ติดหนี้ กยศ. กู้ซื้อบ้านได้ไหม คลายปัญหาคาใจก่อนซื้อบ้าน

DDproperty Editorial Team
ติดหนี้ กยศ. กู้ซื้อบ้านได้ไหม คลายปัญหาคาใจก่อนซื้อบ้าน
“ติดหนี้ กยศ. กู้ซื้อบ้านได้ไหม” คือคำถามที่พบบ่อย ๆ เพราะในภาวะที่ธนาคารพาณิชย์เข้มงวดการพิจารณาปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยรายย่อยเป็นพิเศษเช่นในปัจจุบัน ย่อมส่งผลต่อผู้ที่ต้องการขอสินเชื่อที่อยู่อาศัย หรือผู้ที่กำลังจะกู้ซื้อบ้านไม่มากก็น้อย
Subscription Banner for Article
ความกังวลเหล่านี้ทำให้ผู้ติดหนี้ กยศ. โดยเฉพาะกลุ่มคนที่พึ่งเรียนจบมหาวิทยาลัยและเริ่มต้นทำงาน หลาย ๆ คน เกิดคำถามว่า หากยังชำระหนี้ กยศ.ไม่ครบจะสามารถกู้ซื้อบ้านได้ไหม ปัญหาเหล่านี้มีคนจำนวนมากยังต้องการคำตอบ และเราได้ไปค้นหาคำตอบมาไขข้อข้องใจ สำหรับผู้ติดหนี้ กยศ. ที่ต้องการขอกู้ซื้อบ้านมาฝากกัน
อ่านหัวข้อที่คุณสนใจ

กยศ. คืออะไร

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับ กยศ. กันก่อน กยศ. หรือชื่อเต็มคือ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2538 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2539 ให้เริ่มดำเนินการกองทุนในลักษณะเงินทุนหมุนเวียน ตามนัยมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491
ต่อมารัฐบาลได้พิจารณาเห็นความสำคัญของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษามากขึ้น จึงได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2541 มีผลให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษามีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยอยู่ในการกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง
มีวัตถุประสงค์ให้กู้ยืมเงินแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์เพื่อเป็นค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการครองชีพระหว่างศึกษา
ปัจจุบัน พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2560 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2560 มีผลให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาอยู่ในการกำกับดูแลของรัฐมนตรี และมีฐานะเป็นนิติบุคคลที่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายอื่น

ติดหนี้ กยศ. กู้ซื้อบ้านได้ไหม

สำหรับคำถามที่ว่า “ติดหนี้ กยศ.กู้ซื้อบ้านได้ไหม” คำตอบคือ ผู้กู้ยืมเงินกองทุน กยศ. และยังชำระหนี้ไม่หมดนั้น สามารถยื่นขอสินเชื่อกู้ซื้อบ้านได้ปกติ เนื่องจากการผ่อนชำระหนี้ กยศ. นั้น ธนาคารไม่ได้นับรวมว่าผู้ติดหนี้ กยศ. เป็นกลุ่มที่ขาดศักยภาพที่จะผ่อนชำระค่างวดบ้าน
ดังนั้น ผู้ที่จบการศึกษาใหม่และเริ่มทำงานที่อยากมีบ้านหลังแรก แต่ยังมีความกังวลในเรื่องนี้อยู่ ยังสามารถกู้ซื้อบ้านได้ตามปกติ ขณะเดียวกันปัจจุบัน กยศ. เองก็ไม่ได้ส่งข้อมูลเกี่ยวกับการค้างชำระหนี้ให้กับเครดิตบูโร ดังนั้นหากมีการหลงลืมการชำระในบางวด ก็ยังไม่ถือว่าไม่มีประวัติผิดนัดชำระ ซึ่งจะทำให้มีผลต่อการพิจรณาอนุมัติสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์
นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ ก็ไม่ได้มองว่าคนที่ติดหนี้ กยศ. จะขาดศักยภาพที่จะผ่อนชำระงวดบ้าน เพราะการผ่อนชำระเงิน กยศ. ไม่ได้เป็นเงินจำนวนมาก แถมการผ่อนชำระ กยศ. ยังเป็นการผ่อนชำระเพียงปีละครั้งเท่านั้น จึงไม่กระทบต่อการชำระงวดบ้าน ดังนั้นคนที่เรียนจบและเริ่มงานใหม่ เลิกกังวลไปได้เลยว่า กยศ. ไม่ทำให้เรากู้บ้านไม่ได้

