หนังสือมอบอำนาจที่ดิน (ท.ด.21) กับ 7 ข้อควรระวัง ก่อนซื้อ-ขาย-โอน

DDproperty Editorial Team
หนังสือมอบอำนาจที่ดิน (ท.ด.21) กับ 7 ข้อควรระวัง ก่อนซื้อ-ขาย-โอน
หนังสือมอบอำนาจที่ดิน (ท.ด.21) ถือเป็นสิ่งที่ตอบรับกับการใช้ชีวิตของคนยุคใหม่ โดยเฉพาะคนเมือง ดูเร่งรีบไปเสียหมด ขั้นตอนการทำธุรกรรมหลายอย่างจึงต้องเน้นความง่าย สะดวกสบาย และปลอดภัย ไม่เว้นแม้แต่กระทั่งการซื้อขายที่ดิน ที่กฎหมายระบุให้สามารถใช้ตัวแทนเพื่อดำเนินการแทนเจ้าของที่ดินได้เสมือนกับเจ้าของมาด้วยตนเอง
แต่การมอบอำนาจให้ทำแทนในเรื่องสำคัญและมีมูลค่ามากอย่างที่ดินนี้ต้องเป็นไปอย่างรอบคอบ ผู้ขายและนักลงทุนจึงควรทราบข้อมูลสำคัญ ข้อควรระวัง และวิธีทำหนังสือมอบอำนาจที่ดินอย่างถูกต้อง ชัดเจน และครบถ้วน
อ่านหัวข้อที่คุณสนใจ

ข้อมูลควรรู้เกี่ยวกับหนังสือมอบอำนาจที่ดิน

ใบมอบอำนาจที่ดิน หรือรู้จักกันอีกชื่อว่า หนังสือมอบอำนาจที่ดิน (ท.ด.21) คือ เอกสารสำคัญที่เจ้าของที่ดินร่างขึ้นมาเพื่อมอบให้กับผู้แทนที่จะไปดำเนินการเรื่องการซื้อ ขาย โอนให้ โดยการมอบอำนาจโอนที่ดินจะทำให้ผู้แทนมีสิทธิ์และอำนาจเสมือนกับเจ้าของไปดำเนินการด้วยตนเอง
หนังสือมอบอำนาจที่ดิน มี 2 แบบ คือ สำหรับที่ดินที่มีโฉนด และสำหรับที่ดินที่ยังไม่มีโฉนด ซึ่งหากจะใช้กระดาษอื่นในการร่างหนังสือมอบอำนาจที่ดิน ก็อนุโลมให้สามารถทำได้ เพียงแต่ต้องยึดตามแบบของกรมที่ดิน เพื่อรายละเอียดที่ชัดเจนและถูกต้อง

ข้อควรระวังในการทำหนังสือมอบอำนาจที่ดิน

ใบมอบอำนาจที่ดิน (ท.ด.21) ให้ความสะดวกสบายกับเจ้าของที่ดินก็จริงอยู่ แต่เนื่องจากเป็นเอกสารที่มอบสิทธิ์และอำนาจให้ตัวแทนทำธุรกรรมแทนตนเองได้อย่างเต็มที่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาด เจ้าของที่ดินจึงควรรู้จักข้อควรระวังในการทำหนังสือมอบอำนาจที่ดินให้ครบถ้วน ดังนี้
1. ให้กรอกเครื่องหมายหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เช่น ตึก บ้านเรือน โรง ให้ชัดเจน
2. ให้ระบุเรื่องและอำนาจจัดการให้ชัดเจนว่า มอบอำนาจให้ทำอะไร เช่น ซื้อขาย จำนอง ฯลฯ ถ้ามีเงื่อนไขพิเศษเพิ่มเติมก็ให้ระบุไว้ด้วย
3. อย่ากรอกข้อความให้ต่างลายมือและใช้น้ำหมึกต่างสีกัน ถ้าใช้เครื่องพิมพ์ดีดก็ต้องเป็นเครื่องเดียวกัน
4. ถ้ามีการขูดลบ ตกเติม แก้ไข ขีดฆ่า ให้ระบุว่า ขีดฆ่าตกเติมกี่คำ และผู้มอบอำนาจต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้ด้วยทุกแห่ง
5. ก่อนกรอกหรือพิมพ์ข้อความครบถ้วน อย่าลงลายมือชื่อผู้มอบอำนาจเพื่อยืนยันว่าถูกต้องตามความประสงค์แล้ว หรืออย่าลงชื่อในกระดาษเปล่าซึ่งยังมิได้กรอกข้อความเป็นอันขาด
6. ให้มีพยานอย่างน้อย 1 คน ถ้าผู้มอบอำนาจพิมพ์ลายนิ้วมือ ต้องมีพยาน 2 คน โดยพยานต้องเซ็นชื่อ จะพิมพ์ลายนิ้วมือไม่ได้ ถ้าภรรยาเป็นผู้รับมอบอำนาจต้องให้สามีลงชื่อเป็นพยานและให้บันทึกความยินยอมเป็นหนังสือด้วย
7. สำหรับหนังสือมอบอำนาจที่ดินที่ทำในต่างประเทศ ควรให้สถานทูตหรือสถานกงสุลหรือ Notary Public (อ่านว่า โนตารีปับลิก หมายถึง เจ้าพนักงานที่มีหน้าที่รับสาบานและรับรองเอกสารบางอย่างโดยการลงลายมือชื่อและประทับตรา เพื่อให้เอกสารมีความน่าเชื่อถือและใช้ยืนยันในต่างประเทศได้) รับรองเอกสารด้วย
ข้อควรระวังรายละเอียดในหนังสือมอบอำนาจที่ดิน
ความชัดเจนระบุเรื่องและอำนาจจัดการให้ชัดเจน เช่น ซื้อขาย จำนอง ฯลฯ
ความถูกต้องหากมีการแก้ไข ขูดลบ ขีดฆ่า ต้องลงลายมือชื่อกำกับทุกแห่ง
ความครบถ้วนกรอกหรือพิมพ์ข้อความให้ครบถ้วน ก่อนลงลายมือชื่อ
ทั้งนี้ มาตรา 805 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดให้มีบางเรื่อง ซึ่งผู้มอบอำนาจเป็นผู้รับมอบอำนาจได้จากทั้งสองฝ่าย คือ เป็นตัวแทนทั้งฝ่ายผู้โอนและผู้รับโอน ในกรณีเช่นนี้ ผู้มอบอำนาจจะต้องระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจด้วยว่า ยินยอมให้ผู้รับมอบเป็นผู้แทนอีกฝ่ายหนึ่งได้ด้วย

