กู้บ้าน ต้องทำประกันด้วยเหรอ เป็นคำถามชวนสงสัยสำหรับคนที่กำลังขอสินเชื่อบ้าน โดยประกันหลัก ๆ ที่จะได้รับการแนะนำจากธนาคารที่ยื่นขอสินเชื่อมีหลายประเภท เช่น ประกันชีวิต คุ้มครองหนี้สินบ้าน ประกันอัคคีภัย สำหรับที่อยู่อาศัย กู้บ้าน ต้องทำประกันด้วยเหรอ ไขข้อข้องใจในบทความนี้
อ่านหัวข้อที่คุณสนใจ
กู้บ้าน ต้องทำประกันด้วยเหรอ
เมื่อยื่นกู้บ้าน ธนาคารมักจะแนะนำให้ผู้ขอสินเชื่อบ้านทำประกันควบคู่ไปกับการขอสินเชื่อ กู้บ้าน ต้องทำประกันด้วยเหรอ จะไม่ได้อยู่ที่ธนาคารเป็นผู้กำหนด แต่จะอยู่ที่ผู้ขอสินเชื่อเป็นผู้ตัดสินใจ โดยประกันแต่ละประเภทก็จะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไป ดังนี้
ประกันชีวิต คุ้มครองหนี้สินบ้าน
กู้บ้าน ต้องทำประกันด้วยเหรอ สำหรับประกันชีวิตคุ้มครองหนี้สินบ้าน หรือประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองสินเชื่อ (Mortgage Reducing Term Assurance: MRTA) ผู้ขอสินเชื่อจะทำหรือไม่ก็ได้ หากไม่ทำก็ไม่ได้ส่งผลต่อการอนุมัติสินเชื่อใด ๆ
แต่หากมองในแง่ความคุ้มครองผู้ทำประกัน กรณีเสียชีวิตและกรณีทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร ก็จะได้รับเงินชดเชยเท่ากับทุนประกันหรือความคุ้มครองที่คงเหลืออยู่ โดยบริษัทประกันจะเป็นผู้รับผิดชอบชำระหนี้ที่เหลือให้แก่ธนาคาร
ค่าเบี้ยประกันที่ต้องจ่ายจะขึ้นอยู่กับเพศ อายุของผู้ขอสินเชื่อ ทุนประกัน และระยะเวลาความคุ้มครอง การจ่ายค่าเบี้ยประกันมักจ่ายเพียงครั้งเดียว หรือบางธนาคารให้ผู้ขอสินเชื่อสามารถผ่อนชำระค่าเบี้ยได้ โดยให้เป็นวงเงินสินเชื่อ
ผู้ที่กำลังผ่อนบ้านที่กำลังคิดว่า กู้บ้าน ต้องทำประกันด้วยเหรอ ประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองหนี้สินบ้านเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะหากมีเหตุไม่คาดฝันเกิดขึ้นกับผู้ขอสินเชื่อ ทางครอบครัว หรือทายาทจะได้ไม่ต้องแบกรับภาระในการผ่อนชำระหนี้สิน
ข้อควรรู้ ก่อนทำประกันชีวิต คุ้มครองหนี้สินบ้าน
1. ทางธนาคารไม่ได้บังคับขายประกันชีวิต คุ้มครองหนี้สินบ้าน และไม่สามารถนำไปเป็นเงื่อนไขในการพิจารณาการให้สินเชื่อ กู้บ้าน ต้องทำประกันด้วยเหรอ ผู้ขอสินเชื่อสามารถเลือกทำหรือไม่ทำก็ได้ ขึ้นอยู่กับความสมัครใจ
2. เบี้ยประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองหนี้สินบ้านที่มีความคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ยังสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 100,000 บาท
