5 เรื่องต้องระวัง ถ้าไม่อยากมีปัญหากับเพื่อนบ้าน

DDproperty Editorial Team
5 เรื่องต้องระวัง ถ้าไม่อยากมีปัญหากับเพื่อนบ้าน
หนึ่งในปัญหาสุดคลาสสิกที่ส่งผลต่อการอยู่อาศัยในระยะยาว คือเพื่อนบ้าน ซึ่งหากอยู่ด้วยกันดีก็อาจจะช่วยเหลือเกื้อกูลและเป็นหูเป็นตาให้เราอุ่นใจได้ หรือในทางตรงกันข้ามก็อาจจะทำให้เราต้องเดือดเนื้อร้อนใจได้เช่นกัน ลองมาดู 5 เรื่องต้องระวัง ถ้าไม่อยากมีปัญหากับเพื่อนบ้านได้ที่นี่

1. ระวังต้นไม้

แม้ไม้ใหญ่จะให้ร่มเงากับผู้อยู่อาศัย แต่ก็สามารถทำให้เกิดปัญหาใหญ่กับเราได้ หากคนบ้านใกล้เรือนเคียงไม่ต้องการ ยิ่งไปกว่านั้น หากต้นไม้ของเราเติบโตจนกิ่งก้านใบ ดอกผล หรือรากรุกล้ำไปยังพื้นที่ของเพื่อนบ้าน ซึ่งตามกฎหมายได้มีบทบัญญัติที่ครอบคลุมเกี่ยวกับต้นไม้ไว้อย่างชัดเจน
– กรณีกิ่งก้านใบหรือผลยื่นไปยังที่ดินของเพื่อนบ้านและเพื่อนบ้านแจ้งให้ตัดต้นไม้ได้ หากไม่ตัดต้นไม้ตามที่แจ้ง เพื่อนบ้านมีอำนาจตัดต้นไม้หรือเรียกค่าเสียหายได้ อย่างไรก็ตาม เขาไม่มีสิทธิตัดต้นไม้เองโดยพลการ เพราะถือเป็นความผิดทางอาญาข้อหาทำให้ทรัพย์สินเสียหายและบุกรุก
– กรณีรากของต้นไม้ทำให้เกิดปัญหาการทำลายโครงสร้าง เช่น รากฐานบ้าน หรือกำแพงบ้านบัง กฎหมายให้สิทธิผู้ที่ได้รับความเสียหายสามารถตัดฟันต้นไม้ได้ทันที แต่โดยมารยาทหรือป้องกันปัญหาคดีอาญาข้อหาทำให้เสียทรัพย์และการบุกรุก ผู้เสียหายควรบอกเจ้าของต้นไม้รับรู้ก่อนเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นและลองร้องขอให้ตัดต้นไม้
– กรณีดอกไม้หรือผลของต้นไม้ที่ยื่นเข้าไปยังพื้นที่ของเพื่อนบ้าน หากผลไม้ยังไม่หลุดจากขั้วถือเป็นกรรมสิทธิ์เจ้าของต้นไม้ แม้จะยื่นไปยังอาณาเขตของเพื่อนบ้านก็ไม่มีสิทธิเด็ดจากต้น เพราะอาจจะโดนความผิดอาญาข้อหาลักทรัพย์ได้ แต่ถ้าผลไม้หล่นลงบนที่ดินของเพื่อนบ้านแล้วก็ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของเพื่อนบ้าน ยกเว้นว่าจงใจทำให้ร่วงหล่นลงมาก็มีความผิดที่ทำให้เสียทรัพย์หรือพยายามลักทรัพย์เช่นกัน
– กรณีต้นไม้ภายในบ้านล้มไปทับบ้านข้าง ๆ ในช่วงที่มีลมพายุ หรือลมแรงในช่วงหน้าฝน หากต้นไม้บ้านเราล้มทับ หรือทำให้บ้านของเพื่อนบ้านเสียหาย เจ้าของต้นไม้จะปัดความรับผิดชอบ โดยอ้างว่าเป็นหตุสุดวิสัยหรือภัยธรรมชาติไม่ได้ เนื่องจากเป็นเรื่องของความประมาท และบกพร่อง ไม่ป้องกันหรือตัดต้นไม้ทั้งที่รู้ว่าช่วงหน้าฝนมีลมพายุรุนแรง อาจทำให้ต้นไม้หักหรือโค่นได้
ถือเป็นการป้องกันได้แต่ไม่ป้องกัน จึงต้องรับผิดทางแพ่ง ฐานละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรการ 434 วรรค 2
"ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะเหตุที่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นก่อสร้างไว้ชำรุดบกพร่องก็ดี หรือบำรุงรักษาไม่เพียงพอก็ดี ท่านว่าผู้ครองโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่ถ้าผู้ครองได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อปัดป้องมิให้เกิดเสียหายฉะนั้นแล้ว ท่านว่าผู้เป็นเจ้าของจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน"
ทำไมถึงอ้างว่าเป็นเหตุสุดวิสัยไม่ได้ คำตอบคือ ไม่ได้ โดยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 8 คำว่า “เหตุสุดวิสัย” หมายความว่า เหตุใด ๆ อันจะเกิดขึ้นก็ดี จะให้ผลพิบัติก็ดี เป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้แม้ทั้งบุคคลผู้ต้องประสบหรือใกล้จะต้องประสบเหตุนั้นจะได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาวะเช่นนั้น
หากจะอ้างว่าพายุฝนฟ้าคะนองเป็นเหตุสุดวิสัยนั้นไม่สามารถทำได้ เนื่องจากในหน้าฝนมักมีภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นทุกปี จึงมิใช่เหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจป้องกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 8 เพราะฉะนั้นเจ้าของต้นไม้ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น
อีกกรณีคือ หากเป็นต้นไม้ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ ไม่ได้ปลูก แต่อยู่ในพื้นที่บ้าน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 145 กำหนดว่าไม้ยืนต้นถือเป็นส่วนควบกับที่ดิน และมาตรา 144 กำหนดว่าเจ้าของทรัพย์ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในส่วนควบของทรัพย์ ซึ่งหมายความว่า เจ้าของที่ดินถือเป็นเจ้าของต้นไม้ด้วย ถึงแม้จะไม่ได้ตั้งใจปลูกก็ตาม ก็ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วย

