ในช่วงที่ต้องทำงานที่บ้าน หรือ Work from Home หลายคนเริ่มทำอาหารกินเองมากขึ้น หากไม่รู้จะเริ่มจากเมนูอาหารอะไร ทางกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะนำ 7 เมนูสุขภาพที่ให้คุณค่าทางโภชนาการ เพิ่มวิตามินเอ วิตามินซี วิตามินดี และธาตุเหล็ก ที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ เสริมภูมิคุ้มกัน ลดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ และลดความเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัสโควิด-19
ทำไมการเลือกกินอาหารดี ๆ จึงสำคัญ
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในขณะนี้ นอกจากการปฏิบัติตามมาตรการ DMHTTA ด้วยการสวมหน้ากากเมื่อออกจากบ้าน หมั่นล้างมือบ่อย ๆ และเว้นระยะห่างแล้ว
การเลือกกินอาหารที่ดีและมีคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อให้ได้รับปริมาณสารอาหารแต่ละชนิดเพียงพอกับความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน จะมีส่วนช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ทำงานเป็นปกติและเต็มศักยภาพ
ประโยชน์ของสารอาหารต่าง ๆ
1. วิตามินซี
ช่วยในกระบวนการทำงานของเม็ดเลือดขาวในการขจัดเชื้อโรค เสริมระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยต้านภูิมแพ้ ช่วยลดการระคายเคืองเยื่อบุทางดินหายใจ ลดการจาม น้ำมูกไหน ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ได้เอง จำเป็นต้องได้รับจากอาหาร
ความต้องการวิตามินซีต่อวันของแต่ละกลุ่มวัย
- เด็ก 25-40 มิลลิกรัม
- วัยรุ่น 60-100 มิลลิกรัม
- ผู้ใหญ่ 85-100 มิลลิกรัม
- ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 85 มิลลิกรัม
2. วิตามินดี
วิตามินดี เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน หน้าที่หลักของวิตามินดีคือ ควบคุมภาวะสมดุลของแคลเซียมและฟอสเฟตในกระแสเลือด ช่วยให้กระดูกแข็งแรงและป้องกันโรคกระดูกบาง (Osteopenia) และกระดูกพรุน (Osteoporosis)
นอกจากนี้ วิตามินดียังมีหน้าที่อื่น เช่น ควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์ การแบ่งตัวของเซลล์ และการตายของเซลล์ที่มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย วิตามินดีมีความจำเป็นสำหรับกรทำงานที่เหมาะสมของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นปราการแรกในการป้องกันร่างกายจากการติดเชื้อและโรค มีงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าอาหารเสริมวิตามินดี สามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันและป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจได้
ความต้องการวิตามินดีต่อวันของแต่ละกลุ่มวัย
- เด็ก 400-600 IU (10-15 ไมโครกรัม)
- วัยรุ่น 600 IU (15 ไมโครกรัม)
- ผู้ใหญ่ 600 IU (15 ไมโครกรัม)
- ผู้สูงอายุ 800 IU (20 ไมโครกรัม)
3. วิตามินอี
เป็นสารต้านอนุมูลอิสระและเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย โดยวิตามินอีจะทำหน้าที่ขจัดอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาต่าง ๆ ในร่างกาย และมีบทบาทในการป้องกันไม่ให้กรดไขมันไม่อิ่มตัวและส่วนประกอบเยื่อหุ้มเซลล์ของอวัยวะในร่างกายถูกทำลาย
