แบบอาคารพาณิชย์ หรือที่บางคนเรียกว่าตึกแถว เป็นหนึ่งในประเภทของบ้านที่ได้รับความนิยม พบเห็นได้โดยทั่วไป โดยเฉพาะในทำเลติดถนนใหญ่ ย่านธุรกิจ
โดยตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ได้กำหนดนิยามของอาคารพาณิชย์ คือ อาคารที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการพาณิชยกรรม หรือบริการธุรกิจ หรือ อุตสาหกรรมที่ใช้เครื่องจักรที่มีกำลังการผลิตเทียบได้น้อยกว่า 5 แรงม้า และให้หมายความรวมถึงอาคารอื่นใดที่ก่อสร้างห่าง จากถนนหรือทางสาธารณะไม่เกิน 20 เมตร ซึ่งอาจใช้เป็นอาคารเพื่อประโยชน์ในการพาณิชยกรรมได้ ในปัจจุบันแบบอาคารพาณิชย์จึงไม่ได้เป็นเพียงที่อยู่อาศัย แต่ยังใช้ประกอบธุรกิจค้าขายที่ได้รับความนิยม
แบบอาคารพาณิชย์มีกี่แบบ
1. อาคารพาณิชย์แบบเก่า
แบบอาคารพาณิชย์แบบเก่า หรือตึกแถวที่อยู่ริมถนน ก่อสร้างมานาน ส่วนใหญ่จะอยู่ติดถนนหรืออยู่ในชุมชน ซึ่งถือเป็นข้อดีของแบบอาคารพาณิชย์ลักษณะนี้ แต่ก็มีข้อด้อย ด้วยความที่สร้างมานาน ตัวอาคารค่อนข้างเก่า หากจะรีโนเวทอาจใช้งบค่อนข้างสูง
2. อาคารพาณิชย์แบบจัดสรร
ลักษณะจะเป็นโครงการอาคารพาณิชย์ หรือโฮมออฟฟิศที่จัดสรรเป็นโครงการใหญ่ ๆ ภายในโครงการจะมีแต่อาคารพาณิชย์ ซึ่งมีข้อดีคือ ดีไซน์สวย ทันสมัย แต่ด้อยคือทำเลที่ตั้งที่มักไม่อยู่ติดถนนใหญ่ ต้องขับรถเข้ามาในโครงการจึงจะมองเห็น
แบบอาคารพาณิชย์ที่ดีเป็นอย่างไร
ปัจจัย
|
รายละเอียด
|
ทำเล
|
คนพลุกพล่าน อยู่ในย่านชุมชน
|
ตัวอาคาร
|
ไม่อยู่ในจุดอับ ไม่มีอะไรมาบดบัง
|
ตำแหน่ง
|
ห้องมุม ใช้ประโยชน์ได้ทั้งด้านหน้าและด้านข้าง
|
ที่จอดรถ
|
มีที่จอดรถรองรับ
|
สภาพแวดล้อม
|
รายล้อมด้วยธุรกิจแนวโน้มปัง บรรยากาศคึกคัก
|
1. ทำเลดี
สำหรับใครที่วางแผนเปิดกิจการ ประกอบธุรกิจ ค้าขาย แน่นอนว่าทำเลย่อมเป็นปัจจัยอันดับ 1 ที่ต้องคำนึงถึง แบบอาคารพาณิชย์ที่ดี ควรตั้งอยู่ในทำเลทอง เป็นจุดสนใจ เข้าถึงง่าย และดึงดูดให้คนเข้ามาใช้บริการ ดังนั้นไม่ว่าจะสร้างแบบอาคารพาณิชย์เอง ซื้ออาคารพาณิชย์หรือเช่าอาคารพาณิชย์ ต้องเลือกทำเลที่มีคนพลุกพล่าน อยู่ในย่านชุมชน รวมถึงสภาพแวดล้อมรอบ ๆ อาคารพาณิชย์ยังต้องเอื้อต่อการเข้ามาใช้บริการ ไม่ใช่รอบ ๆ รายล้อมด้วยตึกร้าง ไม่น่าเดิน
2. ตัวอาคารไม่มีอะไรบดบัง
นอกจากทำเลดีแล้ว ตัวอาคารพาณิชย์เองก็ต้องดีด้วย ถ้ามีแบบอาคารพาณิชย์หลายแห่งที่ดู ๆ ไว้ อย่าลืมดูว่าอาคารพาณิชย์แห่งนั้น อยู่ในจุดอับหรือมีอะไรมาบดบังหรือไม่ เช่น ถ้ามีป้ายโฆษณา สะพาน หรือแม้แต่ป้ายรถเมล์ มาบังหน้าร้าน แนะนำให้กากบาททิ้งได้เลย แบบอาคารพาณิชย์ที่ดีจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่ดี ไม่อยู่ในจุดอับ ไม่มีอะไรมาบดบัง ดูโดดเด่นและมองเห็นได้ง่ายจึงจะเป็นที่สนใจ ยิ่งถ้าทำธุรกิจค้าขายด้วยแล้ว ยิ่งต้องเด่น
3. ตำแหน่งทองต้องห้องมุม
เลือกแบบอาคารพาณิชย์ที่ดี มีตำแหน่งของอาคารพาณิชย์ที่ควรรู้ นั่นคือตำแหน่งห้องมุม ซึ่งถือเป็นตำแหน่งที่ดีที่สุด หากคิดเปิดกิจการ ทำธุรกิจค้าขาย เพราะจะได้พื้นที่ใช้สอยที่ทำประโยชน์ได้มากกว่าอาคารพาณิชย์ทั่วไปที่มีแค่ด้านหน้าเพียงด้านเดียว
