เอกสารยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90/91 และขั้นตอนยื่นภาษี

DDproperty Editorial Team
เอกสารยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90/91 และขั้นตอนยื่นภาษี
หนึ่งในหน้าที่ของผู้มีเงินได้ คือ การยื่นภาษี โดยปกติจะยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ซึ่งมีทั้งยื่นภาษีด้วยตนเองที่สำนักงานสรรพากรใกล้บ้าน หรือยื่นภาษีออนไลน์ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากรได้ถึงต้นเดือนเมษายน เอกสารยื่นภาษีมีอะไรบ้าง ยื่นภาษีมีขั้นตอนอย่างไร ดูข้อมูลทั้งหมดได้ที่นี่
รวมประกาศขายโครงการใหม่ในกรุงเทพฯ
อ่านหัวข้อที่คุณสนใจ

ใครมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาโดยมีสถานะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
1. บุคคลธรรมดา
2. ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
3. ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
4. กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
5. วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
บุคคลธรรมดา มีแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนี้
1. แบบ ภ.ง.ด.90 คือ ผู้ที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือนที่ได้รับ เช่น ค้าขายแบบบุคคลธรรมดา เงินปันผล หรืออื่น ๆ
2. แบบ ภ.ง.ด.91 คือ ผู้ที่มีรายได้เป็นเงินเดือนโดยไม่มีรายได้เสริมจากแหล่งงาน หรือรายได้อื่น เช่น พนักงานบริษัทที่รับเงินค่าจ้างเพียงอย่างเดียว

ตารางการเสียภาษี

เงินได้สุทธิต่อปีอัตราภาษีเงินได้
0 – 150,000 บาทยกเว้นภาษี
150,000 – 300,000 บาท5%
300,001 – 500,000 บาท10%
500,001 – 750,000 บาท15%
750,001 – 1,000,000 บาท20%
1,000,001 – 2,000,000 บาท25%
2,000,001 – 5,000,000 บาท30%
5,000,001 ขึ้นไป35%

เอกสารยื่นภาษีมีอะไรบ้าง

1. หนังสือรับรองเงินเดือน (50 ทวิ) จากนายจ้าง เป็นเอกสารยื่นภาษีที่ระบุว่าปีนั้นมีรายได้รวมเท่าไหร่ มีการหักชำระกองทุน หรือเงินทุนสำรองต่าง ๆ
2. เอกสารลดหย่อนภาษี เช่น ค่าเลี้ยงดูบิดา มารดา และบุตร, จำนวนเงินที่ซื้อกองทุน อาทิ SSF/RMF, เบี้ยประกันชีวิตและสุขภาพ เป็นต้น เช็กรายการลดหย่อนภาษีทั้งหมดได้ที่นี่
ใบ 50 ทวิ สำคัญแค่ไหน

ใบ 50 ทวิ สำคัญแค่ไหน

ยื่นภาษีได้ที่ไหนบ้าง

1. กรอกใบ ภ.ง.ด. แล้วเตรียมเอกสารยื่นภาษีที่เกี่ยวข้อง ไปยังสำนักงานสรรพากรทุกพื้นที่
2. กรอกใบ ภ.ง.ด. แล้วให้หน่วยงานบริษัทที่สังกัดยื่นให้
3. ยื่นภาษีออนไลน์ด้วยตัวเอง

