เรื่องของการกู้ซื้อบ้านยังคงเป็นปัญหาหนักใจของใครหลายคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่มีรายได้น้อย รายได้ไม่มั่นคง เด็กจบใหม่ ฯลฯ เลยอยากจะมาย้ำถึงการเตรียมตัวก่อนกู้ซื้อบ้านกันอีกครั้ง ที่รับรองว่าถ้าทำตาม 4 เทคนิคดังในบทความนี้ การมีบ้านสักหลังคงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
“เก็บเงินดาวน์บ้านและค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ตามมาจากการซื้อบ้านประมาณ 25% ของราคาบ้าน”
“บ้าน” เป็นความฝันของหลายๆ คน ซึ่งทำงานมาได้สักระยะหนึ่งก็อยากมีบ้านเป็นของตัวเอง แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดี เพราะถ้าไม่ได้มีเงินเก็บเงินก้อน การซื้อบ้านสักหลังอาจดูเป็นเรื่องยาก ต้องคิดแล้วคิดอีก บางคนวางแผนเป็นปียังไม่สามารถซื้อบ้านที่ต้องการได้ K-Expert ธนาคารกสิกรไทย อยากให้ทุกคนที่มีความฝัน สามารถทำฝันให้เป็นจริง โดยมีคำแนะนำดังนี้
1. ประเมินความสามารถในการกู้
การซื้อบ้านด้วยเงินสดเป็นหลักล้านๆ บาท อาจไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ทางออกหนึ่งที่ทำให้เราสามารถเป็นเจ้าของบ้านได้เร็วขึ้น ก็คือ การขอสินเชื่อกับธนาคาร แต่ไม่ใช่ว่าจะสามารถขอวงเงินกู้กับธนาคารเท่าไรก็ได้ เพราะธนาคารจะประเมินความสามารถในการผ่อน แล้วคิดคำนวณเป็นวงเงินกู้ที่สามารถกู้ได้
คิดคร่าวๆ กู้บ้าน 1 ล้านบาท จะผ่อนเดือนละ 7,000 บาท และโดยทั่วไปธนาคารให้มีภาระผ่อนไม่เกิน 40% ของรายได้ต่อเดือน ดังนั้น ถ้ากู้บ้าน 1 ล้านบาท ควรมีรายได้เดือนละประมาณ 17,500 บาท
บ้านหลังใหญ่ ทำเลสวย ใครเห็นใครก็ชอบ แต่อาจตามมาด้วยราคาบ้านที่สูง แนะนำให้ลองคำนวณดูว่า รายได้ของเราสามารถกู้บ้านได้เท่าไร จะได้เลือกบ้านให้เหมาะกับระดับรายได้และความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ต่อเดือน
และนอกเหนือจากการคำนวณเงินกู้ของตัวเองแล้วอย่าลืมอัพเดทสินเชื่อบ้าน กู้ซื้อบ้าน ที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอ
2. คำนวณเงินดาวน์
เมื่อตัดสินใจกู้ซื้อบ้าน ต้องถามตัวเองสักหน่อยว่า มีเงินเก็บเท่าไรแล้ว เพราะกู้บ้านโดยทั่วไป ต้องวางเงินดาวน์บ้านประมาณ 20% ของราคาบ้าน เช่น บ้านราคา 2 ล้านบาท ควรมีเงินดาวน์อย่างน้อย 4 แสนบาท หรือยิ่งวางเงินดาวน์ได้มากเท่าไร ก็ยิ่งดี เพื่อขอวงเงินสินเชื่อน้อยลง ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายก็น้อยลง และหมดหนี้ได้เร็วขึ้นด้วย
ทั้งนี้ เราอาจเห็นบางโครงการโฆษณาประชาสัมพันธ์ว่า ไม่ต้องดาวน์เลยสักนิด ก็กู้ได้ 100% ในแง่ดีคือ ช่วยให้เราเป็นเจ้าของบ้านได้เร็วขึ้น ไม่ต้องรอเก็บเงินก้อนใหญ่ แต่ในอีกแง่หนึ่งคือ การขอวงเงินกู้ที่สูงขึ้น ย่อมนำมาสู่ยอดผ่อนต่อเดือนที่สูงขึ้น หากมีภาระค่าใช้จ่ายที่เยอะ อาจประสบกับปัญหาการเงินได้