2. ระวังรั้วบ้านก่อนต่อเติม

ปัญหากรรมสิทธิ์รั้วกำแพงเป็นเรื่องที่เจ้าของบ้านควรศึกษาและทำความเข้าใจ โดยเฉพาะในด้านกฎหมาย ซึ่งกำหนดถึง “แดนแห่งกรรมสิทธิ์” ในมาตรา 1335 ทั้งเหนือพื้นดินและใต้พื้นดิน ซึ่งการที่เรารุกล้ำไปยังที่ดินของเพื่อนบ้านจึงถือเป็นการละเมิดสิทธิทางกฎหมาย
ขณะที่รั้วกั้นบ้านถือเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมของทั้งสองฝ่าย ซึ่งกฎหมายแต่ละท้องถิ่นมีการระบุความสูงของรั้วบ้านต่างกัน โดยส่วนใหญ่มักจะระบุความสูงรั้วหลังบ้านไม่เกิน 1.8 เมตร รั้วหน้าบ้านสูงไม่เกิน 1.2 เมตร และรั้วต้นไม้ไม่เกิน 2.4 เมตร ซึ่งหากเราต้องการรั้วที่สูงขึ้น เราสามารถทำได้ภายในเขตที่ดินตัวเอง แต่ห้ามเกิน 3 เมตร
นอกจากนั้น ในกรณีที่เราต้องการต่อเติม แม้จะมั่นใจว่าทำตามกฎหมายการเว้นระยะห่างจากแดนแห่งกรรมสิทธิ์ เพื่อไม่ให้เกิดเรื่องราวบาดหมางหรือปัญหาบานปลายในภายหลัง เราควรพูดคุยบอกกล่าวเพื่อนบ้านเกี่ยวกับการต่อเติมของเรา และผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น

3. ระวังฝนเจ้ากรรม

แม้ฟ้าฝนจะเป็นเรื่องของธรรมชาติที่เราไม่สามารถจะห้ามได้ แต่เราเลือกให้เป็นเรื่องหรือไม่เป็นเรื่องได้ จากน้ำฝนที่กำลังไหลหล่นบนหลังคา และมุ่งหน้าไปยังพื้นที่ของเพื่อนบ้าน ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขัง การกัดเซาะดิน หรือน้ำกระเด็นโดนข้าวของเพื่อนบ้านเสียหาย
ตามกฎหมายมาตรา 1340 เจ้าของที่ดินแปลงต่ำกว่าสามารถเรียกร้องให้เจ้าของที่ดินสูงทำทางระบายน้ำและออกค่าใช้จ่ายให้หากได้รับความเสียหาย โดยเจ้าของที่ดินต้องไม่สร้างสิ่งปลูกสร้างใดๆทำให้น้ำฝนตกลงไปยังทรัพย์สินของผู้อื่นที่อยู่ติดกัน
ดังนั้น นอกจากการระวังไม่สร้างหลังคาบ้านเกินเขตพื้นที่บ้านของเราแล้ว เรายังต้องระวังไม่ให้น้ำฝนหลังคาบ้านเราตกลงไปทำข้าวของเพื่อนบ้านเสียหาย ซึ่งการทำรางน้ำฝนระบายน้ำบนหลังคานับเป็นหนึ่งในทางออกที่ช่วยแก้ไขปัญหาน้ำฝนร่วงหล่นจากหลังคาได้
โดยปัจจุบันมีรางน้ำฝนให้เราเลือกใช้หลากหลายวัสดุ เช่น เหล็กอบสี และอะลูมิเนียมอบสี รวมถึงไวนิลที่ทนแดดทนฝนได้ป็นอย่างดี พร้อมทั้งออกแบบให้ง่ายสำหรับนำมาประกอบเป็นรางน้ำ ทั้งข้องอ ท่อ และตัวราง
ระวังสัตว์เลี้ยงรบกวนเพื่อนบ้าน