ความต้องการวิตามินอีกต่อวันของแต่ละกลุ่มวัย
- ทารก 0-5 เดือน 4 มิลลิกรัม
- ทารก 6-11 เดือน 5 มิลลิกรัม
- เด็ก 1-3 ปี 6 มิลลิกรัม
- เด็ก 4-8 ปี 9 มิลลิกรัม
- วัยเรียน วัยรุ่น ชาย 9-18 ปี 13 มิลลิกรัม
- วัยเรียน วัยรุ่น หญิง 9-18 ปี 11 มิลลิกรัม
- ผู้ใหญ่ ชาย 19-60 ปี 13 มิลลิกรัม
- ผู้ใหญ่ หญิง 19-60 ปี 11 มิลลิกรัม
- ผู้สูงอายุ ชาย 61 ปีขึ้นไป 13 มิลลิกรัม
- ผู้สูงอายุ หญิง 61 ปีขึ้นไป 11 มิลลิกรัม
ข้อควรระวัง ในผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านการเกาะตัวของเกล็ดเลือด เนื่องจากวิตามินอีสามารถยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือด อาจทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะเลือดออกได้ง่าย

7 เมนูสุขภาพ แนะนำจากกรมอนามัย
โดยกรมอนามัยขอแนะนำเมนูอาหาร เสริมภูมิคุ้มกัน ดังนี้
1. ต้มซุปไก่มะเขือเทศ
ส่วนประกอบสำหรับ 4 คน
- เนื้ออกไก่ 1 อก 180 กรัม
- พริกไทยป่น 1 ช้อนชา 4 กรัม
- มันฝรั่ง 1 หัวใหญ่ 240 กรัม
- หอมหัวใหญ่ 1 ลูก 80 กรัม
- มะเขือเทศสีดาผ่าครึ่ง 8 ลูก 80 กรัม
- ขึ้นฉ่าย 4 ต้น 40 กรัม
- ซีอิ๊วขาวเสริมไอโอดีน 1 ช้อนกินข้าว 15 กรัม
- น้ำ 4 ถ้วยตวง 800 กรัม
วิธีทำ
- ท่านำซุป โดยหั่นหอมหัวใหญ่ใส่น้ำต้มด้วยไฟกลาง ใส่มัมฝรั่งง ต้มให้สุกจนนิ่ม ใส่เนื้อไก่ มะเขือเทศ ต้มต่อจนไก่สุก
- ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาว ใส่ขึ้นฉ่าย ต้มต่อเล็กน้อยแล้วยกลง ตักใส่ชามโรยพริกไทยป่น กินกับข้าวสวยร้อื่น ๆ
2. ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่น้ำใส่ตับ
ส่วนประกอบสำหรับ 1 คน
- ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ 1 ทัพพีครึ่ง 80 กรัม
- หมูสับ 2 ช้อนกินข้าว 20 กรัม
- ตับหมู 1 ช้อนกินข้าว 10 กรัม
- ลูกชิ้นปลา 2 ลูก 20 กรัม
- ถั่วงอกดิบ 3 ช้อนกินข้าว 30 กรัม
- แครอท 1 ช้อนกินข้าว 10 กรัม
- ต้นหอม เล็กน้อย 1 กรัม
- น้ำซุป ครึ่งถ้วยตวง 100 กรัม
- เกลือเสริมไอโอดีน เล็กน้อย 1 กรัม
- น้ำปลาเสริมไอโอดีน เล็กน้อย 1 กรัม
- ซีอิ๊วขาวเสริมไอโอดีน เล็กน้อย 1 กรัม
วิธีทำ
- หมักหมูสับด้วยเกลือป่น ซีอิ๊วขาว เติมน้ำเล็กน้อยพักไว้ 10 นาที
- ลวกเส้นใหญ่ ถั่วงอกดิบ ตับหมูหมูสับ และลูกชิ้นปลา
- นำน้ำซุปตั้งไฟให้เดือด ใส่แครอท ปรุงรสด้วยน้ำปลา
- เวลาเสิร์ฟ เติมน้ำซุปลงในส่วนผสมที่ลวกแล้ว และโรยด้วยต้นหอมซอย
3. ข้าวต้มปลานิล
ส่วนประกอบสำหรับ 1 คน
- ข้าวสุก 2 ทัพพี 120 กรัม
- เนื้อปลานิล 3 ช้อนกินข้าว 45 กรัม
- ซีอิ๊วขาวเสริมไอโอดีน 2 ช้อนชา 10 กรัม
- ต้นหอม 1 ต้น 3 กรัม
- ใบขึ้นฉ่าย เล็กน้อย
- พริกไทยป่น เล็กน้อย
วิธีทำ
- ล้างปลาให้สะอาด
- ต้มน้ำให้เดือด ใส่เนื้อปลาลงไป ต้มจนสุก ใส่ซีอิ๊วขาว
- ตักข้าวสุกใส่ชาม ตักน้ำกับเนื้อปลา ราดบนข้าวสุกที่ตักใส่ชามไว้ โรย่อหน้าด้วยต้นหอม ใบขึ้นฉ่าย และพริกไทยป่น กินขณะยังร้อน
4. ไข่ตุ๋นผักต่าง ๆ
ส่วนประกอบสำหรับ 1 คน
- ไข่ไก่ 1 ฟอง 50 กรัม
- เห็ดหอมแช่น้ำ 1 ดอก 5 กรัม
- แครอท 1 ช้อนชา 5 กรัม
