ฉนวนกันความร้อนถูกนำไปใช้ในการก่อสร้างมากขึ้น ทั้งฉนวนกันความร้อนหลังคา ฉนวนกันความร้อนวางบนฝ้า ซึ่ง ฉนวนในท้องตลาดมีหลายราคา และหลายประเภทให้เลือกใช้ เช่น ฉนวนใยแก้ว ฉนวนใยหิน ฉนวนยางดำ EPDM และฉนวนโฟม เช่น ฉนวนโฟม PE, PU, PS และ EPS ซึ่งการเลือกใช้ฉนวนก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละประเภทของงาน
ถ้าต้องการให้บ้านเย็นขึ้น การปูฉนวนกันความร้อนบนฝ้า จะเป็นหนึ่งวิธีที่ช่วยลดการถ่ายเทความร้อนที่ผ่านมาจากทางหลังคา ลงสู่ตัวบ้านได้ ฉนวนวางบนฝ้าที่นิยมใช้กันในตลาดคือ ฉนวนใยแก้ว Glass Wool และฉนวนใยหิน ROCKWOOL รุ่น Rock Chill
ฉนวนวางบนฝ้าจะถูกหุ้มด้วยอะลูมิเนียมฟอยล์รอบด้านจึงช่วยในเรื่องการสะท้อนรังสีความร้อนได้ 95% และ ด้วยความหนาที่มากจึงสามารถต้านทานความร้อนได้ถึง 6 เท่า ฉนวนวางบนฝ้า ที่ขายอยู่ในตลาดโดยทั่วไป จะมีความหนาที่ 75 มิลลิเมตร ลักษณะเป็นม้วน หุ้มด้วยพลาสติกที่ปิดมิดชิด ขนาด กว้าง 0.6 เมตร ยาว 4 เมตร ซึ่งเป็นขนาดมาตรฐานสำหรับการวางบนฝ้า
สำหรับโรงหลังคาจอดรถแบบเปิดหรือร้านอาคารแบบเปิดทั่วไปก็จะนิยมใช้ ฉนวนโฟม PE หรือ PU เนื่องจากโฟมมีค่าการนำความร้อนที่ต่ำ ซึ่งหลาย ๆ ที่ก็นิยมนำฉนวนใยแก้ว และฉนวนใยหินมาปูบนหลังคาที่มีพื้นที่แบบเปิดเช่นกัน
ลักษณะของฉนวนแต่ละประเภท
1. ฉนวนใยหิน
วัตถุดิบ: หินบะซอลต์และโดโลไมท์
คุณสมบัติการกันไฟ: ไม่ติดไฟ และไม่ลามไฟ
จุดหลอมเหลว: มากกว่า 1,000°C
มลพิษจากการเผาไหม้: ไม่มีการปล่อยก๊าซพิษ
ความปลอดภัยในการใช้งาน: ปราศจากแร่ใยหิน (Non-Asbestos) ไม่เป็นสารก่อมะเร็ง รับรองโดยสถาบันวิจัยมะเร็งนานาชาติ
2. ฉนวนใยแก้ว
วัตถุดิบ: เศษแก้ว และทราย
คุณสมบัติการกันไฟ: ติดไฟยาก และไม่ลามไฟ
จุดหลอมเหลว: 650-700°C
มลพิษจากการเผาไหม้: ไม่มีการปล่อยก๊าซพิษ
ความปลอดภัยในการใช้งาน: ไม่เป็นสารก่อมะเร็ง
3. ฉนวนโฟม PE
วัตถุดิบ: โพลิเอทิลีน
คุณสมบัติการกันไฟ: ติดไฟ แต่ไม่ลามไฟ
จุดหลอมเหลว: น้อยกว่า 250°C
มลพิษจากการเผาไหม้: มีการปล่อยคาร์บอนมอนออกไซด์ (CO) ซึ่งอาจทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย และเวียนศีรษะ
ความปลอดภัยในการใช้งาน: ไม่เป็นสารก่อมะเร็ง
4. ฉนวนโฟม PU
วัตถุดิบ: โพลิยูริเทน
คุณสมบัติการกันไฟ: ติดไฟ แต่ไม่ลามไฟ
จุดหลอมเหลว: น้อยกว่า 250°C
มลพิษจากการเผาไหม้: มีการปล่อย
– คาร์บอนมอนออกไซด์ (CO) ซึ่งอาจทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย และเวียนศีรษะ
