ถ้าเอ่ยถึงย่าน ‘สะพานควาย’ ที่ปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงจากอดีตไปมาก หลายคนอาจจะนึกภาพย้อนหลังของทำเลนี้ไม่ออกแล้วว่า ชุมชนย่านนี้เป็นอย่างไร

ถ้าจะเล่าให้เห็นภาพของวิถีชีวิตและชุมชนของคนย่านสะพานควายก็คงต้องกล่าวถึงภาพรวมของทั้งกรุงเทพฯ ด้วยว่า แม้ว่าทุกวันนี้เราจะเห็นกรุงเทพฯ เป็นเมืองใหญ่ที่มีการเจริญเติบโตมาก มีความทันสมัยไม่แพ้เมืองใหญ่ของหลายประเทศชั้นนำ แต่หากนึกทบทวนแล้ว กรุงเทพฯ เพิ่งเติบโตแบบก้าวกระโดดในช่วงเวลาไม่กี่ปีมานี้เอง อาจจะไม่ถึง 50 ปีด้วยซ้ำที่เมืองมีความเจริญรุดหน้าอย่างมาก โดยความเจริญในแบบสมัยใหม่ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ใจกลางเมืองอย่างสีลม สาทร แล้วก็สุขุมวิทเป็นหลัก ย่านต่าง ๆ ที่อยู่รอบใจกลางเมือง จึงเป็นเพียงชุมชนอยู่อาศัยที่ไม่ได้โดดเด่นมากนัก เช่นเดียวกับชุมชนย่านสะพานควาย ก็เพิ่งจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา
‘สะพานควาย’ ในอดีต
ในอดีตรอบ 50 ปีที่ผ่านมาพื้นที่รอบย่านสะพานควาย ทั้งพญาไท สามเสน ยังมีสภาพเป็นทุ่งนา เป็นพื้นที่ที่ยังมีความเป็นเกษตรกรรมอย่างไม่น่าเชื่อ มีชุมชนของผู้ต้อนวัวต้อนควายจากแถบอีสานมาขายยังเมืองหลวง แยกสะพานควาย ซึ่งเป็นจุดตัดกับของถนนพหลโยธินที่เชื่อมกับถนนประดิพัทธ์ และถนนสุทธิสารวินิจฉัยในปัจจุบันนั้น จึงมีตำนานเล่าขานถึงที่มาของชื่อ ‘แยกสะพานควาย’ เพราะในอดีตมีควายผ่านอยู่เป็นประจำ
วิถีชีวิตในย่านสะพานควาย
แม้ว่าจะไม่ใช่ย่านที่โดดเด่น แต่ก็มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีวิถีชีวิตที่เป็นชุมชนค้าขาย ตึกรามบ้านช่องอาคารพาณิชย์ที่เป็นทั้งที่อยู่อาศัยและค้าขายไปด้วยในตัว พื้นที่นี้จึงเติบโตด้วยตัวเอง มีโรงหนังยุคเก่า มีห้างดังอย่างอย่างเมอร์รี่คิงส์เข้ามาปักธงเปิดให้บริการเป็นสาขาที่สองต่อจากสาขาแรกที่วังบูรพา ซึ่งในยุค 30-40 ปีที่แล้ว เมอร์รี่คิงส์ ถือว่าเป็นห้างที่ดังมาก และหลายคนที่เกิดในยุค 90 (ช่วงระหว่างปี 1990-1999) และอาศัยอยู่บริเวณนี้ก็ยังคงกล่าวถึงห้างในตำนานอย่างเมอร์รี่คิงส์ สะพานควาย
