ย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง ต้องทำอย่างไร ดู 6 เอกสารที่ต้องเตรียมให้พร้อม

DDproperty Editorial Team
ย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง ต้องทำอย่างไร ดู 6 เอกสารที่ต้องเตรียมให้พร้อม
ย้ายทะเบียนบ้านดูจะเป็นการทำธุรกรรมทางราชการที่หลายคนมองข้ามและปล่อยปละละเลยไปหลังซื้อบ้านใหม่ ซึ่งในความเป็นจริง การย้ายทะเบียนบ้านเข้าบ้านหลังใหม่สำหรับเจ้าของบ้าน มีความสำคัญมากกว่าที่คิด และไม่ได้มีวิธีการที่ซับซ้อนแต่อย่างใด
เจ้าของบ้านจึงควรทราบวิธีการดำเนินการขั้นตอนต่าง ๆ เช่น ย้ายทะเบียนบ้านออกจากบ้านหลังเดิม เข้าบ้านหลังใหม่ และย้ายทะเบียนบ้านปลายทางที่สามารถดำเนินเรื่องได้ด้วยตัวเอง
อ่านหัวข้อที่คุณสนใจ

ย้ายทะเบียนบ้าน ประโยชน์ที่ควรรู้

กรมการปกครอง นิยามทะเบียนบ้าน คือ เอกสารที่ใช้แสดงเลขประจำของแต่ละบ้าน รวมทั้งรายชื่อของผู้อยู่อาศัยภายในบ้านหลังนั้น ๆ ซึ่งทะเบียนบ้านหนึ่งหลังจะมีจำนวนคนอยู่อาศัยได้มากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ของที่อยู่อาศัย ซึ่งตาม พ.ร.บ.สาธารณสุข พ.ศ. 2535 กำหนดให้มีคนอยู่อาศัยได้ 1 คน ต่อพื้นที่ 3 ตารางเมตร ทั้งนี้ทั้งนั้น เจ้าบ้านในทะเบียนบ้านจะมีได้แค่ 1 คน
ประโยชน์หลักของทะเบียนบ้าน คือ การแสดงตัวตนของผู้อยู่อาศัย รวมทั้งการนำไปใช้เป็นเอกสารทางราชการเพื่อดำเนินการธุรกรรมต่าง ๆ เช่น การใช้ทะเบียนบ้านตัวจริงเป็นหลักฐานในการยืนยันตัวตนสำหรับการขอเปลี่ยนชื่อ หรือระบุตัวตนให้ตรงกับบัญชีรายชื่อเพื่อมอบสิทธิ์ในการเลือกตั้ง เป็นต้น
นอกจากนี้ ทะเบียนบ้านยังมีประโยชน์ในเชิงการทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อีกด้วย นั่นคือ เมื่อเจ้าของบ้านได้ย้ายข้อมูลของตัวเองเข้าไปอยู่ในทะเบียนบ้านหลังนั้น ๆ เป็นเวลาครบ 1 ปี เมื่อเกิดการซื้อขายบ้านนั้น เจ้าบ้านจะได้รับการยกเว้นการจ่ายภาษีธุรกิจเฉพาะในอัตรา 3.3% ของราคาขายหรือราคาประเมิน แล้วแต่ราคาใดจะถูกประเมินสูงกว่า

DDproperty Tip

สิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องเข้าใจ คือ ถึงแม้ว่าเราจะเป็นเจ้าของบ้านหลายหลัง แต่กฎหมายยังไม่อนุญาตให้เจ้าของบ้านสามารถมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านมากกว่า 1 หลังได้ เพราะจะกระทบต่อบัญชีรายชื่อสิทธิ์การเลือกตั้ง

โดยกฎหมายระบุไว้ว่า ให้บุคคลหนึ่งคน ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะเจ้าบ้านหรือผู้อยู่อาศัยก็ตาม สามารถมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านได้เพียงแค่หนึ่งแห่งเท่านั้น และในกรณีที่มีบ้านหลายหลัง ทะเบียนบ้านหลังนั้น ๆ ก็สามารถปล่อยว่างไว้ได้ หรืออาจจะใส่ชื่อบุคคลอื่นที่ไว้ใจเพื่อถือสถานะเจ้าบ้านก็ได้เช่นกัน
ทำเรื่องย้ายทะเบียนบ้านที่สำนักงานเขตหรืออำเภอ