ขั้นตอนการยื่นภาษีออนไลน์

การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากรถือเป็นตัวเลือกที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบันเนื่องจากไม่ต้องไปถึงที่สำนักงานสรรพากร และสามารถยื่นเอกสารได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีขั้นตอนเบื้องต้น ดังนี้
1. เข้าไปที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร และคลิกไปที่ "ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" หรือ "ยื่นแบบทุกประเภท"
ขั้นตอนยื่นภาษีออนไลน์ สำหรับการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90, 91
2. กดคลิกที่ "ยื่นแบบออนไลน์"
ขั้นตอนยื่นภาษีออนไลน์ สำหรับการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90, 91
3. เข้าสู่ระบบด้วย เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร หรือ ชื่อผู้ใช้งาน จากนั้นกด "เข้าสู่ระบบ" หรือเลือกเข้าระบบด้วย Digital ID
ขั้นตอนยื่นภาษีออนไลน์ สำหรับการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90, 91
4. กดทำรายการตรงช่อง ภ.ง.ด.90/91 กด "ยื่นแบบ"
ขั้นตอนยื่นภาษีออนไลน์ สำหรับการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90, 91
5. กรมสรรพากรได้รับข้อมูลจากบริษัท/หน่วยงานต่าง ๆ เกี่ยวกับรายได้และค่าลดหย่อนภาษี โดยสามารถเลือกใช้ข้อมูลรายได้และค่าลดหย่อนมาประกอบการยื่นภาษี หรือ เลือกใช้เพียงข้อมูลค่าลดหย่อนมาประกอบการยื่นภาษี หรือไม่ต้องการใช้ข้อมูล
ขั้นตอนยื่นภาษีออนไลน์ สำหรับการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90, 91
6. ตัวอย่างเลือกใช้เพียงข้อมูลค่าลดหย่อนมาประกอบการยื่นภาษี จะแสดงข้อมูลค่าลดหย่อนภาษีต่าง ๆ (หากต้องการทราบข้อมู,รายได้/ภาษีหัก ณ ที่จ่าย สามารถยืนยันตัวตนด้วย Digital ID ได้) จากนั้นกด "ยื่นแบบโดยใช้ข้อมูล" หรือ "ยื่นแบบโดยไม่ใช้ข้อมูล" ก็ได้
ขั้นตอนยื่นภาษีออนไลน์ สำหรับการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90, 91
7. หากกดยื่นแบบโดยใช้ข้อมูล จะเข้าสู่ขั้นตอนยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90/91 แสดงข้อมูลผู้มีเงินได้ โดยต้องกดเลือกสถานะ และคลิกที่ "ถัดไป"
ขั้นตอนยื่นภาษีออนไลน์ สำหรับการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90, 91
8. แสดงรายการ รายได้ต่าง ๆ กดกรอกรายได้จากเงินเดือน และรายได้จากส่วนอื่น ๆ จากนั้นกด "ถัดไป"
ขั้นตอนยื่นภาษีออนไลน์ สำหรับการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90, 91
9. แสดงข้อมูลลดหย่อนถูกกรอกให้แล้ว แต่ยังตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลได้
ขั้นตอนยื่นภาษีออนไลน์ สำหรับการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90, 91
10. หน้าแสดงการคำนวณภาษี การขอคืนเงิน สามารถเลือกต้องการขอคืนเงินภาษี หรือเลือกอุดหนุนพรรคการเมือง จากนั้นกด "ถัดไป"
ขั้นตอนยื่นภาษีออนไลน์ สำหรับการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90, 91
11. แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ ใช้สำหรับตรวจสอบความถูกต้อง หากถูกต้องให้กด "ยืนยันการยื่นแบบ"
ขั้นตอนยื่นภาษีออนไลน์ สำหรับการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90, 91
13. ยื่นแบบสำเร็จ สามารถยื่นเอกสารเพิ่มเติมได้ที่ "นำส่งเอกสาร"

ยื่นภาษีออนไลน์ได้ถึงเมื่อไหร่

ยื่นภาษีแบบกระดาษได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-31 มีนาคม ของทุกปี เพื่อเสียภาษี ลดหย่อนภาษี หรือขอคืนภาษีที่เสียไปแล้ว และสามารถยื่นภาษีทางออนไลน์ได้ถึงช่วงต้นเดือนเมษายนของทุกปี