จนเมื่อรถไฟฟ้าเริ่มเปิดให้บริการครั้งแรกได้ราว ๆ ปี 2542 ก็เริ่มเห็นสัญญาณการเปลี่ยนแปลงของหลายพื้นที่ตามแนวรถไฟฟ้า รวมถึงย่านสะพานควายด้วยเช่นกัน และถ้ายังจำกันได้ คอนโดมิเนียมที่มีจุดขายว่า “ติดรถไฟฟ้า” ยุคแรก ๆ ก็เกิดขึ้นที่บริเวณใกล้เคียงย่านนี้ จนปัจจุบันเมืองมีการเติบโตไปมาก คนนิยมใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น ก็มีผลให้หลายพื้นที่ที่อาจจะไม่เคยรับความสนใจจากนักพัฒนาที่ดิน กลับโดดเด่นขึ้นมาอีกครั้ง
บริบทใหม่ของย่านสะพานควาย
ใครจะคิดว่าสะพานควายในวันนี้เดินทางมาไกลจากอดีตช่วง 50 ปีที่ผ่านมาค่อนข้างมาก จากชุมชนห้องแถว วิถีชีวิตบ้านแนวราบ ได้ก้าวย่างสู่การเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ กลายเป็นชุมชนที่อยู่อาศัยแนวสูง โรงหนังยุคเก่า ชุมชนห้องแถวเก่าทิ้งร้างถูกกว้านซื้อ เพื่อทุบทิ้งแล้วทำเป็นคอนโดมิเนียม ห้างในแบบคอนวีเนียนสโตร์ และอาคารสำนักงานรูปแบบใหม่
คอนโดมิเนียมเกิดขึ้นจำนวนมาก ทั้งคอนโดมิเนียมแบบ Hi-rise และแบบโลว์ไรซ์ (Row-rise) ราคาขายคอนโดมิเนียมทั้งริมถนนและตามตรอกซอกซอยขยับขึ้นอย่างร้อนแรงตลอด 10 ปีที่ผ่านมา จากเฉลี่ยอยู่ที่ 45,000-60,000 บาท/ตารางเมตร ขยับเป็นราคาเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 1.4-1.5 แสนบาท/ตารางเมตร ราคาที่ดินจากตารางวาละไม่กี่พันบาทในยุคอดีต ขยับสู่ตารางวาละ 400,000 บาท ถึง 1 ล้านบาทในปัจจุบัน ค้นหาโครงการใหม่ย่านสะพานควายได้ที่นี่
Aqua แหล่งรวมไลฟ์สไตล์สมัยใหม่ในย่านสะพานควาย ทั้งร้านอาหาร ร้านค้าอื่นๆ อีกมากมาย ห่างจากบิ๊กซี สะพานควาย 350 เมตร
สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ทั้งโรงพยาบาล ห้าง ร้านค้า ยังคงมี แต่ปรับโฉมไปตามยุคสมัย ทุกอย่างมีความทันสมัยมากขึ้น มีร้านอาหารใหม่ ๆ เก๋ ๆ ชิค ๆ เกิดขึ้นราวดอกเห็ดรับกับไลฟ์สไตล์ของคนกรุงที่เปลี่ยนไปที่นิยมนั่งชิล ๆ ตามร้านอาหาร ร้านกาแฟ รวมถึง รองรับคนคอนโดฯ ที่อยู่อาศัยในย่านนี้ด้วย ในอนาคตยังมีแนวโน้มว่าจะเกิดโครงการเชิงพาณิชย์ใหม่ ๆ และโครงการคอนโดมิเนียมใหม่ ๆ ขึ้นอีกด้วยการกว้านซื้อตึกเก่า ตึกทิ้งร้างที่ยังคงหลงเหลืออยู่บ้างในย่านนี้ และความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ จะทำให้ “สะพานควาย” ก้าวสู่บริบทใหม่ตามแบบฉบับเมืองสมัยใหม่
เจาะลึกทุกทำเลในกรุงเทพฯ ที่น่าสนใจ และหากคุณกำลังค้นหาบ้าน-คอนโดฯ ที่ใช่ สามารถเลือกชมรีวิวโครงการใหม่ ก่อนตัดสินใจซื้อบ้าน คอนโดฯ ทาวน์เฮ้าส์ ที่ตรงกับความต้องการของคุณ