ปลายปีโบนัสออก เงินเดือนขึ้น แต่งงาน แยกครอบครัว ขยายครอบครัว หลากหลายเหตุผลในการมีที่อยู่อาศัยใหม่ ถ้าคิดว่าปีหน้า จะต้นปี กลางปี หรือปลายปีจะซื้อที่อยู่อาศัยใหม่ ก็ไม่เร็วเกินไปนักที่จะเตรียมตัวตั้งแต่วันนี้ เพราะจริงๆ แล้ว หลักการซื้อที่อยู่อาศัยที่ดี ควรมีเงินดาวน์เป็นของตัวเองสัก 20% อย่าหวังไปกู้ 100% เสียทีเดียว
ต้องมีวงเงินฉุกเฉินของตัวเองไว้บ้าง เพื่อกรณีที่เรากู้ได้ไม่ถึง 100% หรือต้องใช้เงินสดในการทำธุรกรรมเกี่ยวข้องกับการโอนกรรมสิทธิ์ การจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ ซื้อของเข้าบ้านก็ดี หรืออะไรแล้วแต่ ถ้ามีเงินสดของตัวเองไว้สำรองย่อมดีกว่า ดั่งสุภาษิตของไทยที่ว่าไว้ อย่าหวังน้ำบ่อหน้า นั่นก็คือ อย่าหวังกับวงเงินกู้ มากเกินไป
จะซื้อที่อยู่อาศัยสักหลัง ต้องเตรียมอะไรบ้าง
1. จะซื้อบ้านมือหนึ่ง หรือมือสอง ก่อนอื่นต้องประเมินก่อนว่า เราอยากได้ที่อยู่อาศัยแบบไหน “มือหนึ่ง” หรือ “มือสอง” เพื่อหาข้อมูลให้ตรงกับประเภทที่อยู่อาศัยที่ตัวเองต้องการ แต่การเตรียมตัวหลักๆ แล้วก็จะเหมือนกัน ใครที่มีคำตอบชัดเจนให้ตัวเองแล้วว่าจะซื้อที่อยู่อาศัยแบบไหน ก็เตรียมหาข้อมูลในแต่ละรูปแบบที่อยู่อาศัยที่ตัวเองสนใจ ส่วนใครที่ยังลังเล ยังไม่รู้ว่าจะเลือกแบบไหน ก็ศึกษาข้อมูลไว้ก่อน แล้วเตรียมตัวในด้านเงินเป็นหลักก็ไม่เสียหาย
1. จะซื้อบ้านมือหนึ่ง หรือมือสอง ก่อนอื่นต้องประเมินก่อนว่า เราอยากได้ที่อยู่อาศัยแบบไหน “มือหนึ่ง” หรือ “มือสอง” เพื่อหาข้อมูลให้ตรงกับประเภทที่อยู่อาศัยที่ตัวเองต้องการ แต่การเตรียมตัวหลักๆ แล้วก็จะเหมือนกัน ใครที่มีคำตอบชัดเจนให้ตัวเองแล้วว่าจะซื้อที่อยู่อาศัยแบบไหน ก็เตรียมหาข้อมูลในแต่ละรูปแบบที่อยู่อาศัยที่ตัวเองสนใจ ส่วนใครที่ยังลังเล ยังไม่รู้ว่าจะเลือกแบบไหน ก็ศึกษาข้อมูลไว้ก่อน แล้วเตรียมตัวในด้านเงินเป็นหลักก็ไม่เสียหาย
สำหรับคนที่ต้องการซื้อบ้านมือสอง ลองมาดูกันว่าจะซื้อบ้านมือสองอย่างไรให้คุ้มราคา
2. กำหนดงบประมาณในการซื้อ เป็นการประเมินล่วงหน้า เพื่อวางแผนในการเก็บเงิน ขอแนะนำว่า ให้คิดจากพื้นฐานรายได้ปัจจุบัน และรายได้ในอนาคตที่จะเติบโตไม่เกิน 5-10% ยกเว้นคุณจะมั่นใจว่า รายได้ปีหน้าคุณจะเพิ่มขึ้นมากกว่า เพราะหากประเมินรายได้ในอนาคตที่สูงเกินไป ถ้าทุกอย่างไม่เป็นอย่างที่คิดไว้ อาจจะเหนื่อยได้
ดังนั้น การกำหนดงบประมาณในการซื้อที่อยู่อาศัยควรคิดจากพื้นฐานรายได้ที่คาดว่าจะได้รับจริงๆ เช่น ประเมินแล้วว่า น่าจะกู้บ้านได้ในราคา 3 ล้านบาท ผ่อนสบายๆ หรือไม่ อึดอัดไหม ให้ลองหาข้อมูลจากเว็บสินเชื่อที่อยู่อาศัยของแบงก์ต่างๆ จะมีช่องให้คำนวณเงินงวดที่คาดว่าจะต้องผ่อน แล้วประเมินดูว่า จำนวนเงินงวดนั้น เหมาะสมกับกำลังเงินของเราหรือไม่
หรือจะเข้ามาดูอัพเดทอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน กู้ซื้อบ้าน ซึ่งทางเราอัพเดทให้ทุกเดือน และ คำนวณสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยด้วยตนเองได้ที่นี่ จะได้ไม่ต้องลำบากหาที่ไหนไกล
