4 เรื่องที่ต้องคิด เตรียมบ้านให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ

DDproperty Editorial Team
4 เรื่องที่ต้องคิด เตรียมบ้านให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ
เมื่อพูดถึงการวางแผนเกษียณ หลายคนมักนึกถึงจำนวนเงินที่ต้องเตรียมไว้ใช้สำหรับการดำรงชีวิต เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง หรือค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น โดยมักมองข้ามเรื่องของการเตรียมความพร้อมด้านที่พักอาศัยซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตในช่วงวัยเกษียณ โดยเฉพาะผู้ที่มีแนวโน้มที่จะอยู่ตามลำพัง
ดังนั้น หากคุณเป็นคนที่ต้องการรักษาคุณภาพชีวิตในวัยเกษียณให้ใกล้เคียงกับปัจจุบัน หรือต้องการตอบแทนคนที่คุณรักในครอบครัว วันนี้ K-Expert ธนาคารกสิกรไทย มีเทคนิคการจัดการบ้านให้เหมาะสมกับวัยเก๋ามาแนะนำดังนี้

1. เตรียมบ้านให้พร้อมก่อนถึงวัยเกษียณ

กรณีที่เป็นบ้านสร้างใหม่ การจัดเตรียมพื้นที่ใช้สอยเผื่อสำหรับวัยเกษียณตั้งแต่เริ่มสร้างนั้นอาจเป็นเรื่องง่ายกว่า การปรับปรุงบ้านที่อยู่อาศัยเดิม ซึ่งอาจจะมีข้อจำกัดทั้งในเรื่องของพื้นที่ใช้สอยหรือโครงสร้างอาคารซึ่งจะกระทบต่องบประมาณและระยะเวลาที่ใช้ดำเนินการก่อสร้าง ดังนั้น หากอยู่ในช่วงสร้างบ้านใหม่ควรมีการจัดวางแปลนบ้านเพื่อรองรับรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป

2. งบประมาณสำหรับปรับปรุงบ้าน

เนื่องจากในผู้สูงอายุนั้นจะมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่ซ้ำ ๆ ดังนั้น การปรับปรุงบ้านในงบประมาณที่จำกัดอาจจะเริ่มจากพื้นที่ที่มีการใช้งานเป็นประจำ เช่น ห้องน้ำ ห้องนอน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายได้ง่ายขึ้น
10,000 บาท
ราวจับ, เก้าอี้อาบน้ำ
25,000 บาท
ราวจับ, เก้าอี้นั่งอาบน้ำ เปลี่ยนก๊อกน้ำและสุขภัณฑ์
50,000 บาท
ราวจับ, เก้าอี้นั่งอาบน้ำ (พื้นที่ 20 ตร.ม.)
ราวจับและวัสดุพื้นลดแรงกระแทก
50,000 บาท
ราวจับและไฟส่องสว่าง
100,000 บาท
ราวจับ, เก้าอี้นั่งอาบน้ำ
ราวจับ, วัสดุพื้นลดแรงกระแทก และไฟส่องสว่าง (พื้นที่ 30 ตร.ม.)
100,000 บาท
เปลี่ยนสุขภัณฑ์และอุปกรณ์, วัสดุพื้นใหม่ และทำพื้นระดับเดียว (พื้นที่ 8 ตร.ม.)
200,000 บาท
วัสดุกระเบื้องพื้น ผนัง และค่าปรับปรุง (พื้นที่ 8 ตรม.)
ราวจับ, วัสดุพื้นลดแรงกระแทก และไฟส่องสว่าง (พื้นที่ 40 ตร.ม.)
ในกรณีที่ผู้สูงอายุเป็นผู้ที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษอาจต้องจัดเตรียมงบประมาณที่สูงขึ้น เช่น การปรับปรุงแบบพื้นให้มีความลาดเอียง หรือแก้ไขความกว้างของประตูเพื่อให้เหมาะสมกับรถเข็น (Wheelchair) เป็นต้น ดังนั้น ค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการปรับปรุงบ้านจึงขึ้นอยู่กับสุขภาพของผู้สูงอายุเป็นหลัก

