเชื่อบ้าน ยอดวงเงินกู้บ้านใหม่ที่คาดว่าจะได้รับจากแบงก์และยอดผ่อนชำระในแต่ละเดือน

สัญญาจำนอง คืออะไร

สัญญาจำนอง คือ สัญญาเงินกู้ในรูปแบบหนึ่ง ที่มีการนำเอาอสังหาฯ มาใช้เป็นหลักประกันการชำระหนี้ เช่น โฉนด บ้าน คอนโด โรงงาน โกดัง โรงเรือน เนื่องจากอสังหาฯ เป็นทรัพย์สินที่มีคุณภาพ

สัญญาจำนอง ต้องระบุ ดังนี้ 1.รายละเอียดทรัพย์ 2.รายละเอียดวันที่ทำสัญญา 3.ระบุชื่อผู้ทำสัญญาในส่วนของผู้จำนองและผู้รับจำนอง 4.รายละเอียดข้อตกลงในสัญญา 5.ชื่อผู้ถือโฉนดที่ดินระหว่างการจำนอง 6.การเซ็นสัญญา