3. ซื้อคนเดียว หรือกู้ร่วม ถ้าเรามีแผนจะแต่งงาน ต้องหารือกับคู่ชีวิตของเราว่าเขาพร้อมจะกู้ร่วมกับเราหรือไม่ หรือเราจะกู้คนเดียว ถ้ากรณีที่เรากู้คนเดียว จะได้วางแผนถูก แต่ถ้ากู้ร่วมกัน ก็ต้องวางแผนทางการเงินไปพร้อมกัน แต่ถ้ายังไม่สามารถตกลงกันได้ ขอแนะนำให้คิดจากพื้นฐานที่เราจะกู้คนเดียวก่อน
3 หลักสำคัญในการ "กู้ร่วมซื้อบ้าน" ที่ควรอ่านก่อนตัดสินใจว่าจะกู้ร่วมหรือกู้คนเดียว
4. วางแผนเก็บเงิน เรื่องนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญที่สุด เราต้องวางแผนเก็บเงิน โดยหลังจากที่ประเมินจากข้อ 1 และข้อ 2 มาแล้ว เราก็ต้องเริ่มทยอยเก็บเงิน ซึ่งอย่างที่กล่าวถึงในตอนต้นแล้วว่า ตามหลักการควรจะมีเงินสำรองของเราเอง 20% ของมูลค่าบ้านที่ซื้อ แต่ถ้าเก็บไม่ทัน และคิดว่า อาจจะหนักไปในช่วงเวลาสั้นๆ แนะนำว่า วิธีการง่ายๆ คือ ก็ให้ฝากเงินในแบงก์เท่ากับที่เราจะต้องผ่อนในอนาคต เช่น ไปคำนวณจากโปรแกรมของแบงก์มาแล้วว่า เราจะอาจจะต้องเดือนละ 20,000 บาท เราก็นำเงินใส่เข้าแบงก์เดือนละ 20,000 บาทเลย
วิธีการนี้นอกจากจะได้เงินเก็บจนกว่าจะถึงวันที่ซื้อจริงแล้ว ยังได้ทดสอบความสามารถในการผ่อนจริงของเราด้วยว่า ไหวมั้ย ทำได้จริงหรือเปล่า ซึ่งเราต้องใจแข็งๆ เลย ต้องผ่อนทุกเดือน ไม่นำเงินส่วนนี้ออกไปใช้ หรือถอดใจไม่ผ่อนต่อ และวิธีการนี้ ยังมีข้อดี ในตอนที่เรายื่นแบงก์ด้วยว่า มีประวัติทางการเงินที่ดี มีระเบียบในการจัดสรรเงิน นำเงินเข้าแบงก์ จะช่วยให้เรากู้ผ่านได้มากขึ้น
แต่ถ้าทดลองทำแล้ว ปรากฏว่า ไม่ไหว ก็ต้องประเมินว่า ตัวเลขที่จะผ่อนมากไปหรือไม่ หรือว่าเรามีภาระหนี้ ถ้าตัวเลขผ่อนมากไป ต้องกลับไปดูข้อ 1 ใหม่ว่า เราเลือกที่อยู่อาศัยที่ราคาแพงเกินตัวหรือไม่ ควรทบทวนใหม่อีกครั้ง
5. เคลียร์หนี้ ประเด็นนี้ต่อเนื่องจากประเด็นที่แล้ว หลังจากที่วางแผนการเงินแล้ว หัวข้อถัดมาที่เราต้องให้ความสำคัญ นั่นก็คือ เคลียร์หนี้ เพราะภาระหนี้ที่เรามี อาจทำให้เราผ่อนไม่ไหว ซึ่งในช่วงที่เราทดลองผ่อนด้วยการเก็บเงินเข้าแบงก์เองนั้น กรณีที่เราไม่ไหวอันเกิดจากภาระหนี้ ต้องดูว่า เป็นภาระหนี้ถาวรหรือไม่ เช่น เราต้องผ่อนที่อยู่อาศัยแทนผู้อื่นในอีกหลายปี หรือเรามีภาระหนี้ต่างๆ ที่ต้องใช้เวลาในการผ่อนอีกนาน กรณีนี้เราอาจต้องปรับงบประมาณที่เราจะซื้อลง หรือหาผู้กู้ร่วมเข้ามาเสริม
ส่วนกรณีภาระชั่วคราว เช่น ผ่อนรถ ผ่อนเงินกู้วงเงินไม่สูง ให้ลิสต์ออกมาให้หมด จะหมดเมื่อไหร่ หมดก่อนที่เราจะวางแผนซื้อที่อยู่อาศัยหรือไม่ ถ้ายังไม่หมดก่อน หรืออยู่ในช่วงเวลาคาบเกี่ยวกัน ควรจัดการให้เรียบร้อยก่อนกู้ จะมีโอกาสทำให้เรากู้ผ่านมากขึ้น
รู้หรือไม่ว่า วงเงินกู้ซื้อบ้านอาจหด ถ้าหากเป็นหนี้เหล่านี้ติดตัว รวมถึงส่งผลต่อการผ่อนบ้านในอนาคตด้วย