- หอมแดงซอย 1 ช้อนชา 5 กรัม
- ตำลึงหั่นชิ้นเล็ก 1 ช้อนกินข้าว 5 กรัม
- น้ำซุป ¼ ถ้วยตวง 50 กรัม
- ซีอิ๊วขาวเสริมไอโอดีน ½ ช้อนชา 2 กรัม
- ผักชีเด็ดใบ ตามชอบ
- ข้าวกล้องสุก 1 ½ ทัพพี 90 กรัม
วิธีทำ
- ตีไข่ให้เข้ากัน เติมน้ำซุปในปริมาณที่เท่ากัน ผสมให้เข้ากัน
- ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาว เติมผักที่หั่นไว้ ผสมให้เข้ากัน
- นำไปนึ่งด้วยไฟอ่อื่น ๆ อย่าให้เดือดแรง ไข่จะไม่สวย ประมาณ 10-12 นาที ยกลง
5. เกาเหลาเลือดหมูใบตำลึง
ส่วนประกอบสำหรับ 1 คน
- เลือดหมู 1 ช้อนกินข้าว 15 กรัม
- ตับหมู 1 ช้อนกินข้าว 15 กรัม
- ใบตำลึง 1 ทัพพี 40 กรัม
- น้ำปลาเสริมไอโอดีน 1 ช้อนชา 5 กรัม
- น้ำมันพืช 1 ช้อนชา 5 กรัม
- กระเทียม 1 ช้อนชา 5 กรัม
- พริกไทยป่น 2 กรัม
- ใบขึ้นฉ่าย 5 กรัม
วิธีทำ
- ล้างเนื้อหมูให้สะอาด แล้วสับให้ละเอียด
- ล้างเลือดหมูและตับหมูให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นพอดีคำ
- เด็ดใบและยอดตำลึง ล้างให้สะอาด
- ต้มน้ำให้เดือด ใส่หมูสับ เลือดหมู และตับหมู ต้มจนสุก ใส่ใบตำลึง ปรุงรสด้วยน้ำปลา
- พอสุกดีแล้ว โรยกระเทียมเจียว พริกไทย และใบขึ้นฉ่าย กินกับข้าวสวยร้อน ๆ
6. ผัดบวบใส่ไก่
ส่วนประกอบสำหรับ 4 คน
- บวบเหลี่ยมหั่น 3 ถ้วยตวง 230 กรัม
- เนื้อไก่ 3/4 ถ้วยตวง 120 กรัม
- กระเทียม 2 ช้อนกินข้าว 20 กรัม
- น้ำมันถั่วเหลือง 2 1/2 ช้อนกินข้าว 37 กรัม
- ซีอิ๊วขาวเสริมไอโอดีน 1 ช้อนกินข้าว 15 กรัม
- พริกชี้ฟ้าเหลือง แดง 2 เม็ดกลาง 10 กรัม
วิธีทำ
- บวบนำมาปอกเปลือกแล้วหั่นเป็นชิ้น ๆ หั่นเนื้อไก้เป็นชิ้น พักไว้
- เจียกระเทียมสับในน้ำมันให้เหลือง ใส่เนื้อไก่ผัดให้สุก
- ใส่บวบลงผัดจนสุกและนิ่ม ใส่พริกชี้ฟ้าเหลือง แดง หั่นฉลบ ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาว กินกับข้าวสวยร้อน ๆ

7. แกงจืดผักกาดขาวเต้าหู้หมูสับ
ส่วนประกอบสำหรับ 4 คน
- ผักกาดขาวหั่น 1 หัว 240 กรัม
- ขึ้นฉ่ายหั่น 4 ต้น 40 กรัม
- หมูเนื้อแดงสับ 1 ขีด 100 กรัม
- เต้าหู้ไข่ 1 หลอด 160 กรัม
- ซีอิ๊วขาวเสริมไอโอดีน 1 ช้อนกินข้าว 15 กรัม
- กระเทียม 1 ช้อนกินข้าว 10 กรัม
- พริกไทยป่น 1 ข้อนชา 4 กรัม
วิธีทำ
- นำผักกาดขาวมาล้างหั่นเป็นท่อนประมาณ 1 นิ้ว และเต้าหู้ไข่หั่นเป็นท่อน
- ตั้งน้ำให้เดือด ใส่ซีอิ๋วขาว กระเทียม ใส่หมูสับ เต้าหู้ และผักกาดขาว พอเดือดรอจนหมูและผักสุก ตักใส่ถ้วย โรยด้วยขึ้นฉ่าย และพริกไทยป่น กินกับข้าวสวยร้อน ๆ
อย่าละเลยกิจกรรมอื่น ๆ ในบ้าน
นอกจากการกินอาหารดี ๆ จากเมนูสุขภาพแล้ว ควรมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมเพื่อเผาผลาญพลังงานในแต่ละวัน เช่น ทำงานบ้าน เต้นแอโรบิกในบ้าน หรือมีกิจกรรมผ่อนคลายเพื่อลดภาวะเครียด เช่น การสวดมนต์ไหว้พระก่อนนอน ฟังเพลง อ่านหนังสือ ดูหนังออนไลน์ เล่นเกม รวมทั้งดื่มน้ำสะอาด 1.5-2 ลิตรต่อวัน และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 7-9 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อให้ร่างกายและจิตใจแข็งแรง มีสุขภาพดีในระยะยาว
สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า