ขั้นตอนการย้ายทะเบียนบ้านเข้า-ออก

ย้ายเข้าย้ายออก
ภายใน 15 วัน หลังเข้าอยู่ภายใน 15 วันหลังย้ายออก
แจ้งฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอแจ้งฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอ
โทษปรับ (กรณีล่าช้า) 1,000 บาทโทษปรับ (กรณีล่าช้า) 1,000 บาท
หลายคนมีคำถามและข้อสงสัยมากมายเกี่ยวกับการย้ายทะเบียนบ้าน เช่น เวลาจะย้ายทะเบียนบ้านต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง เอกสารที่ใช้สำหรับการย้ายเข้าและย้ายออกเหมือนกันหรือไม่ ต้องไปทำเรื่องที่ไหน หรือการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางคืออะไร ไปเริ่มต้นที่การย้ายทะเบียนบ้านออกจากบ้านหลังเดิมกันก่อน
ทะเบียนบ้านกลางสำคัญอย่างไร

ทะเบียนบ้านกลางสำคัญอย่างไร

ย้ายทะเบียนบ้านออกจากบ้านหลังเดิม

เจ้าบ้านจะต้องแจ้งการย้ายออกภายใน 15 วันหลังจากย้ายออกจากบ้าน หากไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนด มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท โดยเอกสารที่ต้องใช้ มีทั้งหมด 5 อย่าง คือ
  • สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
  • หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้าน)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีมอบหมาย)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ย้ายที่อยู่กรณีแจ้งย้ายที่อยู่ของตนเอง
สำหรับการย้ายทะเบียนบ้านออก มีขั้นตอนไม่ยุ่งยากแต่อย่างใด โดยมีเพียง 3 ขั้นตอนเท่านั้น คือ
1. ให้ไปยื่นเอกสารและหลักฐานต่อนายทะเบียนท้องที่ของทะเบียนบ้านเดิม
2. นายทะเบียนตรวจสอบเอกสารให้ครบถ้วน และประทับคำว่า ‘ย้าย’ หน้าเอกสารที่ระบุไว้
3. นายทะเบียนมอบหลักฐานการแจ้ง พร้อมมอบเอกสารในการแจ้งย้ายเข้าต่อไป

ย้ายทะเบียนบ้านเข้าบ้านหลังใหม่

หลังจากทำการย้ายออกเสร็จเรียบร้อย จึงเข้าสู่ขั้นตอนการย้ายทะเบียนบ้านเข้าบ้านหลังใหม่ ซึ่งเจ้าบ้านก็จะต้องแจ้งการย้ายเข้าภายใน 15 วันเมื่อมีผู้ย้ายเข้าอาศัยเช่นกัน หากไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนด มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
โดยการย้ายทะเบียนบ้านเข้าต้องใช้เอกสารทั้งหมด 5 อย่าง คือ
  • สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
  • หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้าน)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน
  • ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ (ท.ร. 6) ตอนที่ 1 และ 2 ซึ่งเจ้าบ้านลงนามยินยอมให้ย้ายเข้าแล้ว
สำหรับการย้ายทะเบียนบ้านเข้าบ้านหลังใหม่ มี 2 ขั้นตอนเท่านั้น คือ
1. ยื่นติดต่อนายทะเบียนในท้องที่ที่ต้องการจะย้ายเข้า
2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐาน และรายการใบแจ้งการย้ายที่อยู่และเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน และสำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)