เทมเพลตและตัวอย่างแบบฟอร์มหนังสือมอบอำนาจ กรมที่ดิน สำหรับดาวน์โหลด

กรมที่ดินอนุโลมให้สามารถร่างหนังสือมอบอำนาจที่ดินด้วยตนเองได้ แต่ต้องยึดตามแบบพิมพ์ที่กำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม เพื่อความรวดเร็วและความถูกต้องของเอกสาร กรมที่ดินจึงได้ออกแบบฟอร์มให้บุคคลทั่วไปสามารถดาวน์โหลดเพื่อนำไปกรอกข้อมูลได้อย่างง่ายดาย โดยสามารถดาวน์โหลดเอกสารทั้งหมดรวมทั้งตัวอย่างเอกสารหนังสือมอบอำนาจที่ดินได้จากลิงก์ด้านล่างนี้
ตรวจสอบหนังสือมอบอำนาจที่ดินก่อนลงลายมือชื่อ

การกรอกแบบฟอร์มหนังสือมอบอำนาจที่ดินสำหรับการซื้อขาย

มี 2 ส่วนในแบบฟอร์มหนังสือมอบอำนาจที่ดิน คือ “เรื่อง” และ “เป็นผู้มีอำนาจจัดการ” ที่ผู้ทำหนังสือต้องกรอกให้เข้ากับการมอบอำนาจในการจัดการธุรกรรมของแต่ละบุคคล โดยรูปแบบในการกรอกนั้นมี 3 แบบคือ
  • การซื้อหรือการขายเฉพาะที่ดินที่ไม่มีสิ่งปลูกสร้าง
  • การซื้อหรือการขายที่ดินพร้อมกับสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดที่ตั้งอยู่บนที่ดิน
  • การซื้อหรือการขายที่ดินอย่างเดียวโดยไม่รวมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดิน

ตัวอย่างการกรอกแบบฟอร์มใบมอบอำนาจที่ดินมีดังนี้

หลังจากเรียนรู้เรื่องความสำคัญของใบมอบอำนาจที่ดินหรือหนังสือมอบอำนาจที่ดิน (ท.ด.21) และวิธีการกรอก รวมทั้งข้อควรระวังเพื่อความปลอดภัยในการขายที่ดินแล้ว อย่าลืมเรียนรู้เรื่องอายุการใช้งานของหนังสือมอบอำนาจที่ดินด้วย เพื่อให้การซื้อขายที่ดินเป็นไปอย่างราบรื่น และไร้ปัญหาจากเอกสารที่ผิดจากรูปแบบราชการกำหนด
สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า

คำนวณยอดผ่อนต่อเดือนตามระยะเวลากู้

เพียงใส่ยอดเงินกู้ที่คุณต้องการ เราจะคำนวณให้คุณเห็นถึงยอดผ่อนชำระต่อเดือนตามระยะเวลาผ่อนและอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกัน

คำนวณยอดผ่อนต่อเดือน

คำนวณยอดผ่อนชำระต่อเดือนตามอัตราดอกเบี้ยของคุณด้วยเครื่องมือคำนวณสินเชื่อนี้

คำนวณวงเงินกู้สูงสุด

คำนวณสินเชื่อบ้าน ยอดวงเงินกู้บ้านใหม่ที่คาดว่าจะได้รับจากแบงก์และยอดผ่อนชำระในแต่ละเดือน

เรื่องควรรู้เกี่ยวกับหนังสือมอบอำนาจที่ดิน

โดยปกติหนังสือมอบอำนาจไม่มีหมดอายุ แต่การพิจารณาความน่าเชื่อถือของหนังสือมอบอำนาจ เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ดังนั้น หากหนังสือมอบอำนาจทิ้งระยะเวลาไว้นานเกินไป อาจส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของหนังสือมอบอำนาจฉบับนั้น

หนังสือมอบอำนาจที่ดิน คือ เอกสารสำคัญที่เจ้าของที่ดินร่างขึ้นมาเพื่อมอบให้กับผู้แทนที่จะไปดำเนินการเรื่องการซื้อ ขาย โอนให้ โดยการมอบอำนาจโอนที่ดินจะทำให้ผู้แทนมีสิทธิ์และอำนาจเสมือนกับเจ้าของไปดำเนินการด้วยตนเอง