ชาวต่างชาติที่ต้องการซื้ออสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยจะได้รับอนุญาตให้ซื้อเฉพาะอสังหาริมทรัพย์ประเภทอาคารชุด และในอาคารชุดแต่ละแห่งจะมีการกำหนดสัดส่วนการถือครองโดยชาวต่างชาติได้ไม่เกินร้อยละ 49 ถ้าหากอาคารชุดแห่งนั้นมีสัดส่วนชาวต่างชาติถือครองกรรมสิทธิ์อยู่ครบแล้ว ชาวต่างชาติจะไม่สามารถซื้ออาคารชุดดังกล่าวได้อีก
นอกจากนี้ ชาวต่างชาติยังสามารถซื้อเฉพาะตัวอาคารโดยไม่รวมที่ดินได้ เนื่องจากในกฎหมายไทยไม่อนุญาตให้ชาวต่างชาติถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินได้
ถึงแม้ว่าชาวต่างชาติไม่สามารถเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ในชื่อของตนเองได้ แต่ยังมีวิธีที่ชาวต่างชาติจะสามารถเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยได้ ดังนี้
– ซื้อผ่านทางบริษัทจำกัดของไทย
– ซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทอาคารชุด
– ซื้อร่วมกับผู้ถือสัญชาติไทยโดยกำเนิด
ซื้อผ่านทางบริษัทจำกัดของไทย
บริษัทจะต้องเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างไทยและต่างชาติ โดยสัดส่วนการลงทุนจากต่างชาติจะต้องไม่เกินร้อยละ 49 ของทั้งหมด ซึ่งคนต่างชาติสามารถรักษาอำนาจควบคุมบริษัทผ่านการจ้างผู้บริหารที่เป็นคนต่างชาติ และการให้อำนาจลงคะแนนเสียงของหุ้นส่วนต่างชาติที่มากกว่า หรือผ่านทางอำนาจกฎหมายของทนายความฝ่ายผู้ถือหุ้นคนไทย ถ้าหากชาวต่างชาติต้องการใช้วิธีการนี้จำเป็นต้องจ้างทนายเพื่อช่วยดำเนินการ
ซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทอาคารชุด
ตามหลักกฎหมายแล้วอาคารชุดเป็นอสังหาริมทรัพย์เพียงอย่างเดียวที่คนต่างชาติสามารถเป็นเจ้าของได้ในชื่อของตนเอง โดยชาวต่างชาติสามารถซื้ออาคารทั้งหลังแต่ไม่รวมไปถึงพื้นที่ที่อาคารตั้งอยู่ได้ด้วย
ซื้อร่วมกับผู้ถือสัญชาติไทยโดยกำเนิด
การแต่งงานกับคนไทยและซื้ออสังหาริมทรัพย์ในชื่อของคู่สมรสอาจเป็นวิธีการที่ไม่ปลอดภัยเนื่องจากกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์จะเป็นของคู่สมรสคนไทย หากเกิดปัญหาหรือความขัดแย้งขึ้นผู้ซื้อร่วมชาวต่างชาติจะอยู่ในสถานะที่เสียเปรียบเนื่องจากไม่สามารถยกกฎหมายขึ้นต่อสู้เพื่ออ้างสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้น ๆ ได้
อย่างไรก็ตาม ชาวต่างชาติสามารถทำเป็นสัญญาเช่าได้โดยระบุรายละเอียดในเงื่อนไขการเช่า เช่น จำนวนเงินที่ให้เช่าหรือรายละเอียดในกรณีที่ชาวต่างชาติต้องการขายอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
ในกรณีที่ชาวต่างชาติสมรสกับคนไทยและมีการหย่าในภายหลัง อสังหาริมทรัพย์นั้นก็ยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของคู่สมรสคนไทย อย่างไรก็ดี ผู้ซื้อชาวต่างชาติสามารถปกป้องสิทธิ์ของตนด้วยการทำสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์เป็นระยะเวลา 30 ปี และมีเงื่อนไขการต่อสัญญาเช่า โดยชาวต่างชาติต้องจดทะเบียนสัญญาเช่า ช่วงระยะเวลาเช่าแต่ละรอบสัญญาที่เหมาะสมคือ 3 ปี
หลังจาก 30 ปีแล้วผู้ซื้อชาวต่างชาติสามารถต่อสัญญาได้ใหม่ แต่สัญญาเช่าจะไม่ได้รับการจดทะเบียน ซึ่งหมายถึงเจ้าของคนไทยสามารถขายอสังหาริมทรัพย์ได้โดยที่ชาวต่างชาติไม่สามารถที่จะโต้แย้ง
ทั้งนี้ การต่อสัญญาเช่าหลังจาก 30 ปี โดยไม่ได้รับการรับรองมีความเสี่ยงที่คู่สัญญาคนไทยจะขายอสังหาริมทรัพย์แม้ว่าจะอยู่ในระหว่างสัญญาเช่าของคนต่างชาติก็ตาม นอกจากนั้นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการต่ออายุสัญญาเช่ามักจะแพงขึ้นในเวลาต่อมาเมื่อเทียบกับราคาเริ่มต้น
สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลทั่วไปเท่านั้น DDproperty by PropertyGuru ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท ออลพร็อพเพอร์ตี้ มีเดีย จำกัด ไม่สามารถรับรองหรือรับประกันเกี่ยวกับข้อมูล รวมทั้งไม่สามารถรับรองหรือรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับความเหมาะสม สำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะใด ๆ ของข้อมูล ตามขอบเขตสูงสุดที่กฎหมายอนุญาต แม้ว่าเราได้พยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ถูกต้อง เชื่อถือได้ และครบถ้วน ณ เวลาที่เขียน แต่ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ไม่ควรนำไปใช้ในการตัดสินใจทางการเงิน, การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือทางกฎหมายทันที ผู้อ่านไม่ควรใช้ข้อมูลในบทความ แทนคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมซึ่งสามารถพิจารณาข้อเท็จจริงและสถานการณ์ส่วนตัวของคุณได้ ทั้งนี้ เราไม่สามารถรับผิดชอบใด ๆ หากคุณเลือกที่จะนำข้อมูลไปใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