เมื่อตัดสินใจกู้ซื้อบ้าน ต้องถามตัวเองสักหน่อยว่า มีเงินเก็บเท่าไรแล้ว เพราะกู้บ้านโดยทั่วไป ต้องวางเงินดาวน์บ้านประมาณ 20% ของราคาบ้าน เช่น บ้านราคา 2 ล้านบาท ควรมีเงินดาวน์อย่างน้อย 4 แสนบาท หรือยิ่งวางเงินดาวน์ได้มากเท่าไร ก็ยิ่งดี เพื่อขอวงเงินสินเชื่อน้อยลง ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายก็น้อยลง และหมดหนี้ได้เร็วขึ้นด้วย
ทั้งนี้ เราอาจเห็นบางโครงการโฆษณาประชาสัมพันธ์ว่า ไม่ต้องดาวน์เลยสักนิด ก็กู้ได้ 100% ในแง่ดีคือ ช่วยให้เราเป็นเจ้าของบ้านได้เร็วขึ้น ไม่ต้องรอเก็บเงินก้อนใหญ่ แต่ในอีกแง่หนึ่งคือ การขอวงเงินกู้ที่สูงขึ้น ย่อมนำมาสู่ยอดผ่อนต่อเดือนที่สูงขึ้น หากมีภาระค่าใช้จ่ายที่เยอะ อาจประสบกับปัญหาการเงินได้
3. เก็บออมเงินให้เพียงพอสำหรับเงินดาวน์และค่าใช้จ่ายต่างๆ
การกู้ซื้อบ้าน นอกจากเตรียมเงินดาวน์ให้เพียงพอแล้ว สิ่งที่ต้องไม่ลืมคือ ค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมต่างๆ เช่น ค่าจดจำนอง 1% ของวงเงินกู้ ค่าโอนกรรมสิทธิ์ 2% ของราคาประเมิน (ขึ้นอยู่กับการตกลงระหว่างผู้ซื้อผู้ขาย) สมมติบ้านราคา 2 ล้านบาท ต้องมีเงินก้อนสำหรับค่าจดจำนองและค่าโอนกรรมสิทธิ์ประมาณ 60,000 บาท นอกจากนี้ ยังมีค่าประเมินหลักทรัพย์ ค่าประกันอัคคีภัย ค่าอากรแสตมป์ ค่าประกันมิเตอร์น้ำไฟ รวมกันแล้วประมาณ 20,000-30,000 บาท เท่ากับว่า ค่าใช้จ่ายในการกู้ซื้อบ้านราคา 2 ล้านบาท จะเกือบๆ 1 แสนบาท
การกู้ซื้อบ้าน นอกจากเตรียมเงินดาวน์ให้เพียงพอแล้ว สิ่งที่ต้องไม่ลืมคือ ค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมต่างๆ เช่น ค่าจดจำนอง 1% ของวงเงินกู้ ค่าโอนกรรมสิทธิ์ 2% ของราคาประเมิน (ขึ้นอยู่กับการตกลงระหว่างผู้ซื้อผู้ขาย) สมมติบ้านราคา 2 ล้านบาท ต้องมีเงินก้อนสำหรับค่าจดจำนองและค่าโอนกรรมสิทธิ์ประมาณ 60,000 บาท นอกจากนี้ ยังมีค่าประเมินหลักทรัพย์ ค่าประกันอัคคีภัย ค่าอากรแสตมป์ ค่าประกันมิเตอร์น้ำไฟ รวมกันแล้วประมาณ 20,000-30,000 บาท เท่ากับว่า ค่าใช้จ่ายในการกู้ซื้อบ้านราคา 2 ล้านบาท จะเกือบๆ 1 แสนบาท
ดังนั้น หากคิดเป็นสัดส่วนแล้ว ควรเตรียมเงินก้อนสำหรับดาวน์บ้านและค่าใช้จ่ายต่างๆ ประมาณ 25% ของราคาบ้าน
เมื่อรู้จำนวนเงินที่ต้องเตรียมไว้แล้ว จะช่วยให้คำนวณได้ว่า ต้องเก็บเงินเดือนละเท่าไร นานแค่ไหนจึงจะซื้อบ้านสักหลังได้ สมมติ บ้านราคา 2 ล้านบาท ตั้งใจเก็บเงินดาวน์และค่าใช้จ่ายต่างๆ 25% หรือประมาณ 5 แสนบาท หากวางแผนดาวน์บ้านในอีก 2 ปีข้างหน้า คิดเป็นตัวเลขกลมๆ ที่ต้องเก็บออม คือ เดือนละ 21,000 บาท แต่สำหรับคนที่ไม่มีเฟอร์นิเจอร์เครื่องใช้จากบ้านเดิม หรือซื้อบ้านที่ต้องตกแต่งเพิ่มเอง อย่าลืมเผื่อเงินค่าเฟอร์นิเจอร์ไว้ด้วย
ส่วนจะเก็บออมที่ไหนดีนั้น ขอแนะนำเก็บในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงไม่สูงนัก เช่น เงินฝากประจำปลอดภาษี กองทุนรวมตราสารหนี้ โดยสามารถสมัครบริการหักเงินเข้าบัญชีเงินฝากหรือกองทุนรวมทุกเดือน เพื่อช่วยให้เก็บเงินเพื่อเป้าหมายซื้อบ้านได้แน่นอน