โดยตำแหน่งห้องมุมที่ว่านี้จะมีทั้งด้านหน้าและด้านข้าง หากขายของก็สามารถทำหน้าร้านเป็น 2 ฝั่งได้ แต่ต้องดูแบบอาคารพาณิชย์ดี ๆ ตำแหน่งห้องมุมต้องเป็นห้องมุมที่มี 2 ด้าน และต้องไม่ใช่ห้องริมสุดที่อยู่ติดรั้วโครงการ ซึ่งจะเป็นจุดอับมากกว่าตำแหน่งทอง
4. มีที่จอดรถรองรับ
อาคารพาณิชย์หลาย ๆ แห่งมีข้อจำกัดในเรื่องที่จอดรถ แม้ว่าแบบอาคารพาณิชย์นั้น ๆ จะตั้งอยู่ทำเลดี แต่ถ้าขับรถมาใช้บริการ ติดต่องาน ซื้อของแล้วไม่มีที่จอดรถ หรือไม่รู้ว่าจะไปจอดรถตรงไหน ก็ทำให้แบบอาคารพาณิชย์นั้น ๆ ถูกลดความน่าสนใจลง ไม่ว่าจะเปิดกิจการทำธุรกิจ ทำออฟฟิศสำนักงาน หรือค้าขาย ก็อาจจะไม่ปังปุริเย่อย่างที่คิดไว้ เพราะฉะนั้นที่จอดรถจึงเป็นอีกหัวใจสำคัญอีกอย่างของแบบอาคารพาณิชย์ที่ดีที่ต้องพิจารณา
5. สภาพแวดล้อมเกื้อหนุน
สภาพแวดล้อมของอาคารพาณิชย์ที่ตั้งอยู่ เช่น รายล้อมด้วยธุรกิจที่ดูเข้าท่าน่าจะปัง มีผู้มาใช้บริการ แวะเวียนมาติดต่อธุรกิจ ซื้อของกันรัว ๆ ไม่เว้นแต่ละวัน ช่วยเกื้อหนุนให้ธุรกิจหรือร้านของเรานั้นได้รับความสนใจไปด้วยได้หรือไม่ ซึ่งการจะรู้ว่าแบบอาคารพาณิชย์จะดีหรือไม่ดี ก็ต้องมีการลงพื้นที่ไปเซอร์เวย์ดูด้วยตัวเองว่า สภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัวอาคารนั้นเป็นอย่างไร เปิดธุรกิจอะไรกันบ้าง บรรยากาศคึกคักหรือเงียบเหงา สามารถจะช่วยเกื้อหนุนกันได้หรือไม่ประกอบกันด้วย
ข้อดีของแบบอาคารพาณิชย์
- เป็นแหล่งทำมาหากิน สถานที่ทำการค้าหรือธุรกิจ และสามารถใช้เป็นที่อยู่อาศัยได้
- เป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนในระยะยาว ไม่ว่าจะประกอบกิจการร้านค้าเองหรือปล่อยให้เช่า
- อัตราการปล่อยให้เช่าได้ในราคาที่สูงกว่าอัตราค่าเช่าของที่อยู่อาศัย
- สามารถปรับราคาค่าเช่าให้สูงขึ้นได้ตามสภาวะเศรษฐกิจและทำเลที่ตั้ง ส่วนใหญ่อยู่ในย่านธุรกิจ
- ถ้าทำเลที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง มีลักษณะโดดเด่นกว่าแบบอาคารพาณิชย์หลังอื่น ๆ สามารถตั้งราคาให้สูงขึ้นได้
ข้อด้อยของแบบอาคารพาณิชย์
- ใช้เงินลงทุนสูง เนื่องจากแบบอาคารพาณิชย์การรวมค่าทำเลที่ดินเข้าไปด้วย
- การสร้าง ซื้อ หรือเช่า ต้องศึกษาและวิเคราะห์อย่างรอบด้าน เพราะการลงทุนแบบอาคารพาณิชย์ใช้เงินลงทุนสูง
- แบบอาคารพาณิชย์ ส่วนใหญ่มีพื้นที่จำกัด การปรับปรุงหรือขยับขยายเป็นไปได้ยาก
- หากใช้อยู่อาศัย อาจมีความเป็นส่วนตัวน้อย หากแบบอาคารพาณิชย์ตั้งอยู่ในย่านที่มีคนพลุกพล่าน
- ไม่มีที่จอดรถยนต์ส่วนตัว
แจกฟรี แบบอาคารพาณิชย์ จากกรมโยธาฯ
สำหรับใครที่มองหาแบบอาคารพาณิชย์เพื่อปลูกสร้าง กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย จัดทำแบบอาคารพาณิชย์ หรือ ตึกแถวไทยอนุรักษ์ไทย ในโครงการแบบบ้านเพื่อประชาชน โดยประชาชนทั่วไปสามารถไปขอรับแบบได้ฟรี ไม่มีข้อจำกัด เหมาะกับการอยู่อาศัย ทำธุรกิจ หรือค้าขาย ทั้งหมด 12 แบบ ดังนี้

