ถ้าคำตอบของคำถามข้างต้นคือ "ใช่" ก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าในกรณีที่เจ้าของบ้านกับเจ้าของที่ดินมีชื่อไม่ตรงกันล่ะ จะทำอย่างไร แล้วบ้านของเราจะตกเป็นของเจ้าของที่ดินหรือไม่ หาคำตอบได้จากบทความนี้
ส่วนใหญ่ปัญหาโลกแตกนี้จะเกิดขึ้นได้หลายกรณี แต่ปัญหาที่พบบ่อยที่สุดคือ กรณีที่เจ้าของบ้านไปสร้างบ้านที่เป็นมรดกตกทอด หรือมีการไปสร้างบ้านบนที่ดินของคนอื่น อาจจะเป็นแม่ยาย พ่อตา หรือเครือญาติ
ดังนั้น สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาในกรณีนี้ หรือกรณีอื่น ๆ สำหรับการไปสร้างบ้านบนที่ดินของคนอื่นก็ตาม สิ่งสำคัญที่จะต้องรู้เลยก็คือ หากเราไปสร้างบ้านอยู่บนที่ดินของคนอื่น บ้านก็จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินแปลงนั้นไปเลย
ผู้มีกรรมสิทธ์ในตัวบ้านจึงเป็นเจ้าของที่ดินดังกล่าว ถึงแม้เจ้าของบ้านจะมีชื่อเป็นเจ้าบ้านในทะเบียนราษฎร์ก็ตาม แต่ก็ไม่มีกรรมสิทธิ์ในบ้านหรือที่ดินแปลงนี้เลย
เรื่องควรรู้เกี่ยวกับเจ้าบ้าน
เจ้าบ้านคือใคร แตกต่างจากเจ้าของบ้านอย่างไร ดูได้ที่นี่
ดังนั้น หากคิดจะใช้งบประมาณในการสร้างบ้านสักหลังสิ่งที่ดีที่สุดก็คือการสร้างบ้านบนที่ดินของตัวเอง เพราะหากเกิดปัญหาไม่ว่าจะเป็นการทะเลาะเบาะแว้งกัน หรือเจ้าของที่ดินต้องการขายที่ดิน สุดท้ายก็เป็นเราเองที่จะต้องย้ายออก

อีกหนึ่งกรณีที่เป็นปัญหาก็คือเจ้าของที่ดินต้องการจะขายที่ดิน แต่เจ้าของบ้านไม่ยอมย้ายออก ตรงนี้เจ้าของที่ดินสามารถทำการขายที่ดินได้เลย และทำการฟ้องร้องให้เจ้าของบ้านย้ายออก โดยอาจจะต้องเสียค่าขนย้ายให้กับเจ้าของบ้าน หรือวิธีที่ดีสุดก็คือเอาโฉนดที่ดินไปที่เขตพร้อมทะเบียนบ้านตัวจริงแล้วเปลี่ยนชื่อเจ้าบ้านให้เป็นชื่อเดียวกับเจ้าของที่ดิน
ส่วนอีกหนึ่งปัญหาสำหรับเจ้าของที่ดินที่พบเห็นกันบ่อย ๆ ก็คือการที่เจ้าของที่ดินปล่อยให้ผู้อื่นอาศัยอยู่บนที่ดิน โดยไม่มีสัญญาเช่า และให้ผู้ที่อาศัยอยู่นั้นเป็นเจ้าบ้านในทะเบียนบ้าน ซึ่งตรงนี้เจ้าของที่ดินอาจจะมีความประสงค์เพื่อให้เจ้าบ้านหรือเจ้าของบ้านมาดูแลที่ดินให้หรือด้วยเหตุผลอื่น ๆ ก็ตาม
เรื่องควรรู้เกี่ยวกับสัญญาเช่าที่ดิน
สัญญาเช่าที่ดินระยะยาว-ระยะสั้น 2 แบบต่างกันอย่างไร พร้อมตัวอย่าง
หากเป็นที่ดินที่มีโฉนดเมื่อเวลาผ่านไปเกินระยะเวลา 10 ปี โดยที่เจ้าของที่ดินไม่ได้มาดูแลที่ดินที่มีเจ้าบ้านมาอยู่อาศัยในกรณีดังกล่าวเลย เจ้าของบ้านก็อาจจะใช้ข้ออ้างทางกฎหมายมาอ้างในการครอบครองปรปักษ์ เพื่อให้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของเจ้าของที่ดินได้
ยิ่งหากถ้าเจ้าของที่ดินถือเอกสารสิทธิที่ดินเป็น นส.3 หรือ นส.3 ก. แล้วเจ้าของบ้านมีการอ้างว่าได้แย่งการครอบครองมาเป็นระยะเวลาเกิน 1 ปี โดยที่เจ้าของที่ดินไม่ได้มีการโต้แย้งหรือฟ้องร้องการอ้างสิทธิดังกล่าว เจ้าของที่ดินก็อาจจะเสียสิทธิการครอบครองที่ดินนั้นได้
ในแง่ของเจ้าของที่ดินหากมีความจำเป็นจะต้องให้ผู้อื่น หรือญาติก็ตามมาอาศัยอยู่บนที่ดินของตัวเองก็ควรมีสัญญา หรือระบุชัดเจนว่าผู้ที่เข้ามาอาศัยเป็นที่ดินของตนเองนั้นอยู่ในฐานะผู้เช่า เจ้าบ้าน หรืออย่างอื่น เพื่อไม่ให้เกิดการครอบครองปรปักษ์เกิดขึ้น
โดยสัญญาเช่าระยะยาวแบ่งออกเป็น สัญญาเช่าธรรมดา และสัญญาเช่าต่างตอบแทน โดยมีรายละเอียดดังนี้
สัญญาเช่าธรรมดา | สัญญาเช่าต่างตอบแทน |
จ่ายค่าเช่าต่อผู้เช่า | จ่ายค่าตอบแทน นอกเหนือจากค่าเช่า |
โอนสิทธิ์การเช่าไม่ได้ | โอนสิทธิ์การเช่าไปยังทายาทได้ |
ฟ้องร้องได้ หากมีการทำหนังสือสัญญาเช่าชัดเจน | สิ่งปลูกสร้างบนที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่า |
ระยะเวลาฟ้องร้องภายใน 3 ปี | การปรับปรุงต่อเติมเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่า |
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลทั่วไปเท่านั้น DDproperty by PropertyGuru ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท ออลพร็อพเพอร์ตี้ มีเดีย จำกัด ไม่สามารถรับรองหรือรับประกันเกี่ยวกับข้อมูล รวมทั้งไม่สามารถรับรองหรือรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับความเหมาะสม สำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะใด ๆ ของข้อมูล ตามขอบเขตสูงสุดที่กฎหมายอนุญาต แม้ว่าเราได้พยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ถูกต้อง เชื่อถือได้ และครบถ้วน ณ เวลาที่เขียน แต่ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ไม่ควรนำไปใช้ในการตัดสินใจทางการเงิน, การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือทางกฎหมายทันที ผู้อ่านไม่ควรใช้ข้อมูลในบทความ แทนคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมซึ่งสามารถพิจารณาข้อเท็จจริงและสถานการณ์ส่วนตัวของคุณได้ ทั้งนี้ เราไม่สามารถรับผิดชอบใด ๆ หากคุณเลือกที่จะนำข้อมูลไปใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