เอกสารที่จำเป็นในการซื้ออสังหาริมทรัพย์

DDproperty Editorial Team
เอกสารที่จำเป็นในการซื้ออสังหาริมทรัพย์
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยอยู่ภายใต้การควบคุมจากภาครัฐและกฎหมายไทย ผู้ที่ต้องการซื้ออสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นชาวไทยหรือต่างชาติควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือทนายความซึ่งสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับข้อกฎหมายต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง รวมไปถึงการดำเนินการเรื่องเอกสารและสัญญาต่างๆ อย่างรอบคอบและรัดกุม
ในกรณีผู้ซื้อที่เป็นชาวต่างชาติควรจ้างทนายที่มีทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ ซึ่งจะอธิบายรายละเอียดของการโอนกรรมสิทธิ์ให้เข้าใจได้เนื่องจากเอกสารบางฉบับจัดทำเป็นภาษาไทย
เอกสารที่ใช้ประกอบการซื้ออสังหาริมทรัพย์นั้นมีข้อแตกต่างอยู่บางประการระหว่างผู้ซื้อคนไทย ผู้ซื้อต่างชาติและผู้ซื้อนิติบุคคลต่างชาติ ซึ่งจะอธิบายแยกเป็น 3 กรณีตามลำดับ ดังต่อไปนี้

กรณีผู้ซื้อคนไทย ให้จัดเตรียมเอกสารประกอบการโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ตามรายการต่อไปนี้

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ซื้อ
  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ซื้อ
  • ในกรณีที่มีการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล ให้แนบเอกสารการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล
  • หากมีคู่สมรส ให้แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนคู่สมรส สำเนาทะเบียนบ้านคู่สมรส สำเนาใบจดทะเบียนสมรส และหนังสือยินยอมจากคู่สมรส
  • ถ้าเป็นการมอบอำนาจ ให้แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบอำนาจ และสำเนาทะเบียนบ้านผู้รับมอบอำนาจ

กรณีผู้ซื้อชาวต่างชาติ ให้จัดเตรียมเอกสารประกอบการโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ตามรายการต่อไปนี้

  • สำเนาหนังสือเดินทาง
  • หลักฐานการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ (ธ.ต.3)
  • สำเนาบัตรประจำตัวบุคคลต่างด้าว
  • สำเนาใบสำคัญแสดงถิ่นที่อยู่ (RESIDENCE PERMIT)
  • บัตรส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือเอกสารการได้รับการส่งเสริมการลงทุนของบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
  • หนังสือมอบอำนาจ (กรณีมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ

กรณีผู้ซื้อนิติบุคคลต่างชาติ ให้จัดเตรียมเอกสารประกอบการโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ตามรายการต่อไปนี้

  • หนังสือรับรองของนิติบุคคลต่างด้าว
  • หนังสือรับรองจากกระทรวงพาณิชย์
  • บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
  • รายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัท ระบุวัตถุประสงค์ในการซื้อและแหล่งที่มาของเงินที่ใช้ซื้อ
  • สำเนาหนังสือเดินทางของกรรมการผู้มีอำนาจ
  • หนังสือแสดงตัวอย่างลายมือชื่อกรรมการ
  • หนังสือรับรองรายการหนังสือรับรอง หนังสือมอบอำนาจ และลายมือชื่อกรรมการ
  • หลักฐานการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ (ธ.ต.3)
  • เอกสารการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
  • หนังสือมอบอำนาจ (กรณีมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ

คำแนะนำสำหรับผู้ซื้อในทุกๆ กรณี ก่อนเข้าไปติดต่อกรมที่ดิน มีดังนี้

การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นห้องชุดจะต้องมีใบปลอดภาระหนี้ซึ่งออกให้โดยนิติบุคคลของอาคารชุดแห่งนั้น
  • การมอบอำนาจเพื่อการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ให้ตรวจสอบว่าการลงชื่อของผู้มอบอำนาจเป็นลายมือชื่อที่เขียนเหมือนกัน
  • คนต่างชาติและนิติบุคคลต่างชาติสามารถถือครองกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ประเภทห้องชุดเท่านั้น ไม่มีสิทธิ์ซื้อที่ดินหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง
  • ควรตรวจสอบเอกสารการโอนกรรมสิทธิ์ที่ทนายความจัดเตรียมให้อย่างละเอียดถี่ถ้วนก่อนที่จะดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์
  • การซื้ออสังหาริมทรัพย์ผู้ซื้อต้องวางมัดจำเป็นจำนวน 10% ของราคาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเงินมัดจำนี้ผู้ซื้อจะไม่สามารถขอคืนได้ในทุกกรณี
  • การโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์จะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 30 -60 วัน
สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า

คำนวณยอดผ่อนต่อเดือน

คำนวณยอดผ่อนชำระต่อเดือนตามอัตราดอกเบี้ยของคุณด้วยเครื่องมือคำนวณสินเชื่อนี้

คำนวณวงเงินกู้สูงสุด

คำนวณสินเชื่อบ้าน ยอดวงเงินกู้บ้านใหม่ที่คาดว่าจะได้รับจากแบงก์และยอดผ่อนชำระในแต่ละเดือน

คำนวณสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน

เช็กยอดผ่อนชำระต่อเดือนอัตราใหม่และจำนวนเงินที่คุณสามารถประหยัดได้หลังจากการทำรีไฟแนนซ์