6 แบบโถสุขภัณฑ์ เลือกยังไงให้ตอบโจทย์การใช้ชีวิต

DDproperty Editorial Team
6 แบบโถสุขภัณฑ์ เลือกยังไงให้ตอบโจทย์การใช้ชีวิต
การเลือกโถสุขภัณฑ์นอกจากจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอย ขนาดที่เหมาะสมกับผู้ใช้งานแล้ว รูปแบบหรือดีไซน์ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจก่อนที่จะเลือกซื้อโถสุขภัณฑ์เพื่อให้ได้โถสุขภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ทุกการใช้งานและตรงกับไลฟ์สไตล์ของเจ้าของบ้านหรือเข้ากับการตกแต่งตัวบ้าน มาดูกันว่ามีโถสุขภัณฑ์แบบไหนบ้างที่ตอบโจทย์ในความเป็นตัวเรามากที่สุด
sportlight

1. โถสุขภัณฑ์แบบชิ้นเดียว (One Piece WC)

โถสุขภัณฑ์แบบชิ้นเดียวเป็นโถสุขภัณฑ์ที่รวมถังพักน้ำและตัวโถสุขภัณฑ์ไว้ด้วยกันทำให้ไม่มีรอยต่อระหว่างชิ้นงาน เป็นโถสุขภัณฑ์ที่มีถังพักน้ำแบบฟลัชแทงค์โดยจะเก็บน้ำไว้ที่ถังพักน้ำด้านหลัง ติดตั้งระบบท่อน้ำทิ้งลงพื้น S-Trap โดยมีระยะห่างระหว่างท่อน้ำทิ้งและผนังอยู่ที่ประมาณ 30.5 เซนติเมตร

โถสุขภัณฑ์แบบชิ้นเดียว (One Piece WC) เหมาะกับใคร

โถสุขภัณฑ์แบบชิ้นเดียวเหมาะกับคนที่ชอบโถสุขภัณฑ์ที่มีดีไซน์ให้เลือกหลากหลาย มีลักษณะเรียบหรูจำนวนอุปกรณ์น้อยชิ้นไม่เทอะทะ นอกจากนี้โถสุขภัณฑ์แบบชิ้นเดียวยังเหมาะกับการนำไปใช้ตามโรงแรมขนาดเล็ก ร้านอาหาร หรืออาคารขนาดเล็กต่างๆ ด้วย

ข้อดีของโถสุขภัณฑ์แบบชิ้นเดียว (One Piece WC)

  • เป็นโถสุขภัณฑ์ที่มีเสียงระบบการทำงานค่อนข้างเงียบ
  • โถสุขภัณฑ์แบบชิ้นเดียวจะติดตั้งง่ายและไม่มีปัญหาเรื่องน้ำรั่วซึม ทำความสะอาดตัวโถสุขภัณฑ์ได้ง่ายกว่าโถสุขภัณฑ์แบบ 2 ชิ้น
  • เป็นโถสุขภัณฑ์ที่รูปทรงสวยงามมีดีไซน์ให้เลือกหลากหลาย

ข้อด้อยของโถสุขภัณฑ์แบบชิ้นเดียว (One Piece WC)

  • โถสุขภัณฑ์แบบชิ้นเดียวจะราคาสูงกว่าโถสุขภัณฑ์แบบ 2 ชิ้น
  • หากโถสุขภัณฑ์แบบชิ้นเดียวมีการชำรุดเสียหายอาจต้องเปลี่ยนโถสุขภัณฑ์ใหม่ทั้งใบ

2. โถสุขภัณฑ์แบบ 2 ชิ้น (Two Piece WC)