6. ศึกษาทำเลที่จะซื้อ ถ้าเป็นทำเลใกล้บ้านเดิม หรือทำเลที่เราคุ้นเคยแล้ว อาจจะไม่ยากเท่าไหร่ ก็ให้ดูพื้นที่ใกล้เคียงว่า ยังมีพื้นที่ไหนที่มีโครงการใหม่ๆ ขึ้น หรือกรณีที่เราซื้อบ้าน-คอนโดมือสอง ก็ต้องดูว่า ทำเลที่เราสนใจมีที่อยู่อาศัยที่ประกาศขายอยู่บ้าง หรือที่อยู่อาศัยที่เราสนใจ อยู่ในทำเลที่เราคุ้นเคยหรือไม่ ก็ศึกษาไว้เป็นข้อมูลเบื้องต้น ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อจริง
7. ศึกษาโครงการในละแวกที่จะซื้อในเบื้องต้น เช่นเดียวกับข้อ 6 ให้เราศึกษาไว้ก่อน เพื่อมีข้อมูลไว้เตรียมตัว ว่า ทำเลที่เราสนใจมีที่อยู่อาศัยอยู่ในงบประมาณของเราหรือไม่ ถ้าไม่มี เราอาจจะต้องเลือกโครงการอื่น หรือทำเลอื่นที่มีที่อยู่อาศัยที่สอดคล้องกับงบประมาณที่เรามี
สำหรับคนที่วางแผนจะซื้อที่อยู่อาศัย ข้อ 2-5 ถือว่าสำคัญที่สุด ส่วนข้อ 6 กับ ข้อ 7 ถึงเวลาจะซื้อจริงๆ ค่อยอัพเดตอีกครั้งก็ยังไม่สาย เพราะหลายคน ก็รีบไปดู ไปหาข้อมูลก่อน ปรากฏว่า เกิดถูกใจ ยังไม่ทันพร้อมจริงๆ ก็ตัดสินใจจองไปแล้ว เพราะคล้อยตามคำโฆษณาของเซล อาจจะทำให้เกิดปัญหาในภายหลังได้ เอาให้พร้อมทางการเงินจริงๆ ก่อนซื้อ ไม่สายเกินไปแน่นอน
ทั้งนี้ก่อนตัดสินใจซื้อหรือขายหรือให้เช่าหรือเช่าอสังหาฯ ควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งอีกหนึ่งแหล่งที่น่าสนใจคือ รายงานดัชนีอสังหาฯ DDproperty Property Index และ
รายงานภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ DDproperty Property Market Outlook
รายงานภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ DDproperty Property Market Outlook
อัพเดท ข่าวอสังหาริมทรัพย์ สดใหม่ทุกวัน พร้อมส่งตรงถึงอีเมล์ของคุณฟรี สมัครได้ที่นี่ หรือหากคุณกำลังมองหาบ้านคอนโด ก็สามารถเลือกชม โครงการใหม่ พร้อม รีวิวโครงการคอนโดใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคาได้เช่นกัน
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลทั่วไปเท่านั้น DDproperty by PropertyGuru ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท ออลพร็อพเพอร์ตี้ มีเดีย จำกัด ไม่สามารถรับรองหรือรับประกันเกี่ยวกับข้อมูล รวมทั้งไม่สามารถรับรองหรือรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับความเหมาะสม สำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะใด ๆ ของข้อมูล ตามขอบเขตสูงสุดที่กฎหมายอนุญาต แม้ว่าเราได้พยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ถูกต้อง เชื่อถือได้ และครบถ้วน ณ เวลาที่เขียน แต่ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ไม่ควรนำไปใช้ในการตัดสินใจทางการเงิน, การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือทางกฎหมายทันที ผู้อ่านไม่ควรใช้ข้อมูลในบทความ แทนคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมซึ่งสามารถพิจารณาข้อเท็จจริงและสถานการณ์ส่วนตัวของคุณได้ ทั้งนี้ เราไม่สามารถรับผิดชอบใด ๆ หากคุณเลือกที่จะนำข้อมูลไปใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