3. เทคนิคปรับบ้านไม่ให้เกินตัว

โดยปกติผู้ที่ปรับปรุงบ้านมักจะประสบปัญหาการใช้เงินมากกว่างบประมาณที่วางแผนไว้ เพื่อให้การควบคุมค่าใช้จ่ายเป็นเรื่องง่ายขึ้น K-Expert มีข้อแนะนำดังนี้
– สำรวจความสามารถในการจ่ายและระบุงบประมาณ เพื่อไม่ให้เกิดภาระมากจนเกินไป ควรทำการสำรวจความสามารถในการจ่ายของตนเองและจัดเตรียมงบประมาณ โดยทำการรวบรวมรายการที่จำเป็นต้องใช้ก่อนตัดสินใจซื้อ
– ทำบันทึกและหมั่นตรวจสอบ ตลอดช่วงเวลาที่ปรับปรุงบ้านควรหมั่นจดบันทึกรายการที่เกิดขึ้นเพื่อตรวจสอบค่าใช้จ่ายเป็นระยะ ซึ่งจะช่วยควบคุมไม่ให้ใช้จ่ายเกินงบประมาณที่ตั้งไว้

4. ตัวช่วยในการจัดเตรียมเงินเพื่อปรับปรุงบ้าน

หากยังไม่พร้อม แต่มีความจำเป็นต้องใช้เงิน ผู้ปรับปรุงสามารถหาตัวช่วยได้โดยการสำรวจหลักทรัพย์ที่ตนเองมีอยู่ เช่น กรณีมีบ้านหรือรถ ทั้งที่ปลอดภาระและยังอยู่ระหว่างการผ่อนชำระ สามารถนำมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเพื่อขอสินเชื่อและนำเงินมาใช้ปรับปรุงบ้านได้ (ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสถาบันการเงิน) แต่ทั้งนี้ต้องกลับมาพิจารณาความสามารถในการผ่อนชำระ และระยะเวลาการกู้ของตัวเองด้วย
หลังจากผ่านพ้นวัยทำงาน ผู้สูงอายุจะใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ภายในบ้าน ประกอบกับสุขภาพที่เริ่มเสื่อมถอย การจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยสร้างความสุขสบายในช่วงบั้นปลายชีวิต และช่วยให้ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมกับบุคคลในครอบครัวได้ง่ายขึ้น โดยหลักสำคัญของการปรับปรุงบ้านจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและความสะดวกสบายของผู้สูงอายุเป็นหลักมากกว่าความพึงพอใจของเราเอง
สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า
เรื่องข้างต้นนี้เขียนโดย เสาวนีย์ พงษ์เสนีย์ CFP® ฝ่ายวางแผนและให้คำปรึกษาลูกค้าบุคคล ธนาคารกสิกรไทย หากมีข้อสงสัยหรือต้องการปรึกษาวางแผนเพิ่มเติม สามารถปรึกษากับ K-Expert ธนาคารกสิกรไทย ได้ที่ K-Expert@kasikornbank.com

คำนวณยอดผ่อนต่อเดือนตามระยะเวลากู้

เพียงใส่ยอดเงินกู้ที่คุณต้องการ เราจะคำนวณให้คุณเห็นถึงยอดผ่อนชำระต่อเดือนตามระยะเวลาผ่อนและอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกัน

คำนวณยอดผ่อนต่อเดือน

คำนวณยอดผ่อนชำระต่อเดือนตามอัตราดอกเบี้ยของคุณด้วยเครื่องมือคำนวณสินเชื่อนี้

คำนวณวงเงินกู้สูงสุด

คำนวณสินเชื่อบ้าน ยอดวงเงินกู้บ้านใหม่ที่คาดว่าจะได้รับจากแบงก์และยอดผ่อนชำระในแต่ละเดือน