– ไฮโดรเจนไซยาไนด์ (HCN) ส่งผลให้หมดสติและเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ
– คาร์บอนมอนออกไซด์ (CO) ซึ่งอาจทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย และเวียนศีรษะ
– ไฮโดรเจนไซยาไนด์ (HCN) ส่งผลให้หมดสติและเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ
ความปลอดภัยในการใช้งาน: ไม่เป็นสารก่อมะเร็ง
5. ฉนวนโฟม PS หรือ EPS
วัตถุดิบ: โพลิสไตริน
คุณสมบัติการกันไฟ: ติดไฟ แต่ไม่ลามไฟ
จุดหลอมเหลว: น้อยกว่า 250°C
มลพิษจากการเผาไหม้: มีการปล่อยคาร์บอนมอนออกไซด์ (CO) ซึ่งอาจทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย และเวียนศีรษะ
ความปลอดภัยในการใช้งาน: ไม่เป็นสารก่อมะเร็ง
ตารางสรุปลักษณะของฉนวนกันความร้อนแต่ละประเภท
วัตถุดิบ
หินบะซอลต์และโดโลไมท์
เศษแก้ว และทราย
โพลิเอทิลีน
โพลิยูริเทน
โพลิสไตริน
คุณสมบัติการกันไฟ
ไม่ติดไฟ และไม่ลามไฟ
ติดไฟยาก และไม่ลามไฟ
ติดไฟ แต่ไม่ลามไฟ
ติดไฟ แต่ไม่ลามไฟ
ติดไฟ แต่ไม่ลามไฟ
จุดหลอมเหลว
มากกว่า 1,000°C
650-700°C
น้อยกว่า 250°C
น้อยกว่า 250°C
น้อยกว่า 250°C
มลพิษจากการเผาไหม้
ไม่มีการปล่อยก๊าซพิษ
ไม่มีการปล่อยก๊าซพิษ
มีการปล่อย:
– คาร์บอนมอนออกไซด์ (CO) ซึ่งอาจทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย และเวียนศีรษะ
มีการปล่อย:
– คาร์บอนมอนออกไซด์ (CO) ซึ่งอาจทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย และเวียนศีรษะ
– ไฮโดรเจนไซยาไนด์ (HCN) ส่งผลให้หมดสติและเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ
มีการปล่อย:
– คาร์บอนมอนออกไซด์ (CO) ซึ่งอาจทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย และเวียนศีรษะ
ความปลอดภัยในการใช้งาน
ปราศจากแร่ใยหิน (Non-Asbestos) ไม่เป็นสารก่อมะเร็ง รับรองโดยสถาบันวิจัยมะเร็งนานาชาติ
ไม่เป็นสารก่อมะเร็ง
ไม่เป็นสารก่อมะเร็ง
ไม่เป็นสารก่อมะเร็ง
ไม่เป็นสารก่อมะเร็ง
ดังนั้น การเลือกใช้ฉนวนในแต่ละงานจึงต้องคำนึงถึงคุณสมบัติของฉนวนนั้น ๆ เพื่อให้การใช้งานเกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะฉนวนกันความร้อนที่ใช้ภายในบ้าน ควรช่วยลดความร้อนจากภายนอกเข้ามาสู่ภายในบ้าน ซึ่งจะทำให้การใช้ชีวิตของผู้อยู่อาศัย สบายขึ้น รวมถึงมีส่วนช่วยในการลดการทำงานของเครื่องปรับอากาศได้อีกด้วย
ขอบคุณข้อมูลและรูปประกอบจาก ROCKWOOL
สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า