1. ตึกแถวไทยอนุรักษ์ไทย ภาคกลาง 1
แบบอาคารพาณิชย์ ตึกแถวสูง 2 ชั้น 4 ห้องแถว พื้นที่ใช้สอย 605.60 ตารางเมตร ขนาดพื้นที่ดิน 20 ตารางวา งบประมาณค่ารากฐานแผ่ 4,399,000 บาท งบประมาณค่าตอกเสาเข็ม 4,423,000 บาท

2. ตึกแถวไทยอนุรักษ์ไทย ภาคกลาง 2
แบบอาคารพาณิชย์ ตึกแถวสูง 3 ชั้น 4 ห้องแถว พื้นที่ใช้สอย 810.40 ตารางเมตร ขนาดพื้นที่ดิน 20 ตารางวา งบประมาณค่ารากฐานแผ่ 4,910,000 บาท งบประมาณค่าตอกเสาเข็ม 5,362,000 บาท

3. ตึกแถวไทยอนุรักษ์ไทย ภาคกลาง 3
แบบอาคารพาณิชย์ ตึกแถวสูง 4 ชั้น 4 ห้องแถว พื้นที่ใช้สอย 1015.20 ตารางเมตร ขนาดพื้นที่ดิน 20 ตารางวา งบประมาณค่ารากฐานแผ่ 5,719,000 บาท งบประมาณค่าตอกเสาเข็ม 5,942,000 บาท

4. ตึกแถวไทยอนุรักษ์ไทย ภาคอิสาน 1
แบบอาคารพาณิชย์ ตึกแถวสูง 2 ชั้น 4 ห้องแถว พื้นที่ใช้สอย 605.60 ตารางเมตร ขนาดพื้นที่ดิน 20 ตารางวา งบประมาณค่ารากฐานแผ่ 4,357,000 บาท งบประมาณค่าตอกเสาเข็ม 4,433,000 บาท

5. ตึกแถวไทยอนุรักษ์ไทย ภาคอิสาน 2
แบบอาคารพาณิชย์ ตึกแถวสูง 3 ชั้น 4 ห้องแถว พื้นที่ใช้สอย 810.40 ตารางเมตร ขนาดพื้นที่ดิน 20 ตารางวา งบประมาณค่ารากฐานแผ่ 5,041,000 บาท งบประมาณค่าตอกเสาเข็ม 5,491,000 บาท