4. เตรียมเอกสารให้พร้อมก่อนยื่นกู้บ้าน
ขั้นตอนสำคัญของการกู้ซื้อบ้านกับธนาคาร คือ การเตรียมเอกสาร นอกจากสำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านแล้ว ที่ขาดไม่ได้เลยคือ เอกสารการเงิน อย่างพนักงานประจำ หรือมนุษย์เงินเดือน ต้องเตรียมสลิปเงินเดือน หรือหนังสือรับรองเงินเดือน และเอกสารแสดงการเดินบัญชี (Statement) 3-6 เดือนย้อนหลัง หากเป็นผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว จะใช้เอกสารแสดงรายรับทางการเงิน และเอกสารแสดงการเดินบัญชี (Statement) อย่างน้อย 6 เดือนย้อนหลัง เป็นต้น
ขั้นตอนสำคัญของการกู้ซื้อบ้านกับธนาคาร คือ การเตรียมเอกสาร นอกจากสำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านแล้ว ที่ขาดไม่ได้เลยคือ เอกสารการเงิน อย่างพนักงานประจำ หรือมนุษย์เงินเดือน ต้องเตรียมสลิปเงินเดือน หรือหนังสือรับรองเงินเดือน และเอกสารแสดงการเดินบัญชี (Statement) 3-6 เดือนย้อนหลัง หากเป็นผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว จะใช้เอกสารแสดงรายรับทางการเงิน และเอกสารแสดงการเดินบัญชี (Statement) อย่างน้อย 6 เดือนย้อนหลัง เป็นต้น
จะเห็นได้ว่า เอกสารแสดงการเดินบัญชี (Statement) เป็นเอกสารสำคัญที่ธนาคารจะใช้ประกอบการพิจารณาสินเชื่อ หากเป็นพนักงานประจำ แต่รับเงินสด ไม่ผ่านบัญชีธนาคาร หรือเป็นฟรีแลนซ์ทำอาชีพอิสระ แนะนำว่า ควรเดินบัญชีตลอด เพื่อแสดงถึงความสม่ำเสมอของรายได้
การกู้ซื้อบ้านไม่ใช่เรื่องยาก หากมีการเตรียมตัวที่ดี เตรียมพร้อมเรื่องการเงิน และเลือกบ้านที่ถูกใจในระดับที่ผ่อนไหว เพื่อไม่เป็นภาระที่หนักเกินไปเมื่อต้องผ่อนบ้าน สิ่งสำคัญคือ ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน และลงมือทำ บ้านในฝันก็ไม่ไกลก็เอื้อม
นอกจากนี้หากคุณอยากรู้เรื่องสินเชื่อบ้านและการกู้ซื้อบ้านเพิ่มเติม ลองเข้าไปอ่านบทความเหล่านี้ได้
รวมเทคนิคกู้บ้าน ให้ได้เต็มอัตรา
อาชีพมีผล! กู้สินเชื่อบ้านทั้งทีมาดูว่าธนาคารไหนดีกับอาชีพเรา
เลือกสินเชื่อบ้านอย่างไร ให้ผ่อนสบาย และได้ประโยชน์สูงสุด
รวมเทคนิคกู้บ้าน ให้ได้เต็มอัตรา
อาชีพมีผล! กู้สินเชื่อบ้านทั้งทีมาดูว่าธนาคารไหนดีกับอาชีพเรา
เลือกสินเชื่อบ้านอย่างไร ให้ผ่อนสบาย และได้ประโยชน์สูงสุด
อัพเดท ข่าวอสังหาริมทรัพย์ สดใหม่ทุกวัน พร้อมส่งตรงถึงอีเมล์ของคุณฟรี สมัครได้ที่นี่ หรือหากคุณกำลังมองหาบ้านคอนโด ก็สามารถเลือกชม โครงการใหม่ พร้อม รีวิวโครงการคอนโดใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคาได้เช่นกัน
เรื่องข้างต้นนี้เขียนโดย นิชฌานี ฉันทศาสตร์ CFP® K-Expert ฝ่ายวางแผนและให้คำปรึกษาลูกค้าบุคคล ธนาคารกสิกรไทย หากมีข้อสงสัยหรือต้องการปรึกษาวางแผนเพิ่มเติม สามารถปรึกษากับ K-Expert ธนาคารกสิกรไทย ได้ที่ K-Expert@kasikornbank.com