หลายคนอาจจะสงสัยว่าตัวเลขหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นเกี่ยวข้องอะไรกับอสังหาฯ สัดส่วนที่เพิ่มขึ้นของตัวเลขเหล่านี้มาจากภาคส่วนไหน DDproperty จะช่วยไขข้อกระจ่างถึงความเกี่ยวข้องระหว่างสองเรื่องนี้เอง
ข้อมูลจากศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจหอการค้าไทยระบุว่าอัตราหนี้ครัวเรือนของประเทศไทยเพิ่มขึ้นถึงประมาณ 13% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้านี้ซึ่งสะท้อนไปยังดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลงเช่นเดียวกันซึ่งอยู่ที่ 73.4% น้อยที่สุดนับตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว
ข้อมูลจากศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจหอการค้าไทยระบุว่าอัตราหนี้ครัวเรือนของประเทศไทยเพิ่มขึ้นถึงประมาณ 13% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้านี้ซึ่งสะท้อนไปยังดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลงเช่นเดียวกันซึ่งอยู่ที่ 73.4% น้อยที่สุดนับตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว
ส่วนใหญ่เป็นหนี้เพราะอะไร?
สาเหตุการกู้หนี้ยืมสินเกิดจากหลายปัจจัย ตัวอย่างเช่น ประชาชนมีรายได้น้อยลงแต่กลับมีค่าครองชีพที่สูงขึ้น, การเกษตรที่แย่, หนี้บัตรเครดิต, การกู้เพื่อจ่ายค่าเรียนบุตรหลาน ไปจนถึงการกู้เพื่อมาใช้หนี้การพนันและซื้อของฟุ่มเฟือย
ตัวเลขที่น่าตกใจเช่นกันคือเมื่อรู้เช่นนี้แต่จำนวนหนี้ที่ต้องชำระกลับสูงถึงประมาณ 250,000 บาทต่อปี 48.7% มาจากหนี้ในระบบส่วนที่เหลือมาจากหนี้นอกระบบ ตัวเลขภาวการณ์เป็นหนี้เหล่านี้ส่งผลไปถึงภาวะเศรษฐกิจที่ฝืดลงในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาและรายได้ครัวเรือนที่ลดน้อยลง แน่นอนตัวเลขเหล่านี้จะโยงไปถึง GDP ที่น้อยลงนั่นเอง
ตัวเลขที่น่าตกใจเช่นกันคือเมื่อรู้เช่นนี้แต่จำนวนหนี้ที่ต้องชำระกลับสูงถึงประมาณ 250,000 บาทต่อปี 48.7% มาจากหนี้ในระบบส่วนที่เหลือมาจากหนี้นอกระบบ ตัวเลขภาวการณ์เป็นหนี้เหล่านี้ส่งผลไปถึงภาวะเศรษฐกิจที่ฝืดลงในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาและรายได้ครัวเรือนที่ลดน้อยลง แน่นอนตัวเลขเหล่านี้จะโยงไปถึง GDP ที่น้อยลงนั่นเอง
หนี้ส่วนใหญ่มาจากคนกลุ่มไหน?
เป็นอีกเรื่องที่น่าตกใจที่กลุ่มประชาชนที่มีสัดส่วนหนี้ครัวเรือนสูงนั้นมาจากกลุ่มประชาชนที่มีฐานะยากจน (ประชาชนที่มีรายได้ต่ำกว่า 8,000 บาทต่อเดือน) โดยส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทางการเกษตร, ลูกจ้างและคนงาน – คนกลุ่มนี้มีภาระหนี้จ่ายต่อรายได้ของครัวเรือน (DSR) อยู่ที่ประมาณ 50.9% ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงทั้งในแง่การผิดชำระหนี้และแนวโน้มการกู้ยืมต่อไปที่เพิ่มขึ้น แน่นอนมาจากหนี้นอกระบบเสียส่วนใหญ่เพราะขาดเครดิตในการกู้
ภาระหนี้จ่ายต่อรายได้ของครัวเรือน (Debt Service Ratio: DSR) จำแนกตามขั้นรายได้ครัวเรือน
ความเสี่ยงสูง: DSR>40%
ความเสี่ยงสูง: DSR>40%
ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย
กลุ่มผู้มีรายได้ต่ำกว่า 8,000 บาท: ครัวเรือนเกษตรลูกจ้างและคนงาน
กลุ่มผู้มีรายได้ตั้งแต่ 8,000-30,000 บาท: พนักงานบริษัทกิจการขนาดเล็ก, ข้าราชการและลูกจ้างประจำ
กลุ่มผู้มีรายได้มากกว่า 30,000 ไปจนถึงมากกว่า 100,000 บาท: พนักงานระดับกลาง, ผู้จัดการผู้บริหารบริษัทกิจการขนาดเล็กและขนาดกลาง
กลุ่มผู้มีรายได้ต่ำกว่า 8,000 บาท: ครัวเรือนเกษตรลูกจ้างและคนงาน
กลุ่มผู้มีรายได้ตั้งแต่ 8,000-30,000 บาท: พนักงานบริษัทกิจการขนาดเล็ก, ข้าราชการและลูกจ้างประจำ
กลุ่มผู้มีรายได้มากกว่า 30,000 ไปจนถึงมากกว่า 100,000 บาท: พนักงานระดับกลาง, ผู้จัดการผู้บริหารบริษัทกิจการขนาดเล็กและขนาดกลาง
เกี่ยวอะไรกับอสังหาฯ?