3. หากชำระหนี้หมดก่อนระยะเวลาคุ้มครองของประกัน สามารถขอเวนคืนกรมธรรม์ได้ ตามมูลค่าเงินสดคงเหลือในกรมธรรม์ และในกรณีผู้กู้เสียชีวิตก่อนกรมธรรม์หมดอายุ ผู้รับผลประโยชน์สามารถขอรับสินไหมทดแทนคืนได้
4. หากต้องการรีไฟแนนซ์ สามารถเลือกได้ว่าจะขอเวนคืนกรมธรรม์ หรือเลือกเปลี่ยนชื่อผู้รับผลประโยชน์จากธนาคารเดิมเป็นธนาคารใหม่ได้ แบบไหนคุ้มกว่ากัน พิจารณาได้จาก
สิ่งที่ควรพิจารณา | รายละเอียด |
เบี้ยประกัน | เบี้ยประกันธนาคารใหม่ จ่ายกี่บาท คุ้มครองอะไรบ้าง |
เงินคืน | เงินคืนได้เท่าไหร่ (กรณีขอเวนคืนกรมธรรม์จากธนาคารเดิม) |
โปรโมชั่น | ธนาคารใหม่ที่จะรีไฟแนนซ์ไป มีโปรโมชั่นพิเศษอะไรบ้าง |
ความคุ้มค่า | เปรียบเทียบประโยชน์และความคุ้มค่า |
ขอลดดอกเบี้ยบ้าน รีไฟแนนซ์บ้าน ธนาคารไหนดี
อยากรีไฟแนนซ์บ้าน แต่ไม่รู้จะเลือกธนาคารไหนดี เช็กอัตราดอกเบี้ยแต่ละธนาคารได้ที่นี่

ประกันอัคคีภัย สำหรับที่อยู่อาศัย
ในส่วนของประกันอัคคีภัย จัดอยู่ในกลุ่มประกันภัยที่ต้องทำ ดังนั้น คำถามที่ว่า กู้บ้าน ต้องทำประกันภัยด้วยเหรอ โดยทั่วไปธนาคารจะให้ผู้ขอสินเชื่อบ้านทำประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย เพราะหากมีเหตุไม่คาดฝันเกิดขึ้นกับบ้าน อย่างน้อยก็มีประกันที่ช่วยชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น
ประกันไฟไหม้บ้าน 4 ข้อควรรู้ ทุนประกัน เงื่อนไข ความคุ้มครอง ระยะเวลา
ก่อนทำประกันภัยคุณควรรู้รายละเอียดดังต่อไปนี้
ประกันอัคคีภัย สำหรับที่อยู่อาศัย จะให้ความคุ้มครองสิ่งปลูกสร้าง (ไม่รวมฐานราก) ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัย เช่น บ้าน ทาวน์เฮ้าส์ บ้านแฝด ตึกแถวสำหรับอยู่อาศัย ห้องชุดสำหรับอยู่อาศัยในแฟลต อาคารชุด คอนโดมิเนียม
รวมถึงทรัพย์สินภายในสิ่งปลูกสร้างนั้น เช่น เฟอร์นิเจอร์ เครื่องตกแต่ง สิ่งติดตั้งตรึงตรา เครื่องใช้ภายในบ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน เครื่องดนตรี เครื่องเสียง เครื่องครัว เครื่องนุ่งห่ม และทรัพย์สินอื่น ๆ เพื่อการอยู่อาศัย
โดยจะให้ความคุ้มครองความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับบ้านและทรัพย์สินภายในบ้าน ดังนี้
1. ไฟไหม้ รวมถึงไฟไหม้ป่า พุ่มไม้ พงรก และการเผาป่าเพื่อปราบพื้นที่
2. ฟ้าผ่า (รวมถึงความเสียหายต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกิดจากการลัดวงจรจากฟ้าผ่า)
3. การระเบิดทุกชนิด
4. ภัยจากการเฉี่ยว และหรือการชนของยานพาหนะหรือสัตว์พาหนะ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย เป็นต้น