หากยื่นภาษีไม่ทันทำอย่างไร

กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 เมื่อพ้นกำหนดเวลา

กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 เมื่อพ้นกำหนดเวลา บุคคลธรรมดาที่มีหน้าที่ในการยื่นแบบภาษีเงินได้ แต่ยื่นไม่ทันเวลาที่กำหนดภายในวันที่ 31 มีนาคม ของทุกปี จะต้องไปยื่นด้วยตนเองอีกครั้งที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา โดยจะต้องเตรียมเอกสารประกอบไปด้วย ดังนี้
– แบบฟอร์ม ภ.ง.ด.91 หรือ ภ.ง.ด.90
– หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ)
– เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการลดหย่อนภาษี เช่น หนังสือรับรองการจ่ายเบี้ยประกันชีวิต หนังสือรับรองการจ่ายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ฯลฯ
– เอกสารยืนยันสิทธิค่าลดหย่อนบิดามารดา (ใบ ล.ย. 03)
โดยจะต้องเตรียมเงินเพื่อชำระเงินภาษี เงินเพิ่ม และค่าปรับตามกฎหมายสรรพากร ดังนี้
1. บุคคลธรรมดาที่ไม่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ตามกำหนดเวลา ต้องระวางโทษค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร แต่สามารถขอลดค่าปรับได้
2. ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต กรณีมีเงินภาษีต้องชำระ หากมิได้ชำระเงินภาษีตามกำหนดเวลา ถือว่ามิได้ยื่นแบบ ต้องไปยื่นแบบ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา และชำระเงินภาษี พร้อมเงินเพิ่มอีก 1.5% ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ รวมทั้งค่าปรับตามข้อ 1
3. ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 เกินกำหนดเวลา
3.1 กรณีมีเงินภาษีต้องชำระ ให้ชำระเงินภาษี พร้อมเงินเพิ่มอีก 1.5% ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ รวมทั้งค่าปรับตามข้อ 1
3.2 กรณีไม่มีเงินภาษีต้องชำระ ให้ชำระค่าปรับตามข้อ 1 เพียงอย่างเดียว
4. ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 เพิ่มเติมภายหลังกำหนดเวลาการยื่นแบบ
4.1 กรณีมีเงินภาษีต้องชำระ ให้ชำระเงินภาษี พร้อมเงินเพิ่มอีก 1.5% ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ โดยไม่ต้องเสียค่าปรับ
4.2 กรณีไม่มีเงินภาษีต้องชำระ ไม่ต้องเสียเงินเพิ่มและค่าปรับ
5. ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ขอผ่อนชำระเงินภาษี หากมิได้ชำระภาษีงวดใดงวดหนึ่งภายในกำหนดเวลา จะหมดสิทธิ์การผ่อนชำระและต้องชำระภาษีอากรที่ค้างอยู่ทั้งหมด โดยต้องเสียเงินเพิ่มในอัตรา 1.5% ต่อเดือนของเงินภาษีงวดที่เหลือ
6. ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 มีภาษีชำระไว้เกิน แต่ไม่ได้แจ้งความประสงค์ขอคืนเงิน ไม่ว่าจะเป็นการยื่นแบบฯ ผ่านอินเทอร์เน็ต หรือยื่นแบบฯ ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ให้ยื่นคำร้องขอคืนเงินตามแบบ ค.10 ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ท้องที่ที่มีภูมิลำเนาอยู่ ภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี โดยแนบเอกสารแล้วแต่กรณี ดังนี้
6.1 หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
6.2 แบบ ล.ย.03 (ถ้ามี)
6.3 ใบเสร็จรับเงินหรือหนังสือรับรองค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดา/มารดา (ถ้ามี)
6.4 ใบเสร็จรับเงินหรือหนังสือรับรองค่าเบี้ยประกันชีวิตของปีภาษีที่ขอคืน (ถ้ามี)
6.5 หนังสือรับรองการจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพของปีภาษีที่ขอคืน (ถ้ามี)
6.6 ใบเสร็จรับเงินหรือหนังสือรับรองค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ/กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (ถ้ามี)
6.7 หนังสือรับรองการชำระดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัยของปีภาษีที่ขอคืน (ถ้ามี)
6.8 หนังสือรับรองการจ่ายเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม (ถ้ามี)
6.9 ใบเสร็จรับเงินบริจาคการกุศลของปีภาษีที่ขอคืน (ถ้ามี)
6.10 สำเนาทะเบียนบ้าน
6.11 ใบสำคัญการสมรส (ถ้ามี)
6.12 หนังสือแสดงการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล (ถ้ามี)
6.13 ใบเสร็จรับเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
6.14 หลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องกับประเด็นขอคืน
7. กรณีรับคืนเงินภาษีอากรเกินไป และได้รับหนังสือทวงถามให้นำเงินไปคืน ให้ผู้ขอคืนนำเงินไปคืนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถาม หากผู้ขอคืนไม่นำส่งเงินคืนที่ได้รับเกินไปภายในกำหนดเวลา ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตรา 7.5% ต่อปี ตามมาตรา 224 แห่งประมวลแพ่งและพาณิชย์ โดยนับตั้งแต่วันที่เริ่มผิดนัด