ย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง

ในกรณีการย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง คือการย้ายทะเบียนบ้านออกจากบ้านหลังเดิม และขอแจ้งย้ายเข้าทะเบียนบ้านหลังใหม่ต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งในท้องที่ใหม่ไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งจะทำให้เราประหยัดเวลาในการดำเนินเรื่องหลาย ๆ ด้าน ต้องใช้เอกสารในการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางทั้งหมด 6 อย่าง คือ
เอกสารในการย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง
  • สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) ของบ้านที่จะย้ายเข้า
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งย้าย หรือบัตรประจำตัวตามกฎหมายอื่นพร้อมสำเนา บัตรที่ลงชื่อเจ้าของบัตร กำกับไว้
  • เจ้าบ้านที่จะย้ายเข้าอยู่ใหม่
  • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านที่จะย้ายเข้าอยู่ใหม่
  • หนังสือยินยอมให้แจ้งย้ายเข้าของเจ้าบ้านที่จะเข้าอยู่ใหม่ (กรณีเจ้าบ้านไม่สามารถไปแจ้งย้ายได้)
  • หนังสือมอบหมายจากผู้ย้ายที่อยู่ บัตรประจำตัวประชาชนพร้อมด้วยสำเนาบัตรดังกล่าวที่ลงชื่อเจ้าของบัตรกำกับไว้ ทั้งผู้มอบและผู้รับมอบ (ข้อแนะนำคือ ในกรณีที่มีการมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทน ทั้ง 2 ฝ่ายควรเป็นผู้ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันไม่ว่าจะเป็นญาติ คนรู้จัก ผู้มีส่วนได้เสีย หรือผู้ที่มีนิติสัมพันธ์)
ทะเบียนบ้านชั่วคราวคืออะไร

ทะเบียนบ้านชั่วคราวคืออะไร

เมื่อเรียนรู้ความสำคัญและวิธีการย้ายทะเบียนบ้านแล้ว ก็อย่าลืมที่จะจัดการเรื่องย้ายทะเบียนบ้านเป็นเจ้าบ้านหลังจากซื้อบ้านหลังใหม่ให้เรียบร้อย
ทั้งนี้ ต้องมีความเข้าใจด้วยว่า การเป็นเจ้าบ้านในทะเบียนบ้านมิได้มีสิทธิ์เหมือนกับการเป็นเจ้าของบ้านตามโฉนดที่ดิน และนี่ก็เป็นเพียงหนึ่งในความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องกรรมสิทธิ์ของเจ้าบ้าน เพื่อทราบสิทธิ์และหน้าที่ของเจ้าบ้านอย่างถูกต้อง เรียนรู้ได้ในบทความกรรมสิทธิ์ของเจ้าบ้านแบบเต็ม ๆ
สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า

เรื่องควรรู้เกี่ยวกับการย้ายทะเบียนบ้าน

เจ้าหน้าที่จะกำหนดเลขที่ประจำบ้านและสมุดทะเบียนบ้านให้แก่ผู้แจ้งภายใน 7 วัน ในกรณีปลูกสร้างบ้านในเขตเทศบาล ไปจนถึงระยะเวลา 30 วัน ในกรณีปลูกสร้างบ้านนอกเขตเทศบาล

การโอนกรรมสิทธิ์โดยทั่วไป ให้ถือว่าผู้โอนเป็นผู้มีเงินได้และต้องเสียภาษีเงินได้ แต่มีกรณีที่ไม่อยู่ในบังคับให้เสียภาษี เช่น โอนให้ทายาท โอนมรดก โอนให้ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ การเวนคืน เป็นต้น

กรณีบุคคลธรรมดา 1. บัตรประชาชนพร้อมสำเนา 2.ทะเบียนบ้านพร้อมสำเนา 3.หนังสือเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลพร้อมสำเนา (ถ้ามี) กรณีนิติบุคคล 1.หนังสือรับรองนิติบุคคล 2.บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น 3.รายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัท ระบุวัตถุประสงค์ในการซื้อและแหล่งที่มาของเงินที่ใช้ในการซื้อ 4.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม 5. หนังสือแสดงตัวอย่างลายมือชื่อกรรมการ กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจ (ทด.21) สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านผู้รับมอบอำนาจ