4. ระวังสัตว์เลี้ยงสร้างปัญหา

บางครั้งการอยู่บ้านคนเดียวก็เงียบเหงาจนอยากหาสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัขหรือแมวเป็นเพื่อนแก้เหงา ซึ่งไม่ใช่แค่ความรับผิดชอบดูแลอีกหนึ่งชีวิตเท่านั้น แต่เรายังต้องดูแลไม่ให้สัตว์เลี้ยงของเราสร้างความเดือดร้อนให้เพื่อนบ้านรำคาญใจ
โดยตามกฎหมาย เพื่อนบ้านมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้ ถ้าได้รับความเสียหายจากการกระทำของสัตว์เลี้ยงของเรา แต่ไม่สามารถทำร้ายหรือฆ่าสัตว์ ซึ่งมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์และถูกฟ้องร้องได้เช่นกัน

5. ระวังที่จอดรถ

แม้ถนนหน้าบ้านจะเป็นที่สาธารณะ แต่เราก็ไม่สามารถจอดรถขวางประตูหน้าบ้านคนอื่น โดยเฉพาะถ้าสร้างความเดือดร้อนรำคาญหรือกีดความทางเข้าออกได้ตามกฎหมายมาตรา 397 หมวดลหุโทษ ซึ่งถ้าเป็นความผิดกฎหมายอาญา และตำรวจไม่รับแจ้งความร้องทุกข์ นับเป็นความผิดโทษฐานละเว้นหน้าที่โดยทุจริต แม้จะไม่ได้ทำให้เกิดความเสียหาย แต่ถ้าเป็นพฤติกรรมที่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนรำคาญใจก็ถือเป็นความผิดทางอาญา
หากมีปัญหากับเพื่อนบ้านอ่านเพิ่มเติมได้ที่ ปัญหาเพือนบ้าน ใช้กฎหมายช่วยอะไรได้บ้าง
สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลทั่วไปเท่านั้น DDproperty by PropertyGuru ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท ออลพร็อพเพอร์ตี้ มีเดีย จำกัด ไม่สามารถรับรองหรือรับประกันเกี่ยวกับข้อมูล รวมทั้งไม่สามารถรับรองหรือรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับความเหมาะสม สำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะใด ๆ ของข้อมูล ตามขอบเขตสูงสุดที่กฎหมายอนุญาต แม้ว่าเราได้พยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ถูกต้อง เชื่อถือได้ และครบถ้วน ณ เวลาที่เขียน แต่ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ไม่ควรนำไปใช้ในการตัดสินใจทางการเงิน, การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือทางกฎหมายทันที ผู้อ่านไม่ควรใช้ข้อมูลในบทความ แทนคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมซึ่งสามารถพิจารณาข้อเท็จจริงและสถานการณ์ส่วนตัวของคุณได้ ทั้งนี้ เราไม่สามารถรับผิดชอบใด ๆ หากคุณเลือกที่จะนำข้อมูลไปใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ

คำนวณยอดผ่อนต่อเดือน

คำนวณยอดผ่อนชำระต่อเดือนตามอัตราดอกเบี้ยของคุณด้วยเครื่องมือคำนวณสินเชื่อนี้

คำนวณวงเงินกู้สูงสุด

คำนวณสินเชื่อบ้าน ยอดวงเงินกู้บ้านใหม่ที่คาดว่าจะได้รับจากแบงก์และยอดผ่อนชำระในแต่ละเดือน

คำนวณสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน

เช็กยอดผ่อนชำระต่อเดือนอัตราใหม่และจำนวนเงินที่คุณสามารถประหยัดได้หลังจากการทำรีไฟแนนซ์