กรณีจงใจไม่ยื่นแบบ มีโทษปรับ-เสียเงินเพิ่ม

หากตั้งใจละเลยไม่ยื่นแบบภาษีเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร มีโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ และเสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระ
รวมถึงต้องเสียเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ ตั้งแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี โดยเศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน

กรณีจงใจแจ้งข้อความ-แสดงหลักฐานเท็จ ฉ้อโกง

กรณีที่ผู้มีรายได้ได้ยื่นแบบภาษี และจงใจแจ้งข้อความเท็จ หรือแสดงหลักฐานเท็จ หรือฉ้อโกง เพื่อหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษี จะมีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000-200,000 บาท และเสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระ
ทั้งนี้ ต้องเสียเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ ตั้งแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี โดยเศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน

เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับการขอคืนภาษี

กรมสรรพากร ได้แนะนำวิธีการตรวจสอบและแก้ปัญหาในเรื่องของการขอคืนภาษี ดังนี้

1. ตรวจสอบสถานะขอคืนภาษีได้ช่องทางไหนบ้าง

ผู้ "ขอคืนภาษี" สามารถตรวจสอบสถานะการ ขอคืนภาษี ในเบื้องต้นที่ เว็บไซต์สรรพากร จากนั้นคลิก E-Filing, คลิก ส่ง / ตรวจสอบการส่งเอกสารประกอบการคืนภาษี หรือ เว็บไซต์สรรพากร จากนั้น คลิก ห้องข่าว, คลิก ข่าวสารอื่น ๆ และคลิก ส่ง/ตรวจสอบการส่งเอกสารประกอบการคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ส่วนกรณีผู้ยื่นภาษีส่งเอกสารพร้อมใบนำส่งเอกสารทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ และจ่าหน้าซองถูกต้อง จะสามารถตรวจสอบได้จากใบตอบรับ หรือที่เว็บไซต์ www.Thailandpost.com อีกช่องทางหนึ่ง

2. หากไม่ได้รับเช็คคืนเงินภาษี ควรทำอย่างไร

ในกรณีผู้ยื่นภาษีตรวจสอบสถานะ “คืนเงินภาษี” แล้วพบว่า มีการส่งเช็คคืนเงินภาษีให้แล้ว แต่ไม่ได้รับ เนื่องจากการเปลี่ยนที่อยู่ หรือไม่ได้เปลี่ยนที่อยู่แต่ยังไม่ได้รับเช็ค ให้ติดต่อสำนักงานสรรพากรพื้นที่ ตามที่ระบุไว้ในแบบ ภ.ง.ด.90/91 เพื่อขอรับเช็คฉบับดังกล่าว หรือยื่นคำร้องขอออกเช็คฉบับใหม่
โดยต้องนำบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา และหนังสือมอบอำนาจ กรณีให้ผู้อื่นกระทำการแทน และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจพร้อมสำเนา ในการยื่นคำร้องอีกครั้ง

3. ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 เพิ่มเติม โดยได้รับคืนเงินภาษีลดลง/เพิ่มขึ้น

กรณีผู้ขอคืนภาษี ที่ยื่นแบบฯ มากกว่า 1 ฉบับ เนื่องจากได้ทำรายการยื่นแบบฯ เพิ่มเติม เพื่อปรับปรุงรายการ เป็นผลให้ได้รับเงินคืนภาษีลดลง/เพิ่มขึ้น เมื่อผู้ขอคืนเงินภาษีได้รับเช็คคืนเงินภาษีฉบับแรกจากกรมสรรพากรแล้ว ผู้ขอคืนเงินภาษีสามารถดำเนินการ ได้ดังนี้
– กรณีได้รับเช็คฉบับแรกเป็นจำนวนเงิน “มากกว่า” การยื่นแบบฯ ฉบับเพิ่มเติม ให้ผู้ขอคืนเงินภาษีนำเช็คฯ ส่งคืนให้แก่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ ตามภูมิลำเนาที่ปรากฏตามหนังสือแจ้งคืนเงินฯ และกรมสรรพากรจะพิจารณาคืนเงินภาษี ตามแบบฯ ที่ถูกต้องให้ต่อไป
– กรณีได้รับเช็คฉบับแรกเป็นจำนวนเงิน “น้อยกว่า” การยื่นแบบฯ ฉบับเพิ่มเติม ผู้ขอคืนภาษีสามารถนำเช็คคืนเงินฉบับแรกเข้าบัญชีได้ทันที และ กรมสรรพากรจะจัดส่งเช็คคืนเงินภาษีในส่วนที่เหลือให้แก่ผู้ขอคืนภาษีต่อไป

4. ถ้าเช็คคืนเงินภาษีชำรุด สูญหาย หรือธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินควรทำอย่างไร

หากเช็คคืนเงินภาษีที่ได้รับชำรุด หรือสูญหาย หรือธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เช่น คำนำหน้าชื่อไม่ถูกต้อง หรือชื่อ/นามสกุลไม่ถูกต้อง หรือเช็คเกิน 6 เดือน ให้นำเช็คดังกล่าว (ถ้ามี) ติดต่อสำนักงานสรรพากรพื้นที่ ตามที่ระบุไว้ในแบบแสดงรายการ เพื่อยื่นคำร้องขอออกเช็คฉบับใหม่ โดยเอกสารที่ใช้ประกอบคำร้อง มีดังนี้
– บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา
– หนังสือแจ้งความ กรณีผู้ขอคืนทำเช็คที่ได้รับสูญหาย
– หนังสือแจ้งเปลี่ยนชื่อ/นามสกุล กรณีเปลี่ยนชื่อ/นามสกุล
– หนังสือมอบอำนาจ กรณีให้ผู้อื่นกระทำการแทน และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจพร้อมสำเนา

5. ได้รับเช็คคืนเงินภาษี แต่ไม่มีบัญชีเงินฝากธนาคารหรือ เข้าบัญชีไม่ได้ ทำอย่างไร

– กรณีผู้ "ขอคืนภาษี" มีภูมิลำเนาตามแบบ ภ.ง.ด.90/91 ในเขตกรุงเทพฯ ให้นำเช็คคืนเงินภาษีไปแลกเป็นเงินสดที่ สำนักบริหารการคลังและรายได้ กรมสรรพากร ชั้น 7 อาคารกรมสรรพากร เลขที่ 90 ซอยพหลโยธิน 7 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
– กรณีมีภูมิลำเนาตามแบบ ภ.ง.ด.90/91 ในต่างจังหวัด ให้นำเช็คคืนเงินภาษีไปแลกเป็นเงินสดที่ฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักงานสรรพากรพื้นที่ของจังหวัดนั้น ๆ
ทั้งนี้ เอกสารที่ใช้ประกอบการแลกเช็คเป็นเงินสด ได้แก่
– บัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทางกรณีคนต่างด้าว พร้อมสำเนา
– หนังสือจัดตั้งคณะบุคคล กรณีคณะบุคคล
– หนังสือมอบอำนาจ กรณีให้ผู้อื่นกระทำการแทนและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจพร้อมสำเนา