เมื่อตัวเลขหนี้ครัวเรือนออกมาไม่ดีแน่นอนส่งผลให้ผู้บริโภคระวังรอบคอบในเรื่องใช้จ่ายมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะในเรื่องบ้านหรือคอนโดฯ ซึ่งถือว่าเป็นการใช้จ่ายครั้งใหญ่ในชีวิต ด้วยเหตุนี้จึงนำไปยังอุปสงค์หรือดีมานด์ที่น้อยลงนั่นเอง
สำหรับผู้ที่มีแนวโน้มจะเป็นเจ้าของคอนโดฯหรืออสังหาฯ สักที่จะมีรายได้ต่อหัวที่มากกว่า 15,000 บาทขึ้นไปซึ่งคนกลุ่มนี้ยังมี DSR ที่อยู่ในระดับต่ำจึงมีกำลังซื้อในระดับที่ดีอยู่อีก
สำหรับผู้ที่มีแนวโน้มจะเป็นเจ้าของคอนโดฯหรืออสังหาฯ สักที่จะมีรายได้ต่อหัวที่มากกว่า 15,000 บาทขึ้นไปซึ่งคนกลุ่มนี้ยังมี DSR ที่อยู่ในระดับต่ำจึงมีกำลังซื้อในระดับที่ดีอยู่อีก
อีกทั้งสาเหตุการกู้ยืมกว่า 90% ของคนกลุ่มเหล่านี้ยังเป็นเรื่องการกู้เพื่อเป็นเจ้าของอสังหาฯ ซึ่งเป็นการเพิ่มสินทรัพย์ถาวรให้กับครัวเรือนและกว่าครึ่งหนึ่งเป็นหนี้ที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันและเป็นการกู้ยืมในระบบ
เมื่อเห็นเช่นนี้แล้วกลุ่มมนุษย์เงินเดือนอย่างเรายังคงมีกำลังการใช้จ่ายที่อยู่ในระดับดีจากอัตรา DSR ในข้างต้น ผู้บริโภคควรมั่นใจในการใช้เงินหรือลงทุนของตนเพราะถ้าทุกคนมัวแต่เก็บเงินจะนำไปสู่สภาวะเงินฝืดได้ในอนาคต
ติดตามข่าวอสังหาฯเพิ่มเติม
เมื่อเห็นเช่นนี้แล้วกลุ่มมนุษย์เงินเดือนอย่างเรายังคงมีกำลังการใช้จ่ายที่อยู่ในระดับดีจากอัตรา DSR ในข้างต้น ผู้บริโภคควรมั่นใจในการใช้เงินหรือลงทุนของตนเพราะถ้าทุกคนมัวแต่เก็บเงินจะนำไปสู่สภาวะเงินฝืดได้ในอนาคต
ติดตามข่าวอสังหาฯเพิ่มเติม
อ่านบทความอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
- วิธีคำนวณพื้นที่ใช้สอยบ้าน-คอนโด เพื่อหาค่าใช้จ่ายที่แท้จริง
- “ค่าธรรมเนียมโอน บ้าน-คอนโด” รายจ่ายที่มีมากกว่าราคาซื้อขายบ้าน
- คิดใหม่! เลือกบ้าน-คอนโดฯ ใกล้รถไฟฟ้าสะดวกจริงหรือ?
เรื่องข้างต้นนี้เขียนโดย ชัยสิทธิ์ บุนนาค Content Writer ประจำ DDproperty.com หากมีคำถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ kittikom@ddproperty.com
หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการซื้อบ้าน คู่มือซื้อขาย สามารถเป็นตัวช่วยตอบได้ทุกคำถาม พร้อมบอกรายละเอียดการคำนวณสินเชื่อบ้านให้คุณตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลทั่วไปเท่านั้น DDproperty by PropertyGuru ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท ออลพร็อพเพอร์ตี้ มีเดีย จำกัด ไม่สามารถรับรองหรือรับประกันเกี่ยวกับข้อมูล รวมทั้งไม่สามารถรับรองหรือรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับความเหมาะสม สำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะใด ๆ ของข้อมูล ตามขอบเขตสูงสุดที่กฎหมายอนุญาต แม้ว่าเราได้พยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ถูกต้อง เชื่อถือได้ และครบถ้วน ณ เวลาที่เขียน แต่ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ไม่ควรนำไปใช้ในการตัดสินใจทางการเงิน, การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือทางกฎหมายทันที ผู้อ่านไม่ควรใช้ข้อมูลในบทความ แทนคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมซึ่งสามารถพิจารณาข้อเท็จจริงและสถานการณ์ส่วนตัวของคุณได้ ทั้งนี้ เราไม่สามารถรับผิดชอบใด ๆ หากคุณเลือกที่จะนำข้อมูลไปใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