หากไม่ชำระคืนหนี้ กยศ. อาจกู้ซื้อบ้านไม่ผ่าน

อย่างไรก็ตาม การติดหนี้ กยศ. อาจจะทำให้ลูกหนี้มีปัญหาในการขอกู้ซื้อบ้านได้เช่นกัน ในกรณีที่ลูกค้ามีปัญหาเกี่ยวกับการชำระเงินคืน หากไม่สามารถจ่ายหนี้ให้ตรงเวลาตามที่ทาง กยศ. กำหนดเอาไว้ ทำให้เกิดประวัติการชำระหนี้ไม่ดี และส่งผลเสียต่อเครดิตของลูกหนี้ กยศ. ไปด้วย
โดยผู้ที่จ่ายหนี้ช้าหรือไม่ได้จ่ายภายในระยะเวลาที่กำหนด จะส่งผลทำให้ ธนาคารพาณิชย์อนุมัติสินเชื่อบ้านยากขึ้น เนื่องจากเครดิตของลูกหนี้ กยศ. จะแย่ลง และอาจทำให้ธนาคารจะมองว่าหนี้เพียงเล็กน้อย ทำไมลูกหนี้ไม่สามารถชำระหรือไม่ยอมจ่าย จึงอาจถูกมองว่าผู้ที่ติดหนี้ กยศ. ที่ขาดการชำระบ่อย ๆ อาจเป็นผู้ไม่มีวินัย หรือขาดความรับชอบในการชำระหนี้
ดังนั้น การชำระหนี้ที่ตรงเวลาจึงเพิ่มโอกาสในการได้รับการอนุมัติสินเชื่อที่ง่ายและเร็วขึ้น ขณะที่ผู้ขาดการชำระอาจต้องประสบปัญหาการขอกู้ซื้อบ้านเพิ่มขึ้น
การที่ธนาคารพาณิชย์จะปล่อยเงินกู้ซื้อบ้านให้กับผู้ติดหนี้ กยศ. ที่ผ่อนชำระไม่ตรงเวลาก็มีโอกาสน้อยลง เพราะธนาคารพาณิชย์เองก็ระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อเข้มงวดอยู่แล้ว เนื่องจากธนาคารมองว่าผู้ที่ผิดนัดชำระบ่อย ๆ นั้นขาดวินัยการเงิน และขาดความรับผิดชอบในการชำระหนี้สิน ดังนั้นการผิดชำระหนี้ กยศ. จึงไม่ได้เพียงแต่ทำให้ขอสินเชื่อบ้านได้ยากขึ้นเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อการขอสินเชื่ออื่น ๆ ทำให้กู้ได้ยากขึ้นเช่นกัน

กยศ. ขยายเวลามาตรการช่วยเหลือสู้ภัยโควิด

คณะกรรมการกองทุนฯ ได้มีมติเห็นชอบขยายระยะเวลามาตรการลดหย่อนหนี้ เพื่อเป็นการช่วยเหลือและให้โอกาสผู้กู้ยืมเงินที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2564 เป็นสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2565 ดังนี้
1. ลดดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากเดิม 1% ต่อปี เป็น 0.01% ต่อปี สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่อยู่ระหว่างการชำระเงินคืนกองทุนและไม่เคยเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้
2. ลดเงินต้น 5% สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่ไม่เคยเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้และต้องการปิดบัญชีในคราวเดียว
3. ลดเบี้ยปรับ 100% สำหรับผู้กู้ยืมเงินทุกกลุ่มที่ชำระหนี้ปิดบัญชี ดังนี้
3.1 ผู้กู้ยืมเงินที่ยังไม่ถูกดำเนินคดี สามารถชำระได้ที่ธนาคารกรุงไทยและธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยทุกสาขา
3.2 ผู้กู้ยืมเงินที่ถูกดำเนินคดีแล้ว ต้องลงทะเบียนขอรับสิทธิและนัดหมายวันที่ประสงค์จะชำระหนี้ปิดบัญชีได้ที่ www.studentloan.or.th/promotion โดยผู้กู้ยืมเงินต้องชำระค่าทนายความและค่าฤชาธรรมเนียมศาลให้เสร็จสิ้นก่อนปิดบัญชี
4. ลดเบี้ยปรับ 80% สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่ยังไม่ถูกดำเนินคดีที่ชำระหนี้ค้างทั้งหมดให้มีสถานะปกติ (ไม่ค้างชำระ)
5. ลดอัตราการคิดเบี้ยปรับเหลือ 0.5% ต่อปี สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่ยังไม่ถูกดำเนินคดีและไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด
ทั้งนี้ กองทุนได้ชะลอการฟ้องร้องดำเนินคดี สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่ผิดนัดชำระหนี้ประจำปี 2563 และปี 2564 ยกเว้นคดีที่จะขาดอายุความในปี 2564 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565
กู้ซื้อบ้านอย่างไรให้ผ่านแม้จะติดหนี้ กยศ.

กู้ซื้อบ้านอย่างไรให้ผ่านแม้จะติดหนี้ กยศ.

