รีไฟแนนซ์บ้าน เสียเงินเท่าไรบ้าง แม้ว่าการรีไฟแนนซ์ (Refinance) จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายและลดระยะเวลาในการผ่อนบ้านลง จากดอกเบี้ยที่ถูกลงหลังรีไฟแนนซ์ แต่การรีไฟแนนซ์บ้านนั้นยังมีรายละเอียดอีกมากมาย รวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เจ้าของบ้านควรรู้ รีไฟแนนซ์บ้าน เสียเงินเท่าไรบ้าง เพื่อประเมินความคุ้มค่าก่อนตัดสินใจว่าจะรีไฟแนนซ์บ้าน ดีไหม
อ่านหัวข้อที่คุณสนใจ
- รีไฟแนนซ์บ้าน เสียเงินเท่าไรบ้าง
- ข้อดี-ข้อด้อยของการรีไฟแนนซ์
- รีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารเดิมดีอย่างไร
- 3 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับการรีไฟแนนซ์บ้าน
- รีไฟแนนซ์บ้าน ธนาคารไหนดี
รีไฟแนนซ์บ้าน เสียเงินเท่าไรบ้าง
ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์บ้าน เสียเงินเท่าไรบ้าง หลัก ๆ จะมีค่าใช้จ่ายใน 5 ส่วน ดังนี้
1. ค่าประเมินราคา รีไฟแนนซ์บ้าน เสียเงินเท่าไรบ้าง อาจมีค่าใช้จ่าย 0.25-2% ของราคาสินทรัพย์ที่นำมาประเมิน หรือประมาณ 2,000-3,000 บาท หรืออาจจะไม่มีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ก็ได้ ขึ้นอยู่กับโปรโมชั่นของแต่ละธนาคารเมื่อจะรีไฟแนนซ์
2. ค่าจดจำนองจ่ายให้กรมที่ดิน 1% ของวงเงินกู้ เช่น วงเงินกู้ 1,000,000 บาท ต้องจ่ายค่าจดจำนอง 1% เป็นเงิน 10,000 บาท เป็นต้น
3. ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงิน (ไม่เกิน 10,000 บาท)
4. ประกันอัคคีภัย โดยปกติต้องทำทุก 1-3 ปี ตามกฎหมาย
5. ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ของธนาคาร ค่าใช้จ่ายส่วนนี้อาจจะมีหรือไม่มี แตกต่างกันออกไปตามเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร
ทั้งนี้ ในกรณีที่รีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารเดิมโดยที่ยังไม่ครบกำหนด 3 ปี จะมีค่าปรับราว ๆ 0-3% ของวงเงินกู้ ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละธนาคาร ดังนั้นจึงไม่ควรรีบรีไฟแนนซ์ก่อนครบ 3 ปี
รีไฟแนนซ์บ้านดีไหม เปรียบเทียบ 2 แบบ รีไฟแนนซ์ vs. ไม่รีไฟแนนซ์
รีไฟแนนซ์บ้านดีไหม มาเปรียบเทียบระหว่างรีไฟแนนซ์กับไม่รีไฟแนนซ์ได้ที่นี่
ข้อดี-ข้อด้อยของการรีไฟแนนซ์บ้าน
ข้อดี รีไฟแนนซ์บ้าน
1. ได้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ใหม่ที่ถูกกว่า ทำให้ดอกเบี้ยถูกลงกว่าเดิม บางกรณีอาจได้วงเงินกู้มากขึ้นกว่ายอดคงค้างเดิม
2. ลดภาระหนี้ เพิ่มสภาพคล่องให้กับเงินในกระเป๋ามากขึ้น โดยเฉพาะจำนวนเงินที่ต้องผ่อนต่อเดือนลดลง
3. เงินส่วนต่างจากอัตราดอกเบี้ยลดลง ทำให้มีเงินเหลือใช้จ่ายในส่วนอื่น ๆ ที่จำเป็น
ข้อด้อย รีไฟแนนซ์บ้าน
1. ระยะเวลาผ่อนชำระนานขึ้น
2. มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ เสียเวลา และอาจต้องเสียค่าปรับหากมีการไถ่ถอนก่อนกำหนด
3. มีความยุ่งยากในการเตรียมเอกสาร เช่น เอกสารเกี่ยวกับรายได้ของผู้กู้ หากปัจจุบันผู้กู้ตกงาน หรือเป็นฟรีแลนซ์ซื้อบ้านที่ไม่มี Statement ชัดเจน ไม่สามารถหาเอกสารที่ยืนยันรายได้ อาจทำให้ไม่สามารถทำการรีไฟแนนซ์ได้

รีไฟแนนซ์บ้าน กับธนาคารเดิมดีอย่างไร
การรีไฟแนนซ์ ขอลดดอกเบี้ยบ้านกับธนาคารเดิม ที่เรียกว่ารีเทนชั่น (Retention) ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการประเมินราคา ค่าธรรมเนียมในการปล่อยกู้ใหม่ ค่าอาการแสตมป์ ค่าจดจำนองที่ดินได้ เนื่องจากไม่ต้องเริ่มขั้นตอนใหม่ เพื่อให้เห็นภาพชัดเจน ระหว่างรีไฟแนนซ์บ้านกับรีเทนชั่น แบบไหนคุ้มกว่า มีข้อแตกต่างที่ควรพิจารณา ดังนี้
รีไฟแนนซ์ | รีเทนชั่น |
ติดต่อธนาคารใหม่ | ติดต่อธนาคารเดิม |
เตรียมเอกสารยื่นกู้ใหม่ | ไม่ต้องเตรียมเอกสารยื่นกู้ใหม่ |
ใช้เวลาพิจารณา 7-14 วัน | ใช้เวลาพิจารณาไม่นาน |
มีค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์ เช่น ค่าประเมินราคา ค่าจดจำนอง ค่าอากรแสตมป์ ประกันอัคคีภัย และอื่น ๆ | มีค่าธรรมเนียม 1-2% จากยอดกู้ |
เปรียบเทียบดอกเบี้ยได้จากหลายธนาคาร | ตามแต่ธนาคารกำหนด (แต่ธนาคารบางแห่งให้ผู้กู้เสนอดอกเบี้ยที่เท่ากับธนาคารอื่นได้) |
3 เรื่อง เข้าใจผิดเกี่ยวกับการรีไฟแนนซ์บ้าน
1. การรีไฟแนนซ์ไม่ได้ทำให้ดอกเบี้ยหายไป แต่ช่วยให้อัตราดอกเบี้ยลดลงเพื่อช่วยลดภาระในระยะยาวได้
2. การรีไฟแนนซ์บ้านไม่เกี่ยวกับการพักชำระ โดยหลังจากการรีไฟแนนซ์ จะต้องมีการผ่อนชำระตามปกติ ที่สำคัญคือจำเป็นต้องผ่อนชำระคืนให้ตรงตามเวลาไม่มีสิทธิประโยชน์ใด ๆ เพิ่มขึ้นมา
3. รีไฟแนนซ์บ้านทำได้ทุก 3 ปี แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องทำทุก 3 ปี ต้องดูจังหวะดอกเบี้ย และความเหมาะสมอื่น ๆ ประกอบ
รีไฟแนนซ์บ้าน ธนาคารไหนดี
เมื่อรู้ค่าใช้จ่ายรีไฟแนนซ์บ้าน เสียเงินเท่าไรบ้าง ทีนี้ก็มาถึงการมองหาธนาคารที่จะรีไฟแนนซ์ ต้องเป็นธนาคารที่ให้ดอกเบี้ยต่ำลงกว่าเดิม โดยสามารถเทียบจากอัตราดอกเบี้ยในการผ่อนชำระระหว่างวาระดอกเบี้ยโปรโมชั่นในช่วง 1-3 ปี ของธนาคารใหม่ กับอัตราดอกเบี้ยหลังจากวาระดอกเบี้ยโปรโมชั่นหมดลง เพราะหลังจากนั้นอัตราดอกเบี้ยจะเป็นไปในลักษณะลอยตัว หรือ MLR หรือลอยตัวแล้วมีตัวลบ คือ MLR- ซึ่งอัตราดอกเบี้ย MLR ของแต่ละธนาคารจะไม่เท่ากัน
ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MLR ของแต่ละธนาคารจะไม่เกิน 7-8% ดังนั้น คุณจึงควรใส่ใจกับ MLR- หรือตัวลบ ที่ต่อท้ายอัตราดอกเบี้ยให้ดี ยิ่งลบมากยิ่งดี
ดังนั้น ผู้ต้องการรีไฟแนนซ์บ้านจึงต้องตรวจสอบดูส่วนต่างดอกเบี้ย ระหว่างการใช้ดอกเบี้ยอยู่กับธนาคารเดิม กับค่าใช้จ่ายหลังรีไฟแนนซ์ไปยังธนาคารใหม่ว่ามีส่วนลดให้มากพอที่จะทำเรื่องไฟแนนซ์ไปหรือไม่
โดยในทุก ๆ ปี ธนาคารต่าง ๆ จะแข่งกันออกโปรโมชั่นใหม่ ๆ อัตราดอกเบี้ยที่จูงใจมากขึ้นเพื่อดึงดูดลูกค้า ถ้าบวกลบแล้วธนาคารไหนคุ้มค่าก็ติดต่อขอรีไฟแนนซ์กับธนาคารนั้นได้เลย
MRR MLR MOR Rate ธนาคารไหนดอกเบี้ยบ้านต่ำสุด
เปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ย MRR MLR และ MOR ของแต่ละธนาคาร ธนาคารไหนดอกเบี้ยต่ำสุด เช็กได้ที่นี่
ขั้นตอนรีไฟแนนซ์บ้าน
1. ตรวจสอบกับธนาคารว่าได้ให้อัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุด ในเงื่อนไขที่ดีที่สุด
2. นำข้อมูลสินเชื่อในสัญญาเก่ากู้ซื้อบ้านอันเก่าที่ยังคงเหลืออยู่นำมาเปรียบเทียบกับสัญญาเงินกู้ที่จะรีไฟแนนซ์ฉบับใหม่ (ค่างวดเก่า-ค่างวดใหม่)
คำนวณสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน
เช็กยอดผ่อนชำระต่อเดือนอัตราใหม่และจำนวนเงินที่คุณสามารถประหยัดได้หลังจากการทำรีไฟแนนซ์
3. ติดต่อธนาคารเก่าเพื่อขอ Statement สรุปยอดหนี้เงินกู้ และนำเอกสารสรุปยอดหนี้ที่ได้มาไปทำเรื่องยื่นกู้กับธนาคารใหม่
4. ทำเรื่องยื่นกู้ใหม่กับธนาคารใหม่ที่จะขอรีไฟแนนซ์ โดยขั้นตอนการรีไฟแนนซ์จะเหมือนกับการขอสินเชื่อใหม่
5. รอผลอนุมัติจากธนาคารที่ยื่นกู้ใหม่
6. เมื่อธนาคารอนุมัติแล้ว ให้ติดต่อธนาคารเก่า เพื่อนัดวันไถ่ถอนที่สำนักงานที่ดิน ธนาคารเดิมจะสรุปยอดหนี้ให้อีกครั้ง
7. ติดต่อนัดธนาคารใหม่ เพื่อนัดวันทำสัญญาและโอนทรัพย์ที่ใช้จำนอง ต้องเป็นวันเดียวกันกับที่นัดกับธนาคารเดิมไว้
8. ทำเรื่องโอนที่ ณ สำนักงานที่ดินในเขตที่บ้านตั้งอยู่ ทำการจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้เรียบร้อย และมอบโฉนดที่ได้มาจากสำนักงานที่ดินให้กับธนาคารใหม่ ถือว่ารีไฟแนนซ์เสร็จเรียบร้อย
ขอลดดอกเบี้ยบ้าน รีไฟแนนซ์บ้าน ธนาคารไหนดี
อยากรีไฟแนนซ์บ้าน แต่ไม่รู้จะเลือกธนาคารไหนดี เช็กอัตราดอกเบี้ยแต่ละธนาคารได้ที่นี่
สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า