6. หากไม่เห็นด้วย กรณีไม่ได้รับเงินคืนภาษี หรือได้รับเงินคืนภาษีน้อยกว่าที่ขอคืน ทำอย่างไร

กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ขอคืนเงินภาษี แต่ไม่ได้รับเงินคืนภาษีที่ขอคืน หรือได้รับเงินคืนภาษีน้อยกว่าที่ขอคืน หากไม่เห็นด้วยกับการพิจารณาคืนเงินภาษีดังกล่าว ให้ทำหนังสืออุทธรณ์ต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่ง ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งไม่คืนเงินภาษีอากร ค.30 ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ตามภูมิลำเนาที่ปรากฏในหนังสือแจ้งไม่คืนเงินฯ โดยจัดทำหนังสืออุทธรณ์ขึ้นเอง และชี้แจงข้อเท็จจริงพร้อมแนบเอกสารประกอบ
ยื่นขอภาษีคืนแต่ไม่ได้รับเงินทำอย่างไร

ยื่นขอภาษีคืนแต่ไม่ได้รับเงินทำอย่างไร

7. ระยะเวลาในการได้รับเงินคืนภาษีกำหนดไว้อย่างไร

กรมสรรพากร กำหนดจะดำเนินการ คืนภาษี ภายใน 3 เดือน กรณีมีเอกสารชัดเจนแสดงว่า ได้มีการเสียภาษีไว้เกิน ผิด ซ้ำ หรือไม่มีหน้าที่ต้องเสีย นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอคืนเงินภาษีด้วยแบบ ภ.ง.ด.90/91 ที่แจ้งความประสงค์ขอคืนเงินภาษี หรือแบบ ค.10
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลทั่วไปเท่านั้น DDproperty by PropertyGuru ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท ออลพร็อพเพอร์ตี้ มีเดีย จำกัด ไม่สามารถรับรองหรือรับประกันเกี่ยวกับข้อมูล รวมทั้งไม่สามารถรับรองหรือรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับความเหมาะสม สำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะใด ๆ ของข้อมูล ตามขอบเขตสูงสุดที่กฎหมายอนุญาต แม้ว่าเราได้พยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ถูกต้อง เชื่อถือได้ และครบถ้วน ณ เวลาที่เขียน แต่ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ไม่ควรนำไปใช้ในการตัดสินใจทางการเงิน, การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือทางกฎหมายทันที ผู้อ่านไม่ควรใช้ข้อมูลในบทความ แทนคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมซึ่งสามารถพิจารณาข้อเท็จจริงและสถานการณ์ส่วนตัวของคุณได้ ทั้งนี้ เราไม่สามารถรับผิดชอบใด ๆ หากคุณเลือกที่จะนำข้อมูลไปใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ

คำถามยอดนิยม

แบบ ภ.ง.ด.90 คือ ผู้ที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือนที่ได้รับ เช่น ค้าขายแบบบุคคลธรรมดา เงินปันผล หรืออื่น ๆ ส่วนแบบ ภ.ง.ด.91 คือ ผู้ที่มีรายได้เป็นเงินเดือนโดยไม่มีรายได้เสริมจากแหล่งงาน หรือรายได้อื่น เช่น พนักงานบริษัทที่รับเงินค่าจ้างเพียงอย่างเดียว

กรอกใบ ภ.ง.ด. แล้วตรียมเอกสารยื่นภาษีที่เกี่ยวข้องไปยังสำนักงานสรรพากรทุกพื้นที่, ให้หน่วยงานบริษัทที่สังกัดยื่นให้ หรือยื่นภาษีออนไลน์ด้วยตัวเอง

ยื่นภาษีแบบกระดาษได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-31 มีนาคมของทุกปี ยื่นภาษีออนไลน์ได้ถึงช่วงต้นเดือนเมษายนของทุกปี