6. ตึกแถวไทยอนุรักษ์ไทย ภาคอิสาน 3
แบบอาคารพาณิชย์ ตึกแถวสูง 4 ชั้น 4 ห้องแถว พื้นที่ใช้สอย 1015.20 ตารางเมตร ขนาดพื้นที่ดิน 20 ตารางวา งบประมาณค่ารากฐานแผ่ 5,909,000 บาท งบประมาณค่าตอกเสาเข็ม 6,130,000 บาท

7. ตึกแถวไทยอนุรักษ์ไทย ภาคใต้ 1
แบบอาคารพาณิชย์ ตึกแถวสูง 2 ชั้น 4 ห้องแถว พื้นที่ใช้สอย 605.60 ตารางเมตร ขนาดพื้นที่ดิน 20 ตารางวา งบประมาณค่ารากฐานแผ่ 4,483,000 บาท งบประมาณค่าตอกเสาเข็ม 4,485,000 บาท

8. ตึกแถวไทยอนุรักษ์ไทย ภาคใต้ 2
แบบอาคารพาณิชย์ ตึกแถวสูง 3 ชั้น 4 ห้องแถว พื้นที่ใช้สอย 810.40 ตารางเมตร ขนาดพื้นที่ดิน 20 ตารางวา งบประมาณค่ารากฐานแผ่ 5,069,000 บาท งบประมาณค่าตอกเสาเข็ม 5,544,000 บาท

9. ตึกแถวไทยอนุรักษ์ไทย ภาคใต้ 3
แบบอาคารพาณิชย์ ตึกแถวสูง 4 ชั้น 4 ห้องแถว พื้นที่ใช้สอย 1015.20 ตารางเมตร ขนาดพื้นที่ดิน 20 ตารางวา งบประมาณค่ารากฐานแผ่ 5,962,000 บาท งบประมาณค่าตอกเสาเข็ม 6,183,000 บาท

10. ตึกแถวไทยอนุรักษ์ไทย ภาคเหนือ 1
แบบอาคารพาณิชย์ ตึกแถวสูง 2 ชั้น 4 ห้องแถว พื้นที่ใช้สอย 605.60 ตารางเมตร ขนาดพื้นที่ดิน 20 ตารางวา งบประมาณค่ารากฐานแผ่ 4,421,000 บาท งบประมาณค่าตอกเสาเข็ม 4,444,000 บาท

11. ตึกแถวไทยอนุรักษ์ไทย ภาคเหนือ 2
แบบอาคารพาณิชย์ ตึกแถวสูง 3 ชั้น 4 ห้องแถว พื้นที่ใช้สอย 780.40 ตารางเมตร ขนาดพื้นที่ดิน 20 ตารางวา งบประมาณค่ารากฐานแผ่ 5,025,000 บาท งบประมาณค่าตอกเสาเข็ม 5,466,000 บาท

12. ตึกแถวไทยอนุรักษ์ไทย ภาคเหนือ 3
แบบอาคารพาณิชย์ ตึกแถวสูง 4 ชั้น 4 ห้องแถว พื้นที่ใช้สอย 1015.20 ตารางเมตร ขนาดพื้นที่ดิน 20 ตารางวา งบประมาณค่ารากฐานแผ่ 5,904,000 บาท งบประมาณค่าตอกเสาเข็ม 6,125,000 บาท
สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลทั่วไปเท่านั้น DDproperty by PropertyGuru ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท ออลพร็อพเพอร์ตี้ มีเดีย จำกัด ไม่สามารถรับรองหรือรับประกันเกี่ยวกับข้อมูล รวมทั้งไม่สามารถรับรองหรือรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับความเหมาะสม สำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะใด ๆ ของข้อมูล ตามขอบเขตสูงสุดที่กฎหมายอนุญาต แม้ว่าเราได้พยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ถูกต้อง เชื่อถือได้ และครบถ้วน ณ เวลาที่เขียน แต่ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ไม่ควรนำไปใช้ในการตัดสินใจทางการเงิน, การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือทางกฎหมายทันที ผู้อ่านไม่ควรใช้ข้อมูลในบทความ แทนคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมซึ่งสามารถพิจารณาข้อเท็จจริงและสถานการณ์ส่วนตัวของคุณได้ ทั้งนี้ เราไม่สามารถรับผิดชอบใด ๆ หากคุณเลือกที่จะนำข้อมูลไปใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