รถไฟความเร็วสูง 4 สาย อัปเดตเส้นทาง ระยะทาง จำนวนสถานี และปีที่เปิดใช้

DDproperty Editorial Team
รถไฟความเร็วสูง 4 สาย อัปเดตเส้นทาง ระยะทาง จำนวนสถานี และปีที่เปิดใช้
อนาคตประเทศไทย การเดินทางจะสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ด้วยระบบโครงข่ายคมนาคมที่กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาค ซึ่งนอกจากรถไฟฟ้า BTS และ MRT รวมถึงรถไฟฟ้าสายอื่น ๆ ยังมีความคืบหน้ารถไฟความเร็วสูงที่ต้องจับตา
โดยปัจจุบันมีการขับเคลื่อนแผนพัฒนารถไฟความเร็วสูงในหลายเส้นทาง ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) มาทำความรู้จักรถไฟความเร็วสูงให้มากขึ้น มีเส้นทางไหนบ้าง ระยะทาง สถานี และเมื่อเปิดใช้จะส่งผลดีอย่างไร
รวมประกาศขายโครงการใหม่ในกรุงเทพฯ
อ่านหัวข้อที่คุณสนใจ

รถไฟความเร็วสูง คืออะไร

รถไฟความเร็วสูง (High Speed Rail: HSR) เป็นระบบรถไฟระหว่างเมืองที่เดินรถด้วยความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้รางขนาดความกว้างมาตรฐาน (Standard Gauge) ในการเดินรถ มีความตรงเวลา และมีขั้นตอนการเดินทางไม่ยุ่งยากเท่าการโดยสารโดยเครื่องบิน
สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย ถือเป็นโครงการเมกะโปรเจกต์ มีเป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจ และเชื่อมโยงตลาดการค้า ระหว่างกลุ่มประเทศแถบลุ่มแม่น้ำโขง เนื่องจากประเทศไทยถือเป็นศูนย์กลางของอินโดจีน ตามแผนจะก่อสร้างทั้งหมด 4 สาย ได้แก่ สายเหนือ, สายตะวันออก, สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้
โดยแบ่งการพัฒนาออกเป็นระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ในแต่ละสาย เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดใช้บริการ จะช่วยอำนวยความสะดวกด้านการเดินทาง สนับสนุนเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ให้มีความรุดหน้า กระจายความเจริญไปยังทุกภูมิภาคของประเทศ

รถไฟความเร็วสูง มีเส้นทางไหนบ้าง ระยะทาง และสถานี

รถไฟความเร็วสูง ตามแผนมีการพัฒนาทั้งหมด 4 สาย กระจายเส้นทางไปในภูมิภาคต่าง ๆ ดังนี้

1. สายเหนือ

รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ ระยะทางรวม 669 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยสถานีรถไฟความเร็วสูง จำนวน 12 สถานี ได้แก่

2. สายตะวันออกเฉียงเหนือ

รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย ระยะทางรวม 609 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยสถานีรถไฟความเร็วสูง จำนวน 11 สถานี ได้แก่
  • สถานีกลางบางซื่อหรือกรุงเทพอภิวัฒน์
  • สถานีดอนเมือง
  • สถานีอยุธยา
  • สถานีสระบุรี
  • สถานีปากช่อง
  • สถานีราชสีมา
  • สถานีบัวใหญ่
  • สถานีบ้านไผ่
  • สถานีขอนแก่น
  • สถานีอุดรธานี
  • สถานีหนองคาย
รถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ EEC ได้สะดวก

3. สายตะวันออก

รถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทางรวม 220 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยสถานีรถไฟความเร็วสูง จำนวน 9 สถานี ได้แก่
  • สถานีดอนเมือง
  • สถานีกลางบางซื่อหรือกรุงเทพอภิวัฒน์
  • สถานีมักกะสัน
  • สถานีสุวรรณภูมิ
  • สถานีฉะเชิงเทรา
  • สถานีชลบุรี
  • สถานีศรีราชา
  • สถานีพัทยา
  • สถานีอู่ตะเภา
EEC คืออะไร

EEC คืออะไร

4. สายใต้

รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ ระยะทางรวม 970 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยสถานีรถไฟความเร็วสูง จำนวน 12 สถานี ได้แก่
  • สถานีกลางบางซื่อหรือกรุงเทพอภิวัฒน์
  • สถานีนครปฐม
  • สถานีราชบุรี
  • สถานีเพชรบุรี
  • สถานีหัวหิน
  • สถานีประจวบคีรีขันธ์
  • สถานีชุมพร
  • สถานีสุราษฎร์ธานี
  • สถานีทุ่งสง
  • สถานีพัทลุง
  • สถานีหาดใหญ่
  • สถานีปาดังเบซาร์

รถไฟความเร็วสูง เปิดใช้เมื่อไหร่

รถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่
669
12
2572
รถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ
609
11
2568
รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา
220
9
2570
รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์
970
12
2575
1. รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ ระยะทาง 669 กิโลเมตร จำนวน 12 สถานี คาดว่าจะเปิดใช้ปี 2572 แบ่งการพัฒนาออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่
  • ระยะที่ 1 กรุงเทพ-พิษณุโลก คาดเปิดใช้ปี 2572
  • ระยะที่ 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่ คาดเปิดใชปี 2575
2. รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 609 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี คาดว่าจะเปิดใช้ปี 2568 แบ่งการพัฒนาออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่
  • ระยะที่ 1 กรุงเทพ-นครราชสีมา คาดเปิดใช้ปี 2568
  • ระยะที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย คาดเปิดใช้ปี 2573
3. รถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กิโลเมตร จำนวน 9 สถานี คาดว่าจะเปิดใช้ปี 2571 แบ่งการพัฒนาออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่
  • ระยะที่ 1 ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา คาดเปิดใช้ปี 2570
  • ระยะที่ 2 อู่ตะเภา-ระยอง-ตราด คาดเปิดใช้ปี 2576
4. รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 970 กิโลเมตร จำนวน 12 สถานี คาดว่าจะเปิดใช้ปี 2575 แบ่งการพัฒนาออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่
  • ระยะที่ 1 กรุงเทพ-หัวหิน คาดเปิดใช้ปี 2575
  • ระยะที่ 2 หัวหิน-สุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์ คาดเปิดใช้ปี 2580

รวมประกาศขาย

ประกาศขายบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์/ทาวน์โฮม และคอนโด ย่านบางซื่อ หลายระดับราคา

รถไฟความเร็วสูง ส่งผลอะไรบ้าง

1. อำนวยความสะดวกด้านการเดินทางของประชาชน สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย
2. เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ สนับสนุนเศรษฐกิจ เชื่อมต่อการค้าการลงทุน
3. เกิดการจ้างงาน สร้างอาชีพ ขณะดำเนินการก่อสร้าง
4. เกิดการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี ตามแนวเส้นทาง มีการให้เช่าพื้นที่ การค้าขายและการบริการ
5. เกิดการขยายตัวของเมือง แหล่งงาน แหล่งอยู่อาศัยใหม่
6. มีการพัฒนาเมืองตามแนวเส้นทาง ให้เป็นศูนย์กลางความเจริญของภูมิภาค
7. ส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ
ในอนาคต เมื่อโครงการเมกะโปรเจ็กต์อย่างรถไฟความเร็วสูงแล้วเสร็จ ไม่เพียงแต่จะสามารถเชื่อมต่อเมือง ช่วยอำนวยความสะดวกด้านการเดินทาง ส่งผลต่อเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว กระจายความเจริญไปยังทุกภูมิภาคของประเทศเท่านั้น รวมทั้งยังทำให้เกิดทำเลที่อยู่อาศัยใหม่ ๆ แหล่งงาน เแหล่งรวมไลฟ์สไตล์ต่าง ๆ เพิ่มขึ้นในทุกภูมิภาค ช่วยลดความแออัดในพื้นที่กรุงเทพฯ ได้อีกทางหนึ่ง
เช่นเดียวกับที่อยู่อาศัยทำเลชานเมืองในปัจจุบันที่ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น ส่วนหนึ่งก็มาจากการเส้นทางรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีต่าง ๆ ที่ครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่นั่นเอง
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลทั่วไปเท่านั้น DDproperty by PropertyGuru ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท ออลพร็อพเพอร์ตี้ มีเดีย จำกัด ไม่สามารถรับรองหรือรับประกันเกี่ยวกับข้อมูล รวมทั้งไม่สามารถรับรองหรือรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับความเหมาะสม สำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะใด ๆ ของข้อมูล ตามขอบเขตสูงสุดที่กฎหมายอนุญาต แม้ว่าเราได้พยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ถูกต้อง เชื่อถือได้ และครบถ้วน ณ เวลาที่เขียน แต่ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ไม่ควรนำไปใช้ในการตัดสินใจทางการเงิน, การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือทางกฎหมายทันที ผู้อ่านไม่ควรใช้ข้อมูลในบทความ แทนคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมซึ่งสามารถพิจารณาข้อเท็จจริงและสถานการณ์ส่วนตัวของคุณได้ ทั้งนี้ เราไม่สามารถรับผิดชอบใด ๆ หากคุณเลือกที่จะนำข้อมูลไปใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ

คำถามยอดนิยม

รถไฟความเร็วสูง (High Speed Rail: HSR) เป็นระบบรถไฟระหว่างเมืองที่เดินรถด้วยความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้รางขนาดความกว้างมาตรฐานในการเดินรถ มีความตรงเวลา และมีขั้นตอนการเดินทางไม่ยุ่งยากเท่าการโดยสารโดยเครื่องบิน

รถไฟความเร็วสูงไทย ถือเป็นโครงการเมกะโปรเจกต์ มีเป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจ และเชื่อมโยงตลาดการค้า ระหว่างกลุ่มประเทศแถบลุ่มแม่น้ำโขง ตามแผนจะก่อสร้างทั้งหมด 4 สาย ได้แก่ สายเหนือ สายตะวันออก สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้

รถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ คาดเปิดใช้ปี 2572, สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย คาดเปิดใช้ปี 2568, เชื่อม 3 สนามบิน คาดเปิดใช้ปี 2570, สายกรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ คาดเปิดใช้ปี 2575