5. ภัยจากอากาศยาน และหรือวัตถุที่ตกจากอากาศยาน รวมถึงจรวดซึ่งขับเคลื่อนด้วยตัวเองและยานอวกาศยกเว้นจรวดที่เป็นอาวุธ
นอกจากนี้ ยังสามารถซื้อความคุ้มครองในส่วนภัยพิบัติอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ เช่น
1. ภัยเนื่องจากน้ำ อันเกิดขึ้นโดยอุบัติเหตุจากการปล่อยการรั่วไหล หรือการล้นออกมาของน้ำหรือไอน้ำ จากท่อน้ำ ถังน้ำ ระบบทำความร้อน ระบบทำความเย็น ระบบปรับอากาศ เครื่องสูบน้ำ และรวมถึงน้ำฝนที่ไหลผ่านเข้าไปภายในอาคารจากการเสียหายของหลังคา หน้าต่าง ประตู วงกบประตูหน้าต่าง ช่องลม ช่องรับแสงสว่าง ท่อน้ำหรือรางน้ำ
2. ภัยจากลมพายุ
3. ภัยจากน้ำท่วม หมายถึง น้ำซึ่งไหลล้นหรือไหลออกจากทางน้ำปกติซึ่งจะเป็นทางน้ำธรรมชาติ หรือจะเป็นทางน้ำที่สร้างขึ้นก็ดี (ไม่รวมถึงรางน้ำบนหลังคา) หรือเกิดจากท่อน้ำสาธารณะแตก ทำให้เกิดการท่วมของน้ำจากภายนอกของอาคารที่เอาประกันภัยไว้ หรืออาคารที่เก็บทรัพย์สินที่เอาประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ รวมถึงน้ำท่วมอันเกิดจากลมพายุ น้ำป่า และโคลนถล่ม
4. ภัยจากแผ่นดินไหว หรือภูเขาไฟระเบิด หรือคลื่นใต้น้ำ หรือสึนามิ ที่มีสาเหตุจากธรรมชาติ และให้หมายความรวมถึงน้ำท่วม อันมีสาเหตุจากแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟระเบิด ที่มีสาเหตุจากธรรมชาติ ทั้งนี้ไม่คุ้มครองความเสียหายโดยตรงหรือโดยทางอ้อม ที่เกิดจากภัยแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟระเบิดอันเกิดจากวัตถุใด ๆ จากอวกาศ
5. ภัยจากลูกเห็บ ให้หมายความรวมถึง น้ำฝน น้ำค้างแข็ง หิมะ ทราย หรือ ฝุ่นละอองดังกล่าวไหลผ่านเข้าไปในอาคาร ตามร่องแตกร้าวของอาคาร สิ่งปลูกสร้างที่ได้รับความเสียหายอันเกิดจากลูกเห็บโดยตรงเท่านั้น หรือน้ำจากเครื่องพรมน้ำหรือท่อน้ำอื่น ๆ ที่เกิดเสียหายขึ้นเนื่องจากลูกเห็บโดยตรง
ทั้งนี้ ทุนประกันหรือวงเงินคุ้มครอง ไม่ควรน้อยกว่า 70% ของมูลค่าบ้านและทรัพย์สิน เพราะหากเกิดความเสียหายเพียงบางส่วน ก็จะยังได้รับเงินชดเชยเหมือนทำประกันไว้เต็มมูลค่า โดยค่าเบี้ยประกันจะอยู่ที่ประมาณ 1,000-3,000 บาท ต่อทุนประกัน 1 ล้านบาท ซึ่งถ้าหากเปรียบเทียบค่าเบี้ยประกันที่ต้องจ่ายและความคุ้มครองที่ได้รับแล้วถือว่ามีความคุ้มค่า
กู้บ้าน ต้องทำประกันด้วยเหรอ เป็นหนึ่งในเรื่องที่ผู้ขอสินเชื่อควรทำความเข้าใจไว้ในเบื้องต้น จะได้ง่ายในการตัดสินใจ ส่วนจะขอสินเชื่อกู้ซื้อบ้านกับธนาคารไหนดี สามารถอัปเดตดอกเบี้ยบ้านทุกธนาคารเพิ่มเติมได้ที่นี่
สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า