- ทรัพย์ขายทอดตลาด กรมบังคับคดี คืออะไร
- การเตรียมตัวประมูลทรัพย์ขายทอดตลาด กรมบังคับคดี
- ขั้นตอนการประมูลทรัพย์ขายทอดตลาด กรมบังคับคดี
- การประมูลทรัพย์ขายทอดตลาด กรมบังคับคดี ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
- ขั้นตอนหลังการประมูลทรัพย์ขายทอดตลาด กรมบังคับคดี
ทรัพย์ขายทอดตลาด กรมบังคับคดี คืออะไร
การเตรียมตัวประมูลทรัพย์ขายทอดตลาด กรมบังคับคดี
1. ค้นหาบ้านที่ต้องการประมูล
2. จัดเตรียมเอกสารและเงินประกัน
มือใหม่หัดลงทุนกับบ้าน-คอนโดขายทอดตลาด
ก่อนซื้อบ้าน-คอนโดขายทอดตลาด ควรตรวจดูรายละเอียดให้ดีเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงก่อนขาย
ขั้นตอนการประมูลทรัพย์ขายทอดตลาด กรมบังคับคดี
1. ผู้ประมูลเข้าลงทะเบียน
2. เจ้าพนักงานกำหนดราคาเริ่มต้น
DDproperty Tip
หากเข้าประมูลแล้วเห็นว่าไม่มีคนเข้าร่วมประมูล อาจตัดสินใจรอจนถึงรอบที่ 4 เพื่อให้ราคาเริ่มต้นลดลงเหลือเพียง 70% แต่ต้องระวังว่า ผู้เข้าร่วมประมูลคนอื่นก็จะคิดเหมือนกับคุณเช่นกัน
3. ผู้ประมูลยกป้ายเสนอราคา
4. เจ้าพนักงานเคาะไม้ให้ผู้ชนะประมูล
การคัดค้านการขายทอดตลาดตามกฎหมายใหม่ 4 เรื่องที่ควรรู้
เจ้าของเดิมสามารถดำเนินการคัดค้านการขายทอดตลาดได้ ลองมาดูว่ามีขั้นตอนในการคัดค้านอย่างไรได้ที่นี่

การประมูลทรัพย์ขายทอดตลาด กรมบังคับคดี ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
ขั้นตอนการซื้อทรัพย์ขายทอดตลาด กรมบังคับคดีทางอิเล็กทรอนิกส์
ขั้นตอน | รายละเอียด |
หาทรัพย์ที่สนใจ | เข้าสู่เว็บไซต์กรมบังคับคดี หัวข้อ e-service เลือกขายทอดตลาดทางอิเล็กทรอนิกส์ เลือกทรัพย์ที่สนใจแล้วจำลำดับทรัพย์ไว้ |
จองเครื่อง | เมื่อเลือกทรัพย์ที่สนใจเรียบร้อยแล้ว ติดต่อจองเครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมบอกลำดับทรัพย์ที่สำนักงานนั้น ๆ |
วางเงินประกัน | ในวันที่ซื้อทรัพย์ ตรวจสอบเครื่องและลำดับทรัพย์ที่ทำการจองไว้กับสำนักงาน จากนั้นวางเงินมัดจำตามที่กำหนดไว้กับเจ้าหน้าที่ |
รับรหัส | เจ้าหน้าที่มอบรหัสผู้ใช้ เป็นรหัสผ่าน สำหรับทำการประมูล และแจ้งรายละเอียดข้อห้ามต่าง ๆ จากนั้นรอลำดับทรัพย์ที่จะทำการขายที่ได้จองไว้ |
ประมูล | เมื่อถึงลำดับทรัพย์ที่จองไว้ จะมีเจ้าหน้าที่แจ้งให้ทราบ จากนั้นทำการใส่รหัสผู้ใช้ และรหัสผ่านให้เรียบร้อย รอสัญญาณเริ่มการประมูล |
ขั้นตอนหลังการประมูลบ้านจากกรมบังคับคดี ขายทอดตลาด
1. ทำสัญญาซื้อขาย
2. โอนกรรมสิทธิ์
3. ชำระค่าใช้จ่าย
- เงินที่ต้องนำมาวางไว้เป็นหลักประกันในการประมูล ขึ้นอยู่กับราคาประเมินของบ้านที่จะซื้อ
- เงินส่วนต่างที่จะนำมาชำระในส่วนที่เหลือหากประมูลได้ ซึ่งมาจากเงินออมของตนเอง หรือมาจากการกู้เงินธนาคาร โดยแนะนำให้ยื่นกู้กับธนาคารที่เป็นเจ้าของทรัพย์เพื่อความสะดวกในการดำเนินธุรกรรม หรือจะยื่นกู้กับธนาคารที่ผู้ซื้อมีบัญชีอยู่ก็ได้ แต่ควรทำเรื่องรอไว้ทันทีที่คิดว่าจะเข้าประมูล เพื่อจะได้ทันตามระยะเวลาที่กำหนด
- ค่าอากรแสตมป์ 0.5% ของราคาซื้อขาย (ราคาที่ชนะการประมูล)
- ค่าโอน 2% ของราคาประเมินที่ดิน
- ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คิดจากราคาประเมินของสำนักงานที่ดิน หักด้วยค่าใช้จ่ายตามที่กรมสรรพากรกำหนด แล้วนำมาคำนวณด้วยอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยไม่ยกเว้นเงินได้ 150,000 บาทแรก
- ภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% ของราคาขายหรือราคาประเมินสำนักงานที่ดิน (เลือกราคาที่สูงกว่า) หากต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ให้นำใบเสร็จที่ได้รับจากกรมที่ดินไปขอคืนค่าอากรแสตมป์ 0.5% ภายใน 7 วันนับจากวันที่ได้รับหนังสือโอนกรรมสิทธิ์ของกรมบังคับคดี หากเกิน 7 วันต้องไปทำเรื่องขอคืนเองที่กรมสรรพากร
- ค่าจำนอง 1% ของวงเงินจำนอง สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท หากเป็นห้องชุดไม่มีเพดานสูงสุด (กรณีกู้เงินธนาคาร)
- ค่าประเมินราคาทรัพย์สิน (ตามประกาศธนาคาร)
- ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินกู้ สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
- ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย (ตามอัตราของบริษัทประกันภัย)
DDproperty Tip
การประมูลบ้านที่ผู้พักอาศัยเดิมยังไม่ย้ายออก ถ้าชนะการประมูลและชำระเงินเรียบร้อยแล้ว หากผู้พักอาศัยเดิมไม่ยอมย้ายออก สามารถยื่นคำร้องต่อศาลที่ทรัพย์นั้นตั้งอยู่เพื่อขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี และให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปขับไล่แทนได้