อัพเดทอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ MOR MLR MRR ประจำเดือน กรกฎาคม 2559

DDproperty Editorial Team
อัพเดทอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ MOR MLR MRR ประจำเดือน กรกฎาคม 2559
เมื่อต้องกู้สินเชื่อซื้อบ้านหรือคอนโด หลายท่านอาจจะเกิดอาการมึนงง เมื่อต้องเจอกับตัวย่ออัตราดอกเบี้ยในตำนานอย่าง MOR, MLR และ MRR จนเกิดความสงสัยว่ามันคืออะไร? DDproperty เลยขออาสาไขข้อข้องใจพร้อมนำตารางสรุปอัตราดอกเบี้ยทั้งสามแบบของธนาคารต่างๆ มาให้คุณ
MOR, MLR และ MRR คือ อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยต่อปีที่คุณจะต้องชำระต่อธนาคารที่คุณยื่นขอสินเชื่อซึ่งแบ่งตามประเภทลูกค้าที่เข้าขอยื่นสินเชื่อ โดยธนาคารแห่งประเทศไทยให้คำกำจัดความดังนี้:
1.อัตราดอกเบี้ย MLR (Minimum Lending Rate) หรือ (Minimum Loan Rate) หมายถึง อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบมีระยะเวลาที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี
2.อัตราดอกเบี้ย MOR (Minimum Overdraft Rate) หมายถึงอัตราดอกเบี้ยประเภทเบิกเกินบัญชีที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี
3.อัตราดอกเบี้ย MRR (Minimum Retail Rate) หมายถึง อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี
จากคำอธิบายข้างต้นสะท้อนถึงเหตุผลที่ว่าทำไมธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่เลือกอิงอัตรา MRR นั่นคือลูกค้่าส่วนใหญ่ถูกจัดอยู่ในประเภทลูกค้ารายย่อยนั่นเอง
แต่ละธนาคารจะมีการกำหนดอัตรา MOR, MLR และ MRR ที่แตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่ธนาคารพาณิชย์จะอิงไปที่ MRR ในขณะเดียวกัน ธนาคารรัฐจะอิงไปที่ MLR อัตราดอกเบี้ยเหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาตามการคำนวนของแต่ละธนาคาร สำหรับปัจจัยในการคำนวณเพื่อออกอัตรา MRR หรือ MLR มาจาก ต้นทุนของธนาคารที่ไม่เท่ากัน ต้นทุนที่เกี่ยวข้องยกตัวอย่างเช่น ดอกเบี้ยเงินฝาก, จำนวนเงินฝาก, ฐานะเงินกองทุน, อัตราส่วนกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio), ปริมาณเงินสำรอง, จำนวนหนี้เสีย และสภาพคล่องของธนาคารนั้นๆ โดยส่วนใหญ่ธนาคารขนาดใหญ่จะมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยต่ำกว่าธนาคารที่มีขนาดเล็กกว่า
สำหรับขั้นตอนการคำนวณอัตราดอกเบี้ยคร่าวๆขอยกตัวอย่างดังนี้:
ธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งเลือกอิงไปที่ MRR ซึ่งแบงค์ชาติกำหนดไว้ที่ 7% ในรายละเอียดของสินเชื่อระบุไว้ว่าผู้กู้จะต้องชำระดอกเบี้ยในอัตรา:
ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 5%
ปีที่ 2 MRR-0.25%
ปีที่ 3 MRR-0.25%
สมมติยอดเงินกู้ (principal) คือ 1 ล้านบาท จากอัตราดอกเบี้ยข้างต้น คุณจะต้องจ่ายดอกเบี้ยในปีที่ 1 = 1,000,000 x 5% = 50,000 บาท, ปีที่ 2=1,000,000 x 6.75% (MRR ซึ่งถูกกำหนดไว้ที่ 7% ลบด้วย 0.25%)=65,000 บาท, ปีที่ 3=1,000,000 x 6.75% (MRR ซึ่งถูกกำหนดไว้ที่ 7% ลบด้วย 0.25%)=65,000 บาท ดังนั้นยอดรวมดอกเบี้ย 3 ปี ที่คุณจะต้องชำระคือ 180,0000 บาท
*จำนวนดอกเบี้ยจะลดตามเงินต้นที่คุณนำไปโปะกับธนาคารผู้ให้สินเชื่อ ทั้งนี้ควรศึกษาดูสัญญาสินเชื่อให้ดีเพราะบางธนาคารจะมีค่าปรับหากคุณเลือกปิดเงินต้นก่อนระยะเวลาที่ธนาคารกำหนด และอัตรา MRR, MLR สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นอย่าลืมอัพเดทอัตราเหล่านี้ก่อนเข้าขอสินเชื่อนะครับ
สรุปอัตรา MOR,MLR และ MRR ของแต่ละธนาคารที่กำหนดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย
Loan Rates
อัพเดทอัตราสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของแต่ละธนาคารได้ ที่นี่
บทความนี้เขียนโดย ชัยสิทธิ์ บุนนาค Content Writer ประจำ DDproperty หากมีคำถามสามารถติดต่อได้ที่ chaiyasit@ddproperty.com