โถสุขภัณฑ์แบบ 2 ชิ้น เป็นโถสุขภัณฑ์ที่มีถังพักน้ำแบบฟลัชแทงค์โดยจะเก็บน้ำไว้ที่ถังพักน้ำด้านหลังเช่นเดียวกันกับโถสุขภัณฑ์แบบชิ้นเดียว แต่ถังพักน้ำของโถสุขภัณฑ์แบบ 2 ชิ้นจะแยกออกจากตัวโถสุขภัณฑ์ทำให้โถสุขภัณฑ์ชนิดนี้ถูกแบ่งเป็น 2 ชิ้น คือ ส่วนที่เป็นโถสุขภัณฑ์กับถังพักน้ำ โถสุขภัณฑ์แบบ 2 ชิ้นจะมีการต่อท่อน้ำทิ้งได้ 2 แบบ คือ การต่อลงพื้น S-Trap และการต่อออกผนัง T-Trap

โถสุขภัณฑ์แบบ 2 ชิ้น (Two Piece WC) เหมาะกับใคร

โถสุขภัณฑ์แบบ 2 ชิ้นเหมาะกับคนที่กำลังมองหาโถสุขภัณฑ์ที่เรียบง่ายราคาสบายกระเป๋า ดีไซน์เป็นมาตรฐาน นอกจากนี้โถสุขภัณฑ์แบบ 2 ชิ้นยังเหมาะกับการนำไปใช้ตามโรงแรมขนาดเล็ก ร้านอาหาร หรืออาคารขนาดเล็กต่าง ๆ ด้วย

ข้อดีของโถสุขภัณฑ์แบบ 2 ชิ้น (Two Piece WC)

  • โถสุขภัณฑ์แบบ 2 ชิ้นราคาถูกกว่าโถสุขภัณฑ์แบบชิ้นเดียว
  • ติดตั้งค่อนข้างง่าย แต่อาจมีขั้นตอนมากกว่าโถสุขภัณฑ์แบบชิ้นเดียว
  • หากชิ้นส่วนของโถสุขภัณฑ์แบบ 2 ชิ้นเสียหายสามารถเปลี่ยนเฉพาะชิ้นส่วนได้

ข้อด้อยของโถสุขภัณฑ์แบบ 2 ชิ้น (Two Piece WC)

  • โถสุขภัณฑ์แบบ 2 ชิ้นมีขั้นตอนการติดตั้งที่ยุ่งยากกว่าโถสุขภัณฑ์แบบชิ้นเดียว
  • โถสุขภัณฑ์แบบ 2 ชิ้นทำความสะอาดได้ยากกว่าโถสุขภัณฑ์แบบชิ้นเดียวและอาจมีปัญหาเกี่ยวกับสิ่งสกปรกที่ตกค้างอยู่ในบริเวณรอยต่อของโถสุขภัณฑ์
  • เมื่อโถสุขภัณฑ์แบบ 2 ชิ้นผ่านการใช้งานมานานอาจเกิดปัญหาน้ำรั่วซึมบริเวณรอยต่อได้
โถสุขภัณฑ์มีให้เลือกหลายแบบ

3. โถสุขภัณฑ์แบบแขวนผนัง (Wall-Mounted WC)

โถสุขภัณฑ์แบบแขวนผนังจะประกอบไปด้วยตัวโถสุขภัณฑ์ ถังพักน้ำแบบซ่อนผนังและมือกด โถสุขภัณฑ์แบบแขวนผนังจะมีระบบท่อน้ำแบบออกผนัง T-Trap โดยระบบท่อน้ำและถังพักน้ำของโถสุขภัณฑ์แบบแขวนผนังจะถูกยึดไว้กับโครงเหล็กที่ยึดติดกำแพงก่อนที่จะปิดพื้นผิวหน้างาน ทำให้รูปลักษณ์ของโถสุขภัณฑ์แบบแขวนผนังเพียงแค่มือกดและตัวโถสุขภัณฑ์เท่านั้น

โถสุขภัณฑ์แบบแขวนผนัง (Wall-Mounted WC) เหมาะกับใคร

โถสุขภัณฑ์แบบแขวนผนังเหมาะกับคนที่มี่พื้นที่ใช้สอยในห้องน้ำค่อนข้างจำกัดแต่ต้องการโถสุขภัณฑ์ที่หรูหราดีไซน์ล้ำสมัยดูโดดเด่น นอกจากนี้โถสุขภัณฑ์แบบแขวนผนังยังเมหาะกับห้องในคอนโดมเนียม โรงแรมอีกด้วยเนื่องจากมีการติดตั้งระบบท่อแบบออกจากผนังจึงช่วยลดปัญหารั่วซึมไปยังห้องด้านล่างได้