สำหรับ วิธีการเตรียมความพร้อมกู้ซื้อบ้านของผู้ที่ติดหนี้ กยศ. ก็เหมือน ๆ กับการเตรียมตัวขอสินเชื่อซื้อบ้านทั่ว ๆ ไป คือ ตรวจสอบงบประมาณเงินในกระเป๋า ซึ่งจะเป็นตัวชี้วัดว่าจะสามารถซื้อบ้านไปพร้อมกับจัดสรรค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ขณะเดียวกันต้องตรวจสอบคุณสมบัติ ดังนี้
1. มีสัญชาติไทย มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
2. ไม่เคยเป็นลูกหนี้ปรับโครงสร้างหนี้ของธนาคารพาณิชย์
3. เตรียมเอกสารดังต่อไปนี้
  • บัตรประชาชน
  • ทะเบียนบ้าน
  • ทะเบียนสมรส (หากมี)
  • ใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล
  • หนังสือรับรองเงินเดือน,สลิปเงินเดือน,เอกสารรับรองการทำงาน
  • หลักฐานแสดงรายได้พิเศษ
  • บัญชีเงินฝากธนาคารย้อนหลัง 6 เดือน โดยบัญชีนี้ก็ควรจะมีเงินคงไว้ในบัญชีอย่างสม่ำเสมอ

ตารางเปรียบเทียบจำนวนเงินผ่อนชำระบ้าน และวงเงินกู้ซื้อบ้าน-คอนโดสูงสุด

15,000
6,000
1,000,000
20,000
8,000
1,300,000
25,000
10,000
1,600,000
30,000
12,000
2,000,000
35,000
14,000
2,300,000
40,000
16,000
2,600,000
45,000
18,000
3,000,000
50,000
20,000
3,300,000
55,000
22,000
3,600,000
60,000
24,000
4,000,000
65,000
26,000
4,300,000
70,000
28,000
4,600,000
75,000
30,000
5,000,000
80,000
32,000
5,300,000
85,000
34,000
5,600,000
90,000
36,000
6,000,000
95,000
38,000
6,300,000
100,000
40,000
6,600,000
150,000
60,000
10,000,000
หมายเหตุ: ตัวเลขโดยประมาณ
ที่สำคัญต้องตรวจสอบภาระหนี้ที่มีอยู่ หนี้ก้อนไหนที่พอจะปิดได้ก็ควรโปะเงินปิดให้เรียบร้อย เพื่อให้ง่ายต่อการได้รับอนุมัติสินเชื่อ ส่วนหนี้ กยศ. ที่มีอยู่ต้องตรวจประวัติการชำระคืนเงินกู้ กยศ. ของผู้กู้ว่ามีการผ่อนชำระตรงเวลาเสมอมา ไม่ได้ผิดชำระ เพื่อช่วยให้ธนาคารพาณิชย์เพิ่มคะแนนความรับผิดชอบการผ่อนชำระ หรือวินัยทางการเงินที่ดี ทำให้ผู้กู้มีความน่าเชื่อถือ ส่งผลให้ธนาคารพิจารณาอนุมัติสินเชื่อง่ายขึ้น โดยเมื่อรวมหนี้ กยศ. และหนี้เงินกู้ซื้อบ้านแล้วจะต้องมีภาระหนี้ไม่เกิน 40% ของรายได้
ส่วนผู้ที่ผิดนัดชำระหนี้เงินกู้บางครั้ง หรือผิดนัดชำระครั้งแรก ธนาคารอาจเข้าใจว่าผู้กู้มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็น หรืออาจจะไม่ได้รับจดหมายทวงหนี้ตรงเวลา แต่กรณีที่มีการผิดนัดชำระหลาย ๆ ครั้ง หรือชำระไม่ตรงเวลาทุกงวด อาจถูกประเมินว่าผู้กู้ขาดวินัยการเงิน และความรับผิดชอบในการชำระหนี้ ซึ่งจะทำให้ผู้กู้ได้รับการอนุมัติสินเชื่อยากขึ้น
ดังนั้นจึงควรชำระหนี้ กยศ. ให้ตรงเวลาเสมอ แต่หากมีการผิดพลาดไปบ้าง ครั้งต่อไปต้องไปชำระให้ตรงเวลาทุกครั้ง เพื่อให้เครดิตทางการเงินกลับมาดีขึ้นอีกครั้ง
สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า

คำนวณยอดผ่อนต่อเดือนตามระยะเวลากู้

เพียงใส่ยอดเงินกู้ที่คุณต้องการ เราจะคำนวณให้คุณเห็นถึงยอดผ่อนชำระต่อเดือนตามระยะเวลาผ่อนและอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกัน

คำนวณยอดผ่อนต่อเดือน

คำนวณยอดผ่อนชำระต่อเดือนตามอัตราดอกเบี้ยของคุณด้วยเครื่องมือคำนวณสินเชื่อนี้

คำนวณวงเงินกู้สูงสุด

คำนวณสินเชื่อบ้าน ยอดวงเงินกู้บ้านใหม่ที่คาดว่าจะได้รับจากแบงก์และยอดผ่อนชำระในแต่ละเดือน