ห้องน้ำผู้สูงอายุกับ 11 เรื่องต้องรู้เพื่อรับสังคมผู้สูงอายุ

DDproperty Editorial Team
ห้องน้ำผู้สูงอายุกับ 11 เรื่องต้องรู้เพื่อรับสังคมผู้สูงอายุ
ห้องน้ำผู้สูงอายุเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามสำหรับบ้านที่มีผู้สูงอายุอาศัยอยู่ เนื่องจากห้องน้ำธรรมดาภายในบ้านอาจไม่เอื้อต่อสุขภาพร่างกายของผู้สูงอายุได้ครบทุกด้านจนนำมาซึ่งอุบัติเหตุภายในห้องน้ำได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันเหตุการณ์ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลากับบุคคลสูงอายุภายในครอบครัว ห้องน้ำผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรมีไว้ในบ้าน มาดูกันว่าเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับห้องน้ำผู้สูงอายุมีเรื่องใดบ้าง
Subscription Banner for Article
อ่านหัวข้อที่คุณสนใจ

เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับห้องน้ำผู้สูงอายุ

1. พื้นภายในและภายนอกห้องน้ำผู้สูงอายุ

ห้องน้ำผู้สูงอายุควรมีระดับพื้นภายในและภายนอกเป็นระดับเดียวกัน ไม่ลาดเอียง หรือต่างระดับ เพื่อป้องกันการสะดุดล้ม

2. ขนาดห้องน้ำผู้สูงอายุ

พื้นที่ภายในห้องน้ำควรมีความกว้างอย่างน้อย 1.5x2 เมตร เพื่อให้รถเข็นสามารถหมุนกลับตัวได้สะดวก แต่ควรระวังไม่ให้พื้นที่ภายในห้องน้ำผู้สูงอายุกว้างมากเกินไปเช่นกันเพราะอาจทำให้ผู้สูงอายุต้องเดินมากขึ้น

3. พื้นห้องน้ำผู้สูงอายุ

ห้องน้ำผู้สูงอายุควรมีการปูพื้นห้องน้ำด้วยกระเบื้องเนื้อหยาบหรือกระเบื้องกันลื่น ไม่ควรใช้กระเบื้องที่มันหรือลื่นเกินไป นอกจากนี้ควรหมั่นดูแลทำความสะอาดพื้นของห้องน้ำผู้สูงอายุอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อโรคและป้องกันการเกิดตะไคร่คราบหมักหมมที่ทำให้พื้นห้องน้ำผู้สูงอายุลื่นได้ อาจมีการเปลี่ยนสีหรือลายกระเบื้องที่แตกต่างกันเพื่อแยกโซนเปียกและโซนแห้งภายในห้องน้ำผู้สูงอายุ
นอกจากนี้ สีของกระเบื้องภายในห้องน้ำผู้สูงอายุควรมีความแตกต่างจากสีของผนังและสุขภัณฑ์อย่างชัดเจน เพื่อป้องกันการสะดุดสุขภัณฑ์ เป็นต้น
ค่ากันลื่น (ค่า R)
พื้นที่ที่เหมาะกับการติดตั้ง
R9
พื้นที่แห้ง เช่น ทางเข้า บันได ห้องรับประทานอาหาร ห้องรับแขก โถงทางเดิน
R10
บริเวณที่ต้องเปียกน้ำ เช่น ห้องน้ำ ห้องครัว ที่จอดรถ
R11
พื้นที่ภายนอกบ้าน หรือพื้นที่ที่ต้องโดนน้ำบ่อย เช่น ห้องน้ำผู้สูงอายุ รอบสระว่ายน้ำ บันไดนอกบ้าน
R12
พื้นที่ที่มีความลาดชันสูง หรือมีการเปื้อนคราบน้ำมันหรือไขมัน รวมถึงสระว่ายน้ำ
R13
พื้นที่ที่มีความลาดชันสูง หรือมีการเปื้อนคราบน้ำมันหรือไขมัน

4. ประตูห้องน้ำผู้สูงอายุ

ประตูของห้องน้ำผู้สูงอายุควรเป็นบานพับแบบเปิดออกด้านนอกหรือบานเลื่อน เพื่อความสะดวกในการเปิดเข้าไปช่วยเหลือหากเกิดอุบัติเหตุบริเวณประตู ในส่วนของด้ามจับประตูควรเป็นแบบก้านโยกที่เปิดง่ายไม่ต้องออกแรงมากและมีการติดราวจับช่วยทรงตัวด้านข้าง ความกว้างของประตูห้องน้ำผู้สูงอายุควรกว้างอย่างน้อย 90 เซนติเมตร เผื่อกรณีที่ผู้สูงอายุต้องนั่งรถเข็นจะได้สามารถเข็นเข้าห้องน้ำผู้สูงอายุได้สะดวก

5. ไฟและแสงสว่าง

บริเวณหน้าห้องน้ำผู้สูงอายุและภายในห้องน้ำผู้สูงอายุควรมีแสงสว่างที่เพียงพอต่อการมองเห็นของผู้สูงอายุ และแสงไฟของห้องน้ำผู้สูงอายุควรเป็นแสงสีขาวเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถมองสิ่งต่าง ๆ ได้ชัดเจนเพื่อป้องกันการสะดุดล้มและสามารถหยิบจับสิ่งของภายในห้องน้ำผู้สูงอายุได้ง่าย

6. โถสุขภัณฑ์ภายในห้องน้ำผู้สูงอายุ

โถสุขภัณฑ์ในห้องน้ำผู้สูงอายุควรเป็นชักโครกที่มีที่นั่งสูงจากพื้น 43-45 เซนติเมตร ซึ่งเป็นระดับที่ผู้สูงอายุสามารถลุกนั่งได้อย่างสะดวก ตัวโถสุขภัณฑ์ควรมีความแข็งแรง รับน้ำหนักได้ตามมาตรฐานเพื่อป้องกันการโยกเอนหรือล้ม
บริเวณโถสุขภัณฑ์ภายในห้องน้ำผู้สูงอายุควรมีราวทรงตัวอยู่ด้านข้างซึ่งอาจมีฝั่งเดียวหรือทั้งสองฝั่งก็ได้ สายฉีดภายในห้องน้ำผู้สูงอายุควรติดตั้งไว้ด้านข้างโถสุขภัณฑ์เพื่อให้หยิบใช้ง่ายและสามารถปรับระดับแรงดันได้ นอกจากนี้ควรติดสัญญาณฉุกเฉินไว้ข้างชักโครกด้วย
อ่างล้างหน้าภายในห้องน้ำผู้สูงอายุ

7. อ่างล้างหน้าภายในห้องน้ำผู้สูงอายุ

การติดตั้งอ่างล้างหน้าภายในห้องน้ำผู้สูงอายุควรสูงจากพื้นประมาณ 70-80 เซนติเมตร และมีความแข็งแรงสามารถรองรับน้ำหนักได้ดี เนื่องจากผู้สูงอายุมักเท้าแขนและทิ้งน้ำหนักระหว่างการใช้อ่างล้างหน้า
ดังนั้นควรตรวจสอบความแข็งแรงของอ่างล้างหน้าภายในห้องน้ำผู้สูงอายุให้ดีเพื่อป้องกันการพังลงมาหรือการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงตามมา
นอกจากนี้ก๊อกน้ำที่ใช้ภายในห้องน้ำผู้สูงอายุควรใช้แบบก้านโยก ปัดด้านข้าง หรือแบบอัตโนมัติเพื่อความสะดวกต่อการใช้งาน ไม่ต้องออกแรงมาก ขอบมุมของอ่างล้างหน้าควรเป็นแบบมนเพื่อป้องกันการชนหรือล้มกระแทก

8. ฝักบัวอาบน้ำ

ภายในห้องน้ำผู้สูงอายุควรเลือกใช้ฝักบัวที่มีแรงดันน้ำต่ำหรือปรับระดับแรงดันน้ำได้ ตำแหน่งฝักบัวของห้องน้ำผู้สูงอายุถ้าสามารถปรับขึ้นลงได้จะสะดวกมากยิ่งขึ้นเพราะทุกคนภายในบ้านจะได้ใช้ร่วมกันได้ นอกจากนี้วาล์วเปิดฝักบัวควรเป็นแบบก้านยาวที่ไม่ต้องออกแรงในการเปิด-ปิดมาก

9. เก้าอี้นั่งอาบน้ำ

สิ่งที่จำเป็นอย่างมากอย่างประการหนึ่งในห้องน้ำผู้สูงอายุคือ เก้าอี้นั่งอาบน้ำ เพราะผู้สูงอายุไม่สามารถยืนได้นาน โดยเก้าอี้นั่งอาบน้ำในห้องน้ำผู้สูงอายุที่เหมาะสมต้องมีความสูงอยู่ที่ประมาณ 45-50 เซนติเมตร ขาเก้าอี้ควรมีความฝืด ไม่ลื่นไถลง่าย วัสดุแข็งแรงทนทาน นอกจากนี้การจัดวางเก้าอี้ในห้องน้ำผู้สูงอายุควรอยู่ใกล้กับฝักบัวและฝาผนังที่มีการติดตั้งราวจับเพื่อพยุงตัวไว้ด้วย

10. การแบ่งโซนเปียกโซนแห้งภายในห้องน้ำผู้สูงอายุ

ในการแบ่งโซนเปีกโซนแห้งของห้องน้ำผู้สูงอายุนอกจากจะใช้วิธีการเปลี่ยนสีพื้นแล้ว อาจใช้เป็นม่านกั้นระหว่างห้องสำหรับอาบน้ำไว้ก็ได้ แต่ไม่ควรใช้เป็นกระจกกั้นเพราะผู้สูงอายุอาจเดินชนจนทำให้เกิดอุบัติเหตุตามมาได้ และควรทำให้พื้นห้องน้ำผู้สู้งอายุในโซนแห้งแห้งอยู่เสมอ เมื่อพื้นเปียกควรเช็ดทำความสะอาดเพราะพื้นที่เปียกลื่นอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุภายในห้องน้ำผู้สูงอายุได้
สัญญาณฉุกเฉิน อีกหนึ่งสำคัญสำหรับห้องน้ำผู้สูงอายุ

11. การติดตั้งสัญญาณฉุกเฉิน

สิ่งที่ขาดไม่ได้ในห้องน้ำผู้สูงอายุ คือ สัญญาณฉุกเฉิน เพื่อให้คนภายนอกสามารถรับรู้สัญญาณและเข้าไปช่วยเหลือได้ทันท่วงที โดยการติดตั้งสัญญาณฉุกเฉินอาจติดไว้บริเวณโถสุขภัณฑ์ บริเวณที่อาบน้ำ หรือบริเวณที่ผู้สูงอายุสามารถใช้งานได้ง่าย
เพราะอุบัติเหตุเป็นเรื่องที่เราคาดไม่ถึง และอุบัติเหตุภายในห้องน้ำของผู้สูงอายุก็เป็นสิ่งที่มีให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง ดังนั้นการใส่ใจในรายละเอียดเกี่ยวกับห้องน้ำผู้สูงอายุตามเนื้อหาที่กล่าวมาข้างต้นจึงเป็นเหมือนการป้องกันเหตุการณ์ไม่คาดฝันไม่ให้เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุซึ่งเป็นบุคลลอันเป็นที่รักของเราได้เป็นอย่างดี
สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า

คำนวณยอดผ่อนต่อเดือนตามระยะเวลากู้

เพียงใส่ยอดเงินกู้ที่คุณต้องการ เราจะคำนวณให้คุณเห็นถึงยอดผ่อนชำระต่อเดือนตามระยะเวลาผ่อนและอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกัน

คำนวณยอดผ่อนต่อเดือน

คำนวณยอดผ่อนชำระต่อเดือนตามอัตราดอกเบี้ยของคุณด้วยเครื่องมือคำนวณสินเชื่อนี้

คำนวณวงเงินกู้สูงสุด

คำนวณสินเชื่อบ้าน ยอดวงเงินกู้บ้านใหม่ที่คาดว่าจะได้รับจากแบงก์และยอดผ่อนชำระในแต่ละเดือน