ข้อดีของโถสุขภัณฑ์แบบแขวนผนัง (Wall-Mounted WC)

  • โถสุขภัณฑ์ทำความสะอาดง่าย รวมไปถึงการทำความสะอาดพื้นห้องน้ำบริเวณโถสุขภัณฑ์ก็ทำได้ง่ายเช่นกัน
  • ประหยัดพื้นที่ใช้งาน
  • โถสุขภัณฑ์มีการออกแบบที่สวยงาม
  • โถสุขภัณฑ์แบบแขวนผนังสามารถช่วยลดปัญหาการรั่วซึมลงพื้นด้านล่างได้

ข้อด้อยของโถสุขภัณฑ์แบบแขวนผนัง (Wall-Mounted WC)

  • โถสุขภัณฑ์แบบแขวนผนังราคาสูง
  • พื้นที่ในการติดตั้งโถสุขภัณฑ์แบบแขวนผนังต้องเหมาะสมอาจต้องมีวิศวกรหรือผู้เชี่ยวชาญมาออกแบบการติดตั้งเพื่อให้สามารถรับน้ำหนักโถสุขภัณฑ์และการใช้งานต่างๆ ได้

4. โถสุขภัณฑ์แบบตั้งพื้น (Floor-Standing WC)

โถสุขภัณฑ์แบบตั้งพื้นจะประกอบไปด้วยตัวโถสุขภัณฑ์ที่เป็นแบบตั้งพื้น ถังพักน้ำแบบซ่อนผนัง และมือกด โดยระบบท่อน้ำและถังพักน้ำของโถสุขภัณฑ์แบบตั้งพื้นจะถูกยึดไว้กับโครงเหล็กที่ยึดติดกำแพงก่อนที่จะปิดพื้นผิวหน้างานคล้ายกับโถสุขภัณฑ์แบบแขวนผนัง แต่ระบบท่อน้ำของโถสุขภัณฑ์แบบตั้งพื้นจะสามารถเลือกได้ว่าจะเป็นแบบออกผนัง (P-Trap) หรือแบบลงพื้น (S-Trap)

โถสุขภัณฑ์แบบตั้งพื้น (Floor-Standing WC) เหมาะกับใคร

โถสุขภัณฑ์แบบตั้งพื้นเป็นโถสุขภัณฑ์ที่คนนิยมใช้ค่อนข้างมากในครัวเรือน เนื่องจากมีดีไซน์ให้เลือกหลากหลาย จึงเหมาะกับคนที่ต้องการโถสุขภัณฑ์ที่หาซื้อง่าย ราคาประหยัด ดีไซน์สวยงามตามมาตรฐาน

ข้อดีของโถสุขภัณฑ์แบบตั้งพื้น (Floor-Standing WC)

  • โถสุขภัณฑ์แบบตั้งพื้นสามารถหาซื้อได้ง่าย ราคาประหยัด
  • โถสุขภัณฑ์แบบตั้งพื้นใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อยแต่ประโยชน์ใช้สอยคุ้มค่า
  • โถสุขภัณฑ์แบบตั้งพื้นสามารถซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอะไหล่บางชิ้นส่วนได้

ข้อด้อยของโถสุขภัณฑ์แบบตั้งพื้น (Floor-Standing WC)

  • โถสุขภัณฑ์แบบตั้งพื้นอาจมีการรั่วซึมจากการติดตั้งเกิดขึ้นได้
  • ควรเตรียมช่องหรือประตูไว้เปิด-ปิดถังพักน้ำหากต้องมีการบำรุงหรือดูแลรักษา
การเลือกโถสุขภัณฑ์ให้เหมาะสมกับการใช้งานคือสิ่งสำคัญ

5. โถสุขภัณฑ์แบบฟลัชวาล์ว (Flush Valve WC)

โถสุขภัณฑ์แบบฟลัชวาล์วจะประกอบไปด้วยตัวโถสุขภัณฑ์และชุดฟลัชมือกด ไม่มีหม้อพักน้ำ โถสุขภัณฑ์แบบฟลัชวาล์วจะใช้แรงดันน้ำและการจ่ายน้ำผ่านเส้นท่อประปาโดยตรง เเรงดันน้ำอย่างต่ำเพื่อให้การชำระล้างมีประสิทธิภาพ เเละไม่รั่วซึม สำหรับโถสุขภัณฑ์ คือ 20 ปอน์ดต่อตารางนิ้ว

โถสุขภัณฑ์แบบฟลัชวาล์ว (Flush Valve WC) เหมาะกับใคร

โถสุขภัณฑ์แบบฟลัชวาล์วจะเหมาะสำหรับการใช้งานในอาคารสาธารณะ โรงแรม ห้างสรรพสินค้า โรงเรียน ที่ชุมนุมชนต่าง ๆ หรือที่ที่มีเครื่องปั๊มน้ำขนาดใหญ่ เป็นต้น

ข้อดีโถสุขภัณฑ์แบบฟลัชวาล์ว (Flush Valve WC)

  • ไม่ต้องรอน้ำเต็มแทงค์สามารถกดชำระได้ต่อเนื่อง

ข้อด้อยโถสุขภัณฑ์แบบฟลัชวาล์ว (Flush Valve WC)

  • การติดตั้งโถสุขภัณฑ์แบบฟลัชวาล์วจะต้องติดตั้งในพื้นที่ที่มีแรงดันน้ำที่เหมาะสมในการใช้งานและชำระล้าง
  • โถสุขภัณฑ์แบบฟลัชวาล์วสามารถนำมาใช้งานได้ค่อนข้างจำกัดเนื่องจากเหมาะกับการนำไปติดตั้งในพื้นที่สาธารณะมากกว่านำมาใช้ในบ้าน

6. โถสุขภัณฑ์แบบราดน้ำ

โถสุขภัณฑ์แบบราดน้ำจะมีทั้งตัวโถสุขภัณฑ์ที่เป็นแบบนั่งยองและตัวโถสุขภัณฑ์แบบนั่งราบ บ่อพักน้ำจะเป็นภาชนะที่นำมาเสริมไม่ได้ติดมากับตัวโถสุขภัณฑ์ การใช้งานคือการใช้ภาชนะตักน้ำจากบ่อพักน้ำมาราดลงในโถสุขภัณฑ์

โถสุขภัณฑ์แบบราดน้ำเหมาะกับใคร

โถสุขภัณฑ์แบบราดน้ำเหมาะกับคนที่ต้องการประหยัดต้นทุน และไม่ห่วงเรื่องการดีไซน์มากนัก ต้องการโถสุขภัณฑ์ที่ใช้งานง่ายไม่ยุ่งยาก
อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้โถสุขภัณฑ์แบบราดน้ำ หรือส้วมซึมที่นิยมเรียกกันอาจไม่เหมาะกับบ้านที่มีผู้สูงอายุ คนท้อง หรือคนอ้วน ซึ่งปัจจุบันมีการแนะนำให้เปลี่ยนมาใช้โถสุขภัณฑ์แบบนั่งราบมากขึ้นตามแผนแม่บทพัฒนาส้วมสาธารณะไทย

ข้อดีโถสุขภัณฑ์โถสุขภัณฑ์แบบราดน้ำ

  • ราคาไม่แพง ติดตั้งและดูแลรักษาง่าย
  • สามราถควบคุมปริมาณน้ำที่ใช้ในการใช้งานโถสุขภัณฑ์แต่ละครั้งได้ด้วยตนเอง

ข้อด้อยโถสุขภัณฑ์แบบราดน้ำ

  • การใช้น้ำตักราดอาจทำให้ห้องน้ำเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา
  • ผู้สูงอายุใช้งานลำบาก ความสะดวกสบายในการใช้งานน้อยกว่าโถสุขภัณฑ์แบบอื่น

สรุปข้อดี-ข้อด้อยของโถสุขภัณฑ์แต่ละประเภท

โถสุขภัณฑ์แบบชิ้นเดียว
เสียงเงียบ, ติดตั้งง่าย, ไม่มีปัญหาน้ำรั่วซึม
ราคาสูง, หากชำรุดต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งใบ
โถสุขภัณฑ์แบบ 2 ชิ้น
ราคาไม่แพง, ติดตั้งง่าย, เปลี่ยนเฉพาะส่วนได้
ทำความสะอาดยาก, อาจมีปัญหาน้ำรั่วซึม
โถสุขภัณฑ์แบบแขวนผนัง
ทำความสะอาดง่าย, ประหยัดพื้นที่, ลดปัญหารั่วซึม
ราคาสูง, ติดตั้งยาก
โถสุขภัณฑ์แบบตั้งพื้น
ซื้อง่าย, ราคาไม่แพง, ซ่อมแซมและเปลี่ยนอะไหล่ง่าย
อาจมีปัญหาน้ำรั่วซึม
โถสุขภัณฑ์แบบฟลัชวาล์ว
กดชำระได้ต่อเนื่อง
ต้องมีแรงดันน้ำเหมาะสม
โถสุขภัณฑ์แบบราดน้ำ
ราคาไม่แพง, ติดตั้งง่าย, ดูแลรักษาง่าย
อาจทำให้ห้องน้ำเปียกอยู่ตลอดเวลา, ผู้สูงอายุใช้งานลำบาก
การศึกษาข้อมูลโถสุขภัณฑ์ก่อนเลือกซื้อนอกจากจะตอบโจทย์การใช้งานแล้วยังช่วยให้สามารถเลือกดีไซน์โถสุขภัณฑ์ที่ถูกใจเข้ากับสไตล์ของบ้านได้ในราคาที่คุ้มค่าอีกด้วย
สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลทั่วไปเท่านั้น DDproperty by PropertyGuru ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท ออลพร็อพเพอร์ตี้ มีเดีย จำกัด ไม่สามารถรับรองหรือรับประกันเกี่ยวกับข้อมูล รวมทั้งไม่สามารถรับรองหรือรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับความเหมาะสม สำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะใด ๆ ของข้อมูล ตามขอบเขตสูงสุดที่กฎหมายอนุญาต แม้ว่าเราได้พยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ถูกต้อง เชื่อถือได้ และครบถ้วน ณ เวลาที่เขียน แต่ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ไม่ควรนำไปใช้ในการตัดสินใจทางการเงิน, การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือทางกฎหมายทันที ผู้อ่านไม่ควรใช้ข้อมูลในบทความ แทนคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมซึ่งสามารถพิจารณาข้อเท็จจริงและสถานการณ์ส่วนตัวของคุณได้ ทั้งนี้ เราไม่สามารถรับผิดชอบใด ๆ หากคุณเลือกที่จะนำข้อมูลไปใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ

คำนวณยอดผ่อนต่อเดือนตามระยะเวลากู้

เพียงใส่ยอดเงินกู้ที่คุณต้องการ เราจะคำนวณให้คุณเห็นถึงยอดผ่อนชำระต่อเดือนตามระยะเวลาผ่อนและอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกัน

คำนวณยอดผ่อนต่อเดือน

คำนวณยอดผ่อนชำระต่อเดือนตามอัตราดอกเบี้ยของคุณด้วยเครื่องมือคำนวณสินเชื่อนี้

คำนวณวงเงินกู้สูงสุด

คำนวณสินเชื่อบ้าน ยอดวงเงินกู้บ้านใหม่ที่คาดว่าจะได้รับจากแบงก์และยอดผ่อนชำระในแต่ละเดือน