หลังจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 1.75% เหลือ 1.50% ส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ โดย 6 ธนาคารใหญ่นำร่อง ลดดอกเบี้ยเงินกู้ 0.125-0.25% แต่ละธนาคารมีอัตราดอกเบี้ยเท่าไหร่บ้าง ดูเพิ่มเติมได้ที่นี่
ดอกเบี้ยแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร
- MOR (Minimum Overdraft Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินเบิกเกินบัญชี หรือการเบิกเงินทางโอดี ซึ่งจะประเมินจากคุณสมบัติของผู้กู้ เช่น หลักทรัพย์ค้ำประกัน
- MRR (Minimum Retail Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี ใช้ได้สำหรับเงินกู้ทุกประเภทที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบ้าน สินเชื่อบัตรเครดิต เป็นต้น
ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายส่งผลต่อสินเชื่อบ้านอย่างไร
หลังจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ส่งผลให้ธนาคารขนาดใหญ่หลายแห่งประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับลูกค้าทั่วไป โดยส่วนใหญ่นำร่องการปรับลดอัตราจากฝั่งอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ประเภท MOR และ MRR ลง 0.125-0.25% นอกจากจะมีผลต่อภาพรวมของเศรษฐกิจไทยแล้ว ยังส่งผลต่อผู้บริโภคโดยตรงทั้งในส่วนของดอกเบี้ยเงินฝาก และดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน ดังนี้
ดอกเบี้ยเงินฝาก
แม้การปรับลดดอกเบี้ยนโยบายในรอบนี้ ธนาคารพาณิชย์และธนาคารภาครัฐยังไม่มีสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก แต่โดยปกติการลดอัตราดอกเบี้นนโยบายมักจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากประจำ ทำให้ผลตอบแทนจากดอกเบี้ยเงินฝากน้อยลง
ดอกเบี้ยเงินกู้
เมื่อมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ธนาคารจะปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ ดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้านด้วยเช่นกัน ทำให้การเข้าถึงสินเชื่อบ้านได้มากขึ้น โดยสินเชื่อบ้านที่เราต้องผ่อนชำระค่างวดอยู่ทุกเดือน ๆ หากเป็นดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัว หรือ Floating Rate จะได้รับผลดีจากการปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย คือผ่อนในอัตราที่น้อยลง เช่นเดียวกับการรีไฟแนนซ์บ้านในช่วงนี้ก็เป็นเวลาที่ดีเช่นกัน
ทั้งนี้ หากเป็นดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่ หรือ Fixed Rate จะไม่ได้ประโยชน์จากการลดดอกเบี้ยดังกล่าว เพราะยังต้องจ่ายดอกเบี้ยตามอัตราเดิม
แบงก์ใหญ่ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MOR, MRR
ธนาคารขนาดใหญ่ 6 แห่ง ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MOR และ MRR ลง 0.125-0.25% (ธนาคารอาคารสงเคราะห์เป็นเพียงธนาคารเดียวที่ปรับลด 0.125%) เพื่อช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและลูกค้ารายย่อย ลดต้นทุนทางการเงิน เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงช่วยกระตุ้นให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภาพรวม โดยมีรายละเอียดดังนี้
กสิกรไทย
6.87%
6.87%
กรุงไทย
6.87%
6.87%
ไทยพาณิชย์
6.745%
7.12%
กรุงเทพ
6.87%
6.87%
ออมสิน
6.87%
6.87%
อาคารสงเคราะห์
6.875%
6.625%
ปัจจุบันมีเพียงธนาคารอาคารสงเคราะห์เท่านั้นที่ปรับ MLR เหลือ 6.125% นอกนั้นยังใช้อัตราเดิม ทั้งนี้ ธนาคาร 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกรุงเทพ เริ่มตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2562 เป็นต้นไป ส่วนธนาคารออมสิน และธนาคารอาคารสงเคราะห์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2562 เป็นต้นไป
สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลทั่วไปเท่านั้น DDproperty by PropertyGuru ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท ออลพร็อพเพอร์ตี้ มีเดีย จำกัด ไม่สามารถรับรองหรือรับประกันเกี่ยวกับข้อมูล รวมทั้งไม่สามารถรับรองหรือรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับความเหมาะสม สำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะใด ๆ ของข้อมูล ตามขอบเขตสูงสุดที่กฎหมายอนุญาต แม้ว่าเราได้พยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ถูกต้อง เชื่อถือได้ และครบถ้วน ณ เวลาที่เขียน แต่ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ไม่ควรนำไปใช้ในการตัดสินใจทางการเงิน, การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือทางกฎหมายทันที ผู้อ่านไม่ควรใช้ข้อมูลในบทความ แทนคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมซึ่งสามารถพิจารณาข้อเท็จจริงและสถานการณ์ส่วนตัวของคุณได้ ทั้งนี้ เราไม่สามารถรับผิดชอบใด ๆ หากคุณเลือกที่จะนำข้